logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

โครโมโซม

โดย :
นายอนุรุทธิ์ หมีดเส็น
เมื่อ :
วันอาทิตย์, 14 พฤษภาคม 2560
Hits
185571
  • 1. Introduction
  • 2. โครโมโซม
  • 3. รูปร่าง ชนิดของโครโมโซม
  • - All pages -

โครมาทิน

 

โครมาทิน (Chromatin)

ในเซลล์พวกยูคาริโอต (Eukaryotic cell) สารพันธุกรรมคือ DNA อยู่รวมกับโปรตีน และมีการขดตัวเป็นเส้นใยโครมาทิน โดยประกอบด้วย DNA และโปรตีน ประมาณ 1/3 และ 2/3 ตามลำดับ โปรตีนที่พบมี 2 ชนิดคือ ฮิสโทน (Histone) และนอนฮิสโตน (Non - histone) ในระยะอินเตอร์เฟส ส่วนของโครมาทินที่ขดตัวมากเรียกว่า เฮเทอโรโครมาทิน (Heterochromatin) และขดตัวน้อยเรียกว่า ยูโครมาทิน (Euchromatin) สามารถจำแนกโครมาทินออกเป็น 2 ชนิดตามการติดสีเข้มหรือสีจางของโครโมโซม ซึ่งอยู่ในระยะอินเตอร์เฟส ได้แก่

  1. ยูโครมาทิน (Euchromatin) เป็นโครมาทินที่มีลักษณะยืดยาว ติดสีจาง เส้นใยของโครมาทินมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 40 – 70 Å ได้มีข้อพิสูจน์ด้วยวิธีการ Autoradiograph ว่าเป็นโครมาทินส่วนที่ดีเอ็นเอมีการทำงานคือ มีการถอดรหัสพันธุกรรม (Transcription) เกิดขึ้น
  2. เฮเทอโรโครมาทิน (Heterochromatin) เป็นโครมาทินที่หดสั้นมากตลอกระยะเวลาของอินเตอร์เฟสและการแบ่งเซลล์ เส้นใยของโครมาทินชนิดนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 200 – 300 Å DNA ในส่วนของเฮเทอโรโครมาทิน ไม่มีการถอดรหัสพันธุกรรม จากการศึกษาโมเลกุลของดีเอ็นเอ และการศึกษาทางไซโตจินิติค (Cytogenetic) พบว่าเฮเทอโรโครมาทินจำแนกเป็น 2 ชนิดคือ

2.1 Facultative heterochromatin เมื่อเซลล์มีการแปรรูปร่างไปส่วนของเอเทอโรโครมาทินในบางโครโมโซมอาจมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปได้ โดยการหดตัวมากขึ้นและไม่มี Transcription (หยุดการทำงานหรือเรียกว่า inactivation) ตัวอย่างของ Facutative heterochromatin ที่เกิดกับคน คือ inactivation ของโครโมโซม X ในเพศหญิง หญิงปกติจะมีโครโมโซม X 1 คู่ ซึ่ง 1 ใน 2 ของโครโมโซม X จะมี inactivation ตลอดชีวิตของเซลล์นั้น

2.2 Constitutive heterochromatin เป็นโครมาทินที่หดตัวมากและไม่มีการแสดง Transcription เกิดขึ้นตลอดการแปรรูปของเซลล์นั้นๆ ตำแหน่งของ Constitutive heterochromatin บนโครโมโซมทำได้โดยการย้อมสีชนิด C – band ตำแหน่งที่พบบนโครโมโซมคน คือ บริเวณเซนโทรเมียร์ของทุกๆ โครโมโซม ยกเว้นโครโมโซม Y ที่พบบริเวณปลายแขนข้างยาวของ Y


Return to contents

โครโมโซม (Chromosome)

โครโมโซมหรือนิวคลีออยด์ (Nucleoid) ของสิ่งมีชีวิตกลุ่ม Prokaryote จะมีองค์ประกอบง่ายๆ ส่วนใหญ่เป็นดีเอ็นเอเกลียวคู่อยู่ร่วมกับโปรตีนจำนวนน้อย ซึ่งดีเอ็นเอนี้มีความยาวมากกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของเซลล์ มีลักษณะเป็นวงแหวน แต่ละวงของโครโมโซมจะมีจุดเริ่มต้นการจำลองตัวเองเพียงจุดเดียว

ดีเอ็นเอพันขดกันในลักษณะของการพันเกลียวซ้อนเกลียว (Supercoli) สำหรับโครโมโซมของสิ่งมีชีวิตกลุ่ม Eukaryote มีความซับซ้อนมากกว่า

ความสัมพันธ์ของดีเอ็นเอกับนิวคลีโอโซม

ดีเอ็นเอจัดเป็นสารพันธุกรรมสากลของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ 4 ชนิด ได้แก่ dAMP, dCMP, dGMP และ dTMP จำนวนต่างๆกันประกอบเป็นสายดีเอ็นเอ ในโมเลกุลของดีเอ็นเอ 1 โมเลกุลมีสายดีเอ็นเอ 2 สาย ทิศทางตรงกันข้ามจับกันด้วยพันธะไฮโดรเจนระหว่างเบสคู่สม โดยพันเป็นเกลียวหมุนเวียนขวา (Double helix) และพันรอบโปรตีนฮิสโตน (Histone) H2A, H2B, H3 และ H4 อย่างละ 2 โมเลกุลที่จับกันเสมือนเป็นแกนโมเลกุลของดีเอ็นเอพันรอบแกนโปรตีนฮิสโตน 1 ¾ รอบ ยาวประมาณ 150 คู่เบส และมีโปรตีนฮิสโตน H1 จำนวน 1 โมเลกุลเชื่อมระหว่างแกนฮิสโตนและดีเอ็นเอที่พันรอบแกนฮิสโตน เรียกโครงสร้างนี้ว่า นิวคลีโอโซม (Nucleosome) ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 110 Å หรือ 11 นาโนเมตร ดีเอ็นเอส่วนที่เหลือจะรวมกับโปรตีนฮิสโตนสร้างนิวคลีโอโซมอันใหม่ต่อไปเรื่อยๆ จนหมดความยาวของดีเอ็นเอ ทำให้เป็นสายโพลีนิวคลีโอโซม (Polynucleosome) ดีเอ็นเอที่อยู่ระหว่างนิวคลีโอโซมกับนิวคลีโอโซมเรียกว่า ดีเอ็นเอเชื่อม (Linker DNA) เมื่อดูจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนสายพอลีนิวคลีโอโซมมีรูปร่างคล้ายลูกปัดหรือลูกประคำซึ่งเชื่อมต่อเป็นสาย นิวคลีโอโซมและดีเอ็นเอที่เชื่อมมีชื่อเรียกรวมกันว่า โครมาโทโซม (Chromatosome)

องค์ประกอบของโปรตีนฮิสโตน

โปรตีนฮิสโตน 5 ชนิดต่างก็ประกอบด้วยกรดอะมิโนทั้งชนิดและจำนวนที่แตกต่างกัน คือ

  1. โปรตีนฮิสโตน H1 ประกอบด้วยกรดอะมิโนซึ่งมีความยาว 213 ตัว ซึ่งเป็นไลซีนมาก
  2. โปรตีนฮิสโตน H2A ประกอบด้วยกรดอะมิโนซึ่งมีความยาว 129 ตัว ซึ่งเป็นไลซีนและอาร์จินีนมาก
  3. โปรตีนฮิสโตน H2B ประกอบด้วยกรดอะมิโนซึ่งมีความยาว 125 ตัว ซึ่งเป็นไลซีนปานกลาง
  4. โปรตีนฮิสโตน H3 ประกอบด้วยกรดอะมิโนซึ่งมีความยาว 135 ตัว ซึ่งเป็นอาร์จินีนมาก
  5. โปรตีนฮิสโตน H4 ประกอบด้วยกรดอะมิโนซึ่งมีความยาว 102 ตัว ซึ่งเป็นอาร์จินีนและไกลซีนมาก

การจัดเรียงตัวของสายพอลินิวคลีโอโซม

สายโครมาโทโซม หรือสายพอลินิวคลีโอโซมเป็นโครงสร้างระดับแรกจะถูกจัดให้มีการเรียงตัวเข้าสู่โครงสร้างขั้นที่ 2 โดยนิวคลีโอโซม 8 โมเลกุลเรียงต่อกันเป็นวงกลม โดยโปรตีนฮิสโตน H1 และดีเอ็นเอเชื่อมอยู่ด้านใน เส้นผ่านศูนย์กลางของโครงสร้างขั้นที่ 2 นี้ยาว 30 นาโนเมตร ดครงสร้างนี้บางครั้งเรียกว่า โซลีนอยด์ (Solenoid) โครงสร้างโซลีนอยด์จะเรียงต่อกันเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนหมดความยาวของสายพอลีนิวคลีโอโซม โซลีนอยด์ก็จะรวมกับโปรตีนชนิดอื่นที่ไม่ใช่ฮิสโตน เช่น โปรตีนสคาฟโฟลด์ (Scaffold protein) สร้างเป็นโครงสร้างวง (Loop) มีทั้งวงเล็กและวงใหญ่ โดยมีความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 300 นาโนเมตร เป็นโครงสร้างระดับที่ 3 และจัดเรียงต่อเป้นวงกลมโดยตรงกลางกลวงและเรียงซ้อนต่อกันเป็นทรงกระบอก จัดเป็นโครงสร้างระดับที่ 4 และปรากฏเป็นแท่งโครโมโซม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 700 นาโนเมตร

การค้นพบบทบาทของโครโมโซม

หลังจากการตั้งทฤษฏีเซลล์แล้ว นักชีววิทยาได้ค้นพบรายละเอียดของโครงสร้างต่างๆ ภายในเซลล์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่กำลังมีการแบ่งเซลล์ พบว่าภายในนิวเคลียสมีเส้นใยขนาดเล็กๆ ขดกันแน่นจนดูคล้ายเป็นแท่งเรียกว่า โครโมโซม (Chromosome) ซึ่งจะมีการจำลองตัวเองและแบ่งแยกออกไปยังเซลล์จำนวนเท่าๆกัน ปรากฏการณ์นี้ทำให้นักชีววิทยาเริ่มเข้าใจว่าการแบ่งเซลล์ทำให้มีการแบ่งโครโมโซมไปยังเซลล์ที่เกิดใหม่ เซลล์ที่เกิดใหม่จึงมีโครโมโซมเหมือนกับเซลล์เดิม ดังนั้นโครโมโซมจึงมีบทบาทสำคัญในการสืบทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตให้ต่อเนื่องกันไปได้

ใน พ.ศ. 2443 นักวิทยาศาสตร์ 3 คน คือ Correns ชาวเยอรมัน De Vries ชาวเนเธอแลนด์ และ Tschermak ชาวออสเตรีย ได้เสนอกฏเกณฑ์การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมโดยมีข้อสรุปตรงกันว่า “การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตนั้นจะมีการแยกคู่ของยีนที่เป็นแอลลีลกัน” ซึ่งผลงานนี้เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ใน พ.ศ. 2455 Walter S. Sutton นักชีววิทยาชาวอเมริกัน และ Theodor Boveri นักชีววิทยาชาวเยอรมัน ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครโมโซมและการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ได้เสนอทฤษฎี Chromosome Theory of Heredity ซึ่งอธิบายว่าหน่วยพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตอยู่บนโครโมโซม ทั้งนี้เพราะจากการศึกษาการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสของเซลล์อัณฑะของตั๊กแตน พบว่าฮอมอโลกัสโครโมโซมจะแยกออกไปอยู่ต่างเซลล์กัน เช่นเดียวกับการแยกของยีนที่เป็นแอลลีลกันตามกฎแห่งการแยกตัว ทำให้ได้ข้อสรุปว่ายีนจะต้องอยู่บนโครโมโซม ดังนั้นโครโมโซมจึงมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต

ส่วนสำคัญของโครโมโซม

โมเลกุลของดีเอ็นเอในนิวเคลียสที่เป็นเกลียวคู่รวมกับโปรตีนไม่ว่าจะเป็นโปรตีนฮิสโตน หรือโปรตีนที่ไม่ใช่ฮิสโตน เรียกว่า โครมาติน (Chromatin) บนแท่งโครโมโมโซม บางส่วนของโครมาตินขดตัวแน่นเรียกว่า เฮเทอดรโครมาติน (Heterochromatin) สามารถสังเกตเห็นภายใต้กล้องจุลทรรศน์เมื่อย้อมสีโครโมโซมด้วยสี Giemsa หรือสี Carmine เฮเทอโรโครมาตินจะติดสีเข้ม ส่วนของโครโมโซมที่เกิดจากโครโมโซมที่ขดตัวอย่างหลวมๆ เรียกว่า ยูโครมาติน (Euchromatin) จะติดสีจางกว่า โดยทั่วไปโครโมโซมมีรอยคอด (Constriction) ซึ่งเกิดจากโครโมโซมที่ขดตัวแน่นมาก 1 แห่ง เรียกว่า เซนโทรเมียร์ (Centromere) หรือไพรมารีคอนสตริกชัน (Primary constriction) แต่โครโมโซมบางแท่งมีรอยคอด 2 แห่ง รอยคอดที่ 2 เรียกว่า เซคันดารีคอนสตริกชัน (Secondary constriction) โครโมโซมที่มีรอยคอด 2 แห่งเรียกว่า โครโมโซมซาเทลไลท์ (Satellite chromosome) รอยคอดที่ 1 หรือเซนโทรเมียร์นั้นมีความสำคัญต่อการจำแนกชนิดของโครโมโซมและการเคลื่อนที่ของโครโมโซมขณะที่มีการแบ่งเซลล์ ส่วนรอยคอดที่ 2 ของโครโมโซมซาเทลไลท์บางแท่งทำหน้าที่สร้างนิวคลีโอลัส บริเวณนี้จึงเรียกว่า บริเวณนิวคลีโอลาร์ออร์กาไนเซอร์ (Nucleolar organizer region)



Return to contents

รูปร่าง ขนาด และจำนวนโครโมโซม

โครโมโซมเป็นโครงสร้างที่อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ ในภาวะปกติจะมองไม่เห็นโครโมโซม เพราะมีสภาพเป็นเส้นใยขนาดเล็กๆ สานกันอยู่ภายในนิวเคลียส เมื่อเข้าสู่ระยะการแบ่งเซลล์จะมีการจำลองเส้นใยโครมาทินขึ้นมาเป็นเส้นคู่ที่เหมือนกัน และมีการขดตัวพันกันจนมองเห็นเป็น 2 แท่งติดกัน ซึ่งจะเห็นชัดเจนที่สุดในระยะเมทาเฟส ระยะนี้โครโมโซม 1 โครโมโซมจะประกอบด้วย 2 โครมาทิด (Chromatid) ซึ่งติดกันอยู่ที่เซนโทรเมียร์ (Centromere) จากตำแหน่งของเซนโทรเมียร์มีผลทำให้โครโมโซมมีรูปร่างแตกต่างกัน 4 แบบ คือ

  1. โครโมโซมแบบเทโลเซนทริก (Telocentric chromosome) เป็นโครโมโซมที่มีเซนโทรเมียร์อยู่ตรปลายสุด ทำให้มองเห็นโครโมโซมเป็นแท่งหรือแขนเพียงข้างเดียว
  2. โครโมโซมแบบอะโครเซนทริก (Acrocentric chromosome) เป็นโครโมโซมที่มีเซนโทรเมียร์อยู่ค่อนข้างไปทางส่วนปลายด้านใดด้านหนึ่ง ทำให้มองเห็นโครโมโซมเป็นแท่งเช่นกัน แต่มีแขน 2 ข้างยาวแตกต่างกันมาก
  3. โครโมโซมแบบซับเมทาเซนทริก (Submetacentric chromosome) เป็นโครโมโซมที่มีเซนโทรเมียร์ไม่อยู่ตรงกลาง ทำให้แขน 2 ข้างยาวไม่เท่ากัน มองเห็นคล้ายรูปตัวเจ (J)
  4. โครโมโซมแบบเมทาเซนทริก (Metacentric chromosome) เป็นโครโมโซมที่มีเซนโทรเมียร์อยู่ตรงกลางพอดี ทำให้แขน 2 ข้างยาวเท่ากัน มองเห็นคล้ายรูปตัววี (V)

ขนาดของโครโมโซมในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน และมีการผันแปรตามระยะต่างๆ ของการแบ่งเซลล์ (โครโมโซมมีขนาดสั้นที่สุดในระยะเมทาเฟส) ขนาดของโครโมโซมไม่เป็นสัดส่วนกับจำนวนยีนบนโครโมโซม คือ โครโมโซมที่มีขนาดความยาวมากอาจมีจำนวนยีนอยู่น้อยก็ได้ แต่ขนาดของโครโมโซมอาจมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัจจัยบางอย่างดังต่อไปนี้

  • สารโคลซิซิน (Colchicine) เป็นสารยับยั้งการสร้าง Spindle fiber ทำให้โครโมโซมหยุดอยู่ที่ระยะเมทาเฟส ซึ่งมีขนาดสั้นที่สุด
  • สารที่ใช้ทำ Pretreatment เช่น α – bromonap thalene ทำให้โครโมโซมหดตัว เห็นโครโมโซมมีขนาดสั้น
  • สารที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์โครมาทิน พบว่าเซลล์ที่มีการแบ่งเซลล์บ่อยๆ จะมีขนาดโครโมโซมเล็กกว่าเซลล์ที่มีระยะอินเตอร์เฟสค่อนข้างยาว
  • สารอาหารที่ใช้สำหรับเพาะเลี้ยงเซลล์ จากการศึกษาพบว่าโครโมโซมของเซลล์ที่เลี้ยงอาหารซึ่งมีฟอสเฟตความเข้มข้นสูง จะมีขนาดใหญ่กว่าโครโมโซมของเซลล์ที่เลี้ยงในน้ำหรือมีฟอสเฟตน้อยๆ
  • เซลล์ที่มีการแบ่งตัวในอุณหเซลล์ที่มีการแบ่งตัวในอุณหภูมิต่ำ จะมีการหดตัวของโครโมโซมมากกว่าเซลล์ที่แบ่งตัวในอุณหภูมิสูงๆ

จำนวนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไปจะแตกต่างกัน ในเซลล์ร่างกาย (Somatic cell) จะมีโครโมโซม 2 ชุด หรือเรียกว่ามีจำนวนโครโมโซมเป็น 2n หรือดิพลอยด์ (Diploid) ส่วนเซลล์สืบพันธุ์ (Sex cell) จะมีโครโมโซมเพียงชุดเดียวหรือเรียกว่ามีโครโมโซม n หรือแฮพลอยด์ (Haploid) ในภาวะปกติสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีจำนวนโครโมโซมคงที่

 

 


Return to contents
Previous Page 1 / 3 Next Page
หัวเรื่อง และคำสำคัญ
โครโมโซม
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อประกอบการเรียนรู้
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 14 พฤษภาคม 2557
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นายอนุรุทธิ์ หมีดเส็น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 6894 โครโมโซม /lesson-biology/item/6894-2017-05-14-03-59-30
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)