logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 23 รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์

โดย :
เมขลิน อมรรัตน์
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 25 กุมภาพันธ์ 2564
Hits
3199

          กลับมาอีกครั้งกับบทความซีรี่ส์ชุดรู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ในคราวนี้เราจะขอกล่าวถึงบุคคลที่มีความสำคัญทางด้านธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อมกันบ้าง ในประเทศไทยมีบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการวิจัยเป็นอย่างมาก และในบทความนี้เราจะขอกล่าวถึงบุคคลท่านนี้ รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์

          ทวีปแอนตาร์กติกหรือขั้วโลกใต้ น้อยคนนักที่ชีวิตนี้จะมีโอกาสได้ไปเยือน แต่ไม่ใช่กับบุคคลท่านนี้ ซึ่งมีประสบการณ์ในการไปเยือนขั้วโลกใต้มาแล้วถึงสองครั้ง เป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงชาวไทย ผู้ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกที่ไปศึกษาวิจัยยังทวีปแอนตาร์กติกและปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งยังเป็นหนึ่งในทีมของนักวิทยาศาสตร์ไทยที่ทำการเพาะขยายพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศสำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทย

11644 1edit

ภาพ รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์
ที่มา https://th.m.wikipedia.org/wiki/ไฟล์:Suchana_C.jpg , Sarocha.p

ประวัติส่วนตัว

         รศ.ดร. สุชนา ชวนิชย์ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วหลังจากนั้นจึงเดินทางไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่ Central Connecticut State University และได้เข้าศึกษาระดับปริญญาเอกที่ University of New Hampshire ประเทศสหรัฐอเมริกา

ผลงานที่สำคัญ

         รศ. ดร.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นทูตแห่งมหาสมุทรเพื่อความยั่งยืนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Sustainable Ocean Ambassador: SOA) รศ. ดร.สุชนา เป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกที่ไปสำรวจขั้วโลกใต้ 2 ครั้ง ได้ทำให้เห็นถึงภาพรวมปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลกนั้นว่ามีต้นเหตุจากภาวะของโลกร้อน และปัจจุบันนี้โลกยังเข้าสู่ขั้นวิกฤติ มีงานศึกษาวิจัยออกมารองรับว่าผลกระทบจากภาวะโลกร้อนในทุกวันนี้ควรจะเกิดขึ้นอีก 100 ปีข้างหน้า แต่ด้วยกิจกรรมของมนุษย์ทำให้ภาวะ 100 ปีในอนาคตเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน และยังมีผลกระทบแรกที่เกิดขึ้นกับ “ขั้วโลกเหนือ” และ “ขั้วโลกใต้” ซึ่งเป็นด่านแรกในการเผชิญปัญหาโลกร้อนนี้

         รศ. ดร.สุชนา ได้เคยให้ความเห็นเกี่ยวกับการเดินทางไปขั้วโลกว่า "กว่าจะเห็นก้อนน้ำแข็งใช้เวลานานมาก เพราะน้ำแข็งละลายหมด พวกหมีขาวที่คิดว่ามันจะอยู่บนแผ่นน้ำแข็ง แต่เราเห็นอยู่บนหญ้า บนหน้าผา เพราะไม่มีน้ำแข็งให้มันอยู่ แล้วเราเห็นหมีขาวมันกินหญ้า มันไม่ได้เป็นมังสวิรัติ แต่พฤติกรรมมันเปลี่ยน และเชื่อไหมว่าขั้วโลกได้รับผลกระทบจากขยะ เพราะกระแสน้ำมันไหล สุดท้ายมันไปตกที่ขั้วโลกเหนือและใต้ เราตกใจเลย บนเกาะไม่มีใครอยู่ แต่เห็นขยะอยู่บนเกาะ ทุกก้าวที่เดินไปบนชายหาดจะพบขยะอย่างน้อย 1 ชิ้น เช่น ขวดน้ำ ทุ่น” ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นถึงวิกฤตของสิ่งแวดล้อมในระดับโลก ในขณะเดียวกัน รศ. ดร.สุชนา ก็เป็นนักวิชาการและนักวิจัยไทยคนหนึ่งที่มีความเห็นว่า ประเทศไทยเองก็เข้าสู่สถานะ “วิกฤติสิ่งแวดล้อม” โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทางทะเล และก็ได้เป็นกระบอกเสียงสำคัญในการผลักดันเกี่ยวกับการอนุรักษNผ่านการทำงานในปัจจุบัน

          ปัจจุบัน รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ ดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ และอาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลกและวันมหาสมุทรโลก เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 รศ.ดร.สุชนา ได้รับการแต่งตั้งจากองค์การสหประชาชาติเพื่อมหาสมุทรและองค์กร AFMA – FAO Annex แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ให้เป็น ทูตแห่งมหาสมุทรเพื่อความยั่งยืนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Sustainable Ocean Ambassador: SOA ในฐานะผู้ทุ่มเทและมีความโดดเด่นในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ รวมถึงงานวิจัยด้านขยะทะเล และไมโครพลาสติกในห่วงโซ่อาหาร เพื่อนำความอุดมสมบูรณ์กลับคืนสู่ท้องทะเลไทยโดยการร่วมมือกับชุมชนและชาวบ้าน นอกจากนี้ยังเป็นครูสอนดำน้ำ อาจารย์พิเศษ วิทยากรพิเศษ ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ ผู้เขียนบทความ และผู้แปลบทความด้านการดำน้ำ การอนุรักษ์ทางทะเล และการท่องเที่ยวทางทะเล ให้กับให้นิตยสารทั้งในและต่างประเทศ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ และหน่วยราชการอื่น ๆ อีกด้วย

แหล่งที่มา

รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับแต่งตั้งเป็น “ทูตแห่งมหาสมุทรเพื่อความยั่งยืนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2563. จาก https://www.chula.ac.th/news/19870/

มื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลาย อะไรจะเกิดขึ้น ?. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2563. จาก https://news.thaipbs.or.th/content/274574

"ดร.สุชนา ชวนิชย์" กับปฏิบัติการวิจัยขั้วโลกใต้ครั้งที่สองของคนไทย. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2563. จาก https://mgronline.com/science/detail/9520000116020

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สุชนา ชวนิชย์, นักวิทยาศาสตร์หญิงไทย, นักวิทยาศาสตร์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 18 มิถุนายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นางสาวเมขลิน อมรรัตน์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11644 รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 23 รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ /article-science/item/11644-23
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    สุชนา ชวนิชย์ นักวิทยาศาสตร์หญิงไทย นักวิทยาศาสตร์
คุณอาจจะสนใจ
นักวิทยาศาสตร์สตรีชาวอิตาเลียน ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-18
นักวิทยาศาสตร์สตรีชาวอิตาเลียน ในคริสต์ศ...
Hits ฮิต (2056)
ให้คะแนน
ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา(Renaissance) ใคร ๆ ก็รู้จักนักวิทยาศาสตร์เซ่น Galileo Galilei, Nicolaus Copemn ...
รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 24 ศาสตราจารย์พิเ ...
รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนท...
Hits ฮิต (7657)
ให้คะแนน
เดินทางมาตอนสุดท้ายแล้วสำหรับบทความซีรี่ส์ชุดรู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ในบทความสุดท้ายของ ...
อุณหภูมิในหน่วย “เคลวิน”
อุณหภูมิในหน่วย “เคลวิน”
Hits ฮิต (2094)
ให้คะแนน
วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2367 เป็นวันคล้ายวันเกิดของ William Thomson, 1st Baron Kelvin นักฟิสิกส์และ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)