logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

นักวิทยาศาสตร์สตรีชาวอิตาเลียน ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-18

โดย :
ศ.ดร.สุทัศน์ ยกล้าน
เมื่อ :
วันอังคาร, 08 มีนาคม 2565
Hits
2860

            ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา(Renaissance) ใคร ๆ ก็รู้จักนักวิทยาศาสตร์เซ่น Galileo Galilei, Nicolaus Copemnicus, Tycho Brahe, Johannes Kepler ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นผู้ชาย แต่แทบไม่มีใครรู้ความสามารถด้านวิชาการของสตรีในยุคนั้นเลย เมื่อปี ค.ศ. 2014 Meredith K. Ray ได้เรียบเรียงหนังสือชื่อ Daughters of Alchemy: Women and Scientific Culture in Early Modern Italy ซึ่งจัดพิมพ์โดย Harvard University Press ผู้เขียนได้กล่าวถึงความสามารถทางวิทยาศาสตร์

 

ladysci 01ภาพ ปกหนังสือ Daughters of Alchemy: Women and Scientific Culture in Early Modern Italy
ที่มา https://books.google.co.th/books/about/Daughters_of_Alchemy.html?id=YZ6JBwAAQBAJ&source=kp_cover&redir_esc=y

            ของสตรีชาวอิตาเลียนหลายคนในสมัยนั้น เซ่น Margherita Sarrocchi ซึ่งเป็นกวีที่สนใจดาราศาสตร์ กับคณิตศาสตร์มาก เธอได้เคยเขียนจดหมายถึง Galileo 7 ฉบับ (หลักฐานเหล่านี้มีเก็บอยู่ที่หอจดหมายเหตุแห่งมหาวิทยาลัย Bologna) และ Galileo ได้ตอบจดหมายของเธอ 1 ฉบับ ในจดหมายนั้นเธอได้ขอความเห็นของGalileo ที่มีต่อบทประพันธ์ของเธอและในเวลาเดียวกันเธอได้ตั้งข้อสังเกตของเธอที่มีต่อผลงานดาราศาสตร์ของเขาด้วย ดังนั้นการที่ Galileo ได้ตอบจดหมายคงเป็นเพราะเขารู้สึกชื่นชมในข้อสังเกตของเธอมาก

 

 

ladysci 02

ภาพ Margherita Sarrocchi และ Galileo

ที่มา http://www.gregorybufithis.com/2016/08/04/among-my-summer-readings-margherita-sarrocchis-letters-to-galileo/

            แม้หนังสือที่เธอเรียบเรียงจะไม่หลงเหลือให้คนปัจจุบันรู้ว่า ผู้หญิงในสมัยนั้นรู้วิทยาศาสตร์อะไรบ้าง แต่ Ray ก็ได้แสดงให้ทุกคนเห็นว่า การได้อ่านบทกวี และจดหมายที่ Sarocchi เขียนตอบโต้กับ Galileo เรื่องบทความที่เธอเขียนเกี่ยวกับวิทยาการเล่นแร่ แปรธาตุก็ได้ทำให้โลกรู้ว่า สตรีสูงศักดิ์ในอิตาลีนิยมใช้การเล่นแร่ แปรธาตุ เพื่อรักษาคนไข้ ปรุงน้ำหอม และประดิษฐ์ยาอายุวัฒนะ ซึ่งเทคนิคเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สตรีสูงศักดิ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 ต้องรู้และถนัด

            Caterina Sforza แห่งเมืองForli เป็นสตรีอีกท่านหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องเล่นแร่แปรธาตุมากดังที่ Niccolo Machiavelli ได้เคยเขียนบันทึกเกี่ยวกับผลงานของเธอในหนังสือ The Prince ซึ่งตีพิมพ์ในปีค.ศ. 1532ว่าเธอได้ออกมาต่อสู้ป้องกันเมือง Forli ให้รอดพ้นจากการโจมตีของ Cesare Borgia และได้ถ่ายทอดความรู้ด้านการเล่นแร่แปรธาตุให้ลูกชายเป็นมรดกดกทอด

 

ladysci 03

ภาพ Caterina Sforza
ที่มา http://biografieonline.it/biografia-caterina-sforza

            ส่วนที่ Venice มี Camilla Erculiani ซึ่งได้เขียนบทความลงในวารสาร Letters on Natural Philosophy ที่ได้กล่าวถึงเหตุการณ์น้ำท่วมโลก โดยใช้เหตุผลและหลักการทางวิทยาศาสตร์ วารสารเล่มนี้ได้รวบรวมบทความของเธอที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในปีค.ศ. 1584 ที่ Poland ด้วยเพราะเธอต้องการจะถวายหนังสือเล่มนั้นแด่สมเด็จพระราชินี Anna Jagiellion ด้วยตนเอง และเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกสอบสวนโดยศาลศาสนาแห่งกรุงรม แม้กระนั้นสันตะปาปาแห่งวาติกันก็ทรงบัญชาให้มีการไต่สวนเธอ แต่เธอก็รอดพันจากการถูกไฟเผาทั้งเป็น เพราะเพื่อน ๆ ได้อ้างว่าเธอเป็นผู้หญิงโง่ที่ไม่รู้อะไรเลย จึงเพ้อเจ้อ และฟุ้งซ่านไม่เข้าท่า

            เมื่อเวลาผ่านไปสตรีได้ออกมาแสดงบทบาทในวงการวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์ชายเช่น Giuseppe Passi ได้ออกมาโจมตีผู้หญิงว่าไม่สามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้ โดยได้เขียนหนังสือชื่อ The Defects of Women ที่ถูกนำออกเผยแพร่ในปี ค.ศ.1599 และทำให้สตรีชื่อ Lucrezia Marinella ออกมาตอบโต้ในหนังสือ The Nobility and Excellence of Women and the Defects and Vice of Men เมื่อ ค.ศ.1600 ว่า ผู้ชายเองก็มีข้อบกพร่องมากมายและบางคนก็ไร้ความสามารถ การตอบโต้ในลักษณะนี้ทำให้หนังสือทั้งสองเล่มขายดี แต่ Marinella ก็ได้กล่าวว่า แม้ผู้หญิงจะไม่เก่งเท่า Galileo แต่ก็มีความสามารถในการเล่นแร่แปรธาตุไม่แพ้ผู้ชาย

            ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 สตรีอิตาลีได้รับการศึกษามากขึ้น และเริ่มเรียนวิทยาศาสตร์ด้วยการเข้าฟังการบรรยายในสมาคมและในสังคมชนชั้นสูง และในคอนเสิร์ตแต่ยังไม่สามารถข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยได้ จนกระทั่งมหาวิทยาลัย Bologna เปิดรับสตรีเข้าเรียนวรรณคดีวิทยาศาสตร์ และแพทย์ศาสตร์ ในปี ค.ศ.1726 เป็นครั้งแรกทั้ง ๆ ที่มหาวิทยาลัยนี้เก่าแก่ที่สุดในโลก เพราะจัดตั้งตั้งแต่ ค.ศ.1088 (ก่อนอาณาจักรสุโขทัย) และเป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนนิสิตชายโดยเฉพาะ และประเด็นที่น่าสนใจของมหาวิทยาลัยนี้คือ นิสิตสามารถเลือกอาจารย์ และอธิการบดีมาเป็นคนสอนและบริหารมหาวิทยาลัยได้

            จนในที่สุด Laura Bassi ก็ได้เป็นสตรีคนแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย Bologna ในสาขาวิชาตรรกะวิทยา metaphysics และวิทยาศาสตร์ในปี ค.ศ.1732 โดยในการสอบวิทยานิพนธ์ กรรมการสอบที่สอบเธอคือบาทหลวง Lambertini ซึ่งในเวลาต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นสันตะปาปา Benedict ที่ 14 และมีสมาชิกวุฒิสภามาร่วมสอบอีก 4 คน ในการสอบครั้งนั้นมีประซาชนเข้าฟังมากมาย เพราะทุกคนต้องการจะรู้ว่า ผู้หญิงเก่งวิทยาศาสตร์ได้หรือไม่ ผลปรากฏว่าเธอสามารถตอบคำถามอาจารย์ได้อย่างคล่องแคล่ว แม้จะสอบผ่าน แต่เธอก็ไม่สามารถสอนวิทยาศาสตร์ได้ เพราะสมัยนั้นมีกฎหมายห้ามผู้หญิงสอนหนังสือในมหาวิทยาลัย แต่เธอก็รักฟิสิกส์และได้เปิดสอนนิสิตที่บ้านเป็นเวลานานร่วม 30 ปี

 

ladysci 04

ภาพ Laura Bassi

ที่มา https://en.wilkipedia.org/wiki/Laura.Bassi

            เมื่ออายุ 27 ปี เธอได้เข้าพิธีสมรสกับ Giuseppe Varati และมีทายาท 12 คน จึงไม่มีเวลาทำงานวิทยาศาสตร์ระดับสูง กระนั้นเมื่อ Francois Voltaire ต้องการจะสมัครเป็นสมาชิกของ Academy of Sciences แห่ง Bologna เขาได้ขอให้เธอเขียนคำรับรองให้ เพราะชื่อเสียงและความเห็นของเธอมีน้ำหนักในการพิจารณา เขาก็ได้รับเลือกเป็นสมาชิกตามที่ต้องการ เมื่อมีชื่อเสียง สภาเมือง Bologna ได้มอบเงินเดือนให้เธอ ทำเหรียญที่ระลึกในนามของเธอ และตั้งชื่อถนนในเมืองตามชื่อของเธอ

            ตั้งแต่นั้นมา อิตาลีก็มีผู้หญิงที่เก่งมาเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้น และมีสตรีคนหนึ่งที่เก่งคณิตศาสตร์มากชื่อ Maria Gaetana Agnesi เธอเกิดเมื่อปี๊ค.ศ. 1718 (ตรงกับรัชสมัยพระภูมินทราชา) เป็นลูกคนโตของครอบครัวที่มีน้อง 21 คน บิดาชื่อ Pietro และมารดาชื่อ Anna Fortunato Bivio ซึ่งได้จัดบ้านให้เป็นศูนย์กลางการพบปะของบรรดานักวิซาการ Maria จึงมีโอกาสได้เรียนภาษาต่าง ๆ จากบรรดาแขกที่มาเยี่ยม และสามารถพูดภาษาฝรั่งเศสได้ตั้งแต่อายุได้ 5 ขวบ พูดละตินและกรีกได้เมื่ออายุ 9 ขวบเมื่ออายุ 11 ขวบ เธอสามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา อีกทั้งสามารถเรียบเรียงตำรา "Propositiones Philosophicae" ที่เกี่ยวกับปรัชญาซึ่งเธอได้ยินได้ฟังมาจากวงสนทนา

            ตัว Maria สนใจเรื่องศาสนามาก จึงขออนุญาตบิดาออกบวซชี แต่บิดาไม่ยินยอม เธอจึงหันไปสนใจคณิตศาสตร์และได้เรียบเรียงตำรา Instituzioni Analitiche อันเป็นผลงานที่ได้จากการสังเคราะห์วิชาพืชคณิตกับเรขาคณิตเข้าด้วยกันผลงานของเธอฉบับที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1748 ถูกนำไปถวายแด่จักรพรรดินี้ Maria Teresa แห่งออสเตรีย ซึ่งได้ทำให้พระนางทรงพอพระทัยมาก จึงทรงประทานแหวนให้เธอหนึ่งวง

            หนังสือเล่มนั้นถูกแบ่งแยกออกเป็นสองเล่มเล่มแรกแสดงความสัมพันธ์ระหว่างพืชคณิตกับเรขาคณิตและมีสมการหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก คือ เส้นโค้ง Agnesi (Agnesi's Cur) ซึ่งมีสมการเป็น x2y = a2 (a-y) โดยที่ a เป็นค่าคงตัว แม้แต่ Pierre de Fermat ก็ยังอ้างถึงผลงานชิ้นนี้เพราะเขารู้สึกประทับใจในความสามารถของเธอมาก

 

ladysci 05

ภาพ หน้าแรกของหนังสือ Instituzioni Analltiche
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Maria_Gaetana.Agnesi

            ส่วนเล่มที่สองเป็นเรื่องแคลคูลัส ที่มีความลึกซึ้งจน Joseph Louise Lagrange ก็ยังอ้างว่า ผลงานของเขาได้รับอิทธิพลด้านการเขียนจาก Agnesi นอกจากนี้สมาคมFrench Academy of Sciences ก็ยังได้ยกย่องเธอว่า ถ้าเป็นผู้ชาย สมาคมก็คงเลือกเธอเข้าเป็นสมาชิกแล้ว

 

ladysci 06

ภาพ Maria Gaetana Agnesi
ที่มา https://en.wilkdpedia.org/wikiMaria_Gaetana.Agnesi

            แม้ว่าสมาคมวิซาการของฝรั่งเศสหลายสมาคมจะปฏิเสธไม่รับเธอเป็นสมาชิก แต่ Agnesi ก็ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม Bologna และเป็นศาสตราจารย์คณิตศาสตร์สตรีคนแรกของมหาวิทยาลัย

            เมื่อบิดาของเธอเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1752 Agnesi วัย 34 ปีได้ทิ้งงานคณิตศาสตร์ ไปอุทิศชีวิตที่เหลือเพื่อช่วยคนยากจน คนเจ็บ และคนขรา โดยได้ซื้อบ้านให้คนจนอยู่ได้ขายทรัพย์สมบัติที่เธอได้รับจากมรดก และขายของขวัญที่เธอได้รับจากสันตะปาปากับจักรพรรดินีเป็นทุนในการจัดการบ้านคนชรา และเธอได้พำนักอยู่ที่บ้านนั้นจนกระทั่งเสียชีวิตในวัย 81 ปี ศพถูกนำไปฝังในสุสานของคนยากไร้ ปัจจุบันในเมือง Milan มีรูปปั้นครึ่งตัวของ Agnesi ติดตั้งเป็นที่ระลึกถึงนักคณิตศาสตร์สตรีชาวอิตาเลียนในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคนนี้

 

ladysci 07

ภาพ รูปปั้นครึ่งตัวของ Agnesi

ที่มา https://en.wilkdpedia.org/wikiMaria_Gaetana.Agnesi

            บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

บรรณานุกรม

Phipps. Alison. (2008). Italian Woman in Science. Trentham Books.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
Meredith K. Ray, นักวิทยาศาสตร์, อิตาลี
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ศ.ดร.สุทัศน์ ยกล้าน
ระดับชั้น
ปฐมวัย
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
ปฐมวัย
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12487 นักวิทยาศาสตร์สตรีชาวอิตาเลียน ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-18 /article-science/item/12487-16-18
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    อิตาลี นักวิทยาศาสตร์ Meredith K. Ray
คุณอาจจะสนใจ
ที่มาของรางวัลโนเบล
ที่มาของรางวัลโนเบล
Hits ฮิต (19944)
ให้คะแนน
หากเอ่ยถึงรางวัลหนึ่งในระดับสากล และค่อนข้างจะเป็นที่รู้จักกันดีในวงการวิทยาศาสตร์ทั่วโลกรวมถึงประเ ...
อุณหภูมิในหน่วย “เคลวิน”
อุณหภูมิในหน่วย “เคลวิน”
Hits ฮิต (2939)
ให้คะแนน
วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2367 เป็นวันคล้ายวันเกิดของ William Thomson, 1st Baron Kelvin นักฟิสิกส์และ ...
รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 23 รศ.ดร.สุชนา ชว ...
รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนท...
Hits ฮิต (3610)
ให้คะแนน
กลับมาอีกครั้งกับบทความซีรี่ส์ชุดรู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ในคราวนี้เราจะขอกล่าวถึงบุคคลท ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)