logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ตอนที่ 3 อัตราส่วนและร้อยละ

โดย :
เมขลิน อมรรัตน์
เมื่อ :
วันอังคาร, 13 ตุลาคม 2563
Hits
39005

          มาถึงตอนที่ 3 กันแล้ว กับบทความเรื่องประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน สำหรับบทความนี้นำเสนอเรื่อง อัตราส่วน และร้อยละ ซึ่งเป็นหลักการทางคณิตศาสตร์ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และใช้งานกันบ่อยมาก ๆ

11474 1
ภาพที่ 1 แผนภูมิแสดงตัวอย่างการแสดงอัตราส่วนและเปอร์เซ็นต์
ที่มา ดัดแปลงจาก https://pixabay.com/th , Deedster

          อัตราส่วน เศษส่วน และร้อยละ   มีความสัมพันธ์กันในเรื่องของตัวเลขและจำนวน ซึ่งในชีวิตประจำวันของเรานั้น ตัวเลขและจำนวนเหล่านี้ก็สามารถพบเห็นได้ในข้อมูลหรือสารที่เกี่ยวกับกับปริมาณของสิ่งของในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การนับจำนวน การซื้อขาย ระยะทาง เวลา เป็นต้น อีกทั้งต้องอาศัยวิธีการคำนวณทางคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเราดังที่กล่าวไป

อัตราส่วน (Ratio)

          การเปรียบเทียบปริมาณหนึ่งกับอีกปริมาณหนึ่ง หรือตั้งแต่ปริมาณสองสิ่งขึ้นไป โดยปริมาณที่นำมาเปรียบเทียบอาจมีหน่วยเดียวกันหรือต่างหน่วยก็ได้ เราเรียกว่า อัตราส่วน  โดยการเปรียบเทียบปริมาณนั้นอาจแทนด้วยสัญลักษณ์   (ปริมาณของสิ่งแรก) : (ปริมาณของสิ่งที่สอง) หรือ เขียนแทนในรูปเศษส่วนได้คือ  (ปริมาณของสิ่งแรก) / (ปริมาณของสิ่งที่สอง) หรืออ่านว่า (ปริมาณของสิ่งแรก) ต่อ (ปริมาณของสิ่งที่สอง)

          ในทางคณิตศาสตร์ เราให้ a และ b เป็นจำนวนสองจำนวน (a เป็นปริมาณของสิ่งแรก และ b เป็นปริมาณของสิ่งที่สอง)

อัตราส่วนปริมาณ a ต่อปริมาณ b เขียนแทนด้วย   a:b หรือ a / b (อ่านว่า เอ ต่อ บี) โดยที่ a > 0 และ b > 0 

          ตัวอย่างอัตราส่วนที่พบได้ในชีวิตประจำวัน

          ในชีวิตประจำวัน เราสามารถใช้ความรู้เรื่องอัตราส่วน หาราคาสินค้าต่อหน่วยหรือเปรียบเทียบราคาสินค้าต่อหน่วยสินค้าชนิดเดียวกัน แต่ต่างยี่ห้อต่างแหล่งที่มาได้ เพื่อการเลือกซื้อที่คุ้มค่าที่สุด

          ตัวอย่างเช่น  เช่น เมื่อเราไปตลาดเพื่อซื้อไข่ไก่  ไข่ไก่ของร้าน A จำนวน  10 ฟอง ราคา  50 บาทและไข่ไก่ของร้าน B จำนวน 15 ฟอง  ราคา 85 บาท เราสามารถใช้อัตราส่วนเพื่อคำนวณเปรียบเทียบหาราคาสินค้าต่อหน่วยได้ ดังนี้

          ราคาต่อหน่วยของไข่ไก่ ร้าน A  =  50 บาท / 10 ฟอง       = 5.00 บาท/ฟอง

          ราคาต่อหน่วยของไข่ไก่ ร้าน B  =  85 บาท / 20 ฟอง       = 4.25 บาท/ฟอง

          ดังนั้น เราควรที่จะเลือกซื้อไข่ไก่ จากร้าน B จึงจะได้ราคาที่ถูกกว่า

ร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์ (Percentage Definition)

          ร้อยละ เป็นตัวเลขอัตราส่วนที่มีจำนวนหลังหรือมีตัวส่วนเป็น 100 นิยมเรียกว่าเปอร์เซ็นต์ เราสามารถเปลี่ยนอัตราส่วนให้เป็นร้อยละ หรือเปลี่ยนร้อยละให้เป็นอัตราส่วนได้ นอกจากนี้เปอร์เซ็นต์ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเปรียบเทียบสิ่งที่มีฐานต่างกัน จากการปรับฐานให้เท่ากันคือปรับฐานเป็น 100 หรือที่เราเรียกว่า ร้อยละ นั่นเอง

          อาจสรุปให้เข้าใจโดยง่ายว่า ร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ คือ อัตราส่วนแสดงการเปรียบเทียบปริมาณใด

ปริมาณหนึ่งกับ 100 โดยอาจเขียนได้ดังนี้

          ร้อยละ A  หรือ A % เท่ากับ A:100 หรือ  A / 100

          เช่น  ร้อยละ 12  หรือ 12 % เท่ากับ 12:100 หรือ  12 / 100

                 ร้อยละ 0.5  หรือ 0.5 % เท่ากับ 0.5:100 หรือ  0.5 / 100

ตัวอย่างร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์ ที่พบได้ในชีวิตประจำวัน

          ในชีวิตประจำวัน เราสามารถใช้ความรู้เรื่องร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์ ได้จากข้อมูล รายงาน ข่าวสาร ในรูปแบบร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ได้ทั่วไป เช่น รายงานทางธุรกิจหรือรายงานยอดรายได้จากการขายต่าง ๆ ข้อมูลส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ   ซึ่งข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่ทำให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนกว่าข้อมูลแบบปกติ

          ตัวอย่างเช่น  เช่น เมื่อเราไปซื้อรองเท้าคู่หนึ่งที่ติดป้ายราคาไว้ 1,500 บาท ร้านค้าติดป้ายลดราคาไว้ 20% ถ้าเรานำความรู้เรื่องร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์เข้ามาใช้ จะทำให้เราทราบได้ว่า ส่วนลด 20% ของราคาป้าย เป็นเงินกี่บาท และราคารองเท้าหลังจากหักส่วนลดแล้ว ราคาคู่ละกี่บาท ซึ่งสามารถหาได้ดังนี้

          ส่วนลด 20% ของราคาป้าย  (20/100) X 1,500 = 300 บาท

          ดังนั้น ราคารองเท้าหลังจากหักส่วนลดแล้ว ราคาคู่ละ (ราคาป้าย – ส่วนลด) =  1,500 – 300 = 1,200 บาท

          ข้อสังเกตที่อยากจะแนะนำเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอัตราส่วนและร้อยละที่อยากจะฝากไว้ซึ่งแสดงไว้ในภาพข้างล่างนี้

11474 2

ภาพที่ 2 ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนและร้อยละ
ที่มา ดัดแปลงจาก https://static.trueplookpanya.com/trueplookpanya/media/hash_knowledge/201905/32763/45953/FILE_3276345953.pdf

          เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับบทความนี้ อย่าลืมติดตามบทความเรื่อง ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ตอนที่ 4 ได้ในตอนต่อไป

แหล่งที่มา

คณิตศาสตร์ในชีวิตประจําวัน  Mathematics for Daily Life .  สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563. จาก https://reg2.crru.ac.th/reg/files/20150929020102_3aa31caba936b876645ada5b607be6ff.pdf

คณิตศาสตร์กับการแก้ปัญหาและตัดสินใจในชีวิตประจำวัน : อัตราส่วน. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563. จาก https://gened.siam.edu/wp-content/uploads/2010/06/math-ppt9.pdf

คณิตศาสตร์กับการแก้ปัญหาและตัดสินใจในชีวิตประจำวัน : ร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563. จาก https://gened.siam.edu/wp-content/uploads/2010/06/math-ppt10.pdf

อ.มัลลิกา ราชกิจ. คณิตศาสตร์ในชีวิตประจําวัน . สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563. จาก https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MTU1NDU1

อัตราส่วน ร้อยละ และการประยุกต์. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563. จาก http://genedu.msu.ac.th/elearning/0033005/wp-content/uploads/2019/07/chapter-3.pdf

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ประโยชน์ของคณิตศาสตร์,คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน,อัตราส่วน, เศษส่วน, ร้อยละ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 14 เมษายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
เมขลิน อมรรัตน์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11474 ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ตอนที่ 3 อัตราส่วนและร้อยละ /article-mathematics/item/11474-3
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    ร้อยละ อัตราส่วน คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ เศษส่วน
คุณอาจจะสนใจ
ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ตอนที่ 2 การให้เหตุผล
ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ตอน...
Hits ฮิต (18338)
ให้คะแนน
มาสนุกกันต่อกับบทความเรื่องประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน สำหรับบทความนี้นำเสนอตอนที่ 2 การให ...
คณิตศาสตร์มีโครงสร้างหรือเปล่า
คณิตศาสตร์มีโครงสร้างหรือเปล่า
Hits ฮิต (11528)
ให้คะแนน
สิ่งต่าง ๆ บนโลกใบนี้ ส่วนใหญ่ก็มักจะมีโครงสร้างของสิ่งนั้น ๆ อยู่เสมอ แล้วเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า คณ ...
ไอศกรีมสอนคณิตศาสตร์
ไอศกรีมสอนคณิตศาสตร์
Hits ฮิต (15642)
ให้คะแนน
ประโยคยอดฮิตของเด็กไม่ชอบคณิตศาสตร์ว่า “เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม” ผู้เขียนก็เลยอยากหาคำตอบจากอะไรบางอย ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)