logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

จากเทคโนโลยีบนฟากฟ้าสู่พื้นดิน

โดย :
บุญวิทย์ รัตนทิพยาภรณ์
เมื่อ :
วันอังคาร, 27 มิถุนายน 2566
Hits
1336

   โลกของเราทุกวันนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นโลกของเทคโนโลยี ซึ่งท่านผู้อ่านคงจะรู้จักเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ กันบ้างแล้ว เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีการขนส่ง เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีการผลิต เนื่องจากเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่หากพูดถึงเทคโนโลยีด้านการทหาร หลายท่านคงไม่รู้ว่ามีการพัฒนาไปอย่างไรบ้าง เนื่องจากอาจจะไกลตัวและไม่ได้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน แต่ทราบหรือไม่ว่าเทคโนโลยีอันทันสมัยหลาย ๆ อย่างที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน มีจุดเริ่มต้นมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการทหาร เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก หรือ GPS  พลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีด้านการทหารที่กำลังมีการใช้กันในปัจจุบันหรือที่กำลังพัฒนาอยู่นี้ อนาคตเราอาจจะได้ใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้ด้วยก็เป็นได้ ในบทความนี้เราจะมาติดตามเทคโนโลยีในส่วนของเครื่องบินรบ ซึ่งถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญและมีการพัฒนาที่ก้าวหน้ามากที่สุดประเภทหนึ่งของเทคโนโลยีด้านการทหาร

   ถ้าพูดถึงเครื่องบินรบ หลายท่านอาจยังนึกไม่ออกว่าจะนำเทคโนโลยีใดมาใช้ทางด้านพลเรือน ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่าง 2 เทคโนโลยี นั่นคือ ระบบแสดงข้อมูลในห้องนักบินและระบบเรดาร์ ในอดีตนักบินจะต้องมองเครื่องวัดประกอบการบินที่อยู่บนแผงหน้าปัด ซึ่งมีอยู่มากมาย จากนั้นจึงนำข้อมูลที่อ่านได้มาประมวลผล เพื่อให้รับรู้สถานการณ์ต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบันตลอดเวลา และเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องทันเหตุการณ์  แต่เนื่องจากเครื่องบินรบมีความเร็วสูงมาก นักบินจะมีเวลาตัดสินใจไม่มากนัก นักบินจึงอาจเกิดความเครียดจากการที่ต้องก้มลงมองที่แผงหน้าปัดพร้อม ๆ กับต้องมองที่ด้านนอกเครื่องบิน เพื่อรับรู้สถานการณ์ภายนอก จึงมีผู้คิดค้นการนำข้อมูลการบินไปแสดงบนกระจกใสที่ติดไว้ในตำแหน่งตรงหน้านักบินในระดับสายตา เรียกว่า Head-Up Display หรือ HUD  ทำให้ไม่ต้องก้มลงมองที่แผงหน้าปัด นักบินสามารถมองไปข้างหน้าพร้อมกับมองเห็นข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน

แผงหน้าปัดแบบเก่า

ภาพแผงหน้าปัดแบบเก่า
ที่มา : http ://en.wikipedia.org/wiki/File:F86d-cockpit.jpg

แผงหน้าปัดที่มี HUD

ภาพแผงหน้าปัดที่มี HUD
ที่มา : http ://strikefighterconsult-inginc.com/tag/cockpit

   เทคโนโลยี HUD ดังกล่าวได้นำมาใช้ในรถยนต์หลายยี่ห้อ เช่น โตโยต้า BMW ฟอร์ด โดยผู้ขับไม่ต้องก้มลงมองที่หน้าปัด เพียงแต่มองไปที่ด้านหน้ารถตามปกติ ข้อมูลการขับรถจะปรากฏตรงกระจกรถด้านหน้าคนขับ ทำให้เพิ่มความสะดวกและความปลอดภัย

ระบบ HUD ในรถยนต์

ภาพแสดงระบบ HUD ในรถยนต์
ที่มา : http ://www.bolido.com/2011/11/bmw-te-hace-sentir-comopiloto-de-un-caza-con-su-colorido-hud/p90051928

   หรือแม้แต่การพัฒนาเป็น application บนโทรศัพท์มือถือ ที่ชื่อว่า Hudway ใช้สำหรับการนำทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ การใช้งานเพียงแค่กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดปลายทาง แล้วนำโทรศัพท์ไปวางไว้บนคอนโซลหน้ารถ ข้อมูลบนหน้าจอโทรศัพท์จะปรากฏบนกระจกหน้ารถให้เราเห็นได้ทันที (ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.hudwayapp.com)

 

ระบบนำทาง

ภาพการใช้งาน application ‘HUDWAY’
ที่มา: http://www.hudwayapp.com

   อีกตัวอย่างหนึ่งของการนำเทคโนโลยีของเครื่องบินรบมาใช้งานด้านพลเรือนคือ ระบบเรดาร์  ในเครื่องบินรบเรดาร์จะใช้สำหรับตรวจจับเป้าหมายทั้งในอากาศ บนภาคพื้นดินและในทะเล แต่ในด้านพลเรือนจะนำมาใช้ทางด้านการพยากรณ์อากาศ การตรวจจับกลุ่มเมฆฝน ระบบติดตามอากาศยานในสนามบิน การตรวจจับความเร็วของรถบนถนน ระบบเตือนการชนสิ่งกีดขวางในรถยนต์ เป็นต้น

ตัวอย่างเครื่องตรวจจับความเร็วด้วยเรดาร์

ตัวอย่างเครื่องตรวจจับความเร็วด้วยเรดาร์
ที่มา : www.amazon.com/BushnellVelocity-Value-101911-Radar/dp/B004EHUK5A

   จากทั้งสองตัวอย่างที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีในเครื่องบินรบสามารถนำมาใช้งานด้านพลเรือนและเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรา ต่อไปผู้เขียนจะขอนำเสนอตัวอย่างของเทคโนโลยีเครื่องบินรบในปัจจุบันและอนาคต ว่ามีการพัฒนาไปอย่างไรบ้าง ท่านผู้อ่านลองจินตนาการตามไปด้วยนะครับว่า เทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตของเราในอนาคตได้อย่างไร

อากาศยานไร้คนขับหรือ UAV

   ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าปัจจุบันนี้ นักบินหรือผู้ควบคุมซึ่งนั่งอยู่ในห้องควบคุม ณ แห่งใดแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถบังคับเครื่องบินให้บินไปทิ้งระเบิดทุกแห่งบนโลกใบนี้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถบินตรวจการณ์และเฝ้าจับตาดูเป้าหมายบนพื้นโลกได้นานมากกว่า 24 ชั่วโมง ฟังดูแล้วน่าทึ่งมากเลยใช่ไหมครับ แต่ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังมีที่น่าทึ่งยิ่งกว่านี้อีก ถ้าอยากรู้ต้องลองอ่านต่อไปเรื่อย ๆ

   ปัจจุบันนี้หลายประเทศกำลังมุ่งพัฒนาอากาศยานไร้คนขับของตนเอง (Unmanned Aerial Vehicle : UAV) เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ รัสเซีย จีน อิสราเอล หรือแม้แต่ประเทศไทย ซึ่งกำลังพัฒนาอยู่ในระดับงานวิจัย เนื่องจาก UAV มีข้อดีคือนักบินไม่ต้องนั่งไปกับเครื่อง เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือถูกยิงตกนักบินจะไม่ได้รับอันตรายใด ๆ นอกจากนี้เครื่องบินจะมีที่ว่างภายในเพิ่มขึ้น จึงสามารถติดตั้งอุปกรณ์หรือน้ำมันได้มากขึ้น และสามารถบินได้นานขึ้นเนื่องจากนักบินสามารถเปลี่ยนผลัดกันได้

ภาพ UAV แบบ Aerostarของประเทศอิสราเอล มีใช้งานในกองทัพอากาศไทย

ภาพ UAV แบบ Aerostar ของประเทศอิสราเอล มีใช้งานในกองทัพอากาศไทย
ที่มา : http ://defence.pk/threads/unmannedaerial-vehicle-uav-pic- tures.44484

   UAV  ที่ก้าวหน้าที่สุดคงหนีไม่พ้นประเทศสหรัฐอเมริกา ความก้าวหน้าที่ว่านี้คือ นักบินสามารถนั่งบังคับเครื่องบินในห้องควบคุมภาคพื้น แล้วส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม ซึ่งโคจรอยู่ทั่วโลกไปยังตัวเครื่องบิน นักบินจึงสามารถบังคับเครื่องบินให้บินไปยังตำแหน่งใดในโลกได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้อุปกรณ์เซนเซอร์ ในการตรวจจับหรือใช้อาวุธโจมตีเป้าหมาย ซึ่งปัจจุบันกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา มีประจำการหลายแบบ เช่น MQ 1 Predator MQ 4 Global Hawk MQ 9 Reaper เป็นต้น และได้เปลี่ยนชื่อเรียก UAV ใหม่ว่า RPA (Remotely Piloted Aircraft) ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ยังไม่ปรากฏว่าได้ทดสอบเครื่องบินที่สามารถควบคุมให้บินไปได้ทั่วโลก ระยะปฏิบัติการไกลสุดเพียงหลักร้อยกิโลเมตรเท่านั้น

ภาพอากาศยานไร้คนขับ MQ 9 Reaperของสหรัฐอเมริกาขณะยิงจรวด

ภาพอากาศยานไร้คนขับ MQ 9 Reaper ของสหรัฐอเมริกาขณะยิงจรวด
ที่มา : http ://dronewars.net/aboutdrone

   ท่านผู้อ่านคิดว่าในอนาคตสายการบินจะสามารถนำระบบไร้นักบินนี้มาให้บริการได้หรือไม่ ท่านคงมีคำถามตามมาว่า แล้วใครล่ะจะกล้าใช้บริการ มีนักบินน่าจะอุ่นใจกว่า แต่ใครที่เคยใช้บริการรถไฟฟ้าของญี่ปุ่นในกรุงโตเกียวที่วิ่งไปยังย่านโอไดบะ คงทราบว่ารถไฟฟ้าเส้นนี้ไม่มีพนักงานขับรถ แต่ใช้การควบคุมจากศูนย์ควบคุม ดังนั้นหากมีการพัฒนาด้านความปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้โดยสาร ไม่แน่ว่าอาจจะมีสายการบินที่ไร้นักบินเกิดขึ้นก็ได้

รถไฟฟ้าสาย Yurikamome ของญี่ปุ่นไม่ใช้พนักงานขับรถ

รถไฟฟ้าสาย Yurikamome ของญี่ปุ่น ไม่ใช้พนักงานขับรถ
ที่มา : http://wikimapia.org/685476/Odaiba-KaihinKoen-Station

อากาศยานโจมตีไร้นักบิน แบบ X 47B

   X 47B เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสาธิตระบบอากาศยานโจมตีไร้นักบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน (Unmanned Combat Air System Carrier Demonstration หรือ UCAS-D) ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาอากาศยานสาธิตแบบไร้คนขับประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน โดยความพิเศษของ X 47B คือ สามารถทำการบินได้ด้วยตนเองตั้งแต่บินขึ้นเดินทางไปปฏิบัติการจนกระทั่งบินลงจอดโดยไม่ต้องใช้นักบิน หรือคนควบคุมแต่อย่างใด เรียกว่าแค่ป้อนโปรแกรมให้กับคอมพิวเตอร์ควบคุมเครื่องบินเท่านั้น หลังจากนั้นตัวเครื่องบินจะดำเนินการเองทั้งหมด จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีนี้มีความก้าวหน้ามากกว่า UAV แบบอื่น ๆ นอกจากการบินได้ด้วยตัวเองแล้ว ยังได้รับการออกแบบให้มีรูปร่างที่ลดการถูกตรวจจับด้วยเรดาร์  ทำให้สามารถบินไปปฏิบัติการในดินแดนข้าศึกโดยไม่ถูกตรวจจับ โดยในวันที่ 14 พฤษภาคม 2556 ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของการบินโลกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ X 47B ประสบความสำเร็จในการบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบินจอร์จ ดับเบิลยู บุช

X 47B

ภาพ X 47B
ที่มา : http ://northafricapost.com/3649-us-navy-first-x-47bdrone-launch.html

X 47B กำลังบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบินเป็นครั้งแรก

X 47B กำลังบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบินเป็นครั้งแรก
ที่มา : http ://www.dailymail.co.uk/news/article-2324571/U-SNavys-X-47B-stealth-drone-launches-aircraft-carrier-time--critics-warnheralds-rise-killer-robots.htm

   หลังจากขั้นตอนนี้ จะมีการทดสอบและประเมินค่าขีดความสามารถอีกหลายรายการ และเนื่องจากเป็นโครงการเพื่อสาธิตเทคโนโลยี หากได้รับความเห็นชอบให้พัฒนาเพื่อนำเข้าประจำการ ก็คาดว่าจะสามารถเข้าประจำการได้ในปี พ.ศ.2562 ผู้เขียนคิดว่าในอนาคตหากเราใช้แนวคิดเทคโนโลยีของ X 47B มาใช้ในการส่งพัสดุก็น่าจะดีไม่น้อย ลองจินตนาการว่าในอนาคตบ้านแต่ละหลังจะมียานบังคับขนาดเล็กที่ใช้สำหรับขนส่งสิ่งของหรือพัสดุ เพียงแค่เราป้อนข้อมูลสถานที่ที่ต้องการไปส่งพัสดุลงในโปรแกรมหรือ application ในโทรศัพท์มือถือ ยานบังคับนี้ก็จะนำพัสดุไปส่งให้ถึงที่หมาย ต่อไปเราอาจจะไม่ต้องเดินทางไปส่งพัสดุที่ไปรษณีย์แล้วก็เป็นได้ แล้วท่านผู้อ่านล่ะครับ ได้แนวคิดอะไรบ้างจากเทคโนโลยีของ X 47B นี้

   หากมองในแง่มุมหนึ่ง สงครามเป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เป็นแรงจูงใจที่ทำให้มนุษย์พยายามคิดค้นเพื่อครองความเหนือกว่า ใครมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ดีกว่าและมากกว่าก็ย่อมจะได้เปรียบ หากผู้คิดค้นได้นำเทคโนโลยีเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป ก็เชื่อได้ว่าเราจะได้รับประโยชน์อย่างมากมายแน่นอน

บรรณานุกรม

HUDWAY. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2556, จาก http://www. hudwayapp.com PILOT 984. (2556). MQ 9 Reaper. นิตยสารแทงโก, 254 ( พฤศจิกายน 2556), 19 – 22.

X 47B. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2556, จาก http://www.naval-technology.com/projects/x-47b-unmanned-combat-air- system-carrier-ucas/

พัฒนาการเทคโนโลยีทางทหาร. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2556,จาก  http://ndsi.rtarf.mi.th/download/ndsi-edu/books/Military-Science-54/chapter3-8.pdf

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เทคโนโลยีด้านการทหาร, เครื่องบินรบ, โดรน
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
บุญวิทย์ รัตนทิพยาภรณ์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ปฐมวัย
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
ปฐมวัย
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12807 จากเทคโนโลยีบนฟากฟ้าสู่พื้นดิน /article-technology/item/12807-copy-misconceptual-physics-22
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    เครื่องบินรบ เทคโนโลยีด้านการทหาร โดรน
คุณอาจจะสนใจ
มารู้จักระบบ Anti drone
มารู้จักระบบ Anti drone
Hits ฮิต (29846)
ให้คะแนน
ปัจจุบันมีการใช้งานโดรน (Drone) กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น จุดเด่นอย่างหนึ่งของโดรน(Drone) หรือเครื่อง ...
เทคโนโลยีสุดล้ำที่มาพร้อมความอันตราย
เทคโนโลยีสุดล้ำที่มาพร้อมความอันตราย
Hits ฮิต (12977)
ให้คะแนน
ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้งนั้นช่วยทำให้ใช้ชีวิตความ ...
ฝ่าวิกฤต โรค ภัย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ฝ่าวิกฤต โรค ภัย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
Hits ฮิต (5928)
ให้คะแนน
ในขณะที่โลกเพิ่งได้รู้จักกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่อย่าง ไวรัสโคโรนา (COVID-19) และยังไม่ได้วางแผนในการร ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)