logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ฝ่าวิกฤต โรค ภัย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

โดย :
อชิรญา ชนะสงคราม
เมื่อ :
วันอังคาร, 06 ตุลาคม 2563
Hits
5502

          ในขณะที่โลกเพิ่งได้รู้จักกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่อย่าง ไวรัสโคโรนา (COVID-19) และยังไม่ได้วางแผนในการรับมือ เชื้อไวรัสก็ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว สร้างความเปลี่ยนแปลงให้โลกอย่างมากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้คนทั่วโลกไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ องค์กรและธุรกิจต่าง ๆ ได้รับผลกระทบอย่างมากมาย ทำให้เราได้เห็นถึงความสำคัญของการเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และจุดเปลี่ยนนี้เองที่ทำให้เกิดเทคโนโลยีที่สามารถช่วยเหลือเราในสภาวะที่ไม่ปกติเช่นนี้ได้ บทความนี้ผู้เขียนยกตัวอย่างสักเล็กน้อยมาดูกันว่า ประเทศกลุ่มแพร่ระบาดรวมถึงประเทศไทยมีเทคโนโลยีอะไรบ้าง ที่จะเข้ามาช่วยในการใช้ชีวิตที่ไม่ง่ายเลยในช่วงแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา (COVID-19) นี้ ติดตามกันได้เลย

11472 1

ภาพถ่ายบุคคลในย่าน mid-infrared ซึ่งเป็นภาพที่เกิดจากรังสีความร้อนที่แผ่ออกมาจากมนุษย์ โดยสามารถใช้ตรวจวัดอุณหภูมิภายในร่างกาย
ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Ir_girl.png , Masgatotkaca

 

          ประเทศจีน

          เทคโนโลยี AI

  • แอปพลิเคชันตรวจวัดอุณหภูมิอัตโนมัติถูกติดตั้งไว้ตามรถไฟใต้ดิน สถานีรถไฟ สนามบิน และศูนย์บริการสังคม เพื่อระบุและติดตามบุคคลที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ และช่วยในการดำเนินการที่จำเป็น ระบบอัตโนมัตินี้มีประโยชน์อย่างมากในการคัดกรองบุคคลที่อาจติดเชื้อ (เช่น ระบบของ Megvii สามารถตรวจวัดได้ 300 คนต่อนาที และระบบของ SenseTime สามารถระบุตัวบุคคลที่ไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย)

  • เพื่อลดการแพร่เชื้อไวรัสที่ผ่านการสัมผัสโดยตรงในที่สาธารณะที่มีผู้คนสัญจรไปมาอย่างหนาแน่น เช่น ชุมชนที่อยู่อาศัย โรงพยาบาล และสถานีรถไฟ Sugr Technology ได้พัฒนาสวิตช์ไฟฟ้าที่สั่งงานด้วยเสียง โดยใช้ชื่อว่า “sesame switch” สวิตช์ดังกล่าวสามารถตรวจจับเสียงพูดและรับรู้คำสั่งเสียงจากระยะไกล

          คิวอาร์โค้ด (QR CODE)

  • ผู้บริหารเมืองใหญ่ของจีนกว่า 200 เมืองเปิดตัวบริการชั่วคราวสำหรับโค้ดด้านสุขภาพ (Health Code) ผ่านมินิโปรแกรมของอาลีเพย์ (Alipay) นอกเหนือจากแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น WeChat และเว็บท่า (Web portal) ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานควบคุมโรคระบาด หลังจากที่ผู้ใช้ผ่านการตรวจสอบ ระบบบริการโค้ดด้านสุขภาพจะขอให้ผู้ใช้กรอกแบบฟอร์มออนไลน์และรายงานข้อมูลเบื้องต้นด้วยตนเอง เช่น เมืองที่ผู้ใช้อาศัยอยู่ในปัจจุบัน ผู้ใช้มีอาการที่เกี่ยวเนื่องกับการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) หรือไม่ ผู้ใช้เคยเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดในช่วง 14 วันที่ผ่านมาหรือไม่ จากนั้นบริการดังกล่าวจะให้คิวอาร์โค้ดที่เป็นสีแดง เหลือง หรือเขียวอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อระบุระดับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของบุคคลดังกล่าว ในการผ่านจุดตรวจที่มีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ตามสนามบินและสถานีรถไฟ ประชาชนจะต้องแสดงคิวอาร์โค้ดของตนเอง

         หุ่นยนต์และโดรน

  • Keenon Robotics Co บริษัทสตาร์ทอัพในเซี่ยงไฮ้ที่เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมหุ่นยนต์ พบว่าผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์ด้านบริการเชิงพาณิชย์ของบริษัทฯ ถูกใช้งานในโรงพยาบาลหลายแห่งในจีนเพื่อจัดการกับผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่ได้รับการยืนยัน รวมถึงผู้ป่วยที่สงสัยว่าอาจติดเชื้อ หุ่นยนต์ด้านบริการเหล่านี้ทำหน้าที่จัดส่งอาหาร ยา และสิ่งของไปยังแผนกที่ถูกแยกออกไป หลังจากได้รับคำสั่งจากผู้ควบคุมเครื่องที่อยู่ห่างไกล ซึ่งนับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการป้องกันโรคระบาด เพราะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อจากการสัมผัส และลดความจำเป็นในการใช้บุคลากร

  • ยานพาหนะติดตั้งเครื่องถ่ายภาพซีทีแบบเคลื่อนที่จาก Ping An Health Inspection Center ช่วยให้ประชาชนในเมืองอู่ฮั่นสามารถรับการตรวจวินิจฉัยจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) นอกโรงพยาบาล ยานพาหนะดังกล่าวติดตั้งเครื่องซีทีสแกนสำหรับใช้ทั่วร่างกายและใช้การเชื่อมต่อ 5G โดยนับเป็นระบบเคลื่อนที่ระบบแรกที่ใช้เครื่องซีทีสแกนทั่วทั้งร่างกาย ทั้งนี้ CT นับเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและแม่นยำมากที่สุดสำหรับการตรวจวินิจฉัยไวรัสโคโรนา (COVID-19)

  • หลายๆ บริษัทของจีนใช้โดรน เพื่อทำการตรวจสอบการแพร่ระบาดโดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสตัวบุคคล ตัวอย่างเช่น Pudu Technology จากเสิ่นเจิ้นได้ติดตั้งอุปกรณ์โดรนไว้ในโรงพยาบาลกว่า 40 แห่งทั่วประเทศ เพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ขณะเดียวกัน MicroMultiCopter ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบริษัทจากเสิ่นเจิ้น ใช้โดรนในการขนส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์และถ่ายภาพความร้อน

         ประเทศไต้หวัน

  • รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลไต้หวัน ซึ่งเป็นหญิงข้ามเพศและเคยเป็นแฮกเกอร์มาก่อน ทำงานร่วมกับทีมจากบริษัท Goodideas-Studio สร้างแผนที่ที่เรียกว่า ‘Instant Mask Map’ ขึ้นมา และมีการใช้งานที่ง่ายแสนง่าย โดยใช้ระบบแถบสีแสดงผลว่าจุดที่ปักไว้ในแผนที่มีหน้ากากอนามัยจำหน่ายหรือไม่ โดยสีเทาหมายถึงไม่มีหน้ากากเหลืออยู่เลย สีชมพูมีเพียง 20% หรือน้อยกว่านั้น สีเหลืองมี 20-50% สีเขียวมีมากกว่า 50% และสีฟ้าคือการแสดงผลทั้งหมด

          ประเทศไทย

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับเอไอเอส พัฒนาหุ่นยนต์บริการทางการเแพทย์ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อลดความเสี่ยง โดยนำมาใช้ติดตามอาการกลุ่มผู้ถูกเฝ้าระวังและดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยหุ่นยนต์ทางการแพทย์สร้างขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสและอยู่ใกล้ผู้ป่วย ด้วยการรักษาและให้คำปรึกษาทางไกลผ่านระบบ Telemedicline เพื่อขยายขีดจำกัดให้สามารถดูแลรักษาและลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ในเบื้องต้นมีการนำหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์มาใช้งานเพื่อเฝ้าระวังแล้ว 3 แห่ง ได้แก่ที่โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 2 ชุดเป็นแบบตั้งโต๊ะ โรงพยาบาลทรวงอก จำนวน 1 ชุด เป็นแบบ mobile robot และโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จำนวน 1 ชุด เป็นแบบตั้งโต๊ะ ซึ่งจะมีการพัฒนาโปรแกรมให้เสถียรและสามารถกระจายไปใช้ในโรงพยาบาลอื่นๆ ต่อไปได้

          จากการแพร่ระบาดของเชื้อจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปทั่วโลกไม่เพียงเฉพาะในประเทศจีนที่เป็นประเทศต้นกำเนิดไวรัสชนิดนี้  ซึ่งทุกประเทศที่ได้รับผลกระทบก็มีวิธีการรับมือที่คล้ายคลึงหรือแตกต่างกันไปตามบริบทของประเทศตนเอง แต่อย่างไรก็ตามประเทศที่สามารถรับมือและคิดเทคโนโลยีใหม่ๆเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดประเทศนั้นย่อมได้เปรียบกว่าเสมอ

แหล่งที่มา

GLOBAL AFFAIRS. (2563, 17 มีนาคม). ส่องเทคโนโลยีที่ประเทศต่างๆ นำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยงในวิกฤตโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2563. จาก https://themomentum.co/technology-in-the-time-of-covid-19/

อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล. (2563, 26 มีนาคม). ใช้เทคโนโลยีทำนาย Covid-19. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2563. จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/649819

Techsauce Team. (2563, 25 มีนาคม). กรณีศึกษา: เทคโนโลยีช่วยจีนฝ่าวิกฤตและทำให้ธุรกิจ SMEs รอดช่วง COVID-19 ได้อย่างไร. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2563. จาก https://techsauce.co/tech-and-biz/covid-19-alipay-smes-ant-financial-tech

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
COVID-19, ไวรัส, AI, หุ่นยนต์, โดรน,เทคโนโลยี
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 30 เมษายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นางสาวอชิรญา ชนะสงคราม
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11472 ฝ่าวิกฤต โรค ภัย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล /article-technology/item/11472-2020-04-21-07-14-01
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    โดรน หุ่นยนต์ ไวรัส AI Covid-19 เทคโนโลยี
คุณอาจจะสนใจ
5 สิ่งเปลี่ยนโลก กับ อลัน แมธิสัน ทัวริง
5 สิ่งเปลี่ยนโลก กับ อลัน แมธิสัน ทัวริง
Hits ฮิต (2432)
ให้คะแนน
อลัน แมธิสัน ทัวริง (Alan Mathison Turing) เกิดวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 เป็นนักคณิตศาสตร์ ชาวอั ...
หน้ากาก N95 อาจเป็นเสื้อผ้าชิ้นต่อไปของมนุษย์
หน้ากาก N95 อาจเป็นเสื้อผ้าชิ้นต่อไปของม...
Hits ฮิต (7634)
ให้คะแนน
หน้ากาก N95 อาจเป็นเสื้อผ้าชิ้นต่อไปของมนุษย์ช่วงนี้ใคร ๆ ก็พูดถึงหน้ากาก N95 จากปัญหาใหญ่ 2 เรื่อง ...
AQ ทักษะสำคัญในยุคเทคโนโลยี AI
AQ ทักษะสำคัญในยุคเทคโนโลยี AI
Hits ฮิต (5599)
ให้คะแนน
เราคงคุ้นเคยกับ IQ (Intelligence Quotient) เชาวน์ปัญญา และ EQ (Emotional Quotient) ความฉลาดทางอารมณ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)