logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เทคโนโลยีสุดล้ำที่มาพร้อมความอันตราย

โดย :
อชิรญา ชนะสงคราม
เมื่อ :
วันจันทร์, 06 เมษายน 2563
Hits
11387

          ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้งนั้นช่วยทำให้ใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์นั้นง่ายขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีด้านความบันเทิง ด้านการศึกษา ด้านการเกษตร หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีที่ช่วยเรื่องการงานบ้านของเหล่าแม่บ้านพ่อบ้าน แต่ถ้าหากมีใครใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นอย่าผิดวัตถุประสงค์ ใช้อย่างผิดที่ผิดทางหรือใช้ไปในทางที่ไม่ดีย่อมเกิดผลเสียทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อมนุษย์ด้วยกันเอง ล่าสุดทาง CNN (Cable News Network) ช่องข่าวโทรทัศน์ยักษ์ใหญ่ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำเสนอ 7 เทคโนโลยีอันตรายที่มนุษย์ควรระมัดระวัง

11214 1

ภาพที่ 1 เทคโนโลยีภายในบ้าน
ที่มา https://pixabay.com, Gerd Altmann

       1. ฝูงโดรน (Drone) จากกรณีฝูงโดรนเข้าโจมตีโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ในซาอุดีอาระเบีย ตลอดจนล่าสุดที่โดรนลึกลับบินเข้าไปหย่อนกัญชาและมือถือให้นักโทษในคุกรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา บ่งชี้ให้เห็นถึงมหันตภัยจากโดรนหากถูกนำไปใช้ผิดวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโดรนทำงานร่วมกันเป็นฝูง รัฐบาลอังกฤษ จีน และสหรัฐอเมริกา จึงกำลังคิดกันหัวแตกว่าต้องเสริมกำลังฝูงโดรนให้กับกองทัพหรือไม่

        2. อุปกรณ์อัจฉริยะในบ้านที่อาจกลายเป็นเครื่องสอดแนม ในยุคที่ 5G กำลังมา ซึ่งทำให้เครือข่าย ถูกเชื่อมโยงในอุปกรณ์ทุกสิ่งอัน (Internet of Things-IoT) อุปกรณ์อัจฉริยะเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นลำโพงอัจฉริยะ SmartTV หรือตู้เย็นอัจฉริยะ สามารถรับคำสั่งได้อย่างชาญฉลาด แถมติดต่อสื่อสารกันได้เอง แต่ก็อาจกลายเป็นเครื่องสอดแนมชั้นดีรุกล้ำความเป็นส่วนตัวในบ้านได้เช่นกัน

        3. เทคโนโลยีสแกนและจดจำใบหน้า (Facial Recognition) มีกรณีที่พิสูจน์ได้ว่ารัฐบาลในหลายประเทศ ใช้เทคโนโลยีนี้ในการจดจำใบหน้าบุคคลทั่วไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นๆ ขณะเดียวกันเทคโนโลยีที่ยังไม่แม่นยำพอ อาจก่อให้เกิดการเข้าใจผิดได้

11214 2

ภาพที่ 2 หุ่นยนต์
ที่มา https://pixabay.com, Computerizer

           4. เทคนิคโคลนนิ่ง (Cloning) ของ AI  ปัญญาประดิษฐ์  (AI : Artificial Intelligence) คือเครื่องจักร (machine) ที่มีฟังก์ชันที่มีความสามารถในการทำความเข้าใจ เรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ อาทิเช่น การรับรู้ การเรียนรู้ การให้เหตุผล และการแก้ปัญหาต่างๆ  เครื่องจักรที่มีความสามารถเหล่านี้ก็ถือว่าเป็น ปัญญาประดิษฐ์  (AI) นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า AI ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเครื่องจักรมีความสามารถที่จะเรียนรู้นั่นเอง  ซึ่ง AI ก็ถูกแบ่งออกเป็นหลายระดับตามความสามารถหรือความฉลาด  โดยจะวัดจากความสามารถในการ ให้เหตุผล การพูด และทัศนคติของ AI ตัวนั้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์อย่างเราๆ ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์หรือ AI สามารถเลียนแบบ หรือทำซ้ำเสียงคน รวมทั้งวิดีโอต้นแบบได้ ชนิดแยกไม่ออกว่าอันไหนจริง อันไหนไม่จริง  จึงเป็นเรื่องง่ายดายที่ AI จะเลียนแบบเสียงใครก็ได้ หรือทำคลิปวิดีโอปลอมของใครก็ได้ แล้วเผยแพร่ออกมา คนที่เสี่ยงน่าจะเป็นเหล่าคนดังทั้งหลายที่มีข้อมูลหาได้ทั่วไปบนโลก 

           5. ไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่โดย AI และโปรแกรมหุ่นยนต์ แม้ทุกวันนี้ AI จะถูกใช้ช่วยสกัดอาชญากรรมไซเบอร์ แต่อีกทางหนึ่ง แฮกเกอร์และอาชญากรก็ยิ่งมีเครื่องมือทำมาหากินที่ล้ำสมัย มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปอีกด้วย แน่นอนกลเม็ดเคล็ดลับในการต้มตุ๋น แยบยล ง่ายดาย และรุนแรงขึ้น กดผิดแค่คลิกเดียว ชีวิตอาจย่อยยับ

           6. ฝุ่นอัจฉริยะ (Smart Dust) มีขนาดเท่าเม็ดเกลือ แต่บรรจุไว้ด้วยระบบสื่อสารทั้งหมด ตั้งแต่  แหล่งพลังงาน และกล้อง ปกติถูกใช้เพื่อประโยชน์ทางสุขภาพ เพื่อความมั่นคง แต่ถ้าหากถูกนำไปใช้ผิดประเภทจะกลายเป็นเรื่องที่น่ากลัวอย่างมากเลยทีเดียว

           7. หุ่นยนต์ผลิตข่าวปลอม AI ที่ชื่อว่า Grover ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อผลิตข่าวและเขียนนิยาย โดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มี อีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งสเปซเอ็กซ์สนับสนุนอยู่ ทีมงานค้นพบว่ามันมีศักยภาพในการปั้นข่าวปลอมหรือ Fake News ได้แนบเนียนกว่ามนุษย์ จนในที่สุดตัดสินใจไม่นำออกมาใช้ คุมกำเนิดไว้แค่ในห้องทดลอง เพราะดูแล้วเป็นอันตรายต่อมนุษยชาติอย่างยิ่งยวด

          ประโยชน์ของเทคโนโลยีมีมากมายมหาศาลก็จริงแต่ผลเสียที่เกิดขึ้นก็มีมากเช่นกัน ดังนั้นเราในฐานะมนุษย์ที่สร้างเทคโนโลยีเหล่านี้ขึ้นมา จึงจำเป็นที่จะต้องมีความระมัดระวังในการใช้งาน มีทักษะ และรู้เท่าทันเทคโนโลยี

 แหล่งที่มา

ไทยรัฐออนไลน์. (2562, 29 กันยายน).  ระวัง 7 เทคโนโลยีอันตราย.  สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2562. จาก https://www.thairath.co.th/news/tech/1670761

nessessence. (2561, 15 ธันวาคม).  ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) คืออะไร ???.  สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2562. จาก https://www.thaiprogrammer.org/2018/12/whatisai/

SWIVEL. (2562, 2 ตุลาคม).  7 เทคโนโลยีสุดอันตรายเมื่อถูกนำมาใช้งานผิดประเภท.  สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2562. จาก https://www.blockdit.com/posts/5d9330e5d34786415d82359c

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เทคโนโลยี,เทคโนโลยีอันตราย,โดรน,อุปกรณ์อัจฉริยะ,เทคโนโลยีเกี่ยวกับใบหน้า,การโคลนนิ่ง,ไวรัสคอมพิวเตอร์,หุ่นยนต์
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 21 ธันวาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
อชิรญา ชนะสงคราม
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ช่วงชั้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
กลุ่มเป้าหมาย
บุคคลทั่วไป
  • 11214 เทคโนโลยีสุดล้ำที่มาพร้อมความอันตราย /article-technology/item/11214-2019-12-19-04-37-54
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    ไวรัสคอมพิวเตอร์ การโคลนนิ่ง เทคโนโลยีเกี่ยวกับใบหน้า อุปกรณ์อัจฉริยะ เทคโนโลยีอันตราย โดรน หุ่นยนต์ เทคโนโลยี
คุณอาจจะสนใจ
เตาแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
เตาแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
Hits ฮิต (3843)
ให้คะแนน
เพื่อน ๆ ที่มีเตาแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำอยู่ที่บ้าน เคยสงสัยกันรึเปล่าว่า เตาแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำท ...
สมาร์ตโฟนจะมาเเทนคอมพิวเตอร์ได้หรือไม่
สมาร์ตโฟนจะมาเเทนคอมพิวเตอร์ได้หรือไม่
Hits ฮิต (3046)
ให้คะแนน
เมื่อโลกเริ่มก้าวเข้าสู่ทศวรรษใหม่ (ค.ศ.2011-2021) ที่นับว่าเป็นทศวรรษแห่งการเริ่มต้นนวัตกรรมใหม่แล ...
อุณหภูมิในหน่วย “เคลวิน”
อุณหภูมิในหน่วย “เคลวิน”
Hits ฮิต (1412)
ให้คะแนน
วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2367 เป็นวันคล้ายวันเกิดของ William Thomson, 1st Baron Kelvin นักฟิสิกส์และ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)