logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

5 สิ่งเปลี่ยนโลก กับ อลัน แมธิสัน ทัวริง

โดย :
IPST Thailand
เมื่อ :
วันจันทร์, 21 มิถุนายน 2564
Hits
1705

AlanTuring 

อลัน แมธิสัน ทัวริง (Alan Mathison Turing) เกิดวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 เป็นนักคณิตศาสตร์ ชาวอังกฤษ ผู้เปลี่ยนโลกของเราให้เป็นได้อย่างทุกวันนี้ แล้วเขาเปลี่ยนอะไรบ้าง พบกับ 5 ผลงานโดดเด่นที่เขาได้ทำประโยชน์ต่อชาวโลก ดังนี้

1. เครื่องจักรทัวริง กับต้นแบบคอมพิวเตอร์ 

‘ทัวริง’ บิดาแห่งวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้พัฒนา เครื่องจักรทัวริง หรือ Universal Turing Machine เครื่องจักรที่สามารถทำได้ทุกอย่างเมื่อใส่วิธีการแก้ปัญหาหรืออัลกอริทึมลงไป เป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์ที่ประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ พัฒนาเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในปัจจุบัน

2. ถอดรหัสอินิกมา ช่วยผู้คนมากกว่า 14 ล้านชีวิต

‘ทัวริง’ วีรบุรุษสงครามโลก หนึ่งในทีมถอดรหัสข้อความลับเครื่องอินิกมา (Enigma Machine) ของฝ่ายนาซี ช่วยให้ฝ่ายสัมพันธมิตรรู้เท่าทันกลยุทธ์ของฮิตเลอร์ สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงสิ้นสุดเร็วขึ้น และสามารถช่วยชีวิตผู้คนจากสงครามได้อย่างมหาศาล

3. ปัญญาประดิษฐ์ จากบททดสอบทัวริง 

‘ทัวริง’ ผู้บุกเบิกปัญญาประดิษฐ์ ได้คิดค้นบททดสอบความฉลาดของเครื่องจักร หรือ Turing Test โดยให้ผู้ทดสอบปฏิสัมพันธ์กับบุคคล และกับเครื่อง ถ้าผู้ทดสอบแยกแยะไม่ได้ว่ากำลังปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหรือเครื่องอยู่ นั่นแสดงว่าเครื่องจักรมีความสามารถเลียนแบบความคิดได้เหมือนมนุษย์

4. จุดกำเนิดดิจิทัลคอมพิวเตอร์

‘ทัวริง’ นำเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับวิธีการสร้างคอมพิวเตอร์จากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในงานทั่วไปที่ไม่ใช่เพียงเครื่องจักรที่ใช้ในการถอดรหัสเท่านั้น แนวความคิดนี้จึงเป็นที่มาของการสร้างคอมพิวเตอร์ยุคแรก (Pilot ACE) ในปี ค.ศ. 1950

5. ถอดรหัสสิ่งมีชีวิต ด้วยกฎทางคณิตศาสตร์

‘ทัวริง’ ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ชั้นสูงอธิบายการเกิดรูปแบบต่าง ๆ ในธรรมชาติ ว่าเป็นไปตามกฎทางคณิตศาสตร์อย่างไร ผลการศึกษานี้ถือเป็นจุดกำเนิดของทฤษฎีการเกิดลวดลายและสัณฐานของสิ่งมีชีวิต เช่น ลวดลายบนผิวของม้าลาย จุดบนผิวของเสือดาว

ติดตามสาระดี ๆ ได้ที่ Facebook : IPST Thailand


ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

  • การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ https://proj14.ipst.ac.th/m4-6-cs/m4-cs/cs-m4b1-012 
  • แนวคิดด้านปัญญาประดิษฐ์ https://proj14.ipst.ac.th/m4-6-cs/m6-cs/cs-m6b1-004

อ้างอิง

  • Science Museum. (2018). Lovelace, Turing and the invention of computers. Retrieved on June 15, 2021. From https://www.sciencemuseum.org.uk/objects-and-stories/lovelace-turing-and-invention-computers
  • เมขลิน อมรรัตน์. (2563). รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 13 แอลัน ทัวริง. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564. จาก https://www.scimath.org/article-mathematics/item/11205-13

ขอบคุณภาพประกอบ

  • https://spectrum.ieee.org/image/Mjk0MzA5NQ.jpeg
  • https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/b/bd/Enigma_%28crittografia%29_-_Museo_scienza_e_tecnologia_Milano.jpg
  • https://www.pinterest.co.uk/pin/389491067759399886
หัวเรื่อง และคำสำคัญ
อลัน, Alan, ทัวริง, Turing, enigma, AI, ปัญญาประดิษฐ์, คอมพิวเตอร์,IPST Thailand
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
IPST Thailand
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12290 5 สิ่งเปลี่ยนโลก กับ อลัน แมธิสัน ทัวริง /article-technology/item/12290-5-2
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    คอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ AI enigma Turing ทัวริง Alan อลัน IPST Thailand
คุณอาจจะสนใจ
เชื้อโรค...อยู่ส่วนไหนของบ้านมากที่สุด
เชื้อโรค...อยู่ส่วนไหนของบ้านมากที่สุด
Hits ฮิต (17661)
ให้คะแนน
คุณคิดว่าเชื้อโรคอยู่ส่วนไหนของบ้านมากที่สุด หลังจากได้ทำการทดสอบจากบ้านหลายต่อหลายหลัง โดยนักวิทยา ...
วัฒนธรรมการเกษตรในแอ่งสกล
วัฒนธรรมการเกษตรในแอ่งสกล
Hits ฮิต (17731)
ให้คะแนน
ภูมิประเทศโดยทั่วไปของภาคอีสานเป็นแอ่งที่ราบขนาดใหญ่ มีทิวเขากั้นเป็นขอบสูงชันทางทิศตะวันตกและทิศใต ...
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสุขภาพ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสุขภาพ
Hits ฮิต (17689)
ให้คะแนน
ปัจจุบันนิ้ แม้จะมีการกระจายข้อมูลข่าวสารทางด้านการแพทย์และสุขภาพออกไปหลายสื่อ และสามารถเข้าถึงคนได ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)