logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 13 แอลัน ทัวริง

โดย :
เมขลิน อมรรัตน์
เมื่อ :
วันจันทร์, 16 มีนาคม 2563
Hits
18028

        ห่างหายไปนานกับ บทความซีรี่ส์ชุดรู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก กลับมาคราวนี้ขอนำเสนอให้ผู้อ่านได้รู้จักกับนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ถูกกล่าวขานให้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเป็นวีรบุรุษสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาคือบุคคลที่ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกอีก และเป็นผู้ที่คิดค้นบททดสอบปัญญาประดิษฐ์ (AI) กับมนุษย์ด้วยเรามาทำความรู้จักกับแอลัน แมธิสัน ทัวริง ติดตามอ่านกันได้เลย

       แอลัน แมธิสัน ทัวริง (Alan Mathison Turing) เกิดเมื่อ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 (ปีค.ศ. 1912) ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และ แอลัน ทัวริง เป็นบุคคลที่มีความสามารถมากหลากหลายด้าน เป็นนักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยา และถูกกล่าวขานเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์

11205 edit1

ภาพแอลัน แมธิสัน ทัวริง (Alan Mathison Turing)
ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Alan_Turing_Aged_16.jpg

      แอลัน ทัวริง มีประวัติจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งสหราชอาณาจักรคือ  มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (King’s College) และเมื่อจบการศึกษาได้ไม่นาน เขาก็ได้สร้างผลงานชิ้นแรกออกมา คือ เครื่องจักรทัวริง จากผลงานชิ้นนี้ที่ปรากฏทำให้ทางรัฐบาลอังกฤษเรียกตัวไปช่วยงานไขความลับทางการสงครามระดับชาติ โดยการถอดรหัสของเครื่อง Enigma ซึ่งเป็นรหัสลับที่ทางนาซีใช้เพื่อติดต่อสื่อสารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการแกะรหัสลับของฝ่ายเยอรมัน

      นอกจากนี้ความสามารถของทัวริงยังมีส่วนช่วยในการออกแบบเครื่องมือแกะรหัสของนาซีส่งไปที่ U-Boat ในแอตแลนติกเหนือ และยังมีส่วนช่วยในการแกะรหัสนี้ได้สำเร็จในเวลาต่อมา ซึ่งผลงานนี้เป็นผลงานที่เป็นความลับขั้นสูงสุด และได้ถูกเปิดเผยในตอนหลัง ซึ่งเป็นกล่าวได้ว่าเป็นผลงานที่ทำให้เขากลายเป็นวีรบุรุษสงครามโลก ที่ทำให้สงครามโลกครั้งที่ 2 จบเร็วขึ้น 2 ปี และช่วยรักษาชีวิตผู้คนไว้กว่า 14 ล้านคน

ผลงานด้านเทคโนโลยีของแอลัน ทัวริง

          เครื่องจักรทัวริง (Turing Matchine) คือเครื่องมือที่สามารถทำได้ทุกอย่างตามความต้องการของเราเพียงแค่เราใส่วิธีการทำลงไป เครื่องจักรทัวริงเป็นเสมือนต้นแบบแรกเริ่มของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน การทำงานของเครื่องจักรทัวริงนั้นไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก กลไกการทำงานของเครื่องจักรนี้เป็นเหมือนเครื่องอ่านม้วนกระดาษยาวๆ (คล้ายเทป) ทำหน้าที่อ่านค่าข้อมูลในม้วนกระดาษนั้น ๆ เครื่องจักรทัวริงมีหลายสถานะ ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่กำลังอ่านค่าอยู่ในขณะนั้น หากเราใส่คำสั่งที่ซับซ้อนมากขึ้นเครื่องจักรทัวริงก็สามารถทำได้ตามคำสั่งได้ แอลัน ทัวริง จึงได้ให้ข้อมูลว่าเครื่องจักรนี้สามารถจำลองระบบความคิดของมนุษย์ได้ และนี่คือความพิเศษของเครื่องจักรที่แอลันคิดค้นขึ้น

          การทดสอบความฉลาดของคอมพิวเตอร์ (Turing Test) ภายหลังจากที่แอลันได้คิดค้นเครื่องจักรทัวริงขึ้นมานั้น เขายังคงสนใจในเรื่องของเครื่องจักรที่สามารถคิดเองได้ โดยแอลันมีความคิดว่าเครื่องจักรกลนั้นจะสามารถเรียนรู้และแก้ไขคำสั่งที่เราแนบมาได้ เขาจึงได้คิดค้นแบบทดสอบทัวริงขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องมือที่วัดว่าเครื่องจักรกลนั้นจะสามารถมีความฉลาดทัดเทียมเทียบเท่ามนุษย์ได้หรือไม่ โดยทำการทดสอบด้วยการนำคนไปนั่งในห้องหนึ่ง และตั้งคำถามเดียวกันให้เครื่องจักรกลและคนตอบ หากผู้ที่ตั้งคำถามไม่สามารถที่จะแยกแยะได้ว่าคำตอบใดมาจากคน หรือคำตอบใดมาจากเครื่องจักรกล นั่นแปลว่าเครื่องจักรกลนั้นมีความฉลาดทัดเทียมเทียบเท่ามนุษย์

          ในปี 2018 แอลัน ทัวริงได้รับการคัดเลือกให้เป็นบุคคลสำคัญปรากฏบนธนบัตรใบละ 50 ปอนด์รุ่นใหม่ในประเทศอังกฤษโดยภาพบนธนบัตรใบละ 50 ปอนด์นี้จะประกอบไปด้วยภาพของแอลัน ทัวริงที่ถูกถ่ายไว้เมื่อปี 1951 ภาพตารางสูตรคำนวณทางคณิตศาสตร์อันเป็นเอกสารในปี 1936  ภาพวาดเครื่องถอดรหัสอินิกมา (Enigma)  ที่ใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ภาพลายเซ็นของแอลัน ทัวริง ภาพกระดาษเครื่องรับโทรเลขที่ระบุวันเกิดของเขา และเลขรหัสบนารี ซึ่งทำการถอดรหัสออกมาได้ความเป็นวันที่ 23 มิถุนายน 1912 ซึ่งเหล่าภาพนี้จะปรากฏอยู่ในธนบัตรใบละ 50 ปอนด์แบบใหม่ของอังกฤษโดยจะเริ่มใช้ในปลายปี 2021

ในช่วงสุดท้ายของชีวิต

       แอลัน ทัวริง เป็นช่วงชีวิตที่มีความน่าสงสารและน่าสะเทือนใจเป็นอย่างมาก เขาถูกดำเนินคดีความเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องในสมัยนั้น คือพฤติกรรมเกี่ยวกับรักร่วมเพศ ซึ่งในสมัยนั้นเป็นเรื่องที่ถูกมองว่า เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม เขาถูกตัดสินให้โดนลงโทษโดนทำให้เป็นหมันและถูกบังคับให้ฉีดเสีย“เอสโตรเจน” (oestrogen) ซึ่งสร้างความทุกข์ทรมารให้เขาเป็นอย่างมาก ไม่นานจากนั้นประมาณ 2 ปีต่อมา เขาเสียชีวิตในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) ที่เมืองวิล์มสโล ประเทศอังกฤษ โดยพบเป็นศพจากการได้รับสารพิษไซยาไนด์  ซึ่งก็ยังเป็นที่ไม่แน่ชัดและเป็นปริศนาจนถึงทุกวันนี้ว่า เขาฆ่าตัวตายหรือจากอุบัติเหตุ แต่ก็มีบางข้อมุลก็บันทึกว่า เขาถูกฆาตรกรรม

      อย่างไรก็ตาม เรื่องของแอลัน ทัวริง ทั่วโลกก็ต่างสรรเสริญและให้ความสำคัญกับเขาเป็นอย่างมาก ซึ่งต่อมาก็มีหนังสือซึ่งได้เขียนเรื่องราวของเขาโดยชี้ให้เห็นความสำคัญของผลงานนักคณิตศาสตร์ผู้ล่วงลับที่มีต่อวิทยาการคอมพิวเตอร์ คือหนังสือเรื่อง “Alan Turing: The Enigma” โดย แอนดรูว์ ฮอดจ์ส (Andrew Hodges)  จนในเวลาต่อมาก็ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนต์ชีวประวัติที่โด่งดังไปทั่วโลก

แหล่งที่มา

แอลัน ทัวริง (Alan Turing) . สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2562. จาก https://www.chapanakij.com/announce_famous/127

บุคคลสำคัญในวงการคอมพิวเตอร์ . สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2562. จาก https://il.mahidol.ac.th/e-media/computer/evolution/Pioneers_Turing.htm

แอลัน ทัวริง บิดาแห่งวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้เป็นบุคคลสำคัญบนธนบัตรใหม่ 50 ปอนด์ของอังกฤษ. จาก https://themomentum.co/alan-turing-50-pound-note/

MGR Online. กว่าโลกจะได้สรรเสริญ “อลัน ทูริง” วีรบุรุษสงครามโลก. จาก https://mgronline.com/science/detail/9580000015089

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ประวัติของแอลัน ทัวริง, ผลงานด้านเทคโนลีของแอลัน ทัวริง
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 17 ธันวาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นางสาวเมขลิน อมรรัตน์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11205 รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 13 แอลัน ทัวริง /article-mathematics/item/11205-13
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    ผลงานด้านเทคโนลีของแอลัน ทัวริง ประวัติของแอลัน ทัวริง
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)