logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เทคโนโลยี E-learning กับความเป็นไปได้ของคุณครูที่เป็น AI

โดย :
ยารินดา อรุณ
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 29 เมษายน 2564
Hits
2383

          E-learning (อีเลิร์นนิง) มาจากคำว่า electronic learning ซึ่งแปลตรงตัวเลยก็คือ การเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ ขยายความได้ว่าเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานศึกษาด้วยตนเอง แต่สามารถเรียนได้ตามสะดวก ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่ โดยจะเรียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา หรือ Gadget อื่นๆ รวมทั้งสมาร์ตโฟนด้วย ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ต้องเชื่อมต่อด้วยสัญญาณอินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึง platform ทางการศึกษาที่เป็นโรงเรียนเสมือน มีบทเรียน ครู และการบ้านให้ได้ทำหรือมีปฏิสัมพันธ์ โต้ตอบกันได้ผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าว หรือ Education Platform  เช่น แอปพลิเคชันเพื่อการเรียนการสอนอย่าง Udemy Google Classroom เป็นต้น

11662 1

ภาพที่ 1 E-Learning
ที่มา pixabay.com/geralt

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Ai คืออะไร

          ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Ai ย่อยมาจาก “Artificial Intelligence” โดยที่การเรียนรู้ของ AI ถูกตั้งค่าไว้โดยระบบทางคอมพิวเตอร์เทคนิค ที่มีจุดประสงค์เพื่อให้สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้เหมือนมนุษย์ เช่น คิดเลข อ่านบาร์โค้ด แปลงข้อมูลจากรูปถ่าย เป็นต้น

          กล่าวได้ว่า AI สามารถรับข้อมูลการใช้งานหรือข้อมูลของกลุ่มผู้ใช้งานทั้งหมด แล้วนำมาประมวลผลด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งระบบเอาไว้แล้ว หลังจากนั้นก็จัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้เป็น Big Data (ชุดข้อมูลของผู้ใช้งานจำนวนมาก) เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นๆได้ต่อไป

          ซึ่งส่วนมากแล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทในด้านการแทนที่ทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องใช้แรงงานทำกิจกรรมบางอย่างในระบบอุตสาหกรรม หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่มีลักษณะแบบที่ต้องทำรูปแบบเดิมซ้ำๆ และต้องการความแม่นยำสูง เช่น เซนเซอร์การตรวจจับโลหะตอนที่เราเข้าไปในห้างหรือสนามบิน, การใช้แผนที่จาก Google Map, การจองและออกตั๋วหนังแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้แต่การประมวลผลของโปรแกรมการสร้างแบบจำลองสามมิติ ก็ใช้เทคโนโลยี AI เช่นกัน

          แนวคิดของการสร้างปัญญาประดิษฐ์ของ AI คือเทคโนโลยีที่ถูกออกแบบให้มีระบบทำงานเหมือนกับการทำงานของสมองมนุษย์ โดยทำให้การรับข้อมูล (in put) และการตอบสนอง (out put) ของ AI สามารถตอบโต้กับผู้ใช้ที่เป็นมนุษย์ได้โดยตรง ปัจจุบันก็มีองค์กรที่ให้บริการด้านนี้ เช่น Google, Apple หรือ Alibaba เป็นต้น ที่กำลังเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยี AI ให้ผู้ใช้ได้รู้สึกเหมือนตอบโต้กับมนุษย์ด้วยกันหรือใกล้เคียงมนุษย์มากที่สุด เช่น SIRI เป็นต้น โดยสมองของ AI นั้นก็คือโครงข่ายประสาทเทียม Neural Networks หรือ Intel สัญลักษณ์ Intel ที่เห็นบ่อยๆบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง

11662 2

ภาพที่ 2 การค้นคว้าด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ที่มา pixabay.com/coyot

          แนวโน้มการนำปัญญาประดิษฐ์มาปรับใช้จะไปในแนวทางเดียวกันคือการเรียนรู้เพื่อเก็บข้อมูลมาประยุกต์ใช้ และเพื่อช่วยสร้างประสบการณ์การศึกษาแห่งอนาคต

          AI สามารถทำงานแทนคุณครูในหลายๆเรื่อง เช่น งานเอกสาร หรือการออกคำสั่งให้การบ้านนักเรียนตลอดจนการตรวจการบ้านด้วย หรือในอีกกรณีหนึ่ง ระบบ AI อาจสามารถออกข้อสอบได้โดยการป้อนชุดข้อมูลข้อสอบที่เคยใช้มาย้อนหลังไป 10 ปี แล้วนำมาทำการประมวลผล จัดลำดับความยากง่ายของข้อสอบ แล้วส่งไปยังหน้าจอคอมพิวเตอร์ของนักเรียนผ่านอินเทอร์เน็ตได้ และเมื่อนักเรียนส่งข้อสอบ ระบบก็อาจจะสามารถประมวลผลแบบอัตโนมัติได้ในทันที และยังสามารถรู้คะแนนข้อสอบของนักเรียนทั้งห้องได้ภายในไม่กี่วินาที กิจกรรมทุกอย่างสามารถเป็นไปได้โดยอัตโนมัติโดยไม่ผ่านครูที่เป็นมนุษย์เลย หรือคุณครูอาจจะเป็นผู้ควบคุมระบบของ AI อีกทีก็เป็นไปได้เหมือนกัน

          ในด้านงานเอกสารที่คุณครูต้องรับผิดชอบเช่น การหาค่ามาตรฐานและประมวลผลเพื่อนำคะแนนของเด็กนักเรียนมาหาเกรดเฉลี่ย ก็สามารถแทนที่ด้วย AI ได้เช่นกันในอนาคต ซึ่งมีแนวโน้มว่า AI จะสามารถคำนวณได้แม่นยำและรวดเร็วกว่าคุณครูที่เป็นมนุษย์อีกด้วย

          ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์และห้องสมุดก็ได้จัดทำองค์ความรู้เพื่อการศึกษาในรูปแบบของ E-book หรือเรียกอีกอย่างว่าเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ไว้ให้ผู้สนใจทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย สามารถเข้าถึงและศึกษาได้โดยไม่ต้องเดินทางไปพิพิธภัณฑ์หรือห้องสมุดที่มีข้อมูลหรือหนังสือเล่มเลย

          นอกจากนี้หากมองในแง่ของการออกแบบตามบุคลิกลักษณะหรือความชอบส่วนบุคคล AI ก็มีแนวโน้มว่าจะสามารถปรับหลักสูตรให้เข้ากับความต้องการของนักเรียนรายบุคคลได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการจดจำข้อมูลการ Search และ การ Download สาระความรู้และ E-book ต่างๆไว้ แล้วรวบรวมเพื่อประมวลผลในการ “เสนอบทเรียนต่อไป” ให้กับนักเรียนคนนั้นได้เลย

          สำหรับการทำงานผสมผสานกันระหว่าง AI และคุณครูที่เป็นมนุษย์ก็จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน นั่นก็เพราะว่า การให้ข้อเสนอแนะ ให้ความรู้ การย่อยชุดข้อมูลให้เข้าใจได้ง่าย และการปรับใช้ตามหลักของจิตวิทยาจากคุณครูที่เป็นมนุษย์ก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริง ยังมีคนที่ไม่รู้ว่า “ต้องการจะเรียนอะไร” หรือ “ยังไม่มีเป้าหมายที่แน่ชัดในการศึกษาเล่าเรียน” ทั้งสองกรณีที่กล่าวไปข้างต้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของเด็กนักเรียน และมนุษย์ก็ยังต้องการความเข้าอกเข้าใจ การโน้มน้าวจูงใจ ตลอดจนกำลังใจที่คุณครูมีให้นักเรียน

          ดังนั้นสิ่งที่ AI ยังไม่สามารถเข้ามาแทนที่คุณครูได้นั้น ก็คือการตอบสนอง (Out-put) ทางด้านการรับรู้อารมณ์และความรู้สึก ที่มีแต่มนุษย์ด้วยกันเท่านั้นที่จะรับรู้ได้ ผ่านน้ำเสียง แววตา และอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามการใช้ AIเพื่อการศึกษา ก็มีแนวโน้มว่าจะช่วยสนับสนุนคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งยวดในอนาคตอันใกล้นี้

แหล่งที่มา

Plook Teacher. (08 ตุลาคม 2562). AI กับการส่งเสริมการศึกษา. สืบค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2563 .จากhttp://www.trueplookpanya.com/blog/content/75968u

orathai education. พื้นฐานวิชาชีพครู‎, บทบาทหน้าที่ของครู. สืบค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2563 .จากhttps://sites.google.com/site/orathaieducation/home/bthbath-hnathi-khxng-khru

suchaya Kesjamras. AI คืออะไร? ทำความเข้าใจ AI แบบง่าย ๆ. สืบค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2563. จาก www.beartai.com/article/tech-article/424875

อิสริยา เลาหตีรานนท์, สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. อีเลิร์นนิง. สืบค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2563 .จาก http://www.royin.go.th

OPEN-TEC. (2019, December 3).AI สมองกล พลิกโฉมการศึกษาโลกอนาคต.  สืบค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2563 จาก https://www.open-tec.com/th/ai-สมองกล-พลิกโฉมการศึกษา/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
E-Learning,electronic learning, การเรียนการสอน,ปัญญาประดิษฐ์, Artificial Intelligence, AI
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 10 มิถุนายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ยารินดา อรุณ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11662 เทคโนโลยี E-learning กับความเป็นไปได้ของคุณครูที่เป็น AI /article-technology/item/11662-e-learning-ai
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    Artificial Intelligence electronic learning E-Learning การเรียนการสอน ปัญญาประดิษฐ์ AI
คุณอาจจะสนใจ
6G โครงข่ายในอีก 10 ปีข้างหน้า
6G โครงข่ายในอีก 10 ปีข้างหน้า
Hits ฮิต (16383)
ให้คะแนน
ปัจจุบันประเทศไทยเรากำลังใช้งานโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือที่เรียกว่า 4G ที่อาจเรียกไ ...
5 สิ่งเปลี่ยนโลก กับ อลัน แมธิสัน ทัวริง
5 สิ่งเปลี่ยนโลก กับ อลัน แมธิสัน ทัวริง
Hits ฮิต (2572)
ให้คะแนน
อลัน แมธิสัน ทัวริง (Alan Mathison Turing) เกิดวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 เป็นนักคณิตศาสตร์ ชาวอั ...
AQ ทักษะสำคัญในยุคเทคโนโลยี AI
AQ ทักษะสำคัญในยุคเทคโนโลยี AI
Hits ฮิต (5817)
ให้คะแนน
เราคงคุ้นเคยกับ IQ (Intelligence Quotient) เชาวน์ปัญญา และ EQ (Emotional Quotient) ความฉลาดทางอารมณ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)