logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เทคโนโลยีกับการศึกษา

โดย :
ลลิดา อ่ำบัว
เมื่อ :
วันอังคาร, 07 กันยายน 2564
Hits
4020

           สังคมปัจจุบันเป็นสังคมแห่งความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ที่มีแนวโน้มการพัฒนาแบบก้าวกระโดดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 สังคมมีแนวโน้มที่จะพลิกโจมครั้งใหญ่อีก ดังนั้นถ้าเราขาดการเตรียมความพร้อม เราก็จะกลายเป็นคนล้าสมัยหรือตกยุคได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นยุคของสังคมอุตสาหกรรม มนุษย์เริ่มนำอุปกรณ์เทคโนโลยีมาใช้ และเน้นการสร้างคนให้ทำงานในโรงงานอุดสาหกรรม เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ออกมาให้เพียงพอกับความต้องการของประซากรที่เพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลา ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นยุคสังคมอุตสาหกรรมที่เน้นการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้แทนแรงงานคนบทบาทของคนได้เริ่มเปลี่ยนจากการเป็นผู้ใช้แรงงาน กลายเป็นผู้คิดค้นอุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้งาน และช่วยอำนวยความสะดวกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 เทคโนโลยีมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ตัวอย่างเช่นในปี ค.ศ. 1950 กระบวนการผลิตรถยนต์ในโรงงานต้องอาศัยแรงงานคนเป็นจำนวนมาก ดังภาพ 1 แต่ในปี ค.ศ. 2015 ไต้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตรถยนต์ในโรงงาน จึงใช้จำนวนคนลดลง ดังภาพ 2

edtech 01

ภาพ 1 กระบวนการผลิตรถยนต์ ใดยใช้แรงงานคน ในปี ค.ศ. 1950
ที่มา https://www.mprnews.org/story/2016/11/29/books-ford-century-in-minnesota

edtech 02

ภาพ 2 กระบวนการผลิตรถยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ใช้จำนวนคนลดลง ในปี ค.ศ. 2015
ที่มา http://www.autoguide.com/auto-news/2015/03/should-you-rust-proof-your-new-car-.html

          ปัจจุบันร้านสะดวกซื้อ Amazon Go ดังภาพ 3 เพิ่งเปิดทำการในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2561 ซึ่งมีจุดเด่นที่ลูกค้าไม่ต้องเข้าคิวจ่ายเงิน เพราะสามารถใช้แอพพลิเคชันของทางร้านจ่ายเงินแล้วเดินออกจากร้านได้ในทันที ซึ่งจุดสแกนแอพพลิเคชันจะอยู่บริเวณทางเข้าร้าน ดังภาพ 4 ดังนั้นจึงไม่ต้องมีพนักงานขายและพนักงานเก็บเงิน แล้วในอนาคตคนที่ถูกเทคโนโลยีเข้ามาทำงานแทนที่จะทำอะไรหรือคนเหล่านี้ต้องกลายเป็นคนตกงาน

edtech 03

ภาพ 3 ร้านสะดวกซื้อ Amazon GO
ที่มา https://www.entrepreneur.com/article/307834

edtech 04

ภาพ 4 จุดสแกนแอพพลิเคชันเพื่อซื้อสินค้าในร้าน
ที่มา http://www.statesman.com/news/national/amazon-debuts-cashier-less-amazon-store-downtown-seattle/8Kx4Y59yBDrvrRut2T4CJ/

         

          การตอบคำถามดังกล่าว นำไปสู่การเตรียมกำลังคนให้พร้อม เพื่ออยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 อย่างมั่นใจว่าสามารถอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีได้ การเตรียมความพร้อมดังกล่าวควรเริ่มต้นจากปัจจัยพื้นฐานของชีวิตซึ่งก็คือการศึกษาดังที่ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวเกี่ยวกับการศึกษาในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ไว้ว่า เป็นการสร้างคนให้เป็นบุคคลที่พร้อมจะเรียนรู้ตลอดชีวิต และพร้อมที่จะนำความรู้ไปใช้ทำงานไม่ใช่แค่เพียงเรียนรู้เพื่อจะทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอีกต่อไป

          เรื่องท้าทายสำหรับผู้สอนที่จะเป็นผู้สร้างบุคคลากรในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ให้มีความเชี่ยวซาญและพร้อมที่จะนำเทศโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้ และที่สำคัญคือต้องปลูกฝังจรรยาบรรณของคนรุ่นใหม่ โดยไม่นำเทคโนโลยีไปใช้ในทางที่ผิดหรือใช้อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผู้สอนจึงต้องวางรากฐานการใช้เทคโนโลยีของผู้เรียนไว้ตั้งแต่วัยเริ่มตันการเรียนรู้ของชีวิต

edtech 05

ภาพ 5  แสดงพัฒนาการของเทคโนโลยีสื่อสารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

          ผู้สอนจึงต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้วย เพื่อให้มีความชำนาญ จนสามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนได้อย่างเหมาะสม ปัจจุบันมีการพัฒนาสื่อแอพพลิเคชันหลายรูปแบบที่ช่วยการเรียนการสอนในห้องเรียน ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับมหาวิทยาลัยโดยสื่อเหล่านี้จะอิงหลักของพัฒนาการตามวัยของเด็กเช่น แอพพลิเคชันฝึกทักษะเด็กปฐมวัย ซึ่งช่วยฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยใช้มือขยับเมาส์ เพื่อลากโยงเส้นหรือวาดรูปสิ่งต่าง ๆ ได้ตามจินตนาการ เมื่อเด็กเข้าสู่ระดับประถมศึกษา จึงเริ่มนำแอพพลิเคชันมาประยุกต์ให้เข้ากับวิชาเรียนมากขึ้น เช่น ในวิชาภาษาอังกฤษ ผู้สอนนำแอพพลิเคชันโฟเนติกส์ (Phonetics) ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยฝึกการออกเสียงคำศัพท์ให้ได้สำเนียงที่ถูกต้อง ในวิชาคณิตศาสตร์ผู้สอนนำแอพพลิเคชันคาอุต (Kahoot) ซึ่งพัฒนาจากการตอบโจทย์ปัญหาในห้องเรียน โดยผู้สอนจะสร้างชุดคำถามขึ้นหนึ่งชุด จากนั้นให้ผู้เรียนตอบคำถามโดยผ่านอุปกรณ์สื่อสารที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตผู้เรียนที่ได้คะแนนสูงสุดคือ ผู้ที่ตอบได้เร็วและถูกต้องที่สุดในวิชาวิทยาศาสตร์ ผู้สอนมีแอพพลิเคชันแพตเล็ต (Padlet) ซึ่งพัฒนาจากกระดานให้แสดงความคิดเห็น โดยแอพพลิเคชันนี้จะเป็นเสมือนกระดานหน้าชั้นเรียนที่นักเรียนทุกคนสามารถ

          ทำงานร่วมกันได้ เช่น สามารถเขียนข้อคิดเห็น ข้อสรุปตลอดจนข้อซักถามต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว โดยทุกคนจะสามารถเห็นข้อมูลทั้งหมดบนกระดานได้พร้อมกัน แอพพลิเคชันนี้จึงสามารถใช้ในการบันทึกข้อมูลผลการทำกิจกรรม แทนการจดบันทึกโดยใช้ปากกาบันทึกลงในกระดาษด้วยนอกจากนี้การประเมินการสอน ผู้สอนสามารถใช้แอพพลิเคชันเมนติมิเตอร์ (Mentimeter) ซึ่งสามารถประเมินผลแบบรู้ผลในทันที (Real Time) วิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ง่ายคือ ผู้สอนเป็นคนตั้งคำถามเกี่ยวกับบทเรียนนั้น ๆแล้วให้ผู้เรียนเข้าไปลงคะแนน เช่น หลังการเรียน ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับบทเรียนอย่างไร โดยมีข้อความให้เลือกคือ เข้าใจมาก เข้าใจปานกลาง และเข้าใจน้อยซึ่งผู้สอนสามารถทราบผล และนำผลไปปรับใช้ในการสอนครั้งถัดไปได้ในทันที แอพพลิเคชันเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในห้องเรียน เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีจัดการเรียนรู้และเพิ่มประสิทธิภาพของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม ภาพ 6.1 และ 6.2 เป็นรูปของนักเรียนคนเดียวกัน ศึกษาเรื่องเดียวกัน แต่มีวิธีเรียนที่แตกต่างกัน

edtech 06

          สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้นำแอพพลิเคซันแพตเล็ต มาใช้ระหว่างการอบรมเชิงปฏิบัติการวิชาวิทยาศาสตร์ของครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อเป็นตัวอย่างให้ผู้สอนสามารถนำไปใช้ในห้องเรียน โดยใช้แอพพลิเคชันนี้ในการบันทึกข้อมูลผลการทำกิจกรรมและนำเสนอ ดังภาพ 7 ซึ่งเริ่มจากการสร้างความคุ้นเคยกับแอพพลิเคชันโดยให้ผู้รับการอบรมแนะนำตัวผ่านแอพพลิเคชันแพตเล็ต จากนั้นเริ่มให้ใช้ประกอบในการทำกิจกรรมเรื่องที่ 1 ดังภาพ 8 ระหว่างการใช้งานจะพบว่าครูมีคำถามและข้อสงสัยเกี่ยวกับแอพพลิเคข้นบ้าง เช่น วิธีการใส่รูปและการเพิ่มข้อความ แต่หลังจากที่ได้ใช้แอพพลิเคชันนี้ทำกิจกรรมไปเรื่อย ๆ จนถึงกิจกรรมที่ 4 ในภาพ 9 จะพบว่าแต่ละกลุ่มสามารถส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นสวยงามมากขึ้น และครูเริ่มมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้แพตเล็ตและแอพพลิเคชันอื่น " จึงเป็นการแสดงให้เห็นความพึงพอใจของผู้ใช้งาน

edtech 07

ภาพ 7 กระดานแนะนำสมาชิกในห้องอบรม เพื่อเริ่มต้นเรียนรู้วิธีใช้งานเบื้องต้นของแอพพลิเคซันแพตเล็ต

edtech 08

ภาพ 8  ผลการทำกิจกรรมที่ 1 ครูสามารถเพิ่มรูปภาพและหัวข้อลงในกระดานแพตเล็ตได้

ที่มา  https://padlet.com/lumbu/y9hz7769hobi

edtech 09

ภาพ 9 ผลการทำกิจกรรมที่ 4 ครูสามารถเพิ่มวีติโอในกระดานแทนรูปภาพ
ที่มา https://padlet.com/lumbu/44uj60mnpwyd

           หลังการอบรมพบว่า ครูส่วนใหญ๋ให้ความคิดเห็นว่าแอพพลิเคชันนี้ใช้งานง่ย สามารถสร้างความสนใจในการเรียนได้ดี และทำให้เห็นหลักฐานที่ชัดเจน นำไปสู่การสรุปผลได้ง่าย สามารถดูผลการทำกิจกรรมย้อนหลังได้ และมีความสนใจที่จะนำแอพพลิเคชันนี้ไป่ใช้ในห้องเรียน นอกจากนี้ยังให้ข้อเสนอแนะว่าก่อนการใช้แอพพลิเคชันนี้ ควรกำหนดข้อตกลงในห้องเรียนให้ชัดจนว่าจะต้องใช้สมาร์ทโฟนในการทำกิจกรรมเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ใช้แอพพลิเคชันเกม (ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนการเข้าใช้งานที่เว็บไซด์ http://padlet.com)

ผู้สอนท่านใดที่นำไปใช้ในห้องเรียนแล้วได้ผลเป็นอย่างไร สามารถแสดงความคิดเห็นในหน้ากระดานนี้ได้ที่ https://padlet.com/umbu/nh43mOrere84 หากมีแอพพลิเคชันอื่น ๆ ที่น่าสนใจก็สามารถเข้าไปแนะนำในหน้ากระดานนี้ได้

          บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

 

บรรณานุกรม

The evolution of communication technology. Retrieved March 23. 2016, from https://www.ukessays.com/essays/history/the-evolution-of-communication-technology.php.

LARKEES JUNE 6. 2014 Communication Technology. Retrieved November 24. 2016. from https://designanddigitaltechnology.wordpress.com/2014/06/06/communicationtechnology/

Shuhua Monica Liu & Qiani Yuan พัฒนาการของการสื่อสารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน The Evoluion of Information and Communication

Technology in Public Administration. สืบคั้นวันที่ 28 พฤศจิกายน 2559. จาก http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/pad.1717/abstract May 2015.

การผลิตรถยนต์อุตสาหกรรม. สืบนวันที่ 23 มีนาคม 2559. จา http:/www.autoguide.com/auto-news/2015/03/should-you-rust-proof-your-new-car-html

วิจารณ์ พานิซ. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

แอพพลิเคซันวิซาคณิตศาสตร์. สืบคั้นวันที่ 1 ธันวาคม 2560, จาก https://kahoot.it/

แอพพลิเคชันวิชาคณิตศาสตร์. สืบต้นวันที่ 1 ธันวาคม 2560. จาก https:/www.mentimeter.com/  

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เทคโนโลยีกับการศึกษา, การเรียนการสอน, padlet
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ลลิดา อ่ำบัว
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ปฐมวัย
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12422 เทคโนโลยีกับการศึกษา /article-technology/item/12422-2021-08-23-06-07-45
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    padlet การเรียนการสอน เทคโนโลยีกับการศึกษา
คุณอาจจะสนใจ
สุนัข กับเซ็นเซอร์ตรวจจับเบาหวาน
สุนัข กับเซ็นเซอร์ตรวจจับเบาหวาน
Hits ฮิต (30420)
ให้คะแนน
สุนัข กับเซ็นเซอร์ตรวจจับเบาหวาน โรคเบาหวาน ถือเป็นภัยคุกคามสุขภาพของประชากรโลกที่น่ากลัว จากข้อมูล ...
10 เรื่องมหัศจรรย์เกี่ยวกับน้องชาย (Penis)
10 เรื่องมหัศจรรย์เกี่ยวกับน้องชาย (Peni...
Hits ฮิต (34396)
ให้คะแนน
10 เรื่องมหัศจรรย์เกี่ยวกับน้องชาย (Penis) 1. รู้หรือไม่ว่าผู้ชายอย่างเรานั้นมีช่วงเวลาของจุดสุดยอด ...
ศูนย์เตือนภัยสุขภาพคนกรุงเทพมหานคร
ศูนย์เตือนภัยสุขภาพคนกรุงเทพมหานคร
Hits ฮิต (26365)
ให้คะแนน
ความเจริญของกรุงเทพฯ ทำให้วิถีการดำรงชีวิตของคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ การท ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)