logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

วันหัวใจโลก

โดย :
IPST Thailand
เมื่อ :
วันศุกร์, 01 ตุลาคม 2564
Hits
2531

12455

หัวใจเป็นสัญลักษณ์ของความรัก แต่จริง ๆ แล้ว หัวใจไม่ได้มีรูปร่างแบบนั้นนะ!!

หัวใจของมนุษย์เป็นอวัยวะที่พัฒนามาจากหลอดเลือด เป็นอวัยวะสำคัญในระบบหมุนเวียนเลือด อยู่บริเวณกึ่งกลางทรวงอกระหว่างปอดทั้งสองข้างเยื้องไปทางซ้ายเล็กน้อย มี 4 ห้อง ได้แก่ ห้องบน 2 ห้อง และห้องล่าง 2 ห้อง หัวใจห้องบนมีหน้าที่รับเลือด ส่วนหัวใจห้องล่างมีหน้าที่ส่งเลือด ระหว่างหัวใจห้องบนกับหัวใจห้องล่างมีลิ้นหัวใจ ลักษณะเป็นแผ่นเยื่อกั้นระหว่างห้องหัวใจ โดยลิ้นหัวใจมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ

ศึกษาโครงสร้างและทิศทางการไหลเวียนเลือดผ่านหัวใจจาก VDO การผ่าหัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม >> https://www.youtube.com/watch?v=-r9xbY-9_jo

หัวใจทำหน้าที่รับเลือดและสูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดเพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย หัวใจจึงเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักและทำงานอยู่ตลอดเวลา จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2555-2559 พบว่า ประชากรของประเทศไทยมีอัตราการเจ็บป่วยและตายด้วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2557 พบอัตราการตายสูงเท่ากับ 38.5 คนต่อประชากร 100,000 คน

โรคหัวใจอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ หลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจอุดตัน หัวใจโต ทำให้การหมุนเวียนเลือดผิดปกติ ส่วนใหญ่ในระยะสุดท้ายของโรคหัวใจทุกชนิดคือเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ ได้แก่ การได้รับสารทาร์และนิโคตินจากบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การเสพสารเสพติด การบริโภคอาหารที่มีลิพิดสูง การไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่มากเกินไป และการมีอารมณ์รุนแรงหรือเครียด รวมทั้งการสะสมลิพิดที่ผนังหลอดเลือด โรคบางอย่างเช่น โรคไตจะส่งผลให้ความดันเลือดสูงซึ่งมีผลต่อการทำงานของหัวใจ ดังนั้นจึงควรจะหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้

ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ที่อาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น กรณีที่หัวใจเต้นช้ากว่าปกติและไม่สม่ำเสมอ แพทย์จะใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ (artificial pacemaker) เครื่องนี้จะทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้าไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้เป็นปกติ ปัจจุบันสามารถประดิษฐ์ลิ้นหัวใจเทียม เพื่อนำมาเปลี่ยนให้คนไข้ที่มีลิ้นหัวใจผิดปกติได้

ความรู้เพิ่มเติม

CPR (cardiopulmonary resuscitation) คือการช่วยฟื้นคืนชีพด้วยวิธีปั้มหัวใจ ทำให้หัวใจกลับมาเต้นได้อีก และช่วยฟื้นการทำงานของระบบหมุนเวียนเลือดที่หยุดกะทันหัน จนกว่าจะได้รับการช่วยเหลือทางการแพทย์ การทำ CPR ทันทีหลังจากที่ผู้ป่วยอยู่ในภาวะหัวใจหยุดเต้น เช่น หัวใจวาย หรือจมน้ำ ซึ่งเป็นภาวะที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสมองอย่างถาวร อาจเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้มากขึ้น

เรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง หัวใจและระบบหมุนเวียนเลือด ได้ใน VDO สอนออนไลน์ Project 14

1) https://proj14.ipst.ac.th/m2/m2-sci-book1/sci-m2b1-015/

2) https://proj14.ipst.ac.th/m2/m2-sci-book1/sci-m2b1-016/

3) https://proj14.ipst.ac.th/m4-6-biology/m5-bio-book4/bio-m5b4-012/?fbclid=IwAR30quVF2yL_1dyGvmMXyrZtv6QlAMLannGLM9gnW6c_TDbkexLe3cfCWfo

อ้างอิง

1) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.2 เล่ม 1 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)

2) หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)

กดดาวน์โหลดภาพอินโฟกราฟิก
ติดตามสาระดี ๆ ได้ที่ Facebook : IPST Thailand

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
หัวใจ, วันหัวใจโลก, heart, WorldHeartDay, ระบบหมุนเวียนเลือด, โรคหัวใจ, CPR, ผ่าหัวใจ, การผ่าหัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
IPST Thailand
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12455 วันหัวใจโลก /article-science/item/12455-2021-09-29-06-49-01
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    IPST Thailand การผ่าหัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ผ่าหัวใจ CPR โรคหัวใจ WorldHeartDay heart วันหัวใจโลก หัวใจ ระบบหมุนเวียนเลือด
คุณอาจจะสนใจ
4 สารต้องห้ามในเครื่องสำอาง
4 สารต้องห้ามในเครื่องสำอาง
Hits ฮิต (2878)
ให้คะแนน
1. ปรอท (mercury) มีกลไกยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) ลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน (me ...
5 สิ่งเปลี่ยนโลก กับ อลัน แมธิสัน ทัวริง
5 สิ่งเปลี่ยนโลก กับ อลัน แมธิสัน ทัวริง
Hits ฮิต (2573)
ให้คะแนน
อลัน แมธิสัน ทัวริง (Alan Mathison Turing) เกิดวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 เป็นนักคณิตศาสตร์ ชาวอั ...
มาเสริมความรู้ให้ “สมอง” ด้วยเรื่อง “สมอง” กันเถอะ
มาเสริมความรู้ให้ “สมอง” ด้วยเรื่อง “สมอ...
Hits ฮิต (3326)
ให้คะแนน
สมองอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลางในร่างกาย มีน้ำหนักประมาณ 1.3 - 1.4 ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)