logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

วิทยาศาสตร์กับสังคมไทย ตอนที่ 2 วิทยาศาสตร์ในสังคมไทยโบราณ

โดย :
ศรุดา ทิพย์แสง
เมื่อ :
วันอังคาร, 25 พฤษภาคม 2564
Hits
4894

          จากความในครั้งก่อน วิทยาศาสตร์กับสังคมไทย ตอนที่ 1 ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อสังคมไทย ทำให้ผู้อ่านได้ทราบว่าวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือสำคัญ ที่มีความสำคัญและสอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน แล้วเคยสงสัยไหมว่า สังคมไทยโบราณ วิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความนี้

          สังคมไทยแต่เดิมนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของคติและความเชื่อ ทั้งความเชื่อที่มีต่อพระพุทธศาสนาและภูตผีปีศาจ  อำนาจของเทวดา พระเจ้าต่าง ๆ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ความเชื่อเป็นธรรมชาติที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด โดยถ่ายทอดผ่านทางสายใยครอบครัวจากบรรพบุรุษ และสถานที่เกิดนั้นๆ  ดังนั้น ความเชื่อที่ส่งถ่ายทอดกันมารุ่นสู่รุ่น จึงเป็นการยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นเป็นจริงหรือเป็นสิ่งที่เราไว้ใจ โดยไม่คำนึงถึงหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใด ๆ

          อย่างไรก็ตามด้วยวิถีและแนวทางความเชื่อต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ก่อให้เกิดสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในสังคมซึ่งเราเรียกว่า “ภูมิปัญญา” ซึ่งประกอบไปด้วย ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (Popular Wisdom) และ ภูมิปัญญาไทย (Thai Wisdom)   ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นเองมีความเกี่ยวข้องกับความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างน่าสนใจ

          ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นความรู้ ความสามารถและทักษะของคนในชุมชนหรือท้องถิ่นที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้ เลือกสรรเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาให้สอดคล้องกับธรรมชาติหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน อย่างที่เราทราบกันดีว่า ในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์นั้น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็ได้มาจากการศึกษาความจริงของธรรมชาติ โดยอาศัยทั้งความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ  ดังนั้นจะสังเกตได้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นมีความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์ในแง่ของกระบวนการอยู่พอสมควร

          ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือภูมิปัญญาของสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัยของคนไทยโบราณ หรือที่เราเรียกว่า เรือนไทย ถึงแม้ว่าจะมีการออกแบบโดยใช้วัสดุในสมัยนั้นๆ และใช้เป็นวัสดุธรรมชาติ แต่ก็มีองค์ความรู้ในการวางผังและออกแบบตัวเรือนที่ตั้งอยู่บนหลักการของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เอื้อประโยชน์ใช้สอย ตามลักษณะการดำรงชีวิต และความเหมาะสมต่อสภาพภูมิอากาศ

11666
ภาพที่ 1 เรือนไทยโบราณ
ที่มา https://th.m.wikipedia.org/wiki/ไฟล์:Ancient_City_Ruen_Thai.jpg , Supanut Arunoprayote

 

11666 2
ภาพที่2 แสดงมุมองศาเอียงของหน้าบัน และปั้นลมเรือนไทยตามสมการสัดส่วนเรือนไทยของรองศาสตราจารย์ฤทัย ใจจงรัก

ที่มา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/download/26527/108211/

          และในสิ่งปลูกสร้างหรือเรือนไทยนี้เองก็ยังพบว่า มีการออกแบบสัดส่วนของสถาปัตยกรรมที่มีสัดส่วนมาตรฐานตามหลักกการคณิตศาสตร์อีกด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีความเป็นสากลที่สอดแทรกอยู่ในวิถีชีวิต ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาได้อย่างลงตัว

แหล่งที่มา

ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์. วิทยาศาสตร์ในสังคมและวัฒนธรรมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1) . กรุงเทพมหานคร: (พว.)

ประสาท เนืองเฉลิม. วิทยาศาสตรศึกษากับภูมิปัญญาท้องถิ่น.  สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563, จาก https://home.kku.ac.th/uac/journal/year_11_1_2546/07_11_1_2546.pdf

พิทาน ทองศาโรจน์ และอรศิริปาณินท์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2557. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563, จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/download/26527/108211/

อัธยานันท์ จิตรโรจนรักษ์. แนวทางการสืบสานคุณค่าของอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563, จาก http://161.200.145.125/bitstream/123456789/45411/1/5384487527.pdf

อ.วิริยะ โกษิต. เอกสารประกอบการสอนความเชื่อ และ วิทยาศาสตร์ ในสังคมไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563, จาก https://www.slideshare.net/keysky4/part1-54646044

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
วิทยาศาสตร์,สังคมไทย,เรือนไทย,ภูมิปัญญาไทย
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 01 มิถุนายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ศรุดา ทิพย์แสง
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11666 วิทยาศาสตร์กับสังคมไทย ตอนที่ 2 วิทยาศาสตร์ในสังคมไทยโบราณ /article-science/item/11666-2020-06-30-06-35-55
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    ภูมิปัญญาไทย เรือนไทย สังคมไทย วิทยาศาสตร์
คุณอาจจะสนใจ
เตาแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
เตาแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
Hits ฮิต (7230)
ให้คะแนน
เพื่อน ๆ ที่มีเตาแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำอยู่ที่บ้าน เคยสงสัยกันรึเปล่าว่า เตาแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำท ...
อุณหภูมิในหน่วย “เคลวิน”
อุณหภูมิในหน่วย “เคลวิน”
Hits ฮิต (2250)
ให้คะแนน
วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2367 เป็นวันคล้ายวันเกิดของ William Thomson, 1st Baron Kelvin นักฟิสิกส์และ ...
James Clerk Maxwell หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ผู้ทรงอิทธิพลที่สุด ...
James Clerk Maxwell หนึ่งในนักวิทยาศาสตร...
Hits ฮิต (2626)
ให้คะแนน
James Clerk Maxwell เกิดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2374 งานของเขาเกี่ยวข้องกับแม่เหล็ก ไฟฟ้า และแ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)