logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

Scientific Method สิ่งที่ใช้ได้จริงตั้งแต่วัยเรียนจนวัยทำงาน

โดย :
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 16 ธันวาคม 2562
Hits
24618

          ครั้งหนึ่งผู้เขียนเคยนั่งคิดเล่น ๆ ว่าคนเราจะสามารถพัฒนาตัวเองทุกวันได้อย่างไร เพราะเรามักจะได้ยินและถูกสอนเสมอว่าให้เรียนรู้สิ่งใหม่เสมอ ตราบใดที่โลกหมุนก็ยังมีเรื่องที่ไม่เคยรู้ให้ค้นพบทุกวัน ซึ่งคำตอบหนึ่งที่ผู้เขียนบอกได้นั่นก็คือ “การตั้งคำถาม” เพราะการตั้งคำถามต้องเริ่มจากการสังเกต สังเกตแล้วเกิดความสงสัย สงสัยแล้วเกิดคำถาม คำถามทำให้เกิดความอยากรู้ จนทำให้เกิดการหาคำตอบ ซึ่งถ้าไม่มีคำตอบรอไว้เราก็ต้องทำการทดลองเพื่อให้ได้ผลการทดลองขึ้นมา โดยที่เราอาจจะคาดเดาไปก่อนแล้วตั้งแต่เริ่มทดลองว่าผลมันน่าจะออกมาเป็นอย่างไร จากนั้นก็นำคำตอบที่เราหาได้มาเพิ่มเติมด้วยการแสดงความคิดเห็นโดยมีข้อเท็จจริงและหลักฐานมาประกอบ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ คือลักษณะนิสัยเบื้องต้นของนักวิทยาศาสตร์ และวันนี้เราจะมาพาไปทำความเข้าใจ “กระบวนการทางวิทยาศาสตร์” ในทุกขั้นตอน

10960 1edit

ภาพนักวิทยาศาสตร์ 
ที่มา https://unsplash.com/photos/SZJoYW4eLHE, Hush Naidoo

        เราจะเห็นภาพรวมของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีขั้นตอนหลัก 5 ข้อ ได้แก่

  1. การกำหนดปัญหา
  2. การตั้งสมมติฐาน
  3. การตรวจสอบสมมติฐาน
  4. การวิเคราะห์ข้อมูล
  5. การสรุปผล

10960 2edit2
ภาพที่ 2 ขั้นตอนทั้ง 5 ของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ที่มา ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์

เพราะความอยากรู้ สำคัญกว่าความรู้จึงต้อง  “กำหนดปัญหา”

          คุณสมบัติหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญมากอย่างหนึ่งคือการมีทักษะการช่างสังเกต สงสัย ตั้งคำถามต่อสิ่งที่ดำเนินอยู่รอบตัวอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเหตุการณ์ที่ถูกยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างสำหรับข้อนี้บ่อย ๆ น่าจะเป็นเหตุการณ์ที่ผลแอปเปิลตกใส่ศีรษะของ ไอแซค นิวตัน ในขณะที่กำลังอ่านหนังสือ ที่ถ้าเป็นคนอื่น ๆ ก็คงจะปล่อยผ่านเหตุการณ์นี้ไปและคิดว่าเป็นโชคร้าย แต่ไม่ใช่สำหรับนิวตันที่ตั้งคำถามต่อการร่วงหล่นของวัตถุว่า “ทำไมวัตถุต่าง ๆ ถึงตกลงสู่พื้นดินไม่ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า” ซึ่งการตั้งคำถามแบบนี้ในยุคนั้นน่าจะถูกมองว่าเป็นคนประหลาดมิใช่น้อย เพราะทุกคนต่างรู้และทราบดีว่าของมันต้องหล่นลงพื้นอยู่แล้ว ไม่มีทางที่จะปล่อยจากมือหรือหลุดจากต้นแล้วลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าได้เด็ดขาด แต่ก็เพราะการสงสัยในเรื่องธรรมดามาก ๆ แบบนี้ที่นำไปสู่การค้นพบที่ยิ่งใหญ่และเปลี่ยนความเข้าใจของคนทั้งโลกได้ในเวลาอันสั้น

การคาดเดาคำตอบเป็นการฝึกกระบวนการคิดที่สำคัญ

          การตั้งสมมติฐานคือการอาศัยหลักการคิด ประสบการณ์ และทฤษฎีต่าง ๆ มาเพื่อใช้ในการพยากรณ์คำตอบไว้ล่วงหน้าโดยสามารถตั้งไว้หลาย ๆ สมมติฐานได้แต่จะต้องไม่มีอคติหรือยึดติดต่อสมมติฐานข้อใดเป็นพิเศษเพื่อให้การทดลองเป็นไปอย่างเที่ยงตรง

การทดลองกุญแจดอกแรกที่ไขเปิดทุกความสำเร็จ

     สมมติฐานที่ดีจะเป็นแนวทางสู่การออกแบบการทดลองที่ดีเพราะจะทำให้สามารถกำหนดขอบเขตของการทดลองได้ มุ่งไปสู่การหาคำตอบได้อย่างแม่นยำ ไม่ออกนอกประเด็น และในท้ายสุดก็จะนำไปสู่การตรวจสอบกับสมมติฐานตั้งต้น ซึ่งเทคนิคในการออกแบบการทดลองอย่างเป็นระบบนั้นมี 7 ข้อ ได้แก่

  1. การบอกขั้นตอนชัดเจน

  2. การอธิบายการทำงานของแต่ละขั้นตอนชัดเจน

  3. สามารถทำซ้ำการทดลองได้

  4. สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้

  5. สามารถประเมินผลเพื่อปรับให้ดีขึ้นได้

  6. สามารถเข้าใจได้โดยง่าย

  7. มีความทันสมัยของวิธีการทดลอง

       และในการทดลองสิ่งสำคัญมากอีกสิ่หนึ่งคือ ตัวแปร (Variable) หรือคือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการทดลอง ซึ่งควรจะมีไม่มาก ตัวแปรแบ่งเป็น  3  ชนิด  คือ

      1)  ตัวแปรต้น, ตัวแปรอิสระ (Independent variable) คือ ตัวแปรที่ต้องศึกษาทำการตรวจสอบและดูผลของมัน เป็นตัวแปรที่เรากำหนดขึ้นมา เป็นตัวแปรที่ไม่อยู่ในความควบคุมของตัวแปรใด ๆ

      2)  ตัวแปรตาม (Dependent variable) คือ ตัวแปรที่ไม่มีความเป็นอิสระในตัวมันเอง เปลี่ยนแปลงไปตามตัวแปรอิสระเพราะเป็นผลของตัวแปรอิสระ

      3)  ตัวแปรควบคุม (Controlled variable) หมายถึงสิ่งอื่น ๆ นอกจากตัวแปรต้น ที่ทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนแต่เราควบคุมให้คงที่ตลอดการทดลอง เนื่องจากยังไม่ต้องการศึกษา

การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ทำให้ไม่หลงประเด็น ทำให้ชัดเจน และทำให้ถูกต้องได้มากขึ้น

          เมื่อเราได้ข้อมูลจากการทดลองจำนวนมากแล้ว การรวบรวมและแบ่งหมวดหมู่ของข้อมูลมาอธิบายความหมายค้นหาข้อเท็จจริงและนำไปเทียบกับสมมติฐานตั้งต้น จะทำให้สามารถตัดสมมติฐานที่ไม่ถูกต้องออกไปได้และได้มาซึ่งผลการทดลองที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

การสรุปผลที่ดี แสดงถึงงานทดลองวิจัยที่ดี ที่ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ดี

           การที่รู้ว่าสมมติฐานข้อใดถูก ข้อใดผิด จะสามารถทำให้เราสรุปเป็นแนวทางหรือทฤษฎีเบื้องต้นขึ้นมาได้ ซึ่งจะใช้เป็นแนวทางในการต่อยอดงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและคล้ายคลึงกันได้ทั้งหมด

          จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ผู้เขียนมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าไม่ใช่แค่นักวิทยาศาสตร์ ที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ แต่ไม่ว่าจะอยู่ในสายงานใดกระบวนการนี้จะสามารถช่วยให้งานของคุณดูมีมาตรฐาน ยกระดับวิธีการทำงานของคุณได้อย่างแน่นอน

แหล่งที่มา

Sciencebuddies. (Unknown).  Steps of the Scientific Method.  Retrieved Sep 30, 2019, from https://www.sciencebuddies.org/science-fair-projects/science-fair/steps-of-the-scientific-method#experiment

Lisa Roundy. (Unknown).  What is a Hypothesis? - Definition & Explanation.  Retrieved Sep 30, 2019, from https://study.com/academy/lesson/what-is-a-hypothesis-definition-lesson-quiz.html

Khan Academy. (Unknown).  The scientific method.  Retrieved Sep 30, 2019, from https://www.khanacademy.org/science/high-school-biology/hs-biology-foundations/hs-biology-and-the-scientific-method/a/the-science-of-biology

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
วิทยาศาสตร์, กระบวนการทางวิทยาศาสตร์, Scientific Method
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 30 กันยายน 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นายภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10960 Scientific Method สิ่งที่ใช้ได้จริงตั้งแต่วัยเรียนจนวัยทำงาน /article-physics/item/10960-scientific-method
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    Scientific Method กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์
คุณอาจจะสนใจ
James Clerk Maxwell หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ผู้ทรงอิทธิพลที่สุด ...
James Clerk Maxwell หนึ่งในนักวิทยาศาสตร...
Hits ฮิต (2353)
ให้คะแนน
James Clerk Maxwell เกิดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2374 งานของเขาเกี่ยวข้องกับแม่เหล็ก ไฟฟ้า และแ ...
วิทยาศาสตร์กับสังคมไทย ตอนที่ 2 วิทยาศาสตร์ในสังคมไทยโบราณ
วิทยาศาสตร์กับสังคมไทย ตอนที่ 2 วิทยาศาส...
Hits ฮิต (4553)
ให้คะแนน
จากความในครั้งก่อน วิทยาศาสตร์กับสังคมไทย ตอนที่ 1 ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อสังคมไทย ทำให้ผู้ ...
อุณหภูมิในหน่วย “เคลวิน”
อุณหภูมิในหน่วย “เคลวิน”
Hits ฮิต (2080)
ให้คะแนน
วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2367 เป็นวันคล้ายวันเกิดของ William Thomson, 1st Baron Kelvin นักฟิสิกส์และ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)