logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

มาทำความรู้จักกับการปฏิวัติวิทยาศาสตร์

โดย :
ศรุดา ทิพย์แสง
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 29 ตุลาคม 2563
Hits
65012

          การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นสิ่งสำคัญในประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยใหม่เป็นอย่างมาก สืบเนื่องมาจากเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความเชื่อจากศรัทธาของคริสต์ศาสนามาสู่การใช้สติปัญญามีเหตุมีผล  และในขณะเดียวกันนั้นการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ยังส่งผลต่ออิทธิพลในสมัยยุคภูมิธรรมซึ่งเป็นขบวนการทางความคิดทางภูมิปัญญาโดยใช้พื้นฐานความคิดในรูปแบบวิทยาศาสตร์  ทำให้วิทยาศาสตร์กลายมาเป็นศาสนาใหม่ของชุมชนวิทยาศาสตร์ อีกทั้งในเวลาต่อมาแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์ได้แพร่ขยายออกเป็นวงกว้างไปทั่วมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในยุโรปจวบจนกระทั่งได้กลายมาเป็นระบบการศึกษาของทั่วโลกในปัจจุบัน  

          การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นในทวีปยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่  16-18  ทำให้มนุษย์สามารถค้นพบวิทยาศาสตร์และเอาชนะธรรมชาติได้  และยังสามารถนำธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์  เกิดการเรียนรู้และเกิดการพัฒนา  ทำให้สังคมชาวตะวันตกสามารถพัฒนาความก้าวหน้าได้รวดเร็วกว่าดินแดนอื่น ๆ  ของโลก และกลายเป็นประเทศที่ทันสมัยของโลกจนถึงปัจจุบัน  การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์เป็นผลสืบเนื่องมาจากแนวคิดของมนุษย์นิยมที่ยึดหลักการของเหตุและผลแทนความเชื่อที่งมงาย  ซึ่งในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการทำให้เกิดการค้นคว้าเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ ๆมากยิ่งขึ้น  โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์  ทำให้เกิดองค์ความรู้และการประดิษฐ์  คิดค้นด้านต่าง ๆ อย่างมากมาย

          ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ คือ

  1. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (เรอเนสซองส์) ด้วยสิ่งนี้ทำให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองมากยิ่งขึ้น โดยเรียกแนวคิดนี้ว่า แนวคิดมนุษยนิยม ( Humanism ) ทำให้อิสระทางความคิดหลุดพ้นจากอิทธิพลครอบงำของคริสตจักร (ศาสนจักร)  และพยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น

  2. การพัฒนาเทคโนโลยีในดินแดนเยอรมันทางตอนใต้ โดยการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ แบบใช้วิธีเรียงตัวอักษรของ  โยฮัน กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg)  นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1448  ทำให้ในยุคปัจจุบันนี้สามารถพิมพ์หนังสือเผยแพร่ได้อย่างกว้างขวาง

  3. การสำรวจทางทะเลและการติดต่อกับโลกตะวันออก ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมานั้น ได้รับ อารยาธรรมความรู้ต่าง ๆ จากจีน อินเดีย อาหรับ และเปอร์เซียเผยแพร่เข้ามาในสังคมโลกตะวันตกมากยิ่งขึ้น

  4. แนวคิดมนุษยนิยม ( Humanism ) ซึ่งได้รับมาจากหลักปรัชญาของชาวกรีกโดยสอนให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในสติปัญญาและความสามารถของตนเอง เชื่อมั่นในความมีเหตุผล และนำไปสู่การค้นหาความจริงของสรรพสิ่งต่างๆ ในโลกโดยไม่มีที่สิ้นสุด

  5. แนวคิดในปรัชญาธรรมชาตินิยม ( Naturalism ) สอนให้เชื่อว่าสิ่งต่างๆ ล้วนดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ ธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัวมนุษย์นั้นมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ และทำให้วิทยาศาสตร์กลายมาเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญ โดยเน้นศึกษาเรื่องรวมทางธรรมชาติ จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าและทดลองจนเกิดองค์ความรู้ใหม่เรียกว่าเป็น ยุคแห่งภูมิธรรม หรือ ยุคแห่งการรู้แจ้ง (The Enlightenment)

          การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ในยุคแรกเริ่มต้น  เป็นการค้นพบความรู้ทางดาราศาสตร์ ทำให้เกิดคำอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ  ซึ่งเป็นการท้าทายความเชื่อดั้งเดิมของคริสต์ศาสนา  สรุปได้ดังนี้

  1. การค้นพบทฤษฎีระบบสุริยจักรวาลของนิโคลัส (Nicholaus Copernicus) ชาวโปแลนด์ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 สาระสำคัญ คือ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล  โดยมีโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ โคจรโดยรอบ ซึ่งทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสขัดแย้งกับหลักความเชื่อของคริสตจักรอย่างมาก แต่ก็ถือว่าความคิดของโคเปอร์นิคัสเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์  และทำให้ชาวตะวันตกให้ความสนใจเรื่องราวลี้ลับของธรรมชาติ

11479 1
ภาพแบบจำลองระบบสุริยะของโคเปอร์นิคัส (I. วงโคจรของดาวฤกษ์  ,II. วงโคจรของดาวเสาร์,
III. วงโคจรของดาวพฤหัสบดี ,IIII. วงโคจรของดาวอังคาร ,V. วงโคจรของโลกและดวงจันทร์​,
VI. วงโคจรของดาวศุกร์ ,VII. วงโคจรของดาวพุธ ,จุดศูนย์กลางคือดวงอาทิตย์ )
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/File:Copernican_heliocentrism_diagram-2.jpg , Copernicus 1543, Professor marginalia

  1. การประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ ( Telescope ) ของกาลิเลโอ (Galileo Galilei) ชาวอิตาลีในปี ค.ศ. 1609 ทำให้ความรู้เรื่องระบบสุริยจักรวาลชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ได้เห็นจุดดับในดวงอาทิตย์ได้สังเกตการณ์เคลื่อนไหวของดวงดาว  และได้เห็นพื้นขรุขระของดวงจันทร์  เป็นต้น

  2. การค้นพบทฤษฎีการโคจรของดาวเคราะห์ของโจฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler) ชาวเยอรมัน ในช่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และสรุปได้ว่าเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์เป็นรูปไข่หรือรูปวงรีไม่ใช่เป็นวงกลมตามทฤษฎีขอโคเปอร์นิคัส

          สรุปได้ว่า  การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาความคิด และสติปัญญาของมนุษย์  ทำให้สังคมโลกก้าวสู่สมัยแห่งความก้าวหน้า และพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

แหล่งที่มา

Margaret J. Osler,Stephen G. Brush,J. Brookes Spencer.  Scientific Revolution.  Retrieved May 10, 2020, from https://www.britannica.com/science/Scientific-Revolution

Robert A. Hatch - University of Florida. The Scientific Revolution.  Retrieved May 10, 2020, from http://users.clas.ufl.edu/ufhatch/pages/03-Sci-Rev/SCI-REV-Teaching/03sr-definition-concept.htm

ครูวิไลวรรณ. (2013, 15 July).  6. การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์.  สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2563, จาก http://wl.mc.ac.th/?p=108

พงศ์ศักดิ์ สังขภิญโญ. พื้นฐานความรู้ทางวรรณกรรม.  สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/6/science/unit4_11.html

                                                                                  

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์,วิทยาศาสตร์, แนวคิดของมนุษย์นิยม,ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ,การประดิษฐ์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 10 พฤษภาคม 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ศรุดา ทิพย์แสง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11479 มาทำความรู้จักกับการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ /article-science/item/11479-2020-04-21-07-25-03
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    การประดิษฐ์ ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ แนวคิดของมนุษย์นิยม ปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์
คุณอาจจะสนใจ
อุณหภูมิในหน่วย “เคลวิน”
อุณหภูมิในหน่วย “เคลวิน”
Hits ฮิต (2085)
ให้คะแนน
วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2367 เป็นวันคล้ายวันเกิดของ William Thomson, 1st Baron Kelvin นักฟิสิกส์และ ...
ประกาศผลโนเบล 2019 มีอะไรบ้างไปดูกัน
ประกาศผลโนเบล 2019 มีอะไรบ้างไปดูกัน
Hits ฮิต (11436)
ให้คะแนน
รางวัลโนเบล เป็นสุดยอดรางวัลที่จะถูกมอบให้กับนักวิทยาศาสตร์ นักเขียน นักกิจกรรมทางสังคม และนักเศรษฐ ...
วิทยาศาสตร์กับสังคมไทย ตอนที่ 2 วิทยาศาสตร์ในสังคมไทยโบราณ
วิทยาศาสตร์กับสังคมไทย ตอนที่ 2 วิทยาศาส...
Hits ฮิต (4563)
ให้คะแนน
จากความในครั้งก่อน วิทยาศาสตร์กับสังคมไทย ตอนที่ 1 ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อสังคมไทย ทำให้ผู้ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)