กลับมาพบกันอีกครั้งสำหรับบทความซีรีส์รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก เราเดินทางมาไกลจนถึงตอนที่ 21 กันแล้ว เป็นที่รู้จักกันอย่างดีว่าในโลกของเรานั้นมีบุคคลสำคัญมากมายหลากหลายท่าน และแต่ละท่านล้วนมีความสำคัญที่แตกต่างกันออกไป ในบทความนี้จะขอนำทุกท่านไปรู้จักกับนักนิเวศวิทยาท่านหนึ่งที่ถือเป็นต้นแบบในการอนุรักษ์ธรรมชาติที่สำคัญนี้ไว้ เรามาสนุกกับประวัติของนักนิเวศวิทยาท่านนี้กันได้เลย
ค่านิยมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้นถูกปลูกฝังมาช้านานราวร้อยกว่าปี นักนิเวศวิทยาท่านหนึ่งได้ตระหนักถึงภัยเงียบในสิ่งนี้มาเป็นเวลานานแล้วว่า มนุษย์นั้นไม่เคยดูแลและพิทักษ์ปกป้องธรรมชาติเลย แต่มนุษย์นั้นมีแต่คอยจะทำลายธรรมชาติด้วยสารพัดวิธี เช่น การใช้ยาหรือสารเคมีในปริมาณที่มากเกินเพื่อกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูพืชแต่มนุษย์นั้นลืมไปว่าการใช้สารเคมีมากพอควรนั้นอาจทำให้มีสารตกค้างติดอยู่ที่พืชชนิดนั้นได้จนกลายเป็นทำร้ายธรรมชาติในที่สุด นักนิเวศวิทยาท่านนี้จึงได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งออกมาเพื่อสะท้อนให้มนุษย์นั้นได้เห็นและเข้าใจการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น นักนิเวศวิทยาท่านนี้มีนามว่า ราเชล คาร์สัน
ภาพราเชล คาร์สัน (Rachel Carson)
ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Rachel-Carson.jpg , U.S. Fish and Wildlife Service
ประวัติทางด้านครอบครัว
ราเชล หลุยส์ คาร์สัน (Rachel Louise Carson) หรือราเชล คาร์สัน (Rachel Carson) เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1907 ในเมืองชนบทชื่อ Springdale ในรัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา พื้นฐานครอบครัวเป็นชาวอเมริกัน ที่มีที่ดินมากมายแต่อยู่ในเขตชนบทไม่ค่อยมีความเจริญเข้าไปมากนัก ทำให้ชีวิตในช่วงวัยเด็กของราเชล จะอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นธรรมชาติในบริเวณ บ้านและฟาร์มของเธออยู่อย่างเสมอ ราเชลจึงมีความรักธรรมชาติมาตั้งแต่ยังเด็ก และนอกจากนั้นราเชลยังมีนิสัยรักการอ่านหนังสือโดยเฉพาะหนังสือที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์และนิยายที่เกี่ยวกับธรรมชาติโดยเฉพาะเรื่องของทะเล
ราเชลเป็นคนที่มีความสามารถในการเรียน สามารถเรียนจบมัธยมปลาย โดยมีคะแนนเป็นลำดับที่ 1 ของโรงเรียน ในขณะเดียวกันก็มีความสามารถทางด้านการเขียนอีกด้วย ราเชลได้เริ่มฝึกเขียนนิยายและส่งเรื่องที่เธอเขียนไปให้สำนักพิมพ์ที่เธออ่านประจำได้พิจารณาผลงานของเธอ นิยายของราเชลนั้นได้รับการตีพิมพ์ในขณะนั้นราเชลมีอายุได้เพียง 11 ปี ผลงานของราเชลทำให้เธอได้รับค่าตอบแทนมาโดยตลอด และได้ถูกตีพิมพ์อีกหลายเรื่องในเวลาต่อมา
ต่อมาปลายปี ค.ศ. 1925 ราเชลได้เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัย Pennsylvania College for Women เธอได้เลือกเรียนเอกวิชาภาษาอังกฤษเพื่อที่จะได้เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษและเป็นนักเขียนตามที่เธอตั้งใจไว้ แต่เมื่อราเชลได้มีโอกาสเรียนวิชาชีววิทยาแล้ว เธอก็พบว่าเธอชื่นชอบและเริ่มหลงใหลในวิชานี้มากขึ้นจนทำให้เธอได้เปลี่ยนวิชาเอกของเธอจากภาษาอังกฤษเป็นวิชาชีววิทยาแทน
ในขณะเดียวกัน ทางด้านงานเขียนราเชลยังสมัครเป็นทีมงานและเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ของวิทยาลัยอยู่เป็นประจำอีกด้วย จนในที่สุดปี ค.ศ. 1929 ราเชลก็ได้เรียนจบระดับปริญญาตรีด้วยผลคะแนนที่ยอดเยี่ยมระดับเกียรตินิยม ราเชลได้เข้ารับการศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านสัตววิทยาที่มหาวิทยาลัย Johns Hopkins เมืองบัลติมอร์ ในรัฐแมริแลนด์ จนกระทั่งเธอจบปริญญาโทได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1932
ผลงานที่สำคัญของราเชล
ในปี ค.ศ. 1935 ราเชลได้เริ่มทำงานที่แรกที่กรมประมงของสหรัฐอเมริกา (U.S. Bureau of Fisheries) ด้วยตำแหน่งชั่วคราวที่ทำหน้าที่เขียนบทวิทยุเพื่อการศึกษาเกี่ยวกับชีววิทยาของปลา ผลงานบทวิทยุชิ้นนี้ของราเชลได้รับการตอบรับจากผู้ฟังเป็นอย่างมากทำให้ภายหลังราเชลได้รับการบรรจุให้เป็นข้าราชการของกรมประมงในตำแหน่งนักชีววิทยาทางน้ำในปี ค.ศ. 1936
ราเชลยังคงมีผลงานทางด้านงานเขียนอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการเขียนบทความเกี่ยวกับโลกธรรมชาติโดยเฉพาะเรื่องของทะเลให้กับหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่าง ๆ ต่อมาในปี ค.ศ. 1941 ราเชลมีผลงานเป็นหนังสือเล่มแรกมีชื่อว่า Under the Sea Wind โดยหนังสือเล่มนี้เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านมุมมองของนก ปลาแมกเคอเรล และปลาไหล ซึ่งได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมาก แต่ด้วยเหตุเหตุการณ์จากกองทัพญี่ปุ่นได้โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ก็ทำให้กระแสหนังสือของราเชลลดลงหลังวางจำหน่ายได้เพียงไม่กี่สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ราเชลยังคงมีหนังสือออกมาเป็นเล่มที่สอง คือ The Sea Around Us และผลงานเล่มนี้ทำให้หนังสือของราเชลกลายเป็นที่นิยมและประสบความสำเร็จอย่างมาก และประพันธ์หนังสือเล่มที่สามออกมาในปี ค.ศ. 1953 ชื่อ The Edge of the Sea จากหนังสือสามเล่มของราเชลทำให้เธอกลายเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงระดับประเทศคนหนึ่งและเริ่มมีฐานะที่มั่นคงขึ้นนับจากนั้น
ผลงานที่สำคัญทางด้านวิทยาศาสตร์ของราเชลคือ ผลงานหนังสือเล่มที่สี่ ซึ่งเกิดจากการค้นคว้าข้อมูลที่จะนำมาเขียนหนังสือจนมาพบประเด็นเกี่ยวกับเรื่องของยาฆ่าแมลง DDT (Dichlorodiphenyl trichloroethane) ซึ่งยาฆ่าแมลงชนิดนี้ถูกสังเคราะห์ขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1874 แต่นักวิทยาศาสตร์พึ่งค้นพบคุณสมบัติในการกำจัดแมลง อีกทั้ง DDT ยังถูกนำมาใช้ในการควบคุมโรคมาลาเรียและไข้รากสาดใหญ่ และยังเป็นที่
หนังสือเล่มที่สี่ขึ้น โดยหนังสือเล่มนี้เธอได้ถ่ายทอดข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์เรื่องของผลกระทบจากสารเคมี DDT ราเชลอธิบายรายละเอียดได้อย่างชัดเจนถึงความอันตรายและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ของยาฆ่าแมลง DDT ที่นิยมในการใช้กำจัดแมลงเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แต่เธอก็ได้ตระหนักว่าสารเคมีจำพวก DDT จะถูกนำไปใช้เป็นวงกว้างก่อนที่จะถูกนำไปทำการวิจัย ราเชลจึงเข้าร่วมเป็นคณะทำงานของสมาคม Audubon Naturalist Society ที่ต่อต้านการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงของรัฐบาล ในขณะนั้นราเชลได้ทำการวิจัยศึกษาผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดจากสาร DDT เธอใช้เวลาศึกษาและรวบรวมผลงานวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์มากมายหลายท่าน จนได้ข้อสรุปที่ว่าสารเคมีเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม พืชและสัตว์และรวมไปถึงมนุษย์ด้วย
หนังสือเล่มนี้แต่งขึ้นด้วยสำนวนภาษาที่บุคคลทั่วไปสามารถอ่านและทำความเข้าใจง่าย โดยมีชื่อว่า Silent Spring ในตอนแรกที่ยังไม่ตีพิมพ์ ราเชลถูกต่อต้านอย่างหนักจากบรรดาบริษัทในอุตสาหกรรมสารเคมีโดยเฉพาะผู้ผลิตสารเคมี DDT แต่สุดท้ายทางสำนักพิมพ์ก็ตัดสินใจตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้และออกวางขายสู่ตลาดในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1962 และก็เช่นเคยผลงานเล่มที่สี่นี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจนทำให้กลายเป็นหนังสือที่ติดอันดับหนังสือที่ขายดีที่สุดของอเมริกา และได้รับการยกย่องและเป็นหนังสือที่ดีที่สุดเป็นลำดับต้นของศตวรรษที่ 20
ช่วงสุดท้ายของชีวิตราเชล
ราเชล ไม่มีครอบครัว เธอมีอาการป่วยเป็นมะเร็งเต้านมและต้องทำการผ่าตัดนำก้อนเนื้อออก นอกจากนี้ยังมีอาการแทรกซ้อนป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ และเสียชีวิตด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในปี ค.ศ. 1964 ด้วยวัย 56 ปี
แหล่งที่มา
สุทัศน์ ยกส้าน. Rachel Carson นักนิเวศวิทยาผู้ยิ่งใหญ่. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. จากhttps://mgronline.com/science/detail/9550000055448
ราเชลคาร์สัน. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. จาก https://th.eferrit.com/ราเชลคาร์สัน/
วันเกิด ราเชล คาร์สัน หัวหอกขบวนการสีเขียวศตวรรษที่ 20. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. จาก https://guru.sanook.com/26256/
PROFILE - Rachel Carson: Conservationist who fought pesticides. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. จาก https://www.aa.com.tr/en/environment/profile-rachel-carson-conservationist-who-fought-pesticides/1802470
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)