logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ภูมิคุ้มกัน สำคัญอย่างไร

โดย :
ศรุดา ทิพย์แสง
เมื่อ :
วันศุกร์, 21 สิงหาคม 2563
Hits
17400

       ตามสถานการณ์ที่ทุกคนทราบข่าวกันดีอยู่แล้วว่า ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 (โควิด -19) ซึ่งจากข่าวและรายงานความรุนแรงของโรคนี้ หลายท่านอาจสังเกตได้ว่า ผู้ป่วยที่ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรงหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ จะทำให้มีความรุนแรงหรืออาการหนักมากกว่าผู้ป่วยที่ร่างกายมีความแข็งแรงหรือมีภูมิคุ้มกันที่ปกติ ซึ่งรายงานความรุนแรงดังกล่าวถึงขั้นเสียชีวิตเลยทีเดียว ผู้เขียนก็เลยหาข้อมูลเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันมาฝากให้ได้อ่านกัน เราจะมีวิธีการทำให้ร่างกายของเรามีภูมิคุ้มกันที่อยู่ในเกณฑ์ดีได้อย่างไร มาติดตามอ่านกันได้เลย

11360
ภาพจำลองแอนติบอดี หรือ อิมมูโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นโปรตีนที่มีรูปร่างคล้ายตัว Y
ที่มา https://pixabay.com/ , sardenacarlo

       รอบตัวเรานั้นเต็มไปด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่อาจมีสิ่งปนเปื้อนอันไม่พึงประสงค์ หรือมีอันตรายต่อร่างกาย นั่นก็คือพวกเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อโรคอื่น ๆ อีกมากมายที่ทั้งมองเห็นและมองไม่เห็น และหากเชื้อโรคพวกนี้เข้าไปสู่ร่างกายของคนเราแล้วละก็ นั่นหมายความว่า เราอาจจะเจ็บป่วยหรือเป็นโรคต่าง ๆ ได้ แต่ก็ไม่ง่ายซะทีเดียว เพราะความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ที่ร่างกายของคนเรานั้นมีกลไกการป้องกันและทำลายสิ่งแปลกปลอมเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า ระบบภูมิคุ้มกัน (หรือภูมิต้านทาน)

ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System)

          ระบบภูมิคุ้มกันเป็นกลไกการทำงานของร่างกายระบบหนึ่ง ที่เป็นกลไกตามธรรมชาติของร่างกายที่ทำหน้าที่ป้องกันหรือต่อต้านไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายหรือเกิดการติดเชื้อจากเชื้อโรคเหล่านั้น ระบบภูมิคุ้มกันมีกลไกจากสารเคมีที่สร้างขึ้นจากร่างกายเพื่อทำหน้าที่ป้องกันและทำลายเชื้อโรค โดยมีเซลล์สำคัญที่ชื่อว่า เซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cell,(WBC) หรือ leucocyte) ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด ทำหน้าที่ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคภายในร่างกาย ช่วยกำจัดสารพิษหรือของเสีย และกำจัดเศษเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกายที่ถูกทำลายโดยธรรมชาติ

ประเภทของระบบภูมิป้องกัน

  1. ภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิด (Innate Immunity) คือภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเองเพื่อป้องกันและสกัดเชื้อโรค ทำให้มนุษย์ปลอดภัยจากสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่น ทำให้มนุษย์ปลอดภัยจากการติดเชื้อที่มาจากสัตว์อื่น ๆ เช่น ผิวหนัง และเยื่อบุต่างๆ ซึ่งเป็นการป้องกันเชื้อโรคชั้นแรก

  2. ภูมิคุ้มกันแบบเจาะจง (Adaptive Immunity) คือภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเองหลังจากเกิดอาการเจ็บป่วย โดยจะไม่ติดเชื้อเดิมอีก

  3. ภูมิคุ้มกันแบบรับมาจากภายนอก (Passive Immunity) คือภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากภายนอกร่างกายเพื่อช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น เด็กที่ดื่มนมแม่จะได้รับภูมิคุ้มกันจากน้ำนมแม่ การฉีดวัคซีน การทานอาหารที่มีส่วนในการช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน

        ระบบภูมิคุ้มกันของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป เมื่อผ่านการติดเชื้อใดๆ มาจะทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อนั้น ๆ มากขึ้น จากการจดจำเชื้อโรคได้จึงช่วยให้ป้องกันเชื้อโรคเหล่านั้นได้ดีขึ้นนั่นเอง

การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

        การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน มีอยู่ด้วยกัน 2 ระบบคือ อาศัยเซลล์ทางตรงและอาศัยเซลล์ทางอ้อม แต่ทั้ง 2 ระบบ จะทำงานโดยมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน โดยทันทีที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยทางไหนหรือสาเหตุอะไร ภูมิคุ้มกันของเซลล์ทางตรงก็ทำงานโดยเซลล์เม็ดเลือดขาวจะจับกินทำลายเชื้อโรคทันที ในขณะเดียวกันภูมิคุ้มกันของเซลล์ทางอ้อมก็จะสร้างสารภูมิต้านทานหรือสารต่อต้านสิ่งแปลกปลอมซึ่งเรียกว่าแอนติบอดี (anti body)ที่เป็นโปรตีนชนิดพิเศษขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อโรค โดยแอนติบอดีจะเข้าไปจับตัวกับเชื้อโรค ไม่ให้เชื้อโรคทำงานหรือไม่สามารถแผลงฤทธิ์ทำร้ายร่างกายได้

ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน

       เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายประสบกับปัญหาสุขภาพที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอจากหลาย ๆ สาเหตุ เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ขาดสารอาหาร ความเครียด ก็อาจส่งผลทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลงซึ่งมีผลทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มผิดปกติได้ ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหรือโรคตามมาเช่น อาการแพ้หรือโรคหอบหืด อาการติดเชื้อได้ง่าย ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น

การสร้างและดูแลระบบภูมิคุ้มกันที่ดี

       อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าระบบภูมิคุ้มกัน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงปลอดจากการติดเชื้อจากเชื้อโรคต่าง ๆ ดังนั้น การดูแลสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ โดยสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตที่ถูกสุขอนามัยตามแนวทางปฏิบัติดังนี้

  1. ไม่สูบบุหรี่

  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรเป็นอาหารที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เช่นผัก ผลไม้ ธัญพืช และอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวน้อย งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ควรรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ

  3. ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ

  4. หลีกเลี่ยงภาวะอาการที่ทำให้เสียสุขภาพจิตและความเครียด ทำจิตใจให้เบิกบานสงบสุข เช่น การทำสมาธิ

  5. ควบคุมน้ำหนัก และความดันโลหิต

  6. พักผ่อนให้เพียงพอ

  7. ดูแลรักษาความสะอาดให้ร่างกายอยู่เสมอ

       เห็นหรือยังว่าระบบภูมิคุ้มกันสำคัญมากแค่ไหน อย่าลืมใส่ใจและปฏิบัติตามคำแนะนำที่นำมาฝากไว้ให้อ่านกัน และที่สำคัญหากมีความผิดปกติต่อร่างกายซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นเกิดการติดเชื้อก็ควรรีบไปพบแพทย์กันนะท่านผู้อ่านทุกท่าน

แหล่งที่มา

นพ.หิรัญวุฒิ แพร่คุณธรรม,นพ.ชนินันท์ สนธิไชย .ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563. จาก http://nvi.ddc.moph.go.th/Download/EpiModule/ch1_2.pdf

ระบบภูมิคุ้มกัน ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพที่ควรรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563. จาก https://www.pobpad.com/ระบบภูมิคุ้มกัน-ข้อเท็จ

เม็ดเลือดขาว . สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563. จาก http://fat.surin.rmuti.ac.th/teacher/songchai/bloodweb/wbc.htm

เสริมภูมิต้านทานโรค ด้วยการแพทย์ผสมผสาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563. จาก https://absolute-health.org/th/blog/post/article-healthtips-11.html

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ความสำคัญของภูมิคุ้มกัน, ระบบภูมิคุ้มกัน, Immune System,เชื้อโรค,การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน,ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 20 กุมภาพันธ์ 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ศรุดา ทิพย์แสง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11360 ภูมิคุ้มกัน สำคัญอย่างไร /article-science/item/11360-2020-03-12-03-11-14
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน Immune System ความสำคัญของภูมิคุ้มกัน ระบบภูมิคุ้มกัน เชื้อโรค
คุณอาจจะสนใจ
ระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบภูมิคุ้มกัน
Hits ฮิต (326768)
ให้คะแนน
ระบบภูมิคุ้มกัน โลกทุกวันนี้มีอันตรายอยู่รอบตัว ทั้งที่มองเห็นได้และมองไม่เห็น อย่างเช่นตอนนี้ หลาย ...
หน้ากากอนามัยใช้ยังไงให้อนามัย
หน้ากากอนามัยใช้ยังไงให้อนามัย
Hits ฮิต (8306)
ให้คะแนน
ใครจะไปคาดคิดว่าสักวันหนึ่งสิ่งของที่ขาดตลาด โดนโก่งราคา จะไม่ใช่อาหารหรือยารักษาโรคแต่อย่างใด แต่เ ...
รู้ไว้ใช่ว่า “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของเชื้อโรค”
รู้ไว้ใช่ว่า “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่...
Hits ฮิต (11907)
ให้คะแนน
จากภาวะวิกฤติในช่วงต้นปี ค.ศ. 2020 กับการแพร่กระจายและการระบาดของไวรัสโคโรนา (covid-19) ซึ่งเป็นต้น ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)