logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ไวรัสกับแบคทีเรียใครร้ายกว่ากันนะ?

โดย :
ณิดา อภิสิทธิ์วงศา
เมื่อ :
วันพุธ, 16 กันยายน 2563
Hits
51226

          การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขณะนี้ อย่างน้อยก็ทำให้เราสนใจอ่านบทความหรือฟังเรื่องราวเกี่ยวกับเชื้อโรคและการดูแลสุขอนามัยกันมากขึ้น ทั้งนี้หลายคนก็อาจจะได้ยินคำว่าไวรัสกับแบคทีเรียกันอยู่บ่อย ๆ แล้วเคยเกิดความสงสัยกันบ้างไหมว่า ไวรัสกับแบคทีเรียมีความแตกต่างกันอย่างไร ก่อให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง บทความนี้ก็เลยจะเปรียบเทียบให้ผู้อ่านทุกท่านได้เข้าใจกัน จะได้รู้กันไปเลยว่า”ไวรัสกับแบคทีเรียใครร้ายกว่ากันนะ?”

11464 1

ภาพ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ที่มา https://pixabay.com , Thor_Deichmann

          เพื่อเป็นการดูความแตกต่างของทั้งไวรัสและแบคทีเรีย ลองมาเปรียบเทียบกันในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้                                      

ด้านที่ 1 มาดูทางกายภาพกันก่อน 

          1.1 ไวรัส คืออนุภาคชนิดหนึ่งมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน โดยมีขนาดอยู่ในช่วงระหว่าง 20-300 นาโนเมตร มีโครงสร้างและส่วนประกอบง่าย ๆ คือ

                 1.1.1 ส่วนแกนกลาง (Core) มีกรดนิวคลีอิกทำหน้าที่ควบคุมการสร้างส่วนประกอบไวรัสและ ถ่ายทอดพันธุกรรม

                 1.1.2 ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นโปรตีนห่อหุ้มหรือแคปสิด(Capsid) ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันส่วนแกน กลางและใช้ยึดเกาะกับเซลล์สิ่งมีชีวิต

                 1.2.3 เปลือกหุ้ม (Envelope) หุ้มรอบแคปสิดอีกที

          1.2 สำหรับแบคทีเรีย คือจุลชีพเซลล์เดียวมีส่วนประกอบคล้ายเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่นแต่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส  มีขนาดตั้งแต่ 0.3 ไมครอนไปจนถึงขนาด 750 ไมครอนเลยทีเดียว ส่วนประกอบหลักๆคือ 

                 1.2.1 ผนังเซลล์ เป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุด ใช้ห่อหุ้มป้องกันเซลล์ให้คงรูปร่างไว้

                 1.2.2 เยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่ควบคุมการแลกเปลี่ยนสารอาหารและน้ำ

                 1.2.3 ไซโทพลาซึม อยู่ข้างในเยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วยโปรตีน ไขมัน และเอนไซม์ รวมถึง ดีเอ็นเอที่บรรจุรหัสพันธุกรรมสำหรับการดำรงชีวิตหรือสืบพันธุ์ไว้ด้วย

11464 2

Koli Bateria
ที่มา https://pixabay.com , geralt

          ทั้งไวรัสและแบคทีเรียเองก็มีรูปร่างและขนาดแตกต่างไปตามสายพันธุ์อีก โดยสรุปแล้วไวรัสนั้นมาแนว “จิ๋วแต่แจ๋ว” ส่วนแบคทีเรียนั้น “ใหญ่ กำยำ ล่ำสัน” แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมนุษย์ก็ไม่สามารถเห็นพวกมันทั้งคู่ ด้วยตาเปล่าอยู่ดีทำให้เรามีโอกาสโดนโจมตีจากเชื้อโรคทั้งสองชนิดได้ทุกเมื่อ

ด้านที่  2 มาดูความอันตรายที่มีผลกับร่างกายของเรากันบ้าง

           2.1 ไวรัสนั้นนับเป็นปรสิตสำหรับเซลล์มนุษย์ โดยไวรัสจะอยู่ได้ต้องเกาะติดกับเซลล์ของสิ่งมีชีวิตนั้นๆแล้วไวรัสจะเข้าไปเติบโตในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตนั้นและแบ่งตัวออกมาเมื่อเติบโตเต็มที่ ไวรัสจะบังคับให้ เซลล์สร้างโปรตีนที่เป็นประโยชน์กับไวรัสเท่านั้นเป็นเสมือนโรงงานผลิตไวรัสไปแล้ว และเซลล์นั้นก็จะ ไม่สามารถทำหน้าที่ที่เป็นประโยชน์กับร่างกายจนตายไปในที่สุดแล้วไวรัสก็จะไปจู่โจมเซลล์ตัวใหม่ไป เรื่อยๆจนเป็นที่มาของการเกิดโรคนั่นเอง ในส่วนของร่างกายจะมีแอนติบอดี้มาขจัดไวรัสได้เช่นกันโดย ผลจากการกำจัดสิ่งแปลกปลอมนี้ทำให้เรามีอาการป่วยบางอย่างเช่นมีไข้ ปวดเมื่อย เจ็บคอ หรือมีน้ำมูกนั่นเอง 

           2.2 แบคทีเรียสามารถอยู่นอกร่างกายได้ถ้ามีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม แต่เมื่อเข้าไปในร่างกายสิ่งมี ชีวิตจะก่อให้เกิดโรคจากการที่ตัวมันปล่อยสารพิษออกมาหรือการที่ร่างกายตอบโต้แบคทีเรียก็จะทำให้ เกิดอาการบวมอักเสบ เป็นไข้ ตัวร้อนได้เช่นกัน รวมถึงแบคทีเรียบางชนิดเองก็จู่โจมถึงระดับเซลล์ แย่งอาหารและทำให้เซลล์ตายในที่สุดได้ด้วย ถ้าพิจารณาแค่นี้แบคทีเรียดูจะมีความหลากหลายในการจู่โจมมนุษย์มากกว่า 

ด้านที่ 3 โรคที่เกิดจากเชื้อทั้งสอง

           3.1 โรคที่เกิดจากไวรัสที่เรารู้จักกันดีเช่น ไข้หวัด, ไข้หวัดใหญ่, ไข้เลือดออก, พิษสุนัขบ้า, โรคฝีดาษ, โรคติดเชื้ออีโบลา, โรคหัด, อีสุกอีใส, โรคตับอักเสบเอบีซี, โรคงูสวัด, เริม, คางทูม, โรคสมองอักเสบ และ โรควัวบ้า รวมถึงโรคที่ยังไม่มีทางรักษาอย่างเอดส์และตัวร้ายที่สุด ณ ตอนนี้อย่างไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วย

           3.2 โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น วัณโรค, ฉี่หนู, ไข้รากสาดน้อย, บาดทะยัก, โรคซิฟิลิส, โรคคอตีบ, ปอดบวม, กาฬโรค, โลหิตเป็นพิษ, ถุงน้ำดีอักเสบ, ตับอ่อนอักเสบ, ไทฟอยด์, ไส้ติ่งอักเสบ และ ไอกรน จริงๆโรคทั้งหลายถ้าเราเป็นแล้วร่างกายไม่แข็งแรงและไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีก็จะทำอันตราย อาจถึงกับเสียชีวิตได้กันหมดทั้งนั้น แต่ถ้าเรามาวัดกัน ณ วันนี้ที่เรายังคงหวาดผวากับไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และเอดส์ที่ยังไม่มียารักษาจริงจังแล้วละก็ 

ด้านที่ 4 การรักษาและการป้องกัน

          สำหรับไวรัสนั้นยังไม่มีการยารักษาโรคจริงจัง แม้ในช่วงหลังจะมียาต้านไวรัสบางประเภท เช่น ไวรัสตับอักเสบ บี ซีหรือเฮอร์ปีไวรัสรวมถึงไวรัส HIV แต่ก็ยังไม่แพร่หลายและยังมีผลข้างเคียง ส่วน มากจึงเป็นการให้ยารักษาตามอาการเท่านั้นโดยต้องรอให้ร่างกายเรียนรู้ที่จะกำจัดไวรัสได้เอง และ    จะป้องกันโดยใช้วัคซีนสำหรับโรคที่ผลิตวัคซีนได้แล้วเป็นส่วนใหญ่ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่, โรคหัด และ โรคพิษสุนัขบ้า

          ส่วนแบคทีเรียเองนั้นมีการรักษาได้หลายรูปแบบทั้งการให้ยาปฏิชีวนะ, การผ่าตัด เช่น โรคฝี หรือจะเป็นการให้เซรุ่มหรือรักษาตามอาการก็มี และยังมีวัคซีนสำหรับโรคที่พบแล้วเช่นกันเช่นโรคไอกรนและ บาดทะยัก

          จะเห็นได้ว่า มนุษยชาติยังไม่สามารถหาทางแก้โรคไวรัสได้เต็มที่ โดยเฉพาะเชื้อที่น่ากลัวอย่าง HIV และ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ด้านที่ 5 โรคระบาดที่ผ่านมาอันเกิดจากเชื้อโรคทั้งสอง

          กาฬโรค (Plague) - เชื้อแบคทีเรีย

                 ครั้งที่ 1 ปี ค.ศ.541 ศูนย์กลางการระบาดอยู่ที่อาณาจักรไบเซนไทน์ คาดการณ์ผู้เสียชีวิตทั่วโลกรวม  30-50 ล้านคน

                 ครั้งที่ 2 ช่วงศตวรรษที่ 14 ประชาชนยุโรปเสียชีวิตราว 30-60 เปอร์เซ็นต์ ประชากรเสียชีวิตมากกว่า 25 ล้านคน  ​(ข้อมูลบางแหล่งว่าอาจถึง 100 ล้านคน)

                 ครั้งที่ 3 ช่วงศตวรรษที่ 19-20 เริ่มจากมณฑลยูนนานในประเทศจีนและแพร่ไปทั่วโลก มีผู้เสียชีวิต 12 ล้านคน

          โรคฝีดาษ (Smallpox) – เชื้อไวรัส (เท่าที่มีบันทึกเป็นตัวเลข)

                 ครั้งที่ 1 ช่วงปี ค.ศ.165 โรมัน เสียชีวิตราว 5 ล้านคน

                 ครั้งที่ 2 ศตวรรษที่ 15 ระบาดจากกองเรือสเปนไปทวีปอเมริกาคาดการณ์ว่าเสียชีวิตไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน

                 ครั้งที่ 3 ปลายศตวรรษที่ 18 ระบาดในยุโรปไม่ทราบยอดรวมแน่นอน แต่มีผู้เสียชีวิตราว 100,000 คนต่อปี

          อหิวาตกโรค (Cholera) - แบคทีเรีย​

                 ค.ศ.1817 รัสเซีย เสียชีวิตราว 1 ล้านคน หลังจากนั้นแพร่จ่อที่อินเดีย เสียชีวิตอีกราว 1 ล้านคน

          ไข้หวัดใหญ่รัสเซีย (Russian flu) - เชื้อไวรัส

                 ค.ศ.1889-1890 มีผู้เสียชีวิตรวม 360,000 คน

          ไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish flu) - เชื้อไวรัส

                 ค.ศ.1918 มีผู้เสียชีวิตรวม ทั้งอเมริกาและยุโรปรวมถึง 20-50 ล้านคน​ ข้อมูลบางแหล่งเชื่อว่าอาจถึง 100 ล้านคน!!

          ไข้หวัดใหญ่เอเชีย (Asian Flu)

                 ค.ศ.1956-1958 ทั่วโลกเสียชีวิตจำนวน 2 ล้านคน

          ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง (Hong Kong Flu)

                 ค.ศ.1968 เสียชีวิตราว 1 ล้านคน

          เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome: AIDS) - เชื้อไวรัส HIV

                 ตั้งแต่ปี 2535 ประเทศไทยเริ่มเกิดการแพร่ระบาดของโรคเอดส์อย่างรุนแรง 

          ไข้หวัดใหญ่ 2009 A(H1N1) - เชื้อไวรัส

                 ค.ศ.2009 เสียชีวิตมากกว่า 200,000 คน

          ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) - เชื้อไวรัส

                 ค.ศ.2019-ปัจจุบัน ข้อมูลวันที่ 28 มีนาคม 2020 ผู้เสียชีวิต 27,365 คนจากผู้ติดเชื้อ 597,267 คน

          จริง ๆ แล้วยังมีการระบาดอื่น ๆ อีก แต่ที่สรุปมาข้างต้น นับเป็นเฉพาะครั้งใหญ่ ๆ เท่านั้น ในยุคหลัง ๆ ที่การแพทย์เราก้าวหน้าและมีความเข้าใจในเชื้อโรคมากขึ้น แนวโน้มในการรักษาก็ค่อนข้างได้ผลทำให้ผู้เสียชีวิตจากการติดโรคดังกล่าวที่ผ่านมาลดลง จนไม่อยู่ในสถานการณ์โรคระบาด แต่ทั้งนี้ไม่นับรวมโรคอุบัติใหม่อย่าง ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งยังไม่มีวัคซีนป้องกันและที่รักษาโรคได้โดยตรง

          บทสรุป

          การเปรียบเทียบเชื้อโรคทั้งสองข้างบนเป็นแค่ความเห็นของทีมผู้เขียนเท่านั้น ความน่ากลัวของเชื้อโรคสำหรับแต่ละคนอาจแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ที่ได้พบโดยตรงหรือทางอ้อมซึ่งถ้าให้เปรียบเทียบ อาจได้ผลที่ต่างกัน แต่ที่แน่ๆคือเราทุกคนควรรู้จักป้องกันตัวรักษาสุขอนามัย เพื่อไม่ให้ติดเชื้อเหล่านี้ เลยจะดีที่สุด

แหล่งที่มา

Alana, B. (2018, 11 October). What’s the Difference Between Bacterial and Viral Infections?. Retrieved 5 April 2020, from https://www.healthline.com/health/bacterial-vs-viral-infections

Betty, B. (2019, 21 November). Is it a Bacterial Infection or Virus?. Retrieved 3 April 2020, from https://www.dukehealth.org/blog/it-bacterial-infection-or-virus

Carmen, F. (2019, 17 July). What's the difference between a bacteria and a virus?. Retrieved 3 April 2020, from https://www.drugs.com/medical-answers/difference-between-bacteria-virus-3503840/

Emiliani, C. (1993). Extinction and viruses. Journal of the BioSystems, 1993 (31), 155-159.

James, M. (2017, 17 September). Bacterial vs. viral infections: How do they differ?. Retrieved 4 April 2020, from https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/infectious-diseases/expert-answers/infectious-disease/faq-20058098

Peggy T. (2004). Bacteria and Viruses (1st ed). New York: Lucent Books.

Physicians' Review Network (PRN). (2016, 5 November). Bacterial Infections 101. Retrieved 3 April 2020, from https://www.onhealth.com/content/1/bacterial_infections

Physicians' Review Network (PRN). (2016, 7 January). Viral Infections: Types, Treatment, and Prevention. Retrieved 3 April 2020, from https://www.onhealth.com/content/1/viral_infections

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ไวรัส, แบคทีเรีย, เชื้อโรค, การเจ็บป่วย, ไวรัสโคโรนา, COVID-19
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 05 เมษายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณิดา อภิสิทธิ์วงศา
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11464 ไวรัสกับแบคทีเรียใครร้ายกว่ากันนะ? /article-biology/item/11464-2020-04-20-08-27-06
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    การเจ็บป่วย แบคทีเรีย ไวรัสโคโรนา ไวรัส Covid-19 เชื้อโรค
คุณอาจจะสนใจ
มารู้จักเชื้อไวรัสโคโรนากันเถอะ
มารู้จักเชื้อไวรัสโคโรนากันเถอะ
Hits ฮิต (9336)
ให้คะแนน
ณ วันนี้คงมีน้อยคนที่ไม่รู้จักไวรัสโคโรนา ถึงจะเป็นคนเก็บตัวไม่ติดตามข่าวสารขนาดไหนก็เถอะ แต่ลองได้ ...
เจลแอลกอฮอล์กับสเปรย์แอลกอฮอล์แตกต่างกันหรือไม่?
เจลแอลกอฮอล์กับสเปรย์แอลกอฮอล์แตกต่างกัน...
Hits ฮิต (24119)
ให้คะแนน
ในช่วงปลายปี ค.ศ. 2019 ถึงต้นปี ค.ศ. 2020 ทุกท่านคงทราบดีแล้วว่า ทั่วโลกเผชิญกับภาวะวิกฤติใด? ใช่แล ...
แสง UV ฆ่าเชื้อไวรัสได้จริงหรือ?
แสง UV ฆ่าเชื้อไวรัสได้จริงหรือ?
Hits ฮิต (25016)
ให้คะแนน
เนื่องด้วยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นทั้งในประเทศไทยของเราเอง หรือจากทั่วทุกมุมโลกล้วนกำลังประสบกับปัญห ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)