logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

หน้ากาก N95 อาจเป็นเสื้อผ้าชิ้นต่อไปของมนุษย์

โดย :
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
เมื่อ :
วันศุกร์, 11 กันยายน 2563
Hits
7741

        หน้ากาก N95 อาจเป็นเสื้อผ้าชิ้นต่อไปของมนุษย์ช่วงนี้ใคร ๆ ก็พูดถึงหน้ากาก N95 จากปัญหาใหญ่ 2 เรื่องที่เราทราบกันดี นั่นคือปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2018 และปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (Covid-19) ที่เกิดการระบาดจนมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตในหลายพื้นที่ทั่วโลก บทความนี้จะพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักกับหน้ากาก N95 กันให้มากขึ้น ก็เพราะว่าหน้ากาก N95 นี้ อาจเป็นเสื้อผ้าชิ้นต่อไปของมนุษย์ จะเป็นอย่างไรติดตามอ่านกันได้เลย
          N95 respirators หรือหน้ากาก N95 คืออุปกรณ์ PPE (personal protective equipment) ชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับสวมใส่เพื่อป้องกันสิ่งปนเปื้อนจากละอองอากาศหรือของเหลวไม่ให้เข้าสู่ช่องปากหรือโพรงจมูกของผู้สวมใส่ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบเห็นหน้ากากแบบนี้ได้ในโรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานวิจัยด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานจากทางฝั่งอเมริกา
          National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องของสุขภาพและความปลอดภัยในที่ทำงาน รวมถึงการผลักดันให้นำงานวิจัยและองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้กำหนดมาตรฐาน N95 นี้ขึ้นมา


11462 1ภาพ หน้ากาก N95
ที่มา https://pixabay.com, romanakr

          N95 Respirators?

          อย่างที่ได้กล่าวไปด้านบนว่าหน้ากาก N95 นี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเพราะเป็นอุปกรณ์ป้องกันสำหรับผู้ที่ทำงานในสถานที่ที่อาจจะส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ เช่นมีฝุ่นควันในปริมาณที่สูง หรือเพื่อป้องกันไอระเหยของสารเคมีที่ถ้าหากสูดดมเข้าไปเป็นระยะเวลานานอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในระยะยาวได้ ดังนั้นหน้ากาก N95 จึงเป็นหน้ากากที่ออกแบบมาให้มีความแนบชิดกับใบหน้าของผู้สวมใส่ให้มากที่สุดและผลิตจากวัสดุที่มีประสิทธิภาพสูงมากในการกรองละอองต่าง ๆ ในอากาศไม่ให้เข้าไปในระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจของผู้สวมใส่
          ซึ่งสัญลักษณ์ “N95” นี้หมายความถึงการที่หน้ากากมีความสามารถที่จะป้องกันละอองขนาดเล็กที่ 0.3 ไมครอน (0.0000003 m) ได้ถึง 95% (เส้นผมของมนุษย์วัดขนาดได้ระหว่าง 30 และ 120 ไมครอน) มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่าหน่วยไมครอนนี้คืออะไร ไมครอนก็คือ หน่วยวัดระยะทางย่อมาจากไมโครเมตร (micrometer) โดย 1 micron คือ 1 ใน 1 ล้านของเมตร (1/1,000,000 เมตร หรือ 10-6 เมตร) หรือ 1 ใน 1 พันของมิลลิเมตร (1/1,000 มิลลิเมตร) หรือ 1 ใน สองหมื่นห้าพันของนิ้ว (1/25,000 นิ้ว) เช่น เซลล์ของแบคทีเรียมีขนาด 10 ไมครอน ก็จะหมายความว่า เซลล์ของแบคทีเรียนั้นมีขนาด 0.00001 เมตรนั่นเอง
          แต่ทั้งนี้การที่หน้ากากสามารถกรองละอองขนาดเล็กได้เป็นอย่างดีนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะป้องกันโรคระบาดหรือฝุ่นที่ประเทศไทยกำลังเผชิญได้อย่างสมบูรณ์ เพราะการจะหยุดยั้งการแพร่ของเชื้อไวรัสจำเป็นจะต้องมีมาตรการป้องกันหลายอย่างประกอบกัน (Preventive Action) เช่น การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ให้บ่อยที่สุด การละเว้นการเข้าใกล้บุคคลอื่นเกินระยะ 2 เมตร การละเว้นที่จะเข้าไปในพื้นที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาด สถานบันเทิง

         ข้อควรระวังของหน้ากาก N95

         สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางด้านระบบทางเดินหายใจ ปัญหาเรื่องการเต้นของหัวใจ หรือปัญหาทางด้านสุขภาพอื่น ๆ ที่ส่งผลให้การหายใจมีความลำบากมากกว่าปกติอยู่แล้ว จะต้องระวังเป็นอย่างยิ่งในการใช้หน้ากาก N95 เพราะต้องยอมรับว่าการสวมใส่หน้ากากนี้เป็นระยะเวลานานย่อมส่งผลให้การหายใจเป็นไปอย่างลำบากมากขึ้น และทำให้ผู้สวมใส่รู้สึกอึดอัดจนอาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้นหน้ากาก N95 จึงมีประเภทที่ออกแบบให้มีวาล์ว (Exhalation valves) เพื่อช่วยในเรื่องของการหายใจและช่วยในการระบายความร้อนออกจากตัวหน้ากากเมื่อต้องสวมใส่เป็นระยะเวลานาน แต่หน้ากากที่มีวาล์วนี้ก็จะไม่สามารถใช้ได้หากต้องทำงานในสถานที่ที่ต้องการความสะอาดสูง (sterile conditions) เช่น ทางการแพทย์ หรือการทดลองทางชีวภาพต่าง ๆ 

       อีกทั้งหน้ากาก N95 ก็จะถูกระบุเสมอว่าเป็น “Single use” หรือ “Disposable devices” หรือก็คือเป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้ครั้งเดียว ไม่นำมาใช้ซ้ำ และเป็นอุปกรณ์ที่ใช้แล้วทิ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหน้ากากเกิดการฉีกขาดแม้เพียงเล็กน้อยหรือพบว่ามีรอยเปื้อน หรือพบว่าเมื่อสวมใส่แล้วทำให้หายใจได้ยากกว่าปกติเป็นอย่างมาก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทิ้งหรือทำลายหน้ากากทันที โดยแนะนำให้ใส่ถุงพลาสติกก่อนที่จะทิ้งลงถังขยะเพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อหรือสิ่งสกปรกไปยังผู้ที่จะต้องจัดการขยะเหล่านี้ต่อไป

    ข้อควรระวังอีกสองอย่างที่ต้องระวังคือ การใช้หน้ากากประเภทนี้กับเด็กและผู้ที่มีหนวดเคราบนใบหน้านั้นไม่สามารถทำได้เนื่องจากตัวหน้ากากจะไม่แนบไปกับผิวหน้าได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงต้องโกนเพื่อกำจัดหนวดเคราบนใบหน้าก่อนใช้งานทุกครั้ง และอีกข้อที่สำคัญคือหน้ากากประเภทนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับขนาดใบหน้าของผู้ใหญ่ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้งานกับใบหน้าของเด็ก ๆ ที่มีขนาดไม่เหมาะสมกันกับหน้ากากได้

         อย่างที่ทราบกันว่าการสวมใส่หน้ากากไม่สามารถป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างสมบูรณ์ เพราะเป็นเพียงแค่อุปกรณ์ช่วยป้องกันไม่ให้สารคัดหลั่งจากช่องปากหรือโพรงจมูกของเรากระจายไปในอากาศและไม่ให้สิ่งปนเปื้อนในอากาศที่อาจเป็นอันตรายเข้าสู่ร่างกายของเรา ดังนั้นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตร่วมด้วย จึงอยากฝากผู้อ่านทุกท่านเป็นแนวทางปฏิบัติไว้ดังนี้

“ล้าง (มือ)
เลิก (ไปสถานที่แออัด)
ลด (การสัมผัสจุดเสี่ยง)
เลี่ยง (ที่จะออกจากบ้าน)”

 

แหล่งที่มา

FDA. (Mar 11, 2020). N95 Respirators and Surgical Masks (Face Masks). Retrieved Mar 22, 2020 . From https://www.fda.gov/medical-devices/personal-protective-equipment-infection-control/n95-respirators-and-surgical-masks-face-masks

FDA. (Mar 21, 2020). Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). Retrieved Mar 22, 2020. From https://www.fda.gov/emergency-preparedness-and-response/mcm-issues/coronavirus-disease-2019-covid-19

Neo Kang Wei. (May 6, 2019). What is PM0.3 and Why Is It Important?. Retrieved Mar 22, 2020 .From https://smartairfilters.com/en/blog/what-is-pm0-3-why-important/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
N95, Masks, N95 Respirators, หน้ากาก, Covid-19
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 22 มีนาคม 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นายภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11462 หน้ากาก N95 อาจเป็นเสื้อผ้าชิ้นต่อไปของมนุษย์ /article-physics/item/11462-n95
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    หน้ากาก N95 Respirators Masks N95 Covid-19
คุณอาจจะสนใจ
เจลแอลกอฮอล์กับสเปรย์แอลกอฮอล์แตกต่างกันหรือไม่?
เจลแอลกอฮอล์กับสเปรย์แอลกอฮอล์แตกต่างกัน...
Hits ฮิต (25073)
ให้คะแนน
ในช่วงปลายปี ค.ศ. 2019 ถึงต้นปี ค.ศ. 2020 ทุกท่านคงทราบดีแล้วว่า ทั่วโลกเผชิญกับภาวะวิกฤติใด? ใช่แล ...
ฝ่าวิกฤต โรค ภัย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ฝ่าวิกฤต โรค ภัย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
Hits ฮิต (5589)
ให้คะแนน
ในขณะที่โลกเพิ่งได้รู้จักกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่อย่าง ไวรัสโคโรนา (COVID-19) และยังไม่ได้วางแผนในการร ...
หน้ากากอนามัยใช้ยังไงให้อนามัย
หน้ากากอนามัยใช้ยังไงให้อนามัย
Hits ฮิต (8928)
ให้คะแนน
ใครจะไปคาดคิดว่าสักวันหนึ่งสิ่งของที่ขาดตลาด โดนโก่งราคา จะไม่ใช่อาหารหรือยารักษาโรคแต่อย่างใด แต่เ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)