2. Vibrio parahaemolyticus
เป็นสาเหตุสำคัญของโรคอาหารเป็นพิษหรือโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ เนื่องจากกินอาหารที่ยังไม่สุกและไม่ได้เก็บในตู้เย็น V. parahaemolyticus เป็นเชื้อแบคทีเรียจากน้ำทะเล ซึ่งจะปนเปื้อนมากับสัตว์ทะเลที่เรารับประทานเข้าไป เชื้อแบคทีเรียจะสร้างสารพิษภายหลังเข้าสู่ร่างกายภายใน 2-48 ชั่วโมง ส่วนใหญ่อาการเกิดประมาณ 15 ชั่วโมง หลังได้รับเชื้อ โดยเชื้อจะเข้าไปยึดเกาะและไชเข้าเนื้อเยื่อของลำไส้พร้อมกับสร้าง Hemolysin ชนิดทนความร้อน ซึ่งเป็น enterotoxin ( Heat-stable Enterotoxin ) ชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะเกิดอาการปวดมวนท้องรุนแรง ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วย บางรายอาจมีไข้ต่ำๆ และปวดศีรษะ บางครั้งมีอาการคล้ายเป็นบิด ถ่ายอุจจาระปนเลือด หรือเป็นมูก ไข้สูง และมีจำนวนเม็ดเลือดขาวสูง เป็นโรคที่ไม่ค่อยรุนแรง การติดเชื้อในระบบอื่นของร่างกายและการตายพบได้น้อยมาก จึงไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่ถ้าเป็นในช่วงที่ไปเที่ยวแล้วละก็ต้องหมดสนุกอย่างแน่นอน เพราะอาการจะคงอยู่นาน 2 -5 วัน หรือนานกว่านั้น
V. parahaemolyticus ภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
โคโลนีสีเขียวของ V. parahaemolyticus บน TCBS agar
วิธีระวังป้องกันในการทานอาหารทะเลเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อเชื้อนี้ก็คือ สังเกตว่าแผงลอยที่วางอาหารทะเลดิบนั้นมีน้ำแข็งบนกระบะตลอดเวลาหรือเปล่า เพราะอุณหภูมิต่ำ จะทำให้เชื้อแบ่งตัวช้าลง เมื่อนำไปปรุงอาหารให้สุกเต็มที่ จะเป็นการทำลายเชื้อแบคทีเรีย อาหารก็จะปลอดภัย อาหารทะเลที่สดและดี เมื่อตักเข้าปาก ไม่ควรจะอ่อนเละ กุ้ง ปูปลา ควรจะมีเนื้อแข็งแน่น และผู้ปรุงอาหารต้องไม่นำอาหารทะเลที่สุกแล้วกลับไปสับหรือหั่นในเขียงที่เพิ่งใช้กับอาหารทะเลดิบเป็นอันขาด เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาหารเป็นพิษ
V. parahaemolyticus เป็นแบคทีเรียที่ชอบเกลือเข้มข้นสูงในการเจริญเติบโต (halophilic vibrio) สามารถเติบโตไดในที่ที่มีเกลือ 7% จึงพบเชื้ออยู่ทั่วไปในน้ำทะเล ในสัตว์อย่างปลา กุ้ง ปู สำหรับประเทศไทยอัตราป่วยโรคอาหารเป็นพิษที่เกิดจากเชื้อนี้สูงเป็นอันดับแรก คิดเป็น 50-60% ของจำนวนที่รายงานระบุเชื้อก่อโรค แต่เชื้อแบคทีเรียนี้สามารถทําลายไดงายดวยความร้อน และไมเติบโตที่ pH ต่ำกวา 5 หรือสูงกวา ดังนั้นการติดเชื้อจึงมักเกิดจากการบริโภคอาหารทะเลดิบ อาหารที่ผานการใหความร้อนไมเพียงพอ หรืออาหารปรุงสุกที่มีการปนเปอนเชื้อชนิดนี้เขาไปอีก
3. เชื้อ Salmonella
เปนแบคทีเรียที่ทําใหอาหารเปนพิษที่เรียกวา โรค Salmonellosis อาการเป็นพิษจะเกิดจากรับประทานอาหารที่มีเชื้อปนอยู่ ระยะฝักตัวของโรค 8-48 ชั่วโมง อาการที่เกิดขึ้นคือ คลื่นไส้ ไข้หนาวสั่น อุจจาระร่วง ในรายไม่รุนแรงอาการจะหายภายใน 2-4 วัน แต่ยังตรวจพบเชื้อในลำไส้ของผู้ป่วยอีกนานนับเดือน โดยทั่วไปจะมีอาการชีพจรเตนชากวาปกติคลื่นไสอาเจียน ท้องเดิน ปวดศีรษะ ปวดท้อง มี ไขหนาวสั่น และออนเพลีย ผูปวยที่เสียชีวิตด้วยโรคนี้มักเนื่องจากเลือดออกในลําไสเล็กและลําไสทะลุ การปนเปื้อนของ Salmonella นั้นมักพบในพายเนื้อ ไสกรอก แฮม เบคอน แซนวิช หรืออาหารที่เก็บไวที่อุณหภูมิห้อง เช่น เนื้อไก ไข นม ผลิตภัณฑ์ปลา และอาหารทะเลที่ไมไดผานความรอนเพียงพอ อาหารสุกๆ ดิบๆ เชน แหนม ลาบ ยํา ปูเค็ม ปูดอง ผักสด อาหารเป็นพิษจาก
Salmonellaทำให้เกิดโรคในคนได้ 3 ลักษณะ คือ โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (Gastroenteritis) เกิดจากเชื้อ S.typhimurium ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid Fever) เกิดจากเชื้อ S. typi และ S. paratyphi และโรคโลหิตเป็นพิษ (Septicemia) เกิดจากเชื้อ S.cholerasuis
เชื้อ Salmonella นั้น ทําลายไดงายที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 4-5 นาทีหรือ 100 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที และเมื่อแชเย็นที่อุณหภูมิต่ำกวา 4 องศาเซลเซียสจะยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้เช่นกัน ดังนั้นการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ หรือกำลังร้อนอยู่ รวมทั้งการรักษาความสะอาดในการประกอบอาหารจะช่วยป้องกันอาหารเป็นพิษจากการติดเชื้อ Salmonella ได้
S.typhimurium
Salmonella บน XLD agar
วงจรการเกิดอาหารเป็นพิษ
เมื่อเชื้อแบคทีเรียหรือรา ตกไปในอาหารที่เก็บไว้ในภาวะที่เชื้อเจริญได้ดี เชื้อจะปล่อยสารพิษออกมา เมื่อคนรับประทานอาหารเข้าไป หากมีสารพิษอยู่ จะเกิดอาการทันที เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง หรือบางชนิดไม่ได้สร้างสารพิษ แต่เชื้อเจริญในอาหาร แล้วไปรุกรานในลำไส้ ก่อให้เกิดอาการ บางชนิดนอกจากมีผลต่อลำไส้แล้วยังเข้าไปในกระแสเลือด แล้วก่อเกิดโรคขึ้นอีกต่างหาก เช่น ไข้ไทฟอยด์ เป็นต้น รู้แบบนี้แล้วจะกินอะไรเข้าไปก็ระวังกันด้วยนะจ๊ะ...
อ้างอิงจาก
http://goo.gl/DvyLFF บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน อาหารเป็นพิษ 5 คำถามที่พบบ่อย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=69 เชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา
http://www.boe.moph.go.th/fact/Food_Poisoning.htm Food poisoning Bureau of Epidemiology, DDC, MPH กลุ่มระบาดวิทยาโรคติดต่อ
https://en.wikipedia.org/wiki/Staphylococcus_aureus
http://www.human.cmu.ac.th/home/hc/ebook/006326/lastest/006326/chapter4/04-bacterial-toxin.pdf สารพิษจากแบคทีเรีย (Bacterial toxin)
http://dpc10.ddc.moph.go.th/ppat/ebook/2food/food1.htm อาหารเป็นพิษจากเชื้อแบคทีเรีย
ภาพจาก
http://cit.vfu.cz/alimentarni-onemocneni/xvp/xvp03-04.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Vibrio_parahaemolyticus
http://www.britannica.com/science/prokaryote/images-videos/Salmonella-typhimurium-a-species-of-bacteria-causes-food-poisoning-in/121515
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)