logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

รู้หรือไม่ว่าทำไมดวงจันทร์ที่เราเห็นนั้นมีผิวขรุขระ

โดย :
ศรุดา ทิพย์แสง
เมื่อ :
วันศุกร์, 31 มกราคม 2563
Hits
21003

         เชื่อว่าเราต่างก็เคยมองบนท้องฟ้ายามค่ำคืนกันทั้งนั้น แล้วมองเห็นดวงจันทร์ที่สว่างไสวนั้นไหม หลายคนคงอาจจะเคลิบเคลิ้มไปกับความสวยงาม และคงคิดว่าดวงจันทร์นั้นคงกลมสวยงามเรียบเนียนอย่างที่เรามองเห็นเมื่อมองจากโลก แต่รู้หรือไม่ว่าดวงจันทร์ที่ส่องสว่างบนท้องฟ้ายามค่ำคืนนั้นที่เรามองเห็นผิวของดวงจันทร์เรียบเนียนนั้น  แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นอย่างที่ตาเรามองเห็น แต่กลับเต็มไปด้วยหลุมขรุขระมากมาย ซึ่งบทความนี้จะพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักดวงจันทร์พร้อมทั้งหาข้อเท็จจริงของพื้นผิวของดวงจันทร์กัน

10984 1

ภาพการสำรวจบนดวงจันทร์
ที่มา https://pxhere.com/en/photo/1142494   

ทำความรู้จักดวงจันทร์กันก่อน

        ในทางดาราศาสตร์ นิยามว่าดวงจันทร์เป็นดาวบริวารของดาวเคราะห์ และเป็นดาราศาสตร์วัตถุที่โคจรรอบโลก ซึ่งเป็นดาวบริวารดวงเดียวของโลกก็ว่าได้ อยู่ห่างจากโลกประมาณ 384,403 กิโลเมตร ในอดีตชาวโรมันเรียกดวงจันทร์ว่า Luna ส่วนชาวกรีกเรียกดวงจันทร์ว่า Selene หรือ Artemis ดวงจันทร์นั้นเป็นที่รู้จักตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นวัตถุที่ส่องแสงสว่างมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากดวงอาทิตย์ อีกทั้งยังเป็นที่หลงใหลของมนุษยชาติมาโดยตลอด

พื้นพิวของดวงจันทร์เป็นอย่างไร

       เนื่องจากบนดวงจันทร์นั้นไม่มีอากาศ ไม่มีน้ำ และไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ พื้นผิวของดวงจันทร์ส่วนใหญ่ปกคลุมเต็มไปด้วยฝุ่นผงละเอียดและเศษหินชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซากหินที่เกิดจากอุกกาบาตพุ่งชนและแตกออกจากแรงกระแทกของอุกกาบาต และยังมีภูเขาสูง หลุมอุกกาบาต และหุบเหวลึกมากมายทั่วบริเวณพื้นผิวของดวงจันทร์ พื้นผิวดวงจันทร์มีลักษณะสำคัญที่แตกต่างกัน 2 รูปแบบ แบบแรกเป็นพื้นที่สูงขรุขระมีอายุเก่าแก่ ส่วนแบบที่สองมีลักษณะเป็นพื้นที่ต่ำค่อนข้างราบเรียบมีอายุไม่นานนัก แบบที่สองนี้นิยมเรียกกันว่า “ทะเลบนดวงจันทร์” หรือ “Maria”  ในสมัยก่อนเป็นเรื่องที่น่าสงสัยกันอยู่ไม่น้อยสำหรับนักดาราศาสตร์ที่ว่าบนดวงจันทร์จะมีทะเลได้อย่างไร แต่ในเวลาต่อมาเมื่อการศึกษาและวิจัยได้กระจ่างชัดก็ทำให้ทราบว่า “ทะเลบนดวงจันทร์” เป็นพื้นที่ที่ถูกลาวาจากภายในตัวดวงจันทร์เอ่อขึ้นมากลบ ก่อนจะเย็นตัวและแข็งตัวเป็นพื้นที่ราบนั่นเอง

ที่มาของผิวขรุขระบนดวงจันทร์

        ผิวของดวงจันทร์ในอดีตที่ผ่านมาถูกชนด้วย อุกกาบาตเป็นจำนวนมาก ทำให้หินที่เป็นเปลือกมีการผสม หลอมและตกจมลงสู่ภายในดวงจันทร์ อุบาบาตที่วิ่งชนดวงจันทร์ได้พาเอาหินแปลกปลอมมากระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นผิว การชนของอุกกาบาตยังทำให้หินที่อยู่ในระดับลึก โผล่ขึ้นมาบนพื้นผิวของดวงจันทร์ทำให้เศษหินเหล่านี้กระจายไกลออกไปจากแหล่งกำเนิด เปลือกที่บาง และมีรอยแตกเป็นช่องทางให้ลาวาที่อยู่ภายในดวงจันทร์แทรกตัวขึ้นมาบนพื้นผิวของดวงจันทร์ การที่ดวงจันทร์ไม่มีบรรยากาศและน้ำ จึงไม่มีกระบวนการผุพังทางเคมีกับส่วนประกอบทั้งหลายที่อยู่บนพื้นผิว ดังนั้นหินซึ่งมีอายุกว่า 4 พันล้านปีจึงยังพบอยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้เข้าใจถึงประวัติในช่วงแรกของระบบสุริยะ ซึ่งไม่สามารถหาหลักฐานเหล่านี้ได้จากบนพื้นโลก กระบวนการทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีเฉพาะการชนของอุกกาบาตขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิด regolith เท่านั้น

       นอกจากนี้ อีกสาเหตุที่ทำให้พื้นผิวบนดวงจันทร์นั้นขรุขระ ยังมีที่มาจากสาเหตุที่ดวงจันทร์ไม่มีทั้งสนามแม่เหล็กและบรรยากาศ เพื่อปกป้องลมสุริยะจากดวงอาทิตย์ได้ ลมจากดวงอาทิตย์จึงพัดกระหน่ำทำลายพื้นผิวของดวงจันทร์ตลอดอายุ 4,000 ล้านปี ได้โดยตรง ดังนั้นจึงทำให้พื้นผิวของดวงจันทร์ได้รับผลกระทบจากลมสุริยะ ทั้งไฮโดรเจนไอออนซึ่งมากับลมสุริยะจะไปสะสมตัวอยู่ใน regolith ที่อยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ เลยทำให้พื้นผิวของดวงจันทร์นั้นขรุขระนั่นเอง

แหล่งที่มา

Craig Freudenrich, Ph.D.. What's on the surface of the moon?.  สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2562, จาก https://science.howstuffworks.com/moon1.htm  

ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์.  ดวงจันทร์.  สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2562, จาก http://www.lesa.biz/astronomy/solar-system/planets/earth/moon

Adisak Mahawan. (2017, 14 May)  ดวงจันทร์ : The Moon.  สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2562, จาก https://sites.google.com/a/web1.dara.ac.th/daraastro-solarsystem/daw-kheraah/lok/dwng-canthr 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
พื้นผิวดวงจันทร์, ดวงจันทร์, อุกกาบาต
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 03 ตุลาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ศรุดา ทิพย์แสง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10984 รู้หรือไม่ว่าทำไมดวงจันทร์ที่เราเห็นนั้นมีผิวขรุขระ /article-science/item/10984-2019-10-25-07-31-59
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    อุกกาบาต พื้นผิวดวงจันทร์ ดวงจันทร์
คุณอาจจะสนใจ
นานาชื่อจันทร์เพ็ญในเดือนต่าง ๆ ของมนุษย์
นานาชื่อจันทร์เพ็ญในเดือนต่าง ๆ ของมนุษย...
Hits ฮิต (1859)
ให้คะแนน
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยดูจากเหนือขั้วโลกเหนือ ซึ่งแสดงโดยจุด ช่วงปลายเดือน (ประมาณวันที่ 21 ของเดือ ...
จีนส่งยานอวกาศฉางเอ๋อลงดวงจันทร์
จีนส่งยานอวกาศฉางเอ๋อลงดวงจันทร์
Hits ฮิต (75)
ให้คะแนน
ฉางเอ๋อ 3 (Chang’ e 3) เป็นยานอวกาศของจีนที่กำลังเดินทางไปยังดวงจันทร์เพื่อลงดวงจันทร์ครั้งแรกโดยบร ...
ซูเปอร์มูน (Supermoon)
ซูเปอร์มูน (Supermoon)
Hits ฮิต (1334)
ให้คะแนน
ชูเปอร์มูนคืออะไร? ชูเปอร์มูน คือ ดวงจันทร์ที่เห็นโตกว่าปกติ ถ้าเป็นจันทร์เพ็ญจะเห็นความแตกต่างระหว ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)