logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

จีนส่งยานอวกาศฉางเอ๋อลงดวงจันทร์

โดย :
นิพนธ์ ทรายเพชร
เมื่อ :
วันอังคาร, 21 มีนาคม 2566
Hits
910

            ฉางเอ๋อ 3 (Chang’ e 3) เป็นยานอวกาศของจีนที่กำลังเดินทางไปยังดวงจันทร์เพื่อลงดวงจันทร์ครั้งแรกโดยบรรทุกรถชื่อยูดู (แปลว่า กระต่ายหยก) ไปด้วย ตำแหน่งที่จะลงบนดวงจันทร์คือ อ่าวรุ้ง ที่ละติจูด 44๐ เหนือ

 

Change3 01

รูปที่ 1 รถยูตู ที่จะวิ่งบนดวงจันทร์
(ที่มา: http://ww.komchadluek.net/mobile/detail/20131215/174874.html)

            จรวดลองมาร์ช 3 บีของจีนส่งฉางเอ๋อ 3 จากศูนย์ส่งดาวเทียมชีชางในมณฑลเสฉวน เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2556 เวลา 01:30 นาฬิกา เวลาจีน และลงจอดบนดวงจันทร์ในวันที่ 14 ธันวาคม 2556 เวลา 09.12 นาฬิกากลายเป็นยานอวกาศลำแรกที่สัมผัสผิวดวงจันทร์หลังการลงดวงจันทร์ของสหรัฐอเมริกาในโครงการอะพอลโลไม่น้อยกว่า 37 ปีมาแล้ว

 

Change3 02

รูปที่ 2 ศูนย์ส่งดาวเทียมซีชาง

(ที่มา:http://ww.thaibizchina.com/thaibizchina/th/articles/detail.php?1BLOCK_ID=70&SECTION_D=533&ELEMENT ID=8444)

            ยานฉางเอ๋อ 3 เหมือนกับยานลูนา 24 ของอดีตสหภาพโซเวียตรัสเซียที่นำตัวอย่างหินดวงจันทร์กลับโลกได้ใน พ.ศ. 2519

            จีนประสบความสำเร็จในการส่งยานอวกาศฉางเอ๋อ 1 ออกจากโลกเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เพื่อไปโคจรรอบดวงจันทร์ และฉางเอ๋อ 2 ออกจากโลกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2553 เพื่อไปโคจรรอบดวงจันทร์เช่นเดียวกับฉางเอ๋อ 1 แต่ในที่สุดได้เลื่อนไปอยู่ตำแหน่ง L, ของระบบดวงอาทิตย์-โลก ซึ่งอยู่ห่างโลกไปทางด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ประมาณ 1.5 ล้านกิโลเมตร จุด L, เป็นจุดที่สมดุลระหว่างแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์และของโลก ทำให้ยานอวกาศเคลื่อนที่ไปรอบดวงอาทิตย์พร้อมโลก โดยยานอยู่ห่างโลกเกือบ 4 เท่าของระยะดวงจันทร์ จีนจึงเป็นชาติที่ 3 ต่อจากองค์การอวกาศยุโรป (ESA) องค์การนาชา (NASA) ที่นำยานอวกาศไปอยู่ ณ ต่ำแหน่ง L, ของระบบดวงอาทิตย์-โลกได้สำเร็จ

 

Change3 03

รูปที่ 3 ตำแหน่ง L, ของระบบดวงอาทิตย์-โลก อยู่ห่างโลกประมาณ 1.5 ล้านก็โลเมตรในทิศทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์
(ที่มา: http://www.esa.int/Our Activities/Space_ Science/Hersche/L2_the second_Lagrangian_Point)

 

Change3 04

รูปที่ 4 ตำแหน่ง L1 , L2, L3, L4, L5 ของระบบดวงอาทิตย์-โลกอยู่ห่างโลกต่าง ๆ กัน เช่น เ อยู่ที่มุมยอดของสามเหลี่ยมด้านเท่าที่มีความยาวของฐานเท่กับระยะระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
(ที่มา: http://en,wikipedia.org/wiki/File:Lagrangian_points_equipotential.jpg)

 

            จีนมีโครงการจะส่งยานอวกาศฉางเอ๋อ 5 เพื่อไปนำหินดินดวงจันทร์กลับมายังโลกใน พ.ศ. 2560 และส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ใน พ.ศ. 2568-2573

            ฉางเอ๋อ 2 ไปอยู่ ณ ตำแหน่ง L2, เพื่อศึกษาดวงอาทิตย์และสนามแม่เหล็กของโลก ในการเดิ้นทางจากวงโคจรรอบดวงจันทร์ยานอวกาศฉางเอ๋อ 2 ใช้เวลา 77 วัน จึงถึงจุด L2

 

Change3 05

รูปที่ 5 บานฉางเอ๋อ 3 แสดงรถยูตูอยู่ด้านบนซึ่งจะลงจากยานทางบันได้สีดำ
(ที่มา: http://motherboard.vice.com/blog/chinas-nuclear-rover-will-sample-the-moon)

            ยานลงดวงจันทร์ฉางเอ๋อ 3 มีมวล 1,200 กิโลกรัม โดยรถมีมวล 120 กิโลกรัม สูง 1.5 เมตร กำหนดวนรอบดวงจันทร์ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เวลา 2:30 UTC และลงสัมผัสผิวดวงจันทร์ในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ณ ไชนัส อิริดุม (อ่าวรุ้ง) ที่ละติจูด 44๐ เหนือ เป็นที่ราบของลาวาบะชอลต์ซึ่งเป็นส่วนต่อทางตะวันตกเฉียงเหนือของมาเรอิมเบรียม (ทะเลแห่งฝน) ฉางเอ๋อ 3 จะเป็นยานอวกาศลำแรกที่ลงสัมผัสผิวดวงจันทร์อย่างนุ่มนวลต่อจากยานลูนา 24 ของสหภาพโซเวียตรัสเซียเมื่อ พ.ศ. 2519 หรือ 37 ปีมาแล้ว

 

Change3 06

รูปที่ 6 ตำแหน่งลงบนดวงจันทร์ของฉางเอ๋อ 3
(ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Chang%27e_3)

ฉางเอ๋อ 3 นำมลภาวะไปสู่ดวงจันทร์

            การลงดวงจันทร์ของฉางเอ๋อ 3 ต้องยิงจรวดต้านการเคลื่อนที่เพื่อให้ยานลงช้า ๆ ไอเสียของจรวดและฝุ่นดวงจันทร์ที่ฟุ้งกระจายจะทำให้กลายเป็นมลภาวะบนดวงจันทร์ ในระหว่างนี้มียานอวกาศขององค์การนาซาเพื่อสำรวจบรรยากาศและฝุ่นบนดวงจันทร์ชื่อยานลาดี (LADEE: Lunar Atmosphere and Dust Environment Explorer) ยานลาดีออกจากโลกเมื่อ 7 กันยายน พ.ศ. 2556 เมื่อเวลา 03:27 UTC ไปวนรอบดวงจันทร์เหนือบริเวณศูนย์สูตร เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมของดวงจันทร์ในระดับเอกโซสเฟียร์รวมทั้งฝุ่นรอบดวงจันทร์ โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ บนยาน ได้แก่ เครื่องตรวจจับฝุ่น เครื่องวัดสเปกตรัม และการสาธิตด้านเทคโนโลยี การสื่อสารด้วยแสงเลเชอร์

 

Change3 07

รูปที่ 7 ภาพยานลาดี (Courtesy NASA/Ames)
(ที่มา: http:/lasp.colorado.edu/home/missions-projects/quick-facts-ladee/)

 

จีนส่งยานไปสำรวจดวงจันทร์เพื่ออะไร

            โครงการสำรวจดวงจันทร์ของจีน (CLEP: Chinese Lunar Exploration Program) หรือโครงการฉางเอ๋อ (Chang 'e program) เป็นโครงการที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนจะส่งหุ่นยนต์และมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ ผู้รับผิดชอบคือ องค์การอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA: China National Space Administration) เริ่มด้วยโครงการส่งยานอวกาศฉางเอ๋อเพื่อไปโคจรรอบดวงจันทร์ นำรถลงวิ่งบนดวงจันทร์ นำดินหินดวงจันทร์กลับมายังโลก และนำมนุษย์อวกาศจีนไปลงดวงจันทร์ในที่สุด

            จรวดที่ใช้นำส่งยานอวกาศคือ จรวดลองมาร์ช 3เอ จรวดลองมาร์ช 5อี และจรวจลองมาร์ช 7 โดยมีระบบสถานีควบคุมสั่งการติดตาม และการวัดจากระยะไกลบนภาคพื้นดิน ด้วยเสาอากาศประเภทอินเตอร์ฟีโรมิเตอร์ที่มีฐานยาวมาก (VLBI: Very Long Baseline Interferometer) กล่าวคือ ฐานยาว3,000 กิโลเมตรเชื่อมต่อระหว่างกล้องโทรทรรศน์วิทยุ 4 กล้องกล้องที่ 1 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 เมตรอยู่ที่ปักกิ่ง กล้องที่ 2, 3, 4 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตรอยู่ที่คุณหมิง เซี่ยงไฮ้ และอุรุมไคว

            โอยหยาง ชีหยวน (Ouyang Ziyuan) นักธรณีวิทยาและนักเคมีจักรวาล ผู้มีชื่อเสียงของจีน เป็นผู้สนับสนุนการสำรวจดวงจันทร์ไม่เฉพาะในเรื่องแหล่งโลหะต่าง ๆ ที่ทราบกันแล้วเช่น เหล็ก แต่ยังมีฮีเลียม 3 ซึ่งเป็นชื้อเพลิงในปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์เพื่อการผลิตไฟฟ้าในอนาคตโอยหยางผู้สนับสนุนโครงการมนุษย์สำรวจดวงจันทร์ของจีน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของโครงการ นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงของจีนอีกคนหนึ่งคือ ซุน เจียตุง (Sun Jiadong) ทำหน้าที่เป็นสถาปนิกใหญ่ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์หนุ่มชื่อ ซุน ชีโจ (Sun Zezhou) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองสถาปนิกใหญ่ ส่วนผู้อำนวยการโครงการปัจจุบันคือ ลวน เอนจี (Luan Ezjie)

 

Change3 08

รูปที่ 8 จรวดลองมาร์ช 3ปี เป็นจรวด 3 ท่อน ท่อนล่างสุดมีจรวดเสริม 4 เครื่อง
(ที่มา: http://www.spacenews.com/article/chinese-rocketlaunches-eutelsats-w3c-satellite)

 

Change3 09

ที่มา: http://www.wantchinatimes.com/photo-album-cnt.aspx?id=20131203000055  (ภาพโดย Xinhua)

 

            ยานอวกาศฉางเอ๋อ 1, 2 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสำเร็จในขั้นตันแล้ว และยานอวกาศฉางเอ๋อ 2 ยังปฏิบัติงานต่อไป ณ ตำแหน่ง L2 ดังกล่าวแล้ว ขณะที่ยานอวกาศฉางเอ๋อ 3 ได้นำรถยูตูไปล่งสำรวจดวงจันทร์ ต่อไปจะเป็นยานอวกาศฉางเอ๋อ 5 ที่จะไปนำดินหินดวงจันทร์กลับมาใน พ.ศ.2560 และมนุษย์อวกาศจีนคนแรกจะลงดวงจันทร์ระหว่าง พ.ศ. 2568 – 2573

            บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
จีน, ยานอวกาศ, ฉางเอ๋อ, ดวงจันทร์
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นิพนธ์ ทรายเพชร
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12793 จีนส่งยานอวกาศฉางเอ๋อลงดวงจันทร์ /article-earthscience/item/12793-2023-01-20-06-32-19
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    ฉางเอ๋อ ยานอวกาศ จีน ดวงจันทร์
คุณอาจจะสนใจ
ซูเปอร์มูน (Supermoon)
ซูเปอร์มูน (Supermoon)
Hits ฮิต (1734)
ให้คะแนน
ชูเปอร์มูนคืออะไร? ชูเปอร์มูน คือ ดวงจันทร์ที่เห็นโตกว่าปกติ ถ้าเป็นจันทร์เพ็ญจะเห็นความแตกต่างระหว ...
นานาชื่อจันทร์เพ็ญในเดือนต่าง ๆ ของมนุษย์
นานาชื่อจันทร์เพ็ญในเดือนต่าง ๆ ของมนุษย...
Hits ฮิต (2177)
ให้คะแนน
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยดูจากเหนือขั้วโลกเหนือ ซึ่งแสดงโดยจุด ช่วงปลายเดือน (ประมาณวันที่ 21 ของเดือ ...
รู้หรือไม่ว่าทำไมดวงจันทร์ที่เราเห็นนั้นมีผิวขรุขระ
รู้หรือไม่ว่าทำไมดวงจันทร์ที่เราเห็นนั้น...
Hits ฮิต (21855)
ให้คะแนน
เชื่อว่าเราต่างก็เคยมองบนท้องฟ้ายามค่ำคืนกันทั้งนั้น แล้วมองเห็นดวงจันทร์ที่สว่างไสวนั้นไหม หลายคนค ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)