logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 15 มูฮัมหมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์

โดย :
เมขลิน อมรรัตน์
เมื่อ :
วันพุธ, 08 เมษายน 2563
Hits
17501

          มาถึงตอนที่ 15 กันแล้ว กับบทความซีรี่ส์ชุดรู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก คราวนี้ขอนำเสนอให้ผู้อ่านได้รู้จักกับบุคคลที่ถูกขนานนามว่าเป็น นักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาหรับ จะเป็นใครนั้นตามไปอ่านกันได้เลย

         มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์ (Muhammad ibn Musa al-Khwarizmi) ผู้นี้ได้รับความยกย่องทั้งในตะวันออกและตะวันตกว่าเป็นผู้วางรากฐานด้านคณิตศาสตร์สมัยใหม่ สร้างความก้าวหน้าในยุคที่รัฐอิสลามนั้นรุ่งเรือง การศึกษาศาสตร์ของทั้งกรีกและอินเดียทำให้การแปลหนังสือของบุคคลนี้เผยแพร่ไปทั่วทวีปยุโรป และถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่ก่อให้เกิดยุคก้าวหน้าของปัญญาแห่งการศึกษา

11215
รูปปั้นของ มูฮัมหมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์ ที่เมือง Khiva  ประเทศอุซเบกิสถาน (Uzbekistan)
ที่มา https://pixabay.com/ , Đăng nhập

          มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์ หรือ อัลคอวาริซมีย์ เป็นชาวเอเชีย เกิดในคอวาริซมฺ เขตการปกครองคุรอซานในเปอร์เซีย อัลคอวาริซมีย์เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในช่วงปีคริสต์ศักราช 780-850 เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักโหราศาสตร์ นักภูมิศาสตร์ นักเขียนและยังเป็นผู้มีชื่อเสียงในเกี่ยวกับการเป็นนักแปลอีกด้วย

        ผลงานด้านเกี่ยวกับวิธีการคำนวณคณิตศาสตร์ของเขา เป็นการสังเคราะห์ความรู้และความสามารถของชาวฮินดูและชาวกรีก อีกทั้งความรู้ที่สำคัญในด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของเขายังสร้างผลงานที่โดดเด่น นั่นก็คือการสร้างระบบทศนิยม (Decimal System) ซึ่งเขาได้พบว่าตัวเลขของอาหรับนั้นดีกว่าตัวเลขในแบบละตินและอินเดีย อัลคอวาริซมีย์ได้รับการยกย่องจากนักคณิตศาสตร์จากทั่วโลกในการนำตัวเลขอารบิกไปใช้ และยังมีการใช้เครื่องหมายลบ (-) และตัวเลขศูนย์ (0) ในการคำนวณอีกด้วย

บิดาแห่งพีชคณิต

        อัลคอวาริซมีย์ มีผลงานมากมายหลายชิ้น เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งพีชคณิต ด้วยผลงานที่ชื่อว่า Al-Kitab al-mukhtasar fi hisab al-jabr wa’l-muqabala หรือเรียกอีกอย่างว่า หลักพื้นฐานว่าด้วยการคืนค่าละการทดแทน (ปัจจุบันเรียกว่า สมการ) โดยคำว่า Al-jabr นั้นได้ดัดแปลงมาจากคำว่า Algebra หรือพีชคณิตในภาษาอังกฤษนั่นเอง และอีกผลงานหนึ่งที่สำคัญของอัลคอวาริซมีย์ คือ ตำราอธิบายวิธีการเขียนตัวเลขและการคำนวณตัวเลขด้วยเลขฐานหลักสิบ ตำราเล่มนี้ถูกนำไปแปลเป็นภาษาละตินในเวลาอีกสามร้อยปีต่อมา จนเป็นที่มาของระบบตัวเลขและการคำนวณแบบ ฮินดู-อารบิก ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

ตำราที่อัลคอวาริซมีย์

                วิชาพีชคณิต หรือ Algebra ชาวตะวันตกดัดแปลงมาจากคำว่า “อัลญับรุ” คือตำราที่อัลคอวาริซมีย์ได้แต่งขึ้นเป็นตำราเล่มแรก โดยตำรานี้มีชื่อเต็มว่า “อัลญับรุ วัล มุกอบะละฮ์” ตำราเล่มนี้มีคุณค่าสำคัญทางประวัติศาสตร์และมรดกวิชาการ เหล่าบรรดาชาวอาหรับได้นำตำราเล่มนี้ไปเป็นมาตรฐานของการศึกษาวิชาพีชคณิต ในปี ค.ศ. 1145 โรเบิร์ต อัซซัสตูรีย์ ได้นำตำราเล่มนี้ไปแปลเป็นภาษาละตินและนำมาใช้เป็นตำราในการศึกษาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของทวีปยุโรป จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 16 (ยุคเฟื่องฟูของชาวตะวันตก)

                นอกจากนี้งานเขียนตำราของอัลคอวาริซมีย์ส่วนใหญ่ขาได้เขียนเกี่ยวกับตำราด้านวิชาคณิตศาสตร์ ตำราภูมิศาสตร์และแผนที่ ตำราด้านดาราศาสตร์ รวมไปถึงปฏิทินและเวลา นาฬิกาและแอสโตรแลบ แต่ตำราดังกล่าวนั้นเขาเขียนในภาษาอาหรับแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

                ผลงานของอัลคอวาริซมีย์ไม่ได้มีเพียงผลงานทางด้านคณิตศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว แต่ในส่วนของด้านดาราศาสตร์นั้นเขายังได้ทำการสร้างตารางดาราศาสตร์และการคำนวณรัศมีและเส้นรอบวงของโลกขึ้น โดยมีความถูกต้องและแม่นยำในระดับที่เรียกว่าใกล้เคียงกับการคำนวณในแบบของยุคใหม่เลยทีเดียว ตารางดาราศาสตร์นี้ถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในทวีปยุโรปจนไปถึงประเทศต่าง ๆ ในอีกหลายทวีป 

                จากข้อมูลที่ได้นำเสนอไปนั้น รู้หรือไม่ว่า ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะคิดว่าความก้าวหน้าทางวิทยาการในศาสตร์ด้านต่าง ๆ มักจะมาจากการคิดค้นขึ้นในฝั่งตะวันตก ทำให้เรารู้จักแต่นักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรปเป็นส่วนใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือดาราศาสตร์นั้น ก็เกิดขึ้นได้จากนักวิทยาศาสตร์หรือนักคณิตศาสตร์จากทั่วทุกมุมโลก จากตัวอย่างของอัลคอวาริซมีย์นักคณิตศาสตร์แห่งอาหรับนั่นเอง

แหล่งที่มา

อัลคอวาริซมีย์ นักคณิตมุสลิม ผู้เป็นที่มาของ “อัลกอริทึม”. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2562. จาก

https://thepeople.co/al-khwarizmi-muslim-mathematician-algorithm-algebra/

นักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาหรับ. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2562. จากhttps://www.jw.org/th/หนังสือและสื่อต่างๆ/วารสาร/g201505/อัลคอวาริซมีบิดาพีชคณิต/

อาจวรงค์ จันทมาศ. ใครเป็นคนคิดการย้ายข้างสมการเป็นคนแรก. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2562. จาก https://www.blockdit.com/posts/5c247748665b770cf852b389

               

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ประวัติของอัลคอวาริซมีย์, ผลงานที่โดดเด่นของอัลคอวาริซมีย์,นักคณิตศาสตร์
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 20 ธันวาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
เมขลิน อมรรัตน์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11215 รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 15 มูฮัมหมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์ /article-mathematics/item/11215-15
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    ผลงานที่โดดเด่นของอัลคอวาริซมีย์ ประวัติของอัลคอวาริซมีย์ นักคณิตศาสตร์
คุณอาจจะสนใจ
Herbert Aaron Hauptman นักคณิตศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเค ...
Herbert Aaron Hauptman นักคณิตศาสตร์เจ้า...
Hits ฮิต (1022)
ให้คะแนน
เวลาเราเห็นโครงสร้าง 3 มิติของโมเลกุล เซ่น DNA, myoglobin, haemoglobin และ vitamin B12 ซึ่งโมเลกุลเ ...
รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 12 Ramanujan
รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนท...
Hits ฮิต (15868)
ให้คะแนน
คุณเคยชมภาพยนตร์เรื่อง The man who knew infinity ไหม หรือชื่อไทยในเรื่อง อัจฉริยะโลกไม่รัก ซึ่งเป็น ...
จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Habits of Mind)
จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Habi...
Hits ฮิต (3516)
ให้คะแนน
"จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Habits of Mind) เป็นความเข้าใจคณิตศาสตร์ในรูปแบบที่คณิตศาสตร์เ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)