logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

คณิตศาสตร์กับการศึกษาโบราณคดี ตอนที่ 2

โดย :
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
เมื่อ :
วันพุธ, 25 ธันวาคม 2562
Hits
14735

          ในตอนที่แล้ว (คณิตศาสตร์กับการศึกษาโบราณคดี ตอนที่ 1) เราได้เห็นความสำคัญและประโยชน์ในการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์มาศึกษาทางโบราณคดีกันไปแล้ว มาถึงในส่วนของตอนที่ 2 นี้ เรามาดูตัวอย่างการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์มาศึกษาทางโบราณคดี ผ่านสถานที่และกิจกรรมทางการเรียนรู้กันดีกว่า

          ในประเทศไทยมีสถานที่ต่าง ๆ  ทางประวัติศาสตร์มากมาย ให้เป็นแหล่งศึกษาและเรียนรู้ทางโบราณคดี ตัวอย่างไปนี้ เป็นกิจกรรมการศึกษาโบราณคดีโดยอาศัยความรู้ทางคณิตศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้รวมทั้งบูรณาการศาสตร์ทางวิชาอื่น ๆ เข้ามาช่วยอีกมากมายเช่น เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา เป็นต้น

กิจกรรมศึกษาจิตรกรรมภาพฝาผนังกับผังของอุโมงค์และเจดีย์ของวัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่

          กิจกรรมนี้ในการศึกษาโดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับเรขาคณิต พีชคณิต และการวัด ทำให้เราทราบแนวความคิดในการออกแบบของคนในสมัยนั้นได้ จากการศึกษาการจัดผังและกำหนดทิศ ซึ่งมีการวัดตำแหน่ง ระยะทางในระดับเซนติเมตร การวัดมุมในระดับองศา ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปสร้างแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบ 3 มิติได้อีกด้วย ซึ่งทำให้เห็นภาพและความสวยงามในอดีตของวัดอุโมงค์แห่งนี้

10967 1edit
ภาพที่ 1 จิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ที่ได้จากการวัดแล้วนำข้อมูลไปประมวลผลเพื่อสร้างแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์
ที่มา http://math.science.cmu.ac.th/kettapun/Articles/Wat_Umong_Sci_News.pdf

กิจกรรมการศึกษาปรากฏการณ์ภาพกลับหัวของพระธาตุที่จังหวัดลำปาง

          กิจกรรมนี้สามารถพบในวัดที่มีพระธาตุในหลายอำเภอของจังหวัดลำปาง โดยเราสามารถมองเห็นเงาพระธาตุกลับหัวในห้องที่มืดหรือมีแสงน้อย  ผู้ปฏิบัติกิจกรรมจะได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมปฏิบัติการ เพื่อเรียนรู้ว่าวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สามารถอธิบายปรากฏการณ์นี้อย่างไร เราสามารถสร้างปรากฏการณ์ภาพหัวกลับได้เองหรือไม่ และภาพที่เราเห็นสามารถช่วย คำนวณหาความสูงของเจดีย์ได้หรือไม่ ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์นั้น สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางเรขาคณิตเรื่องสามเหลี่ยมคล้าย เพื่ออธิบายการหาความสูงของภาพกลับหัวนั่นเอง

10967

ภาพที่ 2 เงาพระธาตุหัวกลับที่วัดพระธาตุลำปางหลวง
ที่มา http://www.lampang.go.th/travel/weblp/page/page5.html

กิจกรรมคณิตศาสตร์กับการสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่

          กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่เปิดความมหัศจรรย์ในการสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่ที่เป็นสี่เหลี่ยมมุมฉากขนาดใหญ่ ยาวด้านละประมาณ 1,600 เมตรได้อย่างไร โดยไม่ต้องใช้ทฤษฎีบทของพิทากอรัส ซึ่งมีลักษณะกับการสร้างอาคารขนาดใหญ่ของประเทศฝั่งตะวันตกในยุคเดียวกัน ซึ่งใช้แค่ความรู้ทางเรขาคณิตอย่างง่ายและดาราศาสตร์พื้นฐานเท่านั้น  ดังนี้คือ หลักการของหลักการการขึ้นของแสงและเงาจากพระอาทิตย์จากการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์นั่นเอง โดยแสงแดดในการกำหนดทิศที่ถูกต้อง

10967 3
ภาพที่ 3 กำแพงเมืองเชียงใหม่
ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:กำแพงเมืองเชียงใหม่_แจงศรีภูมิ.JPG , Tatpong Katanyukul

ความน่าสนใจเกี่ยวกับโมเดลหรือแบบจำลองทางกายภาพ

          ในแง่ความสนใจอย่างหนึ่งที่อยากนำเสนอให้แก้ผู้อ่านได้ทราบก็คือ คณิตศาสตร์ช่วยให้การศึกษาหรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างทางกายภาพของโบราณสถานและโบราณวัตถุได้เป็นอย่างดี จากการใช้ข้อมูลทางคณิตศาสตร์สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) การสร้างแบบจำลองในงานสถาปัตยกรรมให้ออกมาเป็นวัตถุทางกายภาพที่สามารถจับต้องหรือสัมผัสได้ โดยอ้างอิงจากขนาด รูปร่าง ผังอาคารเพื่อสร้างแบบจำลองกายภาพขึ้น ซึ่งทำให้เราศึกษาและทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าศึกษาจากระบบจริงนั่นเอง

          นอกจากนี้ยังมีอีกหลายกิจกรรมที่เป็นการใช้หลักการการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาศึกษาและหาคำตอบในสถานที่ทางโบราณคดี  เช่น การตรวจสอบและวิจัยทางเคมีเกี่ยวกับสีและการเกิดคราบหินปูนในจิตรกรรมฝาผนังของโบราณสถานต่าง ๆ เป็นอย่างไรกันบ้าง กิจกรรมที่นำเสนอไปล้วนแล้วแต่สร้างความสนุกตื่นเต้นและได้ความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ไม่น้อยเลยใช่ไหม

แหล่งที่มา

อาจารย์ ดร.อติชาต เกตตะพันธุ์ . คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับการศึกษาทางโบราณคดี ณ วัดอุโมงค์. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2562. จาก www.atichart.com/คณิตศาสตร์และวิทยาศาสต/

นายกวิน งามจินดาวงศ์. การออกแบบระบบนำเสนอข้อมูลโบราณสถานด้วยเทคโนโลยีที่ผสานโลกจริงเข้ากับโลกเสมือนผ่านแบบจำลองกายภาพ: กรณีศึกษา โบราณสถานปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว .สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2562. จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5916030207_7715_7495.pdf

รศ. ยืน ภู่วรวรรณ, สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.การจำลองแบบด้วยคณิตศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2562. จาก https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/knowledge_math/model_math.htm

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
กิจกรรมการเรียนรู้ทางทางคณิตศาสตร์, คณิตศาสตร์, การศึกษาโบราณคดี ,โบราณคดี
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 12 ตุลาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
การศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์กับการศึกษาทางโบราณคดี
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10967 คณิตศาสตร์กับการศึกษาโบราณคดี ตอนที่ 2 /article-mathematics/item/10967-2-10967
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    โบราณคดี การศึกษาโบราณคดี กิจกรรมการเรียนรู้ทางทางคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์
คุณอาจจะสนใจ
ตรีโกณมิติกับปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม
ตรีโกณมิติกับปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม
Hits ฮิต (4229)
ให้คะแนน
ฟังก์ชันตรีโกณมิติมีความสำคัญมากในการศึกษาศาสตร์สาขาต่าง ( ทั้งทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เนื่อ ...
ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ตอนที่ 7 อสมการ
ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ตอน...
Hits ฮิต (6393)
ให้คะแนน
จากบทความเรื่องประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ในตอนที่ 6 สมการ ในตอนนี้ก็ถึงคราวนำเสนอเกี่ยวก ...
คณิตศาสตร์ใน GPS
คณิตศาสตร์ใน GPS
Hits ฮิต (3911)
ให้คะแนน
ปัจจุบันคนจำนวนมากใช้ GPS จนเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตและการประกอบธุรกิจ GPS มาจากคำเต็มว่า Global ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)