logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

มารู้จักดาวหางกันให้มากขึ้นกันดีกว่า

โดย :
ศรุดา ทิพย์แสง
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 18 มีนาคม 2564
Hits
26917

         ในอดีตที่ผ่านมานั้นมนุษย์เรารู้จักดาวหางเพียงแค่ว่ามันเป็นวัตถุก้อนกลม ๆ อยู่บนฟ้าที่ทอดหางยาว  คนในยุคนั้นส่วนใหญ่มองดาวหางไปในทางอัปมงคลและยังมีความเชื่อกันอีกว่าเมื่อพบเห็นดาวหางจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงลางร้าย เป็นทูตแห่งความตายและสงครามต่างๆนานา หรือแม้แต่เป็นเครื่องมือที่ใช้ทำนายพยากรณ์  ในเชิงวิทยาศาสตร์นั้นความรู้เกี่ยวกับดาวหางมีความก้าวหน้าไปอย่างเชื่องช้า เริ่มตั้งแต่ในปี 635 ก่อนคริสต์ศักราช โดยมีนักดาราศาสตร์จีนตั้งข้อสังเกตว่าหางของดาวหางชี้ออกจากดวงอาทิตย์เสมอ แต่อย่างไรก็ตามคนในยุคแรกก็ยังมีความเชื่อว่าดาวหางน่าจะเป็นวัตถุที่อยู่ในชั้น   บรรยากาศของโลก เนื่องจากดาวหางมีรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วชนิดวันต่อวันเลยทีเดียว ซึ่งก็ต่างจากวัตถุบนท้องฟ้าชนิดอื่นๆที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ การศึกษาดาวหางอย่างเป็นระบบน่าจะเริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 16 เมื่อ ทีโค บราห์ วัดระยะห่างของดาวหางด้วยวิธีแพรัลแลกซ์ จนได้ข้อสรุปว่าดาวหางเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเหนือบรรยากาศโลก และโคจรรอบดวงอาทิตย์

11650 1

ภาพดาวหาง kohoutek
ที่มา https://pixabay.com/th/ , skeeze

          ดาวหาง เป็นวัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีส่วนที่ระเหิดเป็นแก๊สเมื่อโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและแก๊สที่ฝ้ามัวล้อมรอบ จึงเกิดเป็นส่วนที่ทอดเหยียดออกไปภายนอกจนมองดูด้วยตามีลักษณะคล้ายหาง ลักษณะเช่นนี้เกิดจากปรากฏการณ์การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไปบนนิวเคลียสของดาวหางนั่นเอง และส่วนของนิวเคลียสหรือที่เรียกว่าใจกลางดาวหางนั้นจะประกอบไปด้วย "ก้อนหิมะสกปรก" และเต็มไปด้วยน้ำแข็ง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนรวมกันอยู่มากมาย ซึ่งทั้งหมดนี้ประกอบรวมกันจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร  และเมื่อมีแรงภายนอกมากระทำ เช่น ซูเปอร์โนวา (Supernova) หรือดาวฤกษ์ระเบิด   ดาวหางจะหลุดออกจากถิ่นกำเนิดและถูกแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ดึงดูดมาเป็นบริวาร วงโคจรของดาวหางจึงยาวไกลและมีความรีมาก ไม่อยู่ในระนาบสุริยวิถี เนื่องจากเมฆออร์ทมีลักษณะเป็นทรงกลมที่ห่อหุ้มดวงอาทิตย์ ดาวหางจึงเคลื่อนที่เข้าดวงอาทิตย์ได้จากทุกทิศทาง 

          ส่วนประกอบหลักของดาวหางแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ

  1. ส่วนที่เป็นของน้ำแข็ง หรือที่เรียกว่า นิวเคลียส (Nucleus) จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อดาวหางเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น

  2. น้ำแข็งจากนิวเคลียสส่วนหนึ่งจะละลายกลายเป็นบรรยากาศที่ปกคลุมนิวเคลียส เรียกว่า โคมา (Coma)

  3. ส่วนหางของดาวหางที่แบ่งเป็น 2 ส่วนย่อยคือ หางไอออน (ion tail) ซึ่งเป็นอนุภาคมีประจุจากส่วนโคมาที่ถูกลมสุริยะพัดทำให้มีทิศชี้ออกจากดวงอาทิตย์ หางส่วนที่สองเรียกว่า หางฝุ่น (dust tail) เกิดจากอนุภาคที่ไม่มีประจุจากโคมา โดยส่วนของหางฝุ่นนี้จะโค้งตามการเคลื่อนที่ของดาวหางด้วย

          การศึกษาดาวหางอาจช่วยให้เราสามารถมองเห็นการกำเนิดระบบสุริยะได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และสามารถอธิบายแหล่งที่มาเกี่ยวกับน้ำบนโลกได้ รวมถึงอาจตอบคำถามได้ว่าสิ่งมีชีวิตบนโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร ดาวหางอาจมีบทบาทเป็นผู้ให้ชีวิตบนดาวเคราะห์โลก ในทางกลับกัน วันหนึ่งข้างหน้าอาจมีดาวหางบางดวงพุ่งตรงมายังโลก ยุติชีวิตทั้งหมดบนดาวเคราะห์ดวงนี้ก็ได้ จึงต้องมีการเฝ้าระวัง ติดตาม และเตรียมการหาวิธีหลีกเลี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้นจากดาวหาง ด้วยเหตุนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังคงต้องศึกษาดาวหางต่อไป

แหล่งที่มา

Nasa Science. Planets in Our Solar System. : a review.  Retrieved June 23, 2020, from https://solarsystem.nasa.gov/planets/overview/

Armand H. Delsemme,Paul Weissman.  Comet. : a review.  Retrieved June 23, 2020, from https://www.britannica.com/science/comet-astronomy

Dennis Overbye. (2020, 15 June).  Oumuamua: Neither Comet nor Asteroid, but a Cosmic Iceberg. : a review.  Retrieved June 23, 2020, from https://www.nytimes.com/2020/06/15/science/oumuamua-astronomy-comets.html

Plookpedia.  (2017, 25 Apr).  ดาวหาง.  สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563, จากhttps://www.trueplookpanya.com/blog/content/58149

                                                                                  

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ดาวหาง,ระบบสุริยะ, ปรากฏการณ์แผ่รังสิ,ดาราศาสตร์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 23 มิถุนายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ศรุดา ทิพย์แสง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11650 มารู้จักดาวหางกันให้มากขึ้นกันดีกว่า /article-earthscience/item/11650-2020-06-30-03-46-53
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    ปรากฏการณ์แผ่รังสิ ดาวหาง ดาราศาสตร์ ระบบสุริยะ
คุณอาจจะสนใจ
พิกัดภูมิศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับโหราศาสตร์ไทย
พิกัดภูมิศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับโหราศาสตร์...
Hits ฮิต (22428)
ให้คะแนน
มีศาสตร์การทำนายหลายแขนงที่ใช้ดวงดาวเป็นการอ้างอิงประกอบการทำนายชะตาชีวิตหรือลักษณะนิสัยของคนคนหนึ่ ...
การนำโปรแกรม Stellarium มาใช้ประกอบการสอน
การนำโปรแกรม Stellarium มาใช้ประกอบการสอ...
Hits ฮิต (381)
ให้คะแนน
เมื่อกล่าวถึงดาราศาสตร์ทุกคนคงทราบกันดีว่าเป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงสิ่งที่อยู่ภายนอกโลก แต่น้อยคนนักจะท ...
ตรีโกณมิติกับปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม
ตรีโกณมิติกับปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม
Hits ฮิต (4837)
ให้คะแนน
ฟังก์ชันตรีโกณมิติมีความสำคัญมากในการศึกษาศาสตร์สาขาต่าง ( ทั้งทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เนื่อ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)