logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เคมีในสระว่ายน้ำ

โดย :
สุทธาทิพย์ หวังอำนวยพร
เมื่อ :
วันอังคาร, 08 มิถุนายน 2564
Hits
3788

         สระว่ายน้ำ เป็นสถานที่พักผ่อนและออกกำลังกายที่่หลาย ๆ คนชื่นชอบ การรักษาสภาพน้ำในสระว่ายน้ำให้้สะอาด เพื่อให้้ปลอดภัยต่อผู้้ใช้ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง หลาย ๆ คนอาจคิดว่าในสระว่ายน้ำมีีคลอรีนเป็นสารที่่ใช้กำจัดเชื้อโรคในน้ำ แต่่ความจริงแล้้วสารที่่อยู่่ในน้ำของสระว่ายน้ำคือ กรดไฮโปคลอรัส (HOCl) ซึ่งสามารถกำจัดแบคทีีเรียและตะไคร่น้ำได้้ และเป็นสารชนิดเดียวกับที่่ใช้้ในการทำน้ำดื่มให้้สะอาด สาร HOCl ที่่อยู่่ในสระว่ายน้ำ ไม่่ได้้เกิดจากการใส่่ HOCl ลงไปโดยตรง แต่่เกิดจากการใส่่สารตั้งต้นที่่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วได้้ผลิตภัณฑ์์เป็น HOCl โดยสารตั้งต้นเหล่านี้มีีหลายชนิด เช่น

1. แก๊สคลอรีน (Cl2) ที่อุณหภูมิห้องมีีสถานะแก๊สเมื่อผ่านแก๊สคลอรีนลงในน้ำจะเกิดปฏิกิริยาเคมีี ดังสมการเคมีีต่อไปนี้

pool01

           แต่เนื่องจากสารนี้มีสถานะแก๊ส มีีสมบัติกัดกร่อนและเป็นพิษ จึงไม่สะดวกต่อการนำมาใช้ในสระว่ายน้ำ

2. เกลือไฮโปคลอไรท์ เช่น โซเดีียมไฮโปคลอไรท์ (NaOCl) เป็นสารประกอบที่่พบในน้ำยาฟอกขาว ที่อุณหภูมิ ห้องมีีสถานะของเหลวที่ไม่เสถียร ส่วนใหญ่จึงพบอยู่่ในรูปสารละลาย มีชื่อทางการค้าว่า คลอรีนน้ำ ปฏิกิริยาเคมีีระหว่าง NaOCl กับน้ำเขียนสมการเคมีได้ดังนี้

pool02

          แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ (Ca(OCl)2) มีีสถานะของแข็ง มีชื่อทางการค้าว่า คลอรีนผง หรือ คลอรีนเกล็ด ปฏิกิริยาเคมีระหว่าง Ca(OCl)2 กับน้ำเขียนสมการเคมีได้ดังนี้

pool03

            สารทั้งสองชนิดนี้ใช้้งานได้้สะดวก จึงนิยมนำ มาใช้้ในสระว่ายน้ำ

3. สารประกอบ Chlorinated Isocyanurate เช่น Trichloroisocyanuric Acid เมื่อละลายน้ำ จะได้้กรดไซยานูริค (Cyanuric Acid) และ HOCI ดังสมการเคมี

pool04

 

            HOCl เป็นกรดอ่อน เมื่อละลายในน้ำจะแตกตัวได้ไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) และ ไฮโปคลอไรท์ไอออน (OCl−) ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาผันกลับได้้ ดังสมการ

pool05

            ทั้ง HOCl และ OCl− สามารถกำจัดแบคทีีเรียและตะไคร่น้ำได้้ โดย HOCl มีีประสิทธิิภาพที่่ดีกว่า ดังนั้น ต้องมีีการควบคุมปริิมาณ HOCl และ OCl− ให้้เหมาะสม ปริิมาณของ HOCl และ OCl− ที่่อยู่่ในสระว่ายน้ำขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ปริิมาณ HOCl และ OCl− จะลดลง เนื่องจากใช้้ในการกำจัดแบคทีีเรียและตะไคร่น้ำ รวมทั้งการเกิดปฏิกิริยากับสารประกอบอินทรีย์ที่่อยู่่ในสระว่ายน้ำ หรือการสลายตัวเมื่อถูกแสงแดด โดย OCl− เมื่อโดนแสงยูวี (νuv) จากแสงแดดจะสลายตัวได้้เร็วกว่า HOCl ดังสมการ

pool06

          นอกจากนี้ ปริิมาณ HOCl ยังขึ้นกับระดับ pH ในสระว่ายน้ำโดยที่่ pH ต่ำจะมีีปริิมาณ HOCl มาก ส่วนที่่ pH สูงจะมีีปริิมาณ HOCl น้อย แต่ที่่ pH 7.5 จะมีีปริิมาณ HOCl และ OCl− เท่ากัน ดังข้อมูลในตาราง

pool08

            ถ้า pH มีีค่าต่ำ (มีีปริิมาณ H3O+ ในน้ำ มาก) จะส่งผลให้้มีี HOCl เพิ่มขึ้น เนื่องจากระบบจะปรับตัวเพื่อลดปริิมาณ H3O+ โดยเกิดปฏิกิริยาระหว่าง H3O+ และ OCl− เพิ่มขึ้น ทำให้้ได้้ HOCl เพิ่มขึ้น ดังสมการเคมี

pool09

            แต่ถ้า pH มีค่าสูง (มีีปริิมาณ OH− ในน้ำมาก) จะส่งผลให้้ HOCl ลดลง เนื่องจาก H3O+ จะทำปฏิกิริยากับ OH− ทำให้้ H3O+ ลดลง ดังสมการเคมี

pool10

            ระบบจะปรับตัวเพื่อเพิ่มปริมาณ H3O+ โดย HOCl จะแตกตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ได้ H3O+ และ OCl− เพิ่มขึ้นดังสมการเคมี

pool11

            ดังนั้น จึงต้องมีการปรับค่า pH ในสระว่ายน้ำให้เหมาะสม โดยที่ pH 7.2 - 7.8 HOCI และ OCl− จะมีปริมาณที่พอเหมาะ ถ้ามี pH ต่ำกว่า 7.2 จะมีปริมาณ HOCI มาก ทำให้เกิดการแสบตได้ แต่ถ้ามี pH สูงกว่า 7.8 จะมีปริมาณ OCl− มาก การกำจัดแบคที่เรียจะลดลง นอกจากนี้ OCl− จะสลายตัวอย่างรวดเร็วเมื่อโดนแสงแดด การปรับ pH ทำได้โดยเติมกรดหรือเบสลงไปในสระว่ายน้ำ เช่น ถ้าน้ำมี pH ต่ำเกินไป จะเติมโซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) ลงไปเพื่อทำปฏิกิริยากับ H3O+ ทำให้ pH เพิ่มขึ้น แต่ถ้าน้ำมี p สูงเกินไปจะเติมซเดียมไฮใดรเจนซัลเฟต (NaHSO4) ลงไปเพื่อทำปฏิกิริยากับ OH− ทำให้ pH ลดลง

           นอกจากนี้ น้ำปัสสาวะและเหงื่อของคนที่ลงว่ายน้ำในสระ ซึ่งมีแอมโมเนีย (NH3) ที่สามารถทำปฏิกิริยากับ HOCI เกิดเป็นสารประกอบ Chloramine เช่น NH2CI NHCI3 NHCl3 ซึ่งมีกลิ่นเฉพาะของสระว่ายน้ำ ดังสมการเคมี

pool12

            สารประกอบ Chloramine อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองตาและจมูกของผู้ที่ลงว่ายน้ำในสระ นอกจากนี้ในปัสสาวะยังมีกรดยูริค ที่สามารถเกิดปฏิกิริยาเป็นไซยาโนเจนคลอไรด์ ซึ่งเป็นสารกลุ่มเดียวกับไซยาไนต์ ทำให้เกิดการระคายเคืองตา จมูก และทางเดินหายใจได้

            การดูแลรักษาสระว่ายน้ำดูเหมือนจะง่ายเพียงแค่ใส่สารเคมีบางชนิดลงไปเท่านั้น แต่ความจริงแล้วมีความเกี่ยวข้องกับความรู้ทางเคมีหลายด้าน เช่น PH กรด-เบส สมดุลเคมี ปฏิกิริยาของ HOCI และ OCl− กับสารอื่น ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว

 

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/ 

บรรณานุกรม

The Chemistry of Swimming Pool Maintenance. Retrieved March 3. 2020. From

https://pdfis.semanticscholar.org/1245/ebb-7f16860356aa8141598227133d33d58e5.pdf.

Compound Interest (2020). The Chemistry of Swimming Pool. Retrieved March 3. 2020. from   

  https://www.compoundchem.com/2015/08/12/swimming-pools/

Swimming Pool Chemistry. Retrieved March 3. 2020. From https://www.acs.org/content/dam/acsorg/ 
education/resources/ highschool/chemmatters/articlesbytopic/acidsandbases/chemmatters-april1983-swimming-pool.pdf.

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เคมี
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุทธาทิพย์ หวังอำนวยพร
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
  • 12175 เคมีในสระว่ายน้ำ /article-chemistry/item/12175-2021-06-09-09-32-52
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    เคมี
คุณอาจจะสนใจ
การอนุรักษ์พลังงาน บางสิ่งเปลี่ยนไปเเต่ไม่มีวันสูญสลาย
การอนุรักษ์พลังงาน บางสิ่งเปลี่ยนไปเเต่ไ...
Hits ฮิต (9086)
ให้คะแนน
ถ้าผู้อ่านเคยได้ศึกษาวิชาฟิสิกส์ในสมัยเรียนมัธยมปลายมาบ้างแล้ว ก็น่าจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า “พลังงา ...
ได้ยินหรือไม่ได้ยิน ทดสอบกันอย่างไร
ได้ยินหรือไม่ได้ยิน ทดสอบกันอย่างไร
Hits ฮิต (36677)
ให้คะแนน
หู อวัยวะสำคัญสำหรับการได้ยิน 1 ใน 5 อวัยวะประสาทสัมผัสของมนุษย์เรา วันนี้มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับอาก ...
ยิ่งสูงทำไมอากาศยิ่งหนาวทั้ง ๆ ที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น
ยิ่งสูงทำไมอากาศยิ่งหนาวทั้ง ๆ ที่ใกล้ดว...
Hits ฮิต (29564)
ให้คะแนน
ภาพที่ 1 Everest Mountain ที่มา https://pixabay.com/th/ ,lutz6078 ก่อนอื่น ถ้าใครที่เคยถามคำถามนี้ไ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)