logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

สัตว์มีช่วงวัยทองหรือไม่?

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 14 ธันวาคม 2560
Hits
17734

           โดยทั่วไปวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนในผู้หญิงจะเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 45-55 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในลักษณะของการหยุดความสามารถในการสืบพันธุ์ โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นส่งผลกระทบหลายด้านทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นเหตุให้มนุษย์ต้องสิ้นอายุขัยลงหลังผ่านพ้นช่วงวัยทองไปแล้วเช่นสัตว์ชนิดอื่น ๆ

7745 1

ภาพที่ 1 หญิงช่วงวัยหมดประจำเดือน
ที่มา Thomas Hafeneth/Unsplash

           นักวิทยาศาสตร์ทราบดีว่า ความสามารถและความสำเร็จในการสืบพันธุ์ของสัตว์จะค่อย ๆ ลดลงตามวัยที่เพิ่มขึ้น หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นระยะเสื่อมสภาพของการสืบพันธุ์ (Reproductive senescence) แต่การสืบพันธุ์ของสัตว์ส่วนใหญ่นั้นดูเหมือนว่าจะสามารถดำเนินต่อไปได้จนถึงวัยชราและตายลงในที่สุด เพียงแต่จะมีกำลังการผลิตที่ลดลง

          ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา การศึกษาจำนวนมากอ้างว่า ช่วงวัยหมดประจำเดือนคือ ช่วงอายุหลังวัยสืบพันธุ์ เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของฮอร์โมนและการตกไข่ที่เกี่ยวข้องกับวัยหลังเจริญพันธุ์นั้นเป็นเรื่องยากที่จะวัดได้ในประชากรสัตว์ป่าที่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ จนเมื่อปีค.ศ. 2015 การศึกษาหนึ่งซึ่งตีพิมพ์ในวารสารด้านนิเวศวิทยาและวิวัฒนาการพบว่า ความจริงแล้ว วัยทองสามารถเกิดขึ้นได้ในสัตว์จำพวกปลา นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เพียงแต่สัตว์เหล่านี้จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ยืนยาวหลังจากผ่านพ้นช่วงวัยหมดความสามารถในการสืบพันธุ์แล้วเช่นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด

          มนุษย์และวาฬ เป็นสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดในอาณาจักรสัตว์ที่สามารถใช้ชีวิตอยู่ต่อได้อีกนานหลังผ่านพ้นวัยทองไปแล้ว สำหรับวาฬที่กล่าวข้างต้น หนึ่งในนั้นคือ วาฬเพชฌฆาตที่มีวัยเจริญพันธุ์อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 12 - 40 ปี แต่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกจนถึงอายุ 90 ปี และวาฬอีกชนิดคือ วาฬนำร่องครีบสั้นที่มีช่วงอายุที่เหมาะแก่การแพร่พันธุ์อยู่ที่อายุ 7-35 ปีแต่มีชีวิตอยู่ต่อได้จนถึงอายุ 60 ปี

7745 2

ภาพที่ 2 วาฬเพชฌฆาต
ที่มา skeeze/Pixabay

          วัยทองในมนุษย์เป็นปริศนาทางวิวัฒนาการที่ยังไม่มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนสำหรับคำถามที่ว่า เหตุใดผู้หญิงที่สูญเสียความสามารถในการสืบทอดทายาทในช่วงอายุประมาณ 50 ปียังคงสามารถมีชีวิตอยู่ต่อได้นานหลายปี? 

          นักวิทยาศาสตร์อธิบายถึงวิวัฒนาการของวัยหมดประจำเดือนว่าอาจเป็นเรื่องของโครงสร้างของครอบครัว ตามสมมติฐานที่เรียกว่า Grandmother Hypothesis เป็นสมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเครือญาติในหน้าที่ของการเลี้ยงดูบุตรหลาน ซึ่งทำให้แรงจูงใจในการแพร่พันธุ์กลายเป็นการให้ความช่วยเหลือลูกหลานให้มีความสามารถและความพร้อมต่อการสืบเชื้อสายต่อไป เป็นสมมติฐานหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับความอยู่รอดของเชื้อสายมากกว่าโอกาสในการขยายเผ่าพันธุ์

7745 3

ภาพที่ 3 ความสัมพันธุ์ในเครือญาติ
ที่มา jcall/Pixabay

          หากมองในมุมมองของการแข่งขันในด้านทรัพยากร สมมติฐานที่อธิบายวิวัฒนาการของวัยหมดประจำเดือนได้ดีอีกสมมติฐานหนึ่งคือ Reproductive Conflict Hypothesis เสนอว่า อาหาร เวลา และความช่วยเหลือด้านการดูแลเด็กระหว่างคนที่อาศัยอยู่ภายใต้หลังคาเดียวกันเป็นปัจจัยสำคัญต่อวิวัฒนาการของวัยทอง ซึ่งมนุษย์อาจมีช่วงเวลาของการปรับปรุงและพัฒนาวิธีการเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างรุ่นของเพศหญิง (เช่นแม่สามีกับลูกสะใภ้) ที่มีความสามารถในการสืบพันธุ์ภายในครอบครัวเดียวกัน และเพิ่มโอกาสในการมีชีวิตรอดของเด็กเกิดใหม่ในช่วงเวลาที่ขาดแคลนทรัพยากรสำหรับการเจริญเติบโต จึงทำให้ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่าหมดความสามารถในการแพร่พันธุ์ลงไป 

          นอกจากนี้ยังมีสมมติฐานอื่นอย่าง Mother hypothesis ที่กล่าวว่า ผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้นมีแนวโน้มที่จะมีภาวะแทรกซ้อนในการคลอดบุตร รวมทั้งความเสี่ยงต่อโอกาสในการมีชีวิตรอดของบุตรด้วย จึงทำให้เกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติเพื่อความอยู่รอดและประสิทธิภาพที่ดีด้านพันธุกรรมสำหรับการแพร่พันธุ์ต่อไป  

          แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะพยายามนำเสนอสมมติฐานต่าง ๆ เพื่ออธิบายรูปแบบของการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับวัยหลังเจริญพันธุ์ให้เข้าใจง่ายที่สุด  แต่ก็ยังคงไม่มีสมมติฐานใดที่สามารถอธิบายเกี่ยวกับวิวัฒนาการของวัยหมดประจำเดือนได้อย่างชัดเจน

แหล่งที่มา

Joseph Castro. (2017, 3 October). Do Animals Have Menopause?
          Retrieved October 12, 2017, 
          from https://www.livescience.com/60587-do-animals-have-menopause.html

Lindsey Konkel. (2012, 21 August). Do Animals Have Menopause?
          Retrieved October 12, 2017, 
          from https://www.livescience.com/22574-animals-menopause.html

Lindsey Konkel.(2012, 23 August). Why Women Go Through Menopause: Blame the In-Laws.
          Retrieved October 12, 2017, 
          from https://www.livescience.com/22583-why-menopause-evolved-competition-inlaws.html

Wynne Parry. (2010, 30 November). Why Women and Whales Share a Rich Post-Breeding Life.
          Retrieved October 12, 2017, 
          from https://www.livescience.com/9024-women-whales-share-rich-post-breeding-life.html

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
วัยทอง,Mother hypothesis,วัยหมดประจำเดือน,ชีววิทยา
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 14 ธันวาคม 2560
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7745 สัตว์มีช่วงวัยทองหรือไม่? /article-biology/item/7745-2017-12-04-04-56-20
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    วัยหมดประจำเดือน Mother hypothesis วัยทอง ชีววิทยา
คุณอาจจะสนใจ
เห็ดหลินจือ สมุนไพรยอดแห่งการปรับสมดุลร่างกาย
เห็ดหลินจือ สมุนไพรยอดแห่งการปรับสมดุลร่...
Hits ฮิต (40253)
ให้คะแนน
ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 12 เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เนื่ ...
Gregor Mendel บิดาแห่งพันธุศาสตร์
Gregor Mendel บิดาแห่งพันธุศาสตร์
Hits ฮิต (117702)
ให้คะแนน
เกรกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel) บิดาแห่งพันธุศาสตร์ ผู้ค้นพบหลักการพื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธ ...
มะเร็งท่อน้ำดี ภัยเงียบที่น่ากลัว
มะเร็งท่อน้ำดี ภัยเงียบที่น่ากลัว
Hits ฮิต (29135)
ให้คะแนน
ในงาน มิติใหม่การศึกษา เดินหน้าประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ที่ผ่าน ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)