logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ระบบภูมิคุ้มกัน

โดย :
IPST Thailand
เมื่อ :
วันศุกร์, 05 มิถุนายน 2563
Hits
403030

ระบบภูมิคุ้มกัน

Covid 2

โลกทุกวันนี้มีอันตรายอยู่รอบตัว ทั้งที่มองเห็นได้และมองไม่เห็น อย่างเช่นตอนนี้ หลายคนคงกำลังวิตกกังวลกับโรค COVID-19 ที่สร้างผลกระทบไปทั่วโลก แต่เพื่อนๆ รู้หรือไม่ ในร่างกายของเรามีระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) ที่คอยช่วยป้องกันเราจากอันตรายที่อาจเกิดจากสิ่งแปลกปลอมรอบตัว ทำให้เรายังคงแข็งแรงอยู่ได้ มารู้จักระบบภูมิคุ้มกันของเราให้มากขึ้น และดูว่าระบบนี้ทำงานอย่างไร

 

สิ่งแปลกปลอมรอบตัวเรา

Covid 1

ร่างกายมีโอกาสได้รับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม เช่น แบคทีเรีย ไวรัส จากการสัมผัส การกิน หรือการหายใจ เมื่อรับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปแล้ว  บางคนเจ็บป่วย แต่บางคนไม่มีอาการ เป็นเพราะประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของแต่ละคนต่างกัน

 

อวัยวะและเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน

Covid 4

ร่างกายมีอวัยวะและเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ป้องกัน ดักจับ และทำลายสิ่งแปลกปลอม โดยมีเซลล์เม็ดเลือดขาวในหลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง และยังสะสมอยู่ในอวัยวะ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นหน่วยป้องกันที่สำคัญของร่างกาย

 

กลไกต่อต้านและทำลายสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย

Covid 8

เมื่อมีเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายและก่อให้เกิดอันตราย ร่างกายจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ตอบสนอง โดยมีกลไกต่อต้าน/ทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมในร่างกายมี 2 แบบ คือ แบบไม่จำเพาะ และ แบบจำเพาะ ซึ่งทั้งสองแบบจะทำงานร่วมกัน

 

1. กลไกต่อต้าน/ทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำเพาะ

Covid 5

กลไกนี้เปรียบเสมือนแนวป้องกันที่ช่วยต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าสู่เนื้อเยื่อหรือที่อยู่ในเนื้อเยื่อของร่างกายแล้ว แต่ถ้าแนวป้องกันนี้ถูกทำลาย เช่น มีบาดแผลที่ผิวหนัง ร่างกายยังมีกลไกการต่อต้านแบบไม่จำเพาะอีกอย่างคือ การอักเสบและการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวกลุ่มที่คอยดักจับและทำลายเชื้อโรคที่ผ่านเข้ามาในร่างกาย

 

2. กลไกต่อต้าน/ทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำเพาะ

Covid 3

เมื่อแอนติเจน (antigen) ซึ่งอาจเป็นเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่เนื้อเยื่อในร่างกาย จะกระตุ้นกลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำเพาะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว 2 ชนิด คือ เซลล์บี (B cell) และ เซลล์ที (T cell)  เซลล์บีและเซลล์ทีจะจับกับแอนติเจนอย่างจำเพาะ และจะกระตุ้นให้เซลล์บีพัฒนาไปเป็นเซลล์พลาสมา (plasma cell) ทำหน้าที่สร้างและหลั่งแอนติบอดี (antibody) สำหรับเซลล์ทีที่ถูกกระตุ้นมีหลายชนิดและทำหน้าที่ต่างกัน เช่น

- เซลล์ทีที่ทำลายเซลล์แปลกปลอมหรือเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส (cytotoxic T cell)

- เซลล์ทีผู้ช่วย (helper T cell) ซึ่งกระตุ้นการทำงานและการแบ่งเซลล์ของเซลล์เม็ดเลือดขาว

ในการตอบสนองดังกล่าวเซลล์บีและเซลล์ทีบางส่วนจะพัฒนาไปเป็นเซลล์ความจำ (memory Cell) ที่มีความจำเพาะต่อแอนติเจนนั้น ทำให้เมื่อได้รับแอนติเจนชนิดเดิมอีกในครั้งต่อไป จะตอบสนองและสร้างแอนติบอดีได้อย่างรวดเร็ว

 

 

หลักปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค COVID-19

Covid

สำหรับโรค COVID-19 เกิดจากโคโรนาไวรัส สามารถติดต่อกันได้ง่ายผ่านทางสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ที่มีไวรัสอยู่ในร่างกาย ดังนั้นการเข้าใกล้ผู้ที่ไอหรือจาม อาจหายใจเอาไวรัสเข้าไป รวมทั้งการสัมผัสสิ่งของร่วมกันกับผู้ที่มีไวรัสปนเปื้อนอยู่

 

ติดตามสาระดี ๆ ได้ที่ Facebook : IPST Thailand

 

อ้างอิง 

Covid 7 copy

- หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (พ.ศ. 2561)

- หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1 (พ.ศ. 2562)

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ระบบภูมิคุ้มกัน, แอนติเจน, แอนติบอดี, โควิด-19,IPST Thailand
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
IPST Thailand
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11611 ระบบภูมิคุ้มกัน /article-biology/item/11611-2020-06-05-09-38-52
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    โควิด-19 แอนติบอดี แอนติเจน IPST Thailand ระบบภูมิคุ้มกัน
คุณอาจจะสนใจ
กฎของคูลอมบ์ (Coulomb’s Law)
กฎของคูลอมบ์ (Coulomb’s Law)
Hits ฮิต (32436)
ให้คะแนน
กฎของคูลอมบ์ (Coulomb’s Law) ขนาดของแรงระหว่างประจุไฟฟ้าทั้งสอง มีค่าแปรผันตามขนาดประจุแต่ละตัว และ ...
วันโอโซนโลก
วันโอโซนโลก
Hits ฮิต (2691)
ให้คะแนน
โอโซน (O3) แก๊สสีฟ้าจาง ๆ มีกลิ่นฉุน ว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยา พบมากในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ (st ...
ซามูเอล มอร์ส ผู้พัฒนาโทรเลขไฟฟ้าและรหัสมอร์ส
ซามูเอล มอร์ส ผู้พัฒนาโทรเลขไฟฟ้าและรหัส...
Hits ฮิต (3929)
ให้คะแนน
รหัสมอร์ส (Morse code) เป็นการส่งข้อความด้วยสัญญาณ สั้น-ยาว ในรูปของสัญลักษณ์หรือเสียง แทนตัวอักษรต ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)