logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ธรรมชาติและการพัฒนาทางฟิสิกส์

โดย :
กัญญา เกื้อกูล
เมื่อ :
วันจันทร์, 02 พฤศจิกายน 2563
Hits
8539
  • 1. Introduction
  • 2. ปริมาณและหน่วยการวัดทางฟิสิกส์
  • 3. การบันทึกผลการคำนวณและเลขนัยสำคัญ
  • - All pages -

การวัด

         การวัดคือ กระบวนการเปรียบเทียบปริมาณที่ต้องการวัด กับปริมาณที่เป็นมาตรฐานโดยอาศัยเครื่องวัดที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น เมื่อเราพูดว่าวัตถุก้อนหนึ่งมีน้ำหนัก 5 นิวตัน หมายความว่าวัตถุก้อนนั้นมีน้ำหนักเป็น 5 เท่าของน้ำหนัก 1 นิวตันมาตรฐาน

         เครื่องมือวัด คือ อุปกรณ์ที่ใช้เป็นตัวกลางในการเปรียบเทียบค่าของปริมาณที่ต้องการวัดกับค่ามาตรฐาน

เครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์

         การวัดเป็นสิ่งที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน  ไม่ว่าเราจะพูดถึงปริมาณใดที่มีอยู่รอบตัวเราเมื่อเราบอกค่าหรือจำนวนของปริมาณนั้นแสดงว่าเรามีการวัดค่าของสิ่งนั้น ดังนั้นชีวิตประจำของเราทุกคนจะต้องเกี่ยวข้องกับการวัดอยู่เสมอ เช่น การวัดความกว้าง ความยาวหรือความสูงของวัตถุ การวัดเวลา การวัดระดับความร้อนอุณหภูมิของอากาศ

         สิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการวัดคือเครื่องมือวัด และวิธีการวัด  เครื่องมือวัด ต้องมีการกำหนดมาตรฐานเพื่อให้ทุกคนได้ใช้เข้าใจและรับรู้ตรงกัน ดังนั้นได้มีการกำหนดมาตรการวัดขึ้นเพื่อยอมรับใช้ให้เหมือนกันและตรงกัน  งานทางด้านฟิสิกส์เครื่องมือวัดเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด เพราะการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ ทางฟิสิกส์จะต้องทำความรู้จักและความเข้าใจกับเครื่องมือวัดสำหรับเรื่องนั้น ๆ

         การรู้จักวิธีการวัด การรู้จักเลือกเครื่องวัดที่เหมาะสมกับผลดีคือ เกิดความปลอดภัย ประหยัดเวลาได้ผลละเอียดถูกต้องตามข้อเท็จจริง

การแสดงผลของการวัด

         เครื่องมือวัดจะต้องมีสเกลหรือตัวเลขเพื่อไว้อ่านและบันทึกผลการวัดเพื่อนำไปวิเคราะห์ใช้งานต่อไป เครื่องมือวัดมี 2 แบบ คือแบบขีดสเกล และแบบตัวเลข เครื่องมืองัดที่แสดงผลด้วยขีดสเกล เช่น ไม้เมตร  เครื่องชั่งน้ำหนัก เทอร์โมมิเตอร์แบบของเหลว เครื่องมือวัดปริมาณทางไฟฟ้า เช่น แอมมิเตอร์  โวลต์มิเตอร์  ผู้วัดจะต้องมีความชำนาญจึงจะอ่านค่าได้ รวดเร็วและถูกต้อง

         เครื่องมือวัดที่แสดงผลด้วยตัวเลขปัจจุบัน สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันแสดงผลด้วยตัวเลขมีมากโดยเครื่องมือวัดที่แสดงผลด้วยตัวเลขเข้ามาแทนที่เครื่องมือวัดที่แสดงผลด้วยขีดสเกล ทั้งนี้เป็นเพราะราคาถูกกว่า วัดค่าได้สะดวกรวดเร็วกว่าเครื่องมือวัดที่แสดงผลด้วยตัวเลข เช่น นาฬิกาข้อมือ เทอร์โมมิเตอร์เครื่องชั่งน้ำหนักและมวล

 

10554

ภาพการวัด
ที่มา  https://pixabay.com , Robert-Owen-Wahl

 การอ่านจากเครื่องมือวัด

         ค่าที่อ่านได้จากเครื่องมือวัดจะเป็นแบบแสดงผลด้วยขีดสเกลหรือแสดงผลด้วยตัวเลข ค่าที่อ่านได้จะเห็นตัวเลขพร้อมด้วยหน่วยของการวัดปริมาณนั้น ๆ เช่น หน่วยของความยาววัดเป็นเซนตเมตร หน่วยของเวลาวัดเป็นวินาที หน่วยของมวลวัดหน่วยเป็นกิโลกรัมแต่อย่างไรก็ตามหน่วยเหล่านี้ยังมีหน่วยย่อยและหน่วยโดยเฉพาะของแต่ละระบบมาตราการวัด การวัดหรือการอ่านค่าของเครื่องวัดที่แสดงผลด้วยขีดสเกลผู้วัดต้องมองในแนวตั้งฉากกับระนาบสเกล โดยให้ระดับสายตาอยู่ในแนวเดียวกับระดับขีดสเกลที่จะอ่าน เช่น การอ่านเวลาจากนาฬิกาที่แสดงผลด้วยขีดสเกล ถ้าระนาบของหน้าปัดนาฬิกาอยู่ในแนวดิ่งระดับสายตาของผู้วัดต้องอยู่ในแนวระดับตั้งฉากกับระนาบของหน้าปัด และอยู่ในแนวเดียวกับระดับขีดสเกลที่จะอ่าน ถ้าเครื่องวัดมีสเกลที่ไม่ละเอียดพอที่อ่านได้จากเครื่องมือวัดที่แสดงผลด้วยขีดสเกลจะประกอบด้วยส่วนที่อ่านได้โดยตรงกับส่วนที่ประมาณด้วยสายตา เช่น การวัดความยาวของเส้นยาวของเส้นตรงเส้นหนึ่ง ด้วยไม้เมตรที่มีสเกลละเอียดเป็นเซนติเมตรได้ 12.54  เซนติเมตร

การแปลความหมายและข้อมูล

         การสังเกต และการวัด เป็นแนวทางหนึ่งของการได้มาซึ่งหลักการและความรู้ทางฟิสิกส์ โดยเริ่มต้นอาศัยการสังเกตและการวัดแล้วบันทึกข้อมูลลงในตารางหรือเขียนกราฟจะช่วยในการวิเคราะห์และแปลความหมายได้ง่ายขึ้น

การบันทึกข้อมูลลงในตาราง

         เมื่อมีการสังเกตหรือการวัดหลาย ๆ ครั้งจำเป็นต้องบันทึกข้อมูลที่สังเกตได้ลงในตารางเพราะจะทำให้อ่านค่าต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

การนำเสนอข้อมูล

         ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการวัดหลาย ๆ ครั้ง ถ้านำมาเขียนแผนภูมิทางสถิติจะช่วยทำให้อ่านและเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นแผนภูมิที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลมีหลายแบบ เช่น แผนภูมิแท่ง แผนภูมิวงกลม แผนภูมิเส้นตรง

การเขียนกราฟระบบพิกัดฉาก

         การนำเสนอข้อมูลของงานทางวิทยาศาสตร์เพื่อนำไปวิเคราะห์ และสรุปผลมีได้หลายวิธี นอกจากจะแสดงในรูปตารางหรือแผนภูมิชนิดต่าง ๆ แล้ว การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองปริมาณที่เกี่ยวข้อง หรือสัมพันธ์แปรค่าต่อกันได้อีกวิธีหนึ่ง คือ การนำปริมาณทั้งสองที่แปรค่าต่อกันมาเขียนกราฟในระบบ               พิกัดฉาก ซึ่งเป็นกราฟที่เกิดจากแกนสองแกนตัดตั้งฉากกันโดยมีแกนหนึ่งเป็นแกนนอนอีกแกนหนึ่งเป็นแกนยืนตั้งฉากต่อกันโดยให้ x เป็นแกนนอนและ y เป็นแกนยืน โดยให้ปริมาณบนแกน x เป็นค่าของตัวแปรที่สามารถกำหนดไว้ได้ล่วงหน้า ปริมาณบนแกน x โดยทั่วไปจึงเป็นตัวแปรอิสระปริมาณที่เป็นตัวแปรอิสระมากมีเวลา ดังนั้น การเขียนกราฟปริมาณอื่นใดที่สัมพันธ์กับเวลาต้องให้ตัวแปรอิสระคือเวลาอยู่บนแกน x ทุกครั้ง ค่าของตัวแปรที่สัมพันธ์และแปรตามอิสระคือตัวแปรบนแกน y จึงเรียกว่าตัวแปรตามเพราะค่าเปลี่ยนแปลงตามค่าของตัวแปรอิสระบนแกน x

         กราฟพิกัดฉากนอกจากประกอบด้วยแกนนอน (แกน x) แกนยืน (แกน y) เส้นกราฟและจุดตัดของแกน x  และแกน y โดยปริมาณบนแกน x ที่อยู่ทางขวามือของจดตัดมีค่าเป็นบวกปริมาณที่อยู่ทางซ้ายมือของจุดตัดมีค่าเป็นลบและในแกน y  ปริมาณที่อยู่บนจุดตัดมีค่าเป็นบวก ปริมาณที่อยู่ล่างจุดตัดมีค่าเป็นลบ

แหล่งที่มา

ชูเชิด   ฟูเฟื่อง  และคณะ. (2539). ฟิสิกส์ ม.4 เล่ม 1-2. กรุงเทพฯ:พัฒนาศึกษา.

พงษ์ศักดิ์  ชินนาบุญ. (2554). ฟิสิกส์  เล่ม 1. กรุงเทพฯ:วิทยพัฒน์.

ตุลยวัด  แสงวิเชียรกิจ และคณะ. (มมป).  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฟิสิกส์. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562,                             

จาก http://119.46.166.126/self_all/selfaccess10/m4/physics4_1_1/lesson1/index1.php

 


Return to contents

          ปริมาณทางฟิสิกส์ หมายถึง สิ่งที่เราสามารถวัดค่า บอกค่าได้แน่นอน และใช้แสดงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ได้ซึ่งความหมายในทางฟิสิกส์อาจจะแตกต่างไปจากความหมายที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันปริมาณในทางฟิสิกส์แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ  ปริมาณหลักมูลหรือปริมาณมูลฐาน (Fundamental Quantities)  และปริมาณอนุพัทธ์ (Derived  Quantities)

10554 2 2

ภาพที่ 1 ตลับเมตร เครื่องมือที่ใช้ในการวัด
ที่มา: https://pixabay.com , OpenClipart-Vectors

  1. ปริมาณหลักมูลหรือปริมาณมูลฐาน หมายถึง ปริมาณเบื้องต้นที่จำเป็นต่อการอธิบายปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ ปริมาณหลักมูลหรือปริมาณมูลฐาน มีทั้งหมด 7 ปริมาณ คือ

  2. ความยาว (Length)                       

  3. มวลสาร (Mass)

  4. เวลา (Time)                             

  5. กระแสไฟฟ้า (Electric Current)

  6. อุณหภูมิทางเทอร์โมไดนามิกส์ (Thermodynamic Temperature)

  7. ความเข้มของการส่องสว่าง (Luminous intensity)

  8. ปริมาณของสสาร (Amount of Substance)

  9. ปริมาณอนุพัทธ์ หมายถึง ปริมาณที่เกิดจากปริมาณหลักมูลหลาย ๆ ปริมาณมาประกอบกัน ทั้งนี้แล้วแต่ความสัมพันธ์ตามความหมายของปริมาณนั้น ๆ เช่น แรงเป็นปริมาณอนุพัทธ์ที่เกิดจากความสัมพันธ์ของปริมาณหลักมูล แต่ มวล ความยาว และเวลา หรือความเร็วเป็นปริมาณอนุพันธ์ที่เกิดจากความสัมพัทธ์ของปริมาณหลักมูล คือ ความยาว และเวลา ปริมาณอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากปริมาณหลักมูลทั้ง 7 ปริมาณ ถือว่าเป็น ปริมาณอนุพันธ์ทั้งสิ้น

ตัวอย่างที่ 1  ข้อใดเป็นปริมาณหลักมูล

  1. ความยาว 2. เวลา             3. มวล           4. ถูกทั้งข้อ 1  2  และ 3

เฉลย ข้อ  4 เพราะ ความยาว เวลา และมวลเป็นปริมาณหลักมูลหรือปริมาณมูลฐาน

ตัวอย่างที่ 2 เครื่องมือที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้าคือข้อใด

  1. โวลต์มิเตอร์ 2. วัตต์มิเตอร์      3. แอมมิเตอร์      4. โอห์มมิเตอร์

เฉลย  ข้อ 3 เพราะแอมมิเตอร์คือมือวัดปริมาณกระแสไฟฟ้า

ตัวอย่างที่ 3 ปริมาณใดที่มีหน่วยเป็นหน่วยอนุพัทธ์

  1. ความถี่ 2. แรง           3. พลังงาน        4. ถูกทุกข้อ

เฉลย ข้อ 4 เพราะทุกปริมาณเป็นปริมาณอนุพัทธ์

        หน่วย (Unit) แต่เดิมหน่วยที่ใช้ในการวัดปริมาณต่าง ๆ ใช้อยู่ด้วยกันหลายระบบที่ใช้กันแพร่หลาย คือ ระบบอังกฤษและเมตริกของฝรั่งเศส แต่เนื่องจากระบบอังกฤษไม่สะดวกมีความยุ่งยากในการตัดทอนหรือการกระจายหน่วย ปัจจุบันจึงนิยมใช้หน่วยตามข้อเสนอขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยหน่วยมาตรฐานเรียกว่า ระบบหน่วยระหว่างชาติ (International System of Units) หรือเรียกโดยย่อว่า หน่วยในระบบ SI

 หน่วยมาตรฐานในระบบ SI ที่ใช้วัดปริมาณต่าง ๆ

  1. ความยาว    หน่วยมาตรฐานที่ใช้  เมตร  (metre)  สัญลักษณ์ m
  2. มวล   หน่วยมาตรฐานที่ใช้  กิโลกรัม (kilogram)  สัญลักษณ์ Km
  3. เวลา         หน่วยมาตรฐานที่ใช้   วินาที  second)  สัญลักษณ์ S
  4. กระแสไฟฟ้า หน่วยมาตรฐานที่ใช้  แอมแปร์(Ampere)  สัญลักษณ์ A
  5. อุณหภูมิ  หน่วยมาตรฐานที่ใช้   เคลวิน (Kelvin)  สัญลักษณ์ K
  6. ความเข้มของการส่องสว่าง  หน่วยมาตรฐานที่ใช้  แคนเดลา (Candela)  สัญลักษณ์  cd
  7. ปริมาณของสสาร  หน่วยมาตรฐานที่ใช้  โมล   (mole)  สัญลักษณ์  mol

หน่วยมาตรฐานในระบบ SI ของปริมาณอนุพัทธ์ที่ควรทราบ

  1. พื้นที่         หน่วยมาตรฐานที่ใช้  ตารางเมตร
  2. ปริมาตร        หน่วยมาตรฐานที่ใช้  ลูกบาศก์เมตร
  3. ความเร็ว       หน่วยมาตรฐานที่ใช้  เมตรต่อวินาที
  4. อัตราเร็ว       หน่วยมาตรฐานที่ใช้  เมตรต่อวินาที
  5. ความเร่ง หน่วยมาตรฐานที่ใช้  เมตรต่อวินาที2
  6. แรง            หน่วยมาตรฐานที่ใช้  นิวตัน
  7. โมเมนต์        หน่วยมาตรฐานที่ใช้  นิวตัน เมตร
  8. โมเมนต์ตัม     หน่วยมาตรฐานที่ใช้  กิโลกรัม.เมตรต่อวินาที
  9. งาน หน่วยมาตรฐานที่ใช้  จูล
  10. กำลัง หน่วยมาตรฐานที่ใช้  วัตต์
  11. ประจุไฟฟ้า หน่วยมาตรฐานที่ใช้  คูลอมบ์
  12. ความหนาแน่น หน่วยมาตรฐานที่ใช้ กิโลกรัมต่อลกบาศก์เมตร
  13. ความดัน     หน่วยมาตรฐานที่ใช้  นิวตันต่อตารางเมตร

ตารางที่ 1 มาตราการเทียบหน่วยในระบบ SI

10554 3

หลักการเปลี่ยนหน่วยระบบ SI

  1. เปลี่ยนจากหน่วยใหญ่เป็นหน่วยเล็กคูณด้วย 10x (10 กำลังเต็มบวก)
  2. เปลี่ยนจากหน่วยเล็กเป็นหน่วยใหญ่คูณด้วย 10-x (10 กำลังเป็นลบ)
  3. x คือระยะห่างของเลขยกกำลังของหน่วยนั้น ๆ เช่น ถ้าต้องการเปลี่ยนหน่วยระหว่างหน่วย

              กิโล กับ ไมโคร x =6-(-3) = 9

(กำลังของหน่วยใหญ่ลบด้วยกำลังของหน่วยเล็ก) ดังนั้นถ้าจะเปลี่ยนหน่วยกิโลให้เป็นไมโคร (ใหญ่ไปเป็นเล็ก) คูณด้วย 109 ถ้าจะเปลี่ยนหน่วยไมโครให้เป็นหน่วยกิโล (เล็กไปเป็นใหญ่) คูณด้วย 10-9

ตัวอย่างที่ 1  จงเปลี่ยน 1.5 กิโลเมตร ให้เป็น ไมโครเมตร

         750 นาโนเมตร ให้เป็น เมกะเมตร

         25 เซนติเมตร ให้เป็น กิโลเมตร

หลักการคิด

         เปลี่ยน 1.5 กิโลเมตร ให้เป็น ไมโครเมตร เป็นการเปลี่ยนจากหน่วยใหญ่ไปหน่วยเล็ก คูณด้วย 10x

                         X = 3 – (-6) = 9

 ดังนั้น 1.5 กิโลเมตร เท่ากับ 1.5 x 109 นาโนเมตร

         เปลี่ยน 750 นาโนเมตร ให้เป็น เมกะเมตร เป็นการเปลี่ยนจากหน่วยเล็กไปหน่วยใหญ่ คูณด้วย 10-x

                         X = 6- (-9) = 15

          (ค่าระยะห่าง x  เท่ากับกำลังหน่วยใหญ่ลบด้วยกำลังหน่วยเล็กเสมอ)

ดังนั้น 750 นาโนเมตร เท่ากับ 750 x 10-15 เมกะเมตร

         เปลี่ยน 25 เซนติเมตร ให้เป็น กิโลเมตร เป็นการเปลี่ยนจากหน่วยเล็กไปหน่วยใหญ่ คูณด้วย 10-x

X = 3 – (-2) = 5

ดังนั้น 25 เซนติเมตร เท่ากับ 25 x 105 กิโลเมตร

ตัวอย่างที่ 2 จงเปลี่ยนความเร็วแสง 3 x 1011 ไมโครเมตรต่อมิลลิวินาที ให้เป็น เมตรต่อวินาที

วิธีทำ  3 x 1011 ไมโครเมตร/มิลลิวินาที  = (3 x 1011 x 10-6)/10-3  เมตรต่อวินาที

                                                 = 3 x 108 เมตรต่อวินาที

ตัวอย่างที่ 3 จงเปลี่ยน 2.5 ไมโครวัตต์ต่อตารางกิโลเมตร ให้เป็น เมกะวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร

วิธีทำ  2.5 ไมโครวัตต์/ตารางกิโลเมตร = (2.5 x 1012)/(105 x 105) เมกะวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร

                                               = 2.5 x 102 เมกะวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร

ตัวอย่างที่ 4 จงเปลี่ยนค่าความหนาแน่น 500 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ให้เป็นกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

วิธีทำ  500  กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร  = (500 x 103)/(102 x 102 x 102) กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

                                                = 0.5 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

แหล่งที่มา

จรัญ  บุระตะ. (2555). ฟิสิกส์ เล่ม 1 ม. 4-6. กรุงเทพฯ:นิพนธ์.

พงษ์ศักดิ์  ชินนาบุญ. (2554). ฟิสิกส์  เล่ม 1. กรุงเทพฯ:วิทยพัฒน์.

Panuwat  songpray  . (มมป). เครื่องมือวัด . สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562,                             

จาก https://sites.google.com/site/measuringtoolssci/tap-rule

 


Return to contents

           ในการทดลองครั้งหนึ่งวัดมวลของวัตถุได้ 5.3 กิโลกรัม และวัดปริมาตรได้ 1.67  ลูกบาศก์เมตร  เมื่อต้องการทราบความหนาแน่นของวัตถุจะคำนวณได้ดังนี้

                   ความหนาแน่น = มวล/ปริมาตร

                                    = 5.3 กิโลกรัม /1.67 ลูกบาศก์เมตร

                                    = 3.173652695 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

10554 4

ภาพที่ 1 การอ่านค่าเลข
ที่มา: https://pixabay.com , qimono

         จะเห็นได้ว่าผลหารที่ได้จากการคำนวณด้วยเครื่องคิดเลข ค่าความคลาดเคลื่อนในจำนวนวัดของมวลและปริมาตรของวัตถุได้ถูกส่งต่อและขยายตัวผ่านการคำนวณทางคณิตศาสตร์ไปยังผลการคำนวณความหนาแน่น คำถามที่สำคัญคือ ควรบันทึกผลการคำนวณความหนาแน่นด้วยตัวเลขหรือจำนวนที่มีทศนิยมกี่ตำแหน่ง

         ความคลาดเคลื่อนของผลการคำนวณจากกระบวนการทางคณิตศาสตร์สามารถหาได้ด้วยวิธีทางสถิติ แต่วิธีที่ง่ายกว่าและใช้กันอย่างแพร่หลายในการประมาณความคลาดเคลื่อนนี้ คือ การพิจารณาจากเลขนัยสำคัญ (significant figures หรือย่อเป็น sf)  ซึ่งต่อไปนี้จะกล่าวถึงเลขนัยสำคัญก่อนแล้วจึงจะใช้เลขนัยสำคัญในการพิจารณาผลการคำนวณ

         เลขนัยสำคัญ คือ ตัวเลขที่ได้จากการวัดหรือจำนวนวัดนั่นเอง เช่น การวัดความยาวแท่งวัตถุด้วยไม้บรรทัดที่มีความละเอียดแตกต่างกัน โดยสามารถวัดได้ค่าดังนี้ 85 เซนติเมตร, 85.2  เซนติเมตร,  และ 85.23 เซนติเมตร ตามลำดับ  ซึ่งจะเห็นได้ว่ายิ่งตัวเลขในเลขนัยสำคัญมีจำนวนมากขึ้น ผลการวัดย่อมมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้นด้วย ดังนั้น สิ่งแรกที่ต้องการทราบเมื่อพิจารณาเลขนัยสำคัญคือจำนวนตัวเลขที่มีนัยสำคัญ ในส่วนต่อไปนี้เป็นเกณฑ์ในการนับจำนวนตัวเลขที่มีนัยสำคัญ

  1. เลข 1 ถึง 9 เป็นตัวเลขที่อ่านได้จากอุปกรณ์เครื่องมือวัด ดังนั้น ให้นับเป็นเลขนัยสำคัญทุกตัว เช่น 2345  มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว คือ เลข 2, 3, 4 และ 5

       13.3   มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว คือ เลข 1, 3, 3

  1. เลข 0 มีเกณฑ์ในการนับเป็นเลขนัยสำคัญ คือ

              2.1 เลข 0 ที่อยู่ด้านหน้าเลขอื่น ๆ เช่น 0.00154 ไม่นับเป็นเลขที่มีนัยสำคัญ เนื่องจากเลขศูนย์เหล่านี้เป็นเพียงการกำหนดตำแหน่งของทศนิยม ไม่เกี่ยวข้องใด ๆกับความถูกต้อง

              ของ จำนวนวัด ดังนั้น 0.00154 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว คือ เลข 1, 5  และ 4

              2.2 เลข 0 ที่อยู่ระหว่างตัวเลขอื่น ๆ ให้นับเป็นเลขที่มีนัยสำคัญทุกตัว เนื่องจากเป็นตัวเลขที่อ่านได้จากอุปกรณ์วัด เช่น   1044  มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว คือ เลข 1, 0, 4 และ 4

              2.3  เลข 0  ที่อยู่ด้านหลังเลขอื่น ๆ และอยู่หลังจุดทศนิยมให้นับเป็นเลขที่มีนัยสำคัญทุกตัว เนื่องจากเป็นตัวเลขที่อ่านได้จากอุปกรณ์วัด เช่น 0.4500  มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว คือ

              เลข 4,5,0 และ 0 โดยเลข 0 ตัวแรกไม่ใช่เลขนัยสำคัญ 0.000320 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว คือ เลข 3, 2  และ 0 โดยเลข 0 จำนวนสามตัวที่อยู่ด้านหน้าไม่ใช่เลขนัยสำคัญ  150.0

              มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว คือ เลข 1, 5, 0 และ 0

  1. เลข 0 ที่อยู่หลังเลขอื่น ๆ ในรูปของจำนวนเต็ม เช่น 1500  อาจจะเป็นเลขที่มีนัยสำคัญหรือไม่มีก็ได้ สาเหตุเนื่องจากในกรณีนี้เลข 0 จำนวน 2 ตัว อาจจะเป็นตัวเลขที่อ่านได้จากปกรณ์วัด หรือเป็นเพียงตัวเลขที่เติมเข้าไปเพื่อให้จำนวนวัดมีหลัก 10 กับหลักหน่วยครบเท่านั้น ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความคลุมเครือ จึงนิยมเขียนในรูปของ A x 10n โดย 1 ≤ A< 10  และ n เป็นจำนวนเต็ม เรียกรูปแบบการเขียนตัวเลขเช่นนี้ว่าสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (scientific notation) ยกตัวอย่างเช่น หากมีเพียงเลข 1 กับ 5  เท่านั้นที่เป็นเลขนัยสำคัญตัวเลข 1500 ควรเขียนเป็น 1.5 x 103 ซึ่งแสดงเลขนัยสำคัญเพียง 2 ตัว หากเลข 0 ตัวแรกเป็นเลขที่มีนัยสำคัญด้วย ซึ่งหมายถึง 1500  มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว จะเขียนได้เป็น 1.50 x 103 และหากเลข 0  ทั้ง 2 ตัวเป็นเลขที่มีนัยสำคัญ จะเขียนได้เป็น 1.500 x 104 ซึ่งมีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว ข้อสังเกตคือเลข 1 กับ 5 เป็นเลขที่มีนัยสำคัญอย่างแน่นอน และไม่ต้องพิจารณาเลขนัยสำคัญจากเลขฐาน 10  ใน 10n ดังนั้นเราสามารถสรุปได้ดังนี้  ตัวเลขทุกตัวยกเว้น 0 เป็นเลขนัยสำคัญอย่างแน่นอน ส่วนเลข 0 ต้องพิจารณาตามเกณฑ์ที่ผ่านมา

การคูณและการหารเลขนัยสำคัญ

        การคูณจำนวน 12.3 x 3.1416  ด้วยเครื่องคิดเลขซึ่งเป็นการคำนวณทางคณิตศาสตร์ จะได้ผลการคำนวณเท่ากับ 38.6418  หารคูณเช่นนี้มีการรวมตัวเลขที่ไม่มีนัยสำคัญไว้ในผลการคำนวณด้วย ซึ่งผลการคำนวณจากการคูณจะมีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว เท่ากับจำนวนเลขนัยสำคัญของ 12.3 ซึ่งเป็นจำนวนเลขนัยสำคัญที่น้อยที่สุดของจำนวนที่นำมาคูณกัน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า

          ผลลัพธ์ที่ได้จากการคูณและการหารจะเท่ากับจำนวนเลขนัยสำคัญที่น้อยที่สุด

การบวกและการลบเลขนัยสำคัญ

      การบวกจำนวน 3.17:785 + 2.32 + 4.8  ด้วยเครื่องคิดเลขจะได้ผลการคำนวณเท่ากับ10.2985  ซึ่งเป็นการบวกที่มีการรวมตัวเลขที่ไม่มีเลขนัยสำคัญไว้ในผลการคำนวณ โดยผลการคำนวณจากการบวกจะมีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว เท่ากับจำนวนเลขนัยสำคัญของ 10.3 ซึ่งเป็นผลการคำนวณที่มีจำนวนทศนิยม 1 ตำแหน่งเท่ากับจำนวนทศนิยมใน 4.8  ซึ่งเป็นจำนวนที่มีตำแหน่งทศนิยมน้อยที่สุดในจำนวนที่นำมาบวกกัน ดังนั้นเงื่อนไขในการพิจารณาผลการคำนวณจากการบวกและการลบจึงอยู่ที่จำนวนตำแหน่งทศนิยม ไม่ใช่จำนวนเลขนัยสำคัญ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า

       ผลลัพธ์ที่ได้จะมีจำนวนตัวเลขหลังจุดทศนิยมเท่ากับจำนวนตัวเลขหลังจุดทศนิยมที่น้อยที่สุดของปริมาณที่นำมาบวก ลบ กัน

แหล่งที่มา

คณาจารย์แม็ค. (2551). ฟิสิกส์ ม.4. กรุงเทพฯ:แม็ค.

พงษ์ศักดิ์  ชินนาบุญ. (2554). ฟิสิกส์  เล่ม 1. กรุงเทพฯ:วิทยพัฒน์.

มณิศา  ชื่นจิต. (2558).  เลขนัยสำคัญ.  สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562,จาก http://thn238299physics.blogspot.com/2015/08/16.html

 


Return to contents
Previous Page 1 / 3 Next Page
หัวเรื่อง และคำสำคัญ
การวัด, การแปลความหมายข้อมูล,ปริมาณทางฟิสิกส์,หน่วยการวัดทางฟิสิกส์,การบันทึกผล,การคำนวณเลขนัยสำคัญ, เลขนัยสำคัญ
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 15 สิงหาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นางกัญญา เกื้อกูล
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10554 ธรรมชาติและการพัฒนาทางฟิสิกส์ /lesson-physics/item/10554-2019-08-28-02-06-08
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)