พันธะเคมีกับพื้นฐานทางเคมีในสิ่งมีชีวิต
1. พันธะไอออนิก (Ionic bond)
รูปที่ 1. พันธะไอออนิค (ionic bond) เกิดจากการให้เเละรับอิเลกตรอนระหว่างตัวรีดิวซ์เเละตัวออกซิไดซ์ เช่น NaCl เกิดจากอะตอมของ Na ให้electron แก่ Cl กลายเป็น Na+ (reducing agent) ขณะที่ Cl กลายเป็น Cl- (oxidizing agent) ส่งผลให้ electron วงนอกของอะตอม Na และ Cl ครบ 8 กลายเป็นสารประกอบ NaCl
2. พันธะโควาเลนต์ (Covalenะ bond)
รูปที่ 2. Covalent bond เป็นพันธะที่เกิดจากการใช้ electron ร่วมกันของ 2 อะตอม เช่น ก๊าซไฮโดรเจน (H2) ออกซิเจน (O2) น้ำ (H2O) และมีเทน (CH4) เป็นต้น โดยการเเชร์อิเลกตรอนรวมกัน 1 คู่จะเเสดงแขนพันธะ 1 เเขน
พันธะโควาเลนต์เเบ่งออกได้เป็น 2 แบบ (ตามรูปที่ 3)
รูปที่ 3. เเสดงการมีขั้วกับไม่มีขัวของพันธะโควาเลนต์
3. พันธะไฮโดรเจน (HYDROGEN BOND)
รูปที่ 4. แสดงพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลของน้ำ เเต่หากเป็นไฮโดรเจนที่จับกับออกซิเจนภายในดมเลกุลจะเป็นพันธะโควาเลนต์
4. แรงวัลเดอร์วาลส์ (Van der Waals interaction) เป็นแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลหรือภายในโมเลกุลเดียวกัน มีผลทำให้เกิดรูปร่างของโมเลกุล
รูปที่ 5. แสดง Van der Waals interaction (ที่มา http://www.zmescience.com/science/physics/direct-measurement-of-van-der-waals-force-made-for-the-first-time/)
5. แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่ไม่ชอบน้ำ (hydrophobic interaction) เช่น หยดน้ำมันเล็กๆลงในน้ำ หยดน้ำมันเหล่านี้ จะรวมกันเป็นหยดใหญ่เพื่อสัมผัสกับน้ำน้อยที่สุด แรงดึงดูดระหว่างหยดนี้คือ hydrophobic interaction ระหว่างโมเลกุล
รูปที่ 6. เเสดงการรวมตัวของ hydrophobic molecule ที่เกิดจากเเรง hydrophobic interaction
(ที่มาhttp://chemwiki.ucdavis.edu/Physical_Chemistry/Physical_Properties_of_Matter/Atomic_and_Molecular_Properties/Intermolecular_Forces/Hydrophobic_interactions)
รูปที่ 7. เเสดงเเร่ธาตุต่างๆที่สำคัญของร่างกาย สีม่วงสำคัญเเละจำเป็นต่อร่างกาย สีเขียวจำเป็น
น้ำเป็นสารอนินทรีย์ที่สำคัญของร่างกาย (Inorganic molecule)
ภาพที่ 1 เเสดงองค์ประกอบขอน้ำในอวัยวะต่างๆที่เเตกต่างกันร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำเป้นองค์ประกอบหลัก อวัยวะเเต่ละส่วนมีองค์ประกอบของน้ำเเตกต่างกัน
น้ำ H2O • เซลล์มีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ภายใน 70 – 90% • ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส • 1 โมเลกุลประกอบด้วย H 2 อะตอม และ O 1 อะตอม
รูปที่ 2 เเสดงพันธะโควาเลนต์ซึ่งเป็นพันธะภายในโมเลกุลของน้ำที่เเข็งเเรงกว่าพันธะไฮโดรเจนซึ่งเป็นพันธะระหว่างโมเลกุล• พันธะเชื่อมต่อกันภายในโมเลกุลคือ Covalent bonds H และ O อะตอมเรียงทำมุม 105 องศา • แต่ละโมเลกุลของน้ำเชื่อมกันด้วย Hydrogen bonds ทำให้โครงสร้างเรียงตัวต่อกันเป็นรูปจัตุรมุข
รูปที่ 3 เมื่อเพิ่มความร้อนให้กับน้ำแข็ง H-bonds ที่เชื่อมระหว่างโมเลกุลจะถูกทำลาย น้ำในสถานะของเหลวจึงใช้เนื้อที่น้อยกว่าน้ำแข็ง คือสาเหตุให้น้ำแข็งจึงมีความหนาแน่นต่ำกว่าน้ำ
ความสำคัญของน้ำ
รูปที่ 4 เเสดงการรวมตัวของน้ำเเละเกลือ NaCl1. มีสภาพเป็นขั้วจึงเป็นตัวทำละลายที่ดี เช่น เกลือ NaCl ละลายในน้ำได้ เนื่องจากโมเลกุลของน้ำมี O เป็นประจุลบ และ H ประจุบวก ดังนั้น O- จึงจับกับ Na+ ขณะที่ H+ จับกับ Cl- สารที่ชอบน้ำ เรียกว่า hydrophilic ส่วนสารที่ไม่ชอบน้ำ เรียกว่า hydrophobic
รูปที่ 5 เเสดงเเรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของน้ำกับสารต่างๆ
2. เกิด hydrogen bond ระหว่างโมเลกุลของน้ำทำให้น้ำเคลื่อนที่จากรากไปยังส่วนต่างๆ ของพืชได้cohesion = แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลชนิดเดียวกันadhesion = แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่ต่างกัน3. มีความร้อนจำเพาะสูง ทำให้ metabolism ภายในเซลล์ยังคงปกติเนื่องจากอุณหภูมิภายในเซลล์สิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงไม่มาก4. ความร้อนแฝงกลายเป็นไอสูง เมื่อร่างกายสูญเสียเหงื่อ หรือการที่พืชคายน้ำ จึงช่วยลดความร้อนภายในสิ่งมีชีวิตได้
แร่ธาตุคืออะไร
แร่หรือสารประกอบอนินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของอาหารส่วนที่เหลือเป็นเถ้าหลังจากการเผาไหม้ สารอินทรีย์ทั้งหมดในเนื้อเยื่อพืชและสัตว์
รูปที่ 1 เเสดงธาตุหลักที่พบในร่างกาย (สีเขียว) ธาตุที่พบในปริมาณน้อย (สีม่วง)https://askabiologist.asu.edu/content/atoms-lifeความสำคัญของแร่ธาตุ (IMPORTANCE OF MINERALS)• พบเป็นส่วนประกอบเพียงประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักร่างกาย
แร่ธาตุแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.แร่ธาตุหลัก (major / macro minerals) แร่ธาตุที่ร่างกายต้องการมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน
2.แร่ธาตุรองหรือแร่ธาตุปลีกย่อย (minor / micro minerals) แร่ธาตุที่ร่างกายต้องการน้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน
แร่ธาตุหลัก (MACROMINERALS)
ตารางที่ 1 เเสดงเเร่ธาตุหลักที่พบในร่างกายเเละอาการเมื่อขาด
จุลแร่ธาตุ (MICROMINERALS)
ตารางที่ 2 เเสดงตัวอย่างธาตูอาหารรองและหน้าที่
โปรตีน (Protein)
โปรตีน มีหน้าที่หลายอย่าง ดังนี้
1. เป็น enzyme หรือ biocatalyst เพื่อเร่งปฏิกิริยาเคมี
2. เป็นโปรตีนโครงสร้าง เช่น พวก collagen , elastin , keratin
3. เป็นตัวขนส่ง (transporter) เช่น hemoglobin หรือ โปรตีนที่ plasma membrane
4. เป็นฮอร์โมน เช่น insulin
5. เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน เช่น เป็น antibody
6. ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว Acin และ myosin ในกล้ามเนื้อ
สารประกอบขนาดใหญ่ (macromolecules) ในสิ่งมีชีวิต จัดเป็น 4 กลุ่มตามลักษณะโครงสร้างของโมเลกุล ได้แก่
Carbohydrate ประกอบด้วยธาตุ C, H, O
Protein “ C, H, O, N
Lipid “ C, H, O
Nucleic acid “ C, H, O, N, P
ปฏิกิริยาเคมีของ macromolecules ได้แก่
1. Condensation (dehydration reaction หรือ dehydration synthesis) ปฏิกิริยาสังเคราะห์ macromolecules จาก monomers ที่มีหมู่ฟังก์ชันมากกว่า 1 หมู่ และได้ผลผลิตเป็น H2O, CH3OH, HCl
รูปที่ 1 เเสดงปฎิกิริยา condensation ระหว่างกรดอะมิโน 2 ตัว
2. Hydrolysis ปฏิกิริยาที่มีน้ำเข้าไปสลายพันธะ ทำให้สารโมเลกุลใหญ่ แตกตัวเป็นสารที่มีโมเลกุลเล็กลง เพื่อให้สามารถนำผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าสู่เซลล์ได้ หรือย่อยสลาย macromolecules ที่ไม่ใช้แล้วภายในเซลล์
รูปที่ 2 เเสดงปฎิกิริยาการเเยกสลายไดเพปไทด์โดยอาศัยโมเลกุลของน้ำเข้าร่วมทำปฎิกิริยา
Amino acid
รูปที่ 3 เเสดงโครงสร้างของกรดอะมิโน
โปรตีนมีหน่วยย่อยเป็น กรดอะมิโน (amino acid) ประกอบด้วย
กรดอะมิโน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. กรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acid) คือ กรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการแต่ไม่สามารถสร้างเองได้ต้องอาศัยการรับประทานอาหารเข้าไป
2. กรดอะมิโนไม่จำเป็น (non-essential amino acid) คือกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้ ไม่จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร
กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่แตกต่างๆ กันเฉพาะในหมู่ R- ที่เรียกว่า Side chain กรดอะมิโนแบ่งตามสภาพขั้วของหมู่ R- ออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. กรดอะมิโนที่มีหมู่ R- ไม่มีขั้ว
2. กรดอะมิโนที่มีหมู่ R- มีขั้วและมีสมบัติเป็นกลาง
3. กรดอะมิโนที่มีหมู่ R- มีสมบัติเป็นกรด
4. กรดอะมิโนที่มีหมู่ R- มีสมบัติเป็นเบส
Protein
เป็น polypeptide ของ amino acid ที่ต่อกันเป็นลำดับเฉพาะตัวสำหรับโปรตีนแต่ละชนิดโปรตีนสามารถทำงานได้ ต้องมีรูปร่าง (conformation) ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวมนุษย์มีโปรตีนมากกว่า 10,000 ชนิด แต่ละชนิดมีโครงสร้างและหน้าที่แตกต่างกัน
Amino acid ต่อกันเป็นสายยาวด้วย covalent bond เรียกว่า peptide bond
ประเภทของโปรตีน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. โปรตีนเส้นใย (fibrous protein)
- พอลิเพปไทด์สายยาวๆ หลายเส้นมาเวียนพันกันเป็นวง helix
- อาศัยแรงยึดกันระหว่างสาย
- มีลักษณะเป็นเส้นใย (fiber) หรือเป็นแผ่น (sheet)
- มีความแข็ง เหนียว และอาจจะยืดหยุ่นได้
- ไม่ละลายในน้ำ
◦ คอลลาเจน (collagen) ของเอ็น (tendon)
◦ เมทริกซ์ (matrix) ของกระดูก
◦ คีราทิน (keratin) ของเส้นผม ขน เขา และเล็บ
◦ ไฟโบรอิน (fibroin) ของเส้นไหม
◦ อีลาสติน (elastin) ให้ความแข็งแรงและรับแรงยืดหยุ่นในเนื้อเยื่อเกี่ยวกัน
2. โปรตีนกลอบูลาร์ (globular protein)
- พอลิเพปไทด์ขดม้วนแน่นในลักษณะกลม
- โครงสร้างประกอบด้วย
◦ เกลียวอัลฟา (α-helix) และ เบตาชีทเพลท (β-sheet plate) ในปริมาณต่างๆ กัน
- โปรตีนนี้ส่วนใหญ่ละลายในน้ำได้ เช่น
- เช่น insulin, albumin, globulin, enzyme ต่างๆ
รูปที่ 7 แสดงประเภทของโปรตีน
โครงสร้างของโปรตีน (protein structure) มี 4 ระดับ คือ
1. โครงสร้างปฐมภูมิ (primary structure) การเรียงลำดับของกรดอะมิโนในสาย polypeptide
2. โครงสร้างทุติยภูมิ (secondary structure) มีการสร้าง H-bond ระหว่างกรดอะมิโนทำให้มีการขดเป็น helix หรือพับทบไปทบมาเป็น sheet
3. โครงสร้างตติยภูมิ (tertiary structure) หมายถึงโครงรูปของสาย polypeptide ทั้งสายซึ่งประกอบด้วย secondary structure หลายสายรวมกัน โดยเกิดพันธะต่าง ๆ ภายในสาย secondary structure ได้แก่ พันธะ ionic , hydrogen และ hydrophobic เป็นต้น
4. โครงสร้างจุตรภูมิ (quaternary structure) แต่ละ polypeptide มาอยู่รวมกันเพื่อทำหน้าที่ เช่น hemoglobin ประกอบด้วยสาย polypeptide ชนิด a และ b อย่างละ 2 สายมาอยู่รวมกัน
โครงสร้างของโปรตีน
1. โครงสร้างปฐมภูมิ (primary structure)
-กรดอะมิโนเรียงตัวเป็นสายโซ่พอลิเพปไทด์ที่จำเพาะ
การเปลี่ยนแปลงลำดับ amino acid ในโปรตีนอาจมีผลให้รูปร่างของโปรตีนเปลี่ยนไป และอาจมีผลต่อการทำงานของโปรตีนชนิดนั้นๆ
ตัวอย่างเช่น โรค sickle-cell anemia
2. โครงสร้างทุติยภูมิ (The secondary structure of a protein)
ตัวอย่างเช่น เส้นใยแมงมุม มีโครงสร้างแบบ b-Pleated sheet ทำให้เส้นใยแมงมุมมีความแข็งแรงมาก
3. โครงสร้างตติยภูมิ (tertiary structure)
โครงสร้างประกอบด้วยpolypeptide หนึ่งสายม้วนพับไปมาขึ้นอยู่กับแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง R group ด้วยกันเอง หรือ R group กับโครงสร้างหลัก
แรงยึดเหนี่ยว หมายถึง H-bond Ionic bond Hydrophobic interaction Van der Waals interaction
บางตอนยึดติดกันด้วย covalent bond ที่แข็งแรง เรียกว่า disulfide bridges
4. โครงสร้างจตุรภูมิ (quaternary structure)
รูปที่ 10 แสดงHemoglobin ประกอบด้วย polypeptide 4 สายรวมกันกลายเป็นโปรตีนที่มีรูปร่างเป็นก้อน ประกอบด้วยอัลฟายูนิต 2 หน่วยและเบตา 2 ยูนิต
Collagen เป็น fibrous protein ประกอบด้วย polypeptide 3 สายพันกันอยู่ ซึ่งทำให้โปรตีนชนิดนี้มีความแข็งแรงและพบใน connective tissue
◦ เกิดจาก tertiary structure ของ polypeptide มารวมกันมากกว่า 1 สายด้วย
◦ พันธะไฮโดรเจน
◦ พันธะไฮโดรโฟบิก
◦ แรงแวนเดอร์วาลส์
◦ เรียกโปรตีนที่มีโครงสร้างลักษณะนี้ว่า โอลิโกเมอริกโปรตีน (oligomeric protein) เช่น ฮีโมโกลบิน คอลลาเจน
สมบัติของโปรตีน
1. การละลายน้ำ ไม่ละลายน้ำ บางชนิดละลายน้ำได้เล็กน้อย
2. ขนาดโมเลกุลและมวลโมเลกุล ขนาดใหญ่มีมวลโมเลกุลมาก
3. สถานะ ของแข็ง
4. การเผาไหม้ เผาไหม้มีกลิ่นไหม้
5. การทำลายธรรมชาติ โปรตีนบางชนิดเมื่อได้รับความร้อน หรือเปลี่ยนค่า pH หรือเติมตัวทำลายอินทรีย์บางชนิด จะทำให้เปลี่ยนโครงสร้างจับเป็นก้อนตกตะกอน
6. การทดสอบโปรตีน
สมบัติทั่วไปของกรดอะมิโน
1. สถานะ เป็นของแข็งถ้าบริสุทธิ์จะเป็นผลึก ไม่มีสี
2. การละลาย กรดอะมิโนสามารถละลายน้ำได้ดี ( เป็นโมเลกุลมีขั้ว ) เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล เป็นพันธะไฮโดรเจน และแรงแวนเดอร์วาลส์
3. จุดหลอมเหลวสูง โดยมากมักจะสลายตัวที่อุณหภูมิระหว่าง 150 - 300 องศาเซลเซียส
4. ความเป็นกรดเบส กรดอะมิโนมีสมบัติเป็นได้ทั้งกรดและเบส เรียกว่า สารแอมโฟเทอร์ริก ( Amphoteric substance )
5. กรดอะมิโนมีหมู่ฟังก์ชัน 2 แบบ คือ หมู่คาร์บอกซิล และหมู่อะมิโน ดังนั้นจึงแสดงสมบัติทางเคมีตามหมู่ฟังก์ชันทั้ง 2 แบบคือ แสดงสมบัติคล้ายกรดอินทรีย์ และเอมีน
6. กรดอะมิโนสามารถทำปฏิกิริยากันได้ โดยใช้หมู่อะมิโนของกรดอะมิโนโมเลกุลหนึ่งทำปฏิกิริยากับหมู่คาร์บอกซิลของกรดอะมิโนของอีกโมเลกุลหนึ่ง ได้สารประกอบพวกเพปไทด์
Denaturation and renaturation of a protein
การทำลายสภาพธรรมชาติ
การทำลายสภาพธรรมชาติของโปรตีน คือ กระบวนการอย่างหนึ่งที่ทำให้โครงสร้างของโปรตีนเปลี่ยนไป
สิ่งที่ทำลายสภาพของโปรตีน
1. ความร้อน และรังสีอุลตราไวโอเลต
2. ถูกตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น เอทานอล อะซีโตน
3. ความเป็นกรด หรือความเป็นเบส
4. รวมตัวกับเกลือของโลหะหนัก เช่น Hg2+ Ag+
5. การฉายรังสีเอ็กซ์
6. การเขย่าแรงๆ ให้ตกตะกอน
ความสำคัญของโปรตีนต่อสิ่งมีชีวิต เป็นสารสำคัญในการสร้างและซ่อมแซมร่างกาย และทำให้ร่างกายแข็งแรง เป็นส่วนประกอบของสารที่ใช้ควบคุมปฏิกิริยาเคมีต่างๆ และการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเป็นสารที่ใช้สำหรับต่อต้านโรคใช้ในการขนส่งสารเคมีในเลือดให้พลังงานและความร้อน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)