การสร้างและหลั่งฮอร์โมนเปปไทด์และโปรตีนฮอร์โมน
การเเสดงออกของยีนส่งผลให้เกิดการถอดรหัสของดีเอ็นเอกลายเป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนหลายชนิดเช่น กลูคากอน (glucagon) คอร์ดิโคโทรฟิน (corticotrophin) MSH , TRH (Thyrotrophin – releasing hormone) เเต่โปรตีนเหล่านี้ต้องเข้าสู่กระบวนการเเปรรูปเพื่อให้กลายเป็นโปรตีนสมบูรณ์เเบบก่อนจะได้ นอกจากนี้ยังรวมทั้งเปปไทด์ที่หลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง และแคลซิโตนิน (calcitonin) ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนไม่กี่ตัวจะได้จากการแตกตัวของโปรตีนโมเลกุลใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นมาก่อน
โพลีเปปไทด์ฮอร์โมนบางตัวที่ประกอบด้วยหน่วยย่อย (Subunit) เช่น อินซูลิน (Insulin) โกนาโดโทรฟิน (gonadotrophing) และ TSH นั้นการจับรวมตัวของหน่อยย่อยจะเกิดขึ้นหลังจากมีการสร้างแต่ละหน่วยย่อยเรียบร้อยแล้ว การสร้างโปลีเปปไทด์ฮอร์โมนจึงมักจะมีการสร้างโมเลกุลตั้งต้นก่อน เรียกว่า โปรฮอร์โมน (pro - hormohe) ต่อมาโปรฮอร์โมนจึงแตกตัวเป็นฮอร์โมน ตัวอย่าง เช่น การสร้างพาราฮอร์โมน อินซูลิน และเปปไทด์ฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหลัง
ลำดับของขบวนการสร้างฮอร์โมน คือมีการสร้างโปรฮอร์โมนโดย mRNA นำเอาระหัสการลำดับกรดอะมิโนออกมาจากนิวเคลียสสู่ไซโตพลาสมแล้วไปเกาะกับไรโมโซมที่เกาะติดกับเยื่อเอนโดพลาสมิกเรติกคิวลัม (ER) สายโปลีเปปไทด์ที่สร้างได้จะถูกส่งผ่านเข้าไปอยู่ภายในช่องของ ER แล้วถูกลำเลียงไปยัง กอสไจคอมเพลกซ์ (golgi complex) ซึ่งในระหว่างนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของโปรตีนที่สร้างด้วย โดยอาจจะมีการเติมสารอื่นเข้าไปในโปรตีนโมเลกุล เช่น คาร์โบไฮเดรท หรือ ไขมัน ทำให้เกิดเป็นไกลโดโปรตีนหรือไลโปโปรลีนซึ่งจะรวมตัวกันอยู่ภายในถุงแล้วหลุดออกจากด้านในของกอสไจคอมเพลกซ์ เมื่อหลุดออกมาจะมีลักษณะเป็นถุงกลมเล็ก เรียกว่า ถุงซีครีทอรี (secretory granule) ลอยอยู่ภายในไซโตพลาสม ถุงนี้มักมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.1 – 0.4 um. โปรฮอร์โมนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนขณะที่อยู่ในถุงนี้ และถุงนี้จะลอยอยู่ภายในไซโตพลาสมรอการหลั่งฮอร์โมนออกจากเซลล์เมื่อเซลล์ถูกกระตุ้น
มีเซลล์ประสาทบางกลุ่มสามารถสร้างฮอร์โมนได้ เรียกว่า นิวโรซีดรีทอรีเซลล์ (nevrosecretory cells) เซลล์เหล่านี้จะมีโครงสร้างต่างๆ เหมือนเซลล์ประสาทปกติสามารถที่จะถูกกระตุ้นให้เกิดโพลาไรซ์และนำกระแสอีเลคตรอนได้แต่ปลายแอกซอนของเซลล์ประสาทพวกนี้จะไม่ไปสัมผัสกับเซลล์ประสาทตัวอื่นหรืออวัยวะที่เป็นเอฟเฟคเตอร์ เช่น ต่อมหรือกล้ามเนื้อเหมือนเซลล์ประสาทปกติทั่วไป แต่จะไปสัมผัสกับเส้นเลือดฝอย และปล่อยสารออกสู่กระแสเลือด สารที่ปล่อยออกไปนี้จะเป็นฮอร์โมนซึ่งถูกสร้างภายในเซลล์ประสาท แล้วรวมอยู่ในถุงซีครีทอรีแล้วเคลื่อนผ่านไปยังปลายแอกซอนเพื่อรอการหลั่งเหมือนโปรตีนฮอร์โมนอื่นๆ ฮอร์โมนที่สร้างจากเซลล์ประสาทนี้ได้แก่ วาโซเพรสซิน ออกซิโตซิน และรีลิสซิงฮอร์โมน (releasing hormones)
กลุ่มฮอร์โมนที่สร้างโดยขบวนการสังเคราะห์ด้วยเอนไซม์
ได้แก่ ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไทรอยด์ ต่อมอะดรีนอล อัณฑะและรังไข่ฮอร์โมนเหล่านี้เป็นผลจากขบวนการสร้างที่ควบคุมโดยเอนไซม์ ซึ่งได้จากการถ่ายทอดรหัสจากยีนส์ ขบวนการสังเคราะห์ฮอร์โมนเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาหลายขั้นตอนและเอนไซม์หลายตัว
ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ โดยเซลล์ของต่อมไทรอยด์มีความสามารถพิเศษในการรวบรวมอนินทรีย์ไอโอดีนจากเลือดได้แม้ว่าภายในเซลล์จะมีไอโอดีนสูงกว่าในเลือดโดยจะมีเนื้อเยื่ออื่นทำงานร่วมด้วย เช่นลำไส้
ฮอร์โมนพวกแคทติคอลเอมีนส์ (Catecholamines) เช่น อะครีนาลิน และนอร์อะครีนาลีน สร้างจากเนื้อเยื่อโครมัฟฟิน (chromaffin tissue) นอกจากนี้ยังพบที่เนื้อเยื่อประสาทส่วนอื่นในร่างกายด้วย เช่น นอร์อะครีนาลิน พบที่ปลายประสาทซิมพาเทติคและที่สมอง ตัวตั้งต้นของสารแคทติคอลเอมีนส์คือ ไทโรซีน โดยจะมีกลุ่มเอนไซม์ เปลี่ยนไทโรซีนเป็นโดปา (dopa) แล้วต่อเป็นโดปามีน(dopamine)ในไซโตพลาสมโดปามีนจะถูกสะสมในถุงแล้วถูกเปลี่ยนเป็นนอร์อะครีนาลีนภายในถุงนอร์อะครีนาลิน จะถูกเปลี่ยนเป็นอะครีนาลินได้
อีกกลุ่มหนึ่งคือ พวกสเตียรอยด์ฮอร์โมนซึ่งการสร้างสเตียรอยด์ฮอร์โมนพบว่ามีหลักการเหมือนกับในสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิดคือ ตั้งต้นจากโคเรสเตอรอล (cholesterol)ซึ่งจะมีปริมาณสูงมากในต่อมไร้ท่อที่สร้างสเตียรอยด์ฮอร์โมน มีรายงานว่าอาจจะมีการสังเคราะห์สเตียรอยด์ฮอร์โมนที่ไม่ใช้โคเรสเตอรอลเป็นตัวตั้งต้นแต่ก็ยังพิสูจน์ไม่ได้ ขบวนการที่เอนไซม์จะเปลี่ยนโคเรสเตอรอลให้เป็นเพรกเมนโนโอน
(pregnenolone) กับโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จะพบในเซลล์ของต่อมไร้ท่อที่สร้างเดตียรอยด์ฮอร์โมนทั่วไป การเปลี่ยนโปรเจสเตอโรนไปเป็นแอนโดรเจน (androgen) อิสโตรเจน(estrogen)และอครีโนดอร์ติคอยด์ (adrenocorticoids) เกี่ยวข้องกับการใช้เอนไซม์กระตุ้นให้เกิดขบวนการไฮดรอกซิเลท