ความหลากหลายทางชีวภาพสำคัญอย่างไร
ความหลากหลายทางชีวภาพมีอยู่ระหว่าง
1. สายพันธุ์
2. ชนิดพันธุ์
3. ระบบนิเวศ
ตัวอย่างความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้เราสามารถเลือกบริโภค ข้าวจ้าว หรือข้าวเหนียว ตามที่เราต้องการได้
หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆแล้ว เราอาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ยังช่วยให้เกษตรกรเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ และสัตว์ปีก เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม วัวพันธุ์เนื้อ ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์เราสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป ถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ นกกระจอก ฯลฯ หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี วัวแดง ฯลฯ พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์เราได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชที่มีท่อลำเลียง ( vascular plant ) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้งๆที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาใช้บริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด ( UNEP 1995 )
ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ เป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามรถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน
ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ระบบนิเวศแต่ระประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ “ บริการทางสิ่งแวดล้อม ” (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิเช่น ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทับถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย
มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพมาเป็นเวลานานนับล้านปี พูดง่ายๆคือ ทรัพยากรชีวภาพไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์หรือชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิต หรือ ระบบนิเวศได้ถูกใช้ประโยชน์มาตั้งแต่ บรรพบุรุษรุ่นแรกๆของมนุษย์ ตั้งแต่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลก นักวิทยาศาสตร์ยอมรับว่า ยังมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ บนโลกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นักอนุกรมวิธาน สามารถจำแนกชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้รวมทั้งสิ้น 1.75 ล้านชนิด ซึ่งน้อยกว่าร้อยละ 8 ของจำนวนสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่จริงทั้งหมดในโลก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่ามีประมาณ 13-14 ล้านชนิด สิ่งมีชีวิตที่นักวิทยาศาสตร์ทราบและจำแนกชนิดแล้วส่วนใหญ่คือ สัตว์มีกระดูกสันหลัง และพืชชั้นสูงต่างๆ นักอนุกรมวิธานสามารถจำแนกชนิดพันธุ์แมลงได้ประมาณ 750,000 ชนิด ซึ่งเป็นเพียง 1 ใน 10 ของชนิดพันธุ์แมลงที่คาดว่ามีอยู่ทั้งหมดในโลก ซึ่งมีประมาณ 7.5 ล้านชนิด ( UNEP 1995 ) แม้ว่าเรามีความรู้อันแสนจำกัดเกี่ยวกับชนิดพันธุ์ต่างๆ แม้ว่าเรายังขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ แต่การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในโลกนี้กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยไม่รอให้เราได้ศึกษาอย่างครบถ้วน
ปัจจุบันสิ่งมีชีวิตในโลกสูญพันธุ์มากกว่า 30,000 ชนิดต่อปี ซึ่งคิดเป็นอัตราเร็วกว่าการสูญพันธุ์ในยุคก่อนที่มนุษย์จะถือกำเนิดขึ้นมา 120,000 เท่า ซึ่งในยุคนั้นอัตราการสูญพันธุ์เป็นไปตามธรรมชาติ คือ 1 ชนิด ในระยะเวลา 4 ปี (Myers 1993) แม้ว่าการสูญพันธุ์จะเป็นวัฏจักรของธรรมชาติ แต่การสูญพันธุ์ด้วยอัตราเร่งอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นปรากฏการณ์นอกเหนือธรรมชาติ ซึ่งแสดงว่าโลกกำลังเผชิญหน้ากับความหายนะที่กำลังคืบคลานสู่ทุกชีวิตบนพื้นพิภพ หากขาดความพยายามที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพไว้แล้ว โลกจะสูญเสียร้อยละ 20 ของชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในปัจจุบันภายใน 30 ปีข้างหน้า และสูญเสียร้อยละ 50 ของชนิดพันธุ์ ภายในศตวรรษที่ 21 ( UNEP 1995 ) ประเทศไทยได้ทำให้สมันCervus schomburgkiสูญพันธุ์ไปแล้วจากโลกนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 เพระถูกล่าอย่างหนัก และถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งได้แก่
บริเวณที่ราบต่ำบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถูกทำลาย (จารุจินต์ นภีตะภัฎ 2536) นกช้อนหอยใหญ่Pseudibis giganteanและนกพงหญ้าGraminicola bengalensisได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว คูปรีBos sauveliซึ่งเคยอัยอยู่ในป่าโปร่งที่มีทุ่งหญ้าสลับป่าเต็งรังแถบเทือกเขาพนมดงรัก (วท. 2533) ได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย ในโลกนี้ยังอาจพบคูปรีได้ในป่าของประเทศลาว และกัมพูชาเท่านั้น เท่าที่นักอนุกรมวิธานทราบ ประเทศไทยได้สูญเสียปลาน้ำจืดอีก 5 ชนิดคือ ปลาหางไหม้Balantiocheilus melanopterusปลาหวีเกศPlatytropius siamensisปลาโจก หรือปลาใส้ตันCyclocheilichthys lagleriและปลาอีก 2 ชนิดที่สูญพันธุ์ไปก่อนที่นักอนุกรมวิธานจะมีโอกาสตั้งชื่อภาษาไทยเสียอีก คือLongiculture caihiและOxygaster williaminae( สผ. 2539 ก ) เป็นที่น่าวิตกว่าช้างป่าElephas maximusควายป่าBubalus bubalisเสือโคร่งPanthera tigrisและพะยูนDugong dugonจะสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยในไม่ช้า เพราะว่าประชากรช้างป่าในธรรมชาติลดลงเหลือเพียง 1,975 ตัว ควายป่าเหลือ 50-70 ตัว เสือโคร่งเหลือ 250-500 ตัวเท่นั้น ส่วนพะยูน พบฝูงสุดท้ายในประเทศไทยที่หาดเจ้าไหม และเกาะตะลิบง จังหวัดตรังเท่านั้น (สผ. 2539ก) ประเทศอื่นๆโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ต่างก็ทำให้ระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง แนวปะการัง ป่าไม้ ภูเขา เกาะ แก่ง สิ้นสลาย และหลายชนิดพันธุ์สูญพันธุ์ไปเช่นกัน ป่าชายเลนในประเทศฟิลิปปินส์เหลืออยู่เพียง ร้อยละ 20 ของที่มีอยู่เดิม ป่าในทวีปเอเชียจะมีเพียงพอให้ใช้ประโยชน์ไปได้อีก 40 ปีเท่านั้น (จากประกาศของโครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ ในที่ประชุมคณะมนตรีประศาสน์การ เดือนมกราคม 2540)
เป็นที่พิสูจน์ได้ว่า การสูญพันธุ์ของหลายชนิดพันธุ์ ในระยะเวลา 300-400 ปีที่ผ่านมา เป็นผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ นักวิจัยของสหรัฐอเมริกาพบว่า ในจำนวนชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2043-2053 (ทศวรรษ 1500) ไม่น้อยกว่า 500 ชนิดนั้น มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่สูญพันธุ์เองตามธรรมชาติ คือ หอยทากน้ำเค็มที่เคยอยู่นอกอ่าวรัฐนิวอิงค์แลนด์
แรงกดดันให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพทั่งโลก มีพื้นฐานมาจาก
-รูปแบบการบริโภคและการผลิต
- การเติบโตของประชากร และการกระจายตัวของประชากร
- ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ
ซึ่งมีผลต่อเนื่องให้เกิดการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพโดย
- การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ
- การตักตวงผลประโยชน์จากชนิดพันธุ์ป่า
- การนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
- การเกษตรที่มุ่งเน้นการค้า
- มลภาวะ
- การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลก
การรบกวนและทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ เป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การทำลายระบบนิเวศ เป็นต้นว่าการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ทั้งป่าดิบชื้น ป่าชายเลน การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและเขื่อนพลังน้ำ การขยายตัวของชุมชนเมือง การถมพื้นที่ชุ่มน้ำ การท่องเที่ยวและภาวะมลพิษ ล้วนส่งผลให้ประชากรพืชและสัตว์ป่าชนิดต่างๆ ลดลงหรือสูญพันธุ์ไป ป่าเขตร้อนเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิตประมาณร้อยละ 50 ของที่อยู่ทั้งหมดในโลก แต่ในปัจจุบันได้มีการทำลายป่าเขตร้อน โดยรวมทั้งหมดถึงประมาณ 17 ล้านเฮกแตร์ต่อปี ซึ่งเทียบได้กับพื้นที่ที่ใหญ่กว่าประเทศสวิสเซอร์แลนด์ถึง 4 เท่า การทำลายป่าเขตร้อนในอัตราดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลกระทบให้สิ่งมีชีวิตในป่าเขตร้อนร้อยละ 5-10 สูญพันธุ์ไปภายในเวลา 30 ปีข้างหน้า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการลดลงของป่าไม้สูงเป็นอันดับสองของทวีปเอเชีย คือ ร้อนละ 2.5 ต่อปี นอกจากนี้แหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของประเทศไทย มีเหลืออยู่เพียงร้อยละ 20 ของพื้นที่ประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นลำดับที่ 18 ของทวีป ( Mackinnon 1994 ) นั่นหมายความว่า ประเทศไทยมีอัตราการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพในอัตราสูง ในขณะที่มีพื้นที่ธรรมชาติเหลืออยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น การคุกคามระบบนิเวศและถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติในประเทศไทยยังคงมีบทบาทต่อเนื่องและรุนแรงตามกาลเวลา ป่าพนมสารคามซึ่งเดิมเป็นป่าผืนใหญ่ ครอบคลุมภาคตะวันออกต่อเนื่องไปจนถึงกัมพูชา เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว มีพื้นที่ถึง 5 ล้านไร่ ปัจจุบันถูกบุกรุกแผ้วถาง ยึดครองทำการเกษตร และเป็นที่อยู่อาศัย จึงเหลือพื้นที่ป่าเพียง 1 ใน 10 ของพื้นที่เดิม และถูกตัดขาดออกจากป่าในกัมพูชา ไม่เป็นผืนเดียวกันอีกต่อไป
พื้นที่คุ้มครองหลายแห่งได้ถูกบุกรุกทำลายมาเป็นเวลาหลายปี ตัวอย่างเช่น อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว ได้ถูกบุกรุกพื้นที่ทางตอนใต้ของอุทยานในเขตจังหวัดยโสธรถึง 20,000 ไร่ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 4 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติแห่งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 มาจนถึงทุกวันนี้ การบุกรุกพื้นที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง พร้อมไปกับการลักลอบตัดไม้ในเขตอุทยานที่มีอยู่เป็นประจำทุกวัน เพื่อแปรรูปขายต่อให้พ่อค้าคนกลาง ในลักษณะบ้านทั้งหลัง ในราคาหลังละ 3-4 หมื่นบาท
ตลอดเวลาที่ผ่านมา มนุษย์มักคิดว่าทรัพยากรชีวภาพต่างๆ เช่น ป่าไม้หรือสัตว์น้ำ เป็นทรัพยากรที่สามารถทดแทนด้วยตนเองได้ ( Renewable resources) ดังนั้นจึงน่าจะเป็นทรัพยากรที่น่าจะใช้ได้โดยไม่มีวันหมด แต่หารู้ไม่ว่า หากใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างฟุ่มเฟือยและรวดเร็ว ทรัพยากรดังกล่าวย่อมไม่สามารถฟื้นฟูตัวเองได้และหมดไปในที่สุด แต่ไหนแต่ไรมาการพัฒนาทางเศรฐกิจ ไม่เคยคำนึงถึงค่าของทรัพยากรชีวภาพเลยแม้แต่น้อย ราคาของไม้ดิบและไม้แปรรูปต่างๆ เป็นเพียงมูลค่าของค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการตัดไม้ใช้ในการโค่น ขนส่งแปรรูปไม้ ตลอดจนค่าภาคหลวงที่จ่ายให้รัฐบาลในการทำสัมปทานป่าไม้เท่านั้น แต่ไม่ได้มีการคิดคำนวณคุณค่าของต้นไม้ที่มีต่อระบบนิเวศแต่อย่างใด ในหลายๆประเทศ ป่าไม้จึงมีคุณค่าตามราคาของไม้เท่านั้น การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางชีวภาพอย่างไม่ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการทำไม้ การประมงเกินศักยภาพการผลิตของธรรมชาติ การลักลอบล่าสัตว์ล้วนส่งผลกระทบต่อชนิดพันธุ์ สายพันธุ์ ระบบนิเวศอื่นๆด้วย เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนมาก การตัดไม้เพียงไม่กี่ต้น อาจจะทำให้สัตว์หรือพืชบางชนิดสูญพันธุ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสัตว์หรือพืชชนิดนั้น มีประชากรในธรรมชาติน้อยอยู่แล้ว และจำเป็นต้องอยู่อาศัยในแหล่งเฉพาะถิ่นเท่านั้น การทำลายป่าดิบที่ราบต่ำในภาคใต้ของประเทศเพื่อตั้งรกรากถิ่นฐาน และทำการเกษตร เป็นเหตุให้นกแต้วแล้วท้องดำPitta gurneyiแทบจะสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ การเปลี่ยนแปลง หนอง บึง เป็นนาข้าว เป็นที่อยู่อาศัย และการล่านก เป็นสาเหตุให้นกกระเรียนGrus antigoneหมดสิ้นไปจากประเทศไทย (วท. 2533) ปะการังจากท้องทะเลไทย ถูกขุดมาขายเป็นสิ่งประดับสวน ประดับบ้าน จนประเทศไทยเหลือแนวปะการังอยู่เพียงหนึ่งในสามของที่มีอยู่เดิมเมื่อห้าสิบปีที่แล้ว
เราได้ทำลายองค์ประกอบความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การทุ่มกำลังนักวิชาการเพื่อพัฒนาพันธุ์พืชทางการเกษตรในระยะ พ.ศ. 2493-2503 (ทศวรรษ 1950) หรือ“การปฏิวัติเขียว ” (green revolution)
ได้ทำให้มีการสร้างสายพันธุ์พืชมากมายที่ให้ผลผลิตสูงแต่ใช้พื้นที่ในการปลูกเพียงเล็กน้อย ซึ่งช่วยให้ประเทศต่างๆ สามารถสร้างผลผลิตทางการเกษตรได้เพียงพอกับความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การส่งเสริมให้เกษตรกรนำเอาสายพันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูงนี้มาเพาะปลูก ได้ทำให้เกษตรกรจำนวนมากละทิ้งสายพันธุ์พืชทางการเกษตรดั้งเดิม จนกระทั่งสายพันธุ์พื้นเมืองสูญหายไปเป็นจำนวนมาก
“ การปฏิวัติเขียว ” ได้ชักจูงให้เกษตรกรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่าร้อยละ 80 หันมาปลูกพืชสายพันธุ์ใหม่แทนสายพันธุ์ดั้งเดิม เกษตรกรในประเทศอินโดนิเซียได้ละทิ้งการปลูกพันธุ์ข้าวดั้งเดิมและทำให้ข้าวกว่า 1,500 สายพันธุ์ สูญพันธุ์ไปในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา
สายพันธุ์พืชทางการเกษตรดั้งเดิมเป็นทรัพยากรทางพันธุกรรมที่มีคุณค่า เพราะเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนามาเป็นเวลานานหลายชั่วอายุคน จนมีลักษณะทางพันธุกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูกเช่น มีความต้านทานโรคสูง หรือต้องการธาตุอาหารน้อย ซึ่งสามารถนำเอาไปพัฒนาพืชพันธุ์ใหม่ให้ดีขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการระบาดของโรคโคนเน่าของข้าวขึ้นในระยะประมาณ พ.ศ. 2523-2533 (ทศวรรษ 1980) นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีข้าวเพียงสายพันธุ์เดียวเท่านั้น จากข้าวทั้งหมดมากกว่า 10,000 สายพันธุ์ ที่มีภูมิต้านทานโรคดังกล่าว ซึ่งสายพันธุ์ดังกล่าวนี้เป็นสายพันธุ์ข้าวดั้งเดิม นอกจากนี้ การที่เกษตรกรเลิกปลูกสายพันธุ์เก่าและหันไปปลูกสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงเหมือนๆกันเกือบทั้งหมด ทำให้พืชที่ปลูกมีความสม่ำเสมอทางพันธุกรรม (genetically uniform) หรือไม่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม และมีความอ่อนแอทางพันธุกรรม (genetic vulnerable) สูง จึงมีโอกาสที่จะถูกทำลายโดยศัตรูพืช และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังที่เกิดขึ้นกับไร่มันฝรั่งในประเทศไอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2389 ซึ่งทำให้ผู้คนอดอยาก และเศรษฐกิจของประเทศพังทลาย จนประชาชนจำนวนมากต้องอพยพไปสู่ทวีปอเมริกาและออสเตรเลีย
ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biopersity = Bio + persity) หมายถึง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆในการดำเนินอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยเดียวกันหรือแตกต่างกัน
ความหลากหลายทางชีวภาพ ที่มีการแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1) ความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic persity)
2) ความหลากหลายทางชนิดพันธุกรรม (species persity)
3) ความหลากหลายทางระบบนิเวศ (ecosystem persity)
1) ความหลากหลายทางพันธุกรรม(genetic persity)
- เป็นสิ่งที่อาจจะมาปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนจากลักลักษณะภายนอก
-เช่น พืช 2 ต้น มีลักษณะภายนอกเหมือนกันแทบทุกอย่าง แต่ความจริงมีพันธุกรรมต่างกันมาก ลูกแมวที่เกิดจากคอกเดียวกัน น่าจะมีลักษณะเหมือนกันทุกอย่าง แต่ในความเป็นจริงมีพันธุกรรมแตกต่างกัน จึงทำให้สีขนต่างกัน
สาเหตุที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรม
(1) การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมทีเกิดขึ้นโดยวิธีธรรมชาติ
- ผิดพลาดในกระบวนการแบ่งเซลล์ของโคโมโทรม หรือจากสิ่งแวดล้อมภายนอก
- เช่น ต้นไม้ที่ขึ้นในบริเวณน้ำท่วมบ่อยๆ จะมีการสร้างยีนที่สามารถทนต่อสภาวะน้ำท่วมได้
แมลงที่ได้รับสารเคมีบ่อยๆ จะมีการปรับตัว สร้างยีนที่สามารถทนต่อสารเคมีนั้นได้
(2) การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นโดยมนุษย์
- การปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้พันธ์ใหม่ที่ดีกว่าเดิม
- การใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่
2) ความหลากหลายทางพันธุกรรม(species persity)
- เป็นความหลากหลายที่สามารถ พบเห็นได้ชัดเจน
เช่น แมลงในกลุ่มด้วง ซึ่งมีทั้ง แมลงทับ หิ่งห้อย ด้วงกว่าง ด้วงมูลสัตว์ และอื่นๆ อีกมากมาย
- เป็นความหลากหลายที่เกี่ยวกับจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิต
โดยบริเวณใดที่อุดมสมบูรณ์จะมีสิ่งมีชีวิติจำนวนมาก เช่น Great barrier reef
3) ความหลากหลายทางระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่ง ซึ่งมีปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพ ที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในระบบนิเวศนั้น
ตัวอย่างของระบบนิเวศแบบต่างๆ เช่น
1) ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง คู บึง ทะเลสาบ เป็นต้น
2) ระบบนิเวศในทะเล ได้แก่ ทะเลสาบและมหาสมุทร
3) ระบบนิเวศป่าชายเลน ได้แก่ บริเวณชายฝั่งทะเลและปากแม่น้ำของประเทศ
4) ระบบนิเวศป่าดิบชื้น โดยป่าส่วนใหญ่ในประเทศไทย จะเป็นป่าแบบนี้
การศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตโดยการสำรวจและจัดจำแนกชนิดองพืชและสัตว์ซึ่งพืชจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ พืชที่ไม่มีเนื้อเยื่อท่อลำเลียงและพืชที่มีเนื้อเยื่อท่อลำเลียง ส่วนในสัตว์จะแบ่งออกเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังและสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
มนุษย์นำประโยชน์จากความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยพืชและสัตว์บางชนิดใช้เป็นอาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้ในบ้าน
หมายเหตุ * มีผังมโนทัศน์อยู่ในไฟล์แนบ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)