บทนำ
Central Dogma
เป็นแนวคิดอธิบายหน้าที่หลักของดีเอ็นเอ โดยมีเนื้อความว่า ในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่แล้วข้อมูลทางพันธุกรรมจะถูกเก็บไว้ในรูปของดีเอ็นเอหรือเรียกว่ายีน ดีเอ็นเอเป็นสารพันธุกรรมหลักในการผ่านข้อมูลทางพันธุกรรมหรือถอดรหัสไปสู่อาร์เอ็นเอ (Transcription) แล้วจึงมีการแปลรหัสจากอาร์เอ็นเอสู่โปรตีน (Translation) เพื่อให้เกิดการดำรงชีวิต
ได้มีการศึกษาค้นพบข้อยกเว้นของ Central Dogma คือ พบว่ามีการส่งผ่านข้อมูลทางพันธุกรรมจาก RNA กลับไปสู่ DNA ก่อนแล้วจึงจะถอดและแปลรหัสผ่าน RNA และโปรตีนต่อไป เช่น Retrovirus เป็นไวรัสที่มีอาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรม เมื่อไวรัสนี้เข้าไปในเซลล์เจ้าบ้านและเข้าไปจำลอง RNA โดยถอดรหัสจาก RNA ไปเป็น DNA ก่อนโดยใช้เอนไซม์ Reverse transcriptase เมื่อ DNA เข้าสอดแทรกในโครโมโซมของเซลล์เจ้าบ้านก็จะลอกรหัส DNA (DNA replication) ของตนเองไปพร้อมๆกับ DNA ของเซลล์เจ้าบ้าน
องค์ประกอบและโครงสร้างของ DNA
การศึกษาโครงสร้างทางเคมีของดีเอ็นเออาศัยข้อมูลที่ได้จากแต่ละวิธีศึกษาประกอบกัน ทำให้มองเห็นโครงสร้างและองค์ประกอบของดีเอ็นเอดีขึ้น หลักฐานเหล่านี้ได้แก่
ต่อมาพบว่ากรดนิวคลีอิกประกอบด้วยน้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 อะตอม เรียกว่า น้ำตาลเพนโทส (Pentose sugar) แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ น้ำตาลไรโบส (Ribose) เป็นองค์ประกอบของกรดไรโบนิวคลีอิก (Ribonucleic acid : RNA) และน้ำตาลดีออกซีไรโบส (Deoxyribose) เป็นองค์ประกอบของกรดดีออกซีไรบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid : DNA) นอกจากนี้ยังพบว่า RNA ต่างจาก DNA ในส่วนของเบสไพริมิดีน โดย RNA จะมีเบสยูราซิล (Uracil) แทนที่เบสไทมีน นอกจากเบสและน้ำตาลเพนโทส ยังมีหมู่ฟอสเฟต เขาจึงเสนอแนวคิดว่า กรดนิวคลีอิกแต่ละโมเลกุลประกอบด้วยหน่วยย่อย (Monomer) เรียกว่า
นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) แต่ละนิวคลีโอไทด์เชื่อมต่อกันเป็นสายยาว โดยมีการสร้างพันธะระหว่างหมู่ฟอสเฟตของนิวคลีโอไทด์หนึ่งกับน้ำตาลของนิวคลีโอไทด์อีกหน่วยหนึ่งที่คาร์บอนตำแหน่ง 3’ เกิดเป็นพอลิเมอร์สายยาวเรียกว่า พอลีนิวคลีโอไทด์ (Polynucleotide)
การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA Replication)
ในขณะที่เซลล์มีการแบ่งตัว จะมีการเพิ่มจำนวนโครโมโซมอีก 1 เท่าตัวในระยะอินเตอร์เฟส Sutton เสนอว่า ยีนอยู่บนโครโมโซม James D. Watson และ Francis Crick เสนอว่า เมื่อ DNA ที่เป็นสายเกลียวคู่ จะมีการจำลองตัวเองขึ้นมา สาย Polynucleotide จะแยกออกจากกัน (เหมือนการรูดซิปให้แยกออกจากกัน) โดยพันธะไฮโดรเจนที่ยึดสายทั้งสองสลายตัว เพราะเป็นพันธะที่มีแรงอ่อน เมื่อสาย Polynucleotide ของดีเอ็นเอแยกออกจากกัน ทำให้เบสในแต่ละสายว่างอยู่ ต่อมามีนิวคลีโอไทด์ เข้ามาเกาะเบสที่ว่าง โดยอะดีนีนนิวคลีโอไทด์จะเข้าเกาะกับไทมีนนิวคลีโอไทด์ และไซโทซีนนิวคลีโอไทด์จะเกาะกับกวานีนนิวคลีโอไทด์ ซึ่งยึดกันด้วยพันธะไฮโดรเจน (A จับกับ T และ C จับกับ G เสมอ) นิวคลีโอไทด์ที่มาเกาะจะเชื่อมต่อกันด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเตอร์ และเชื่อมต่อกันเรื่อยๆ จนสิ้นสุดกระบวนการ ทำให้ได้ดีเอ็นเอเกิดขึ้นเป็น 2 โมเลกุล ซึ่งมีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ
ขั้นตอนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอจากข้อมูลปัจจุบันมีดังนี้
ต่อมา Okazaki พบว่า การสังเคราะห์ DNA เส้นใหม่ขึ้นมาจะต้องมีการสังเคราะห์เป็น 2 แบบ ซึ่งการสร้างสายใหม่มีความยุ่งยาก เนื่องจากการสังเคราะห์ DNA จะเกิดขึ้นในทิศทางจาก 5’ ไป 3’ เท่านั้น การสังเคราะห์ดีเอ็นเอสายหนึ่งเกิดขึ้นได้ไม่ยาก เพราะสายที่เป็นต้นแบบ (Template) มีการแยกตัวในทิศทาง 3’ ไป 5’ จึงสร้างสายใหม่เป็นสายยาวๆ มาเข้าคู่ในทิศทาง 5’ ไป 3’ ได้ทันที สายที่สร้างใหม่ที่มีทิศทางจาก 5’ ไป 3’ นี้เรียกว่า สายนำ (Leading strand) ส่วนการสังเคราะห์อีกสายหนึ่งนั้นสายต้นแบบมีการแยกตัวไปในทิศทางจาก 5’ ไป 3' สายใหม่ที่สร้างขึ้นจึงต้องสร้างทีละช่วงได้เป็นชิ้นส่วนสั้นๆ ประมาณ 1,000 – 2,000 นิวคลีโอไทด์ เรียกว่า Okazaki fragment ก่อน แล้วจึงเชื่อมต่อเป็นสายยาวเส้นเดียวภายหลังเมื่อปลาย 3’ มาอยู่ชิดกับปลาย 5’ ของอีกเส้นที่อยู่ข้างๆ โดยอาศัยเอนไซม์ DNA ligase สายที่สร้างโดยวิธีนี้เรียกว่า สายตาม (Lagging strand)
การสังเคราะห์ RNA โดยมี DNA เป็นแม่พิมพ์ (Transcription) มีขั้นตอนดังนี้
จากการศึกษาพบว่า RNA เป็นกรดนิวคลีอิกที่พบทั้งในนิวเคลียส ไซโทพลาสซึม คลอโรพลาสต์และไมโทคอนเดรีย จำแนกออกเป็น 3 กลุ่มคือ
Ribosomal RNA (rRNA) เป็น RNA ที่มีปริมาณมากที่สุด พบประมาณ 85% ของ RNA ในเซลล์ พบเป็นองค์ประกอบของไรโบโซมของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ จึงมีขนาดโมเลกุลแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น rRNA ทำหน้าที่เป็นแหล่งยึดของ mRNA ในขณะที่มีการแปลรหัสเพื่อสังเคราะห์โปรตีน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)