Table of Contents Table of Contents
Previous Page  139 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 139 / 284 Next Page
Page Background

ตัวอย่างการตรวจสอบค่า pH ของสารละลายโดยใช้ pH indicator paper

6. ครูสามารถเตรียมสารละลายที่มีค่า pH ต่าง ๆ ที่แตกต่างจากกิจกรรมนี้ ซึ่งเตรียมจาก

สารละลายที่มีความเข้มข้นเริ่มต้น 1 M HCl และ 1 M NaOH โดยเตรียมสารละลาย HCl

และ NaOH ที่มีความเข้มข้นเริ่มต้นน้อยหรือมากกว่านี้ได้ เช่น 0.5 HCl และ 0.5 NaOH

ซึ่งครูสามารถปรับได้ตามความเหมาะสม เพื่อทดสอบผลของ pH ที่มีต่อเอนไซม์

7. ครูควรแนะนำ�ให้ใช้หลอดทดลองที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเท่ากันเพื่อทำ�ให้สารละลาย

H

2

O

2

ในแต่ละหลอดมีความสูงเริ่มต้นเท่ากัน ทำ�ให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบความแตกต่าง

ของปริมาณฟองแก๊สที่เกิดขึ้นในแต่ละหลอด

8. ในการทดลองให้นักเรียนเปรียบเทียบปริมาณฟองแก๊สที่เกิดขึ้นในแต่ละหลอดโดยใช้จำ�นวน

ของเครื่องหมาย + ซึ่งหลอดที่มีปริมาณฟองแก๊สมากที่สุดให้ใส่จำ�นวนเครื่องหมาย + มาก

ที่สุด หลอดที่มีปริมาณฟองแก๊สน้อยลงให้ใส่จำ�นวนเครื่องหมาย + ลดลงตามลำ�ดับ และใช้

เครื่องหมายลบ - แสดงการไม่เกิดฟองแก๊ส โดยใช้ดุลยพินิจของนักเรียนเอง

9. ในกรณีที่มีวัสดุและอุปกรณ์จำ�กัด เช่น หลอดทดลองที่มีขนาดเดียวกัน ครูอาจแบ่งนักเรียน

เป็น 4 กลุ่ม โดยให้ 2 กลุ่ม ทำ�การทดลองตอนที่ 1 และอีก

2 กลุ่ม ทำ�การทดลองตอนที่ 2 แล้วจึงนำ�ผลการทดลองมา

อภิปรายร่วมกัน

10. ความขุ่นของยีสต์อาจทำ�ให้สังเกตฟองแก๊สที่เกิดขึ้นได้ไม่ชัดเจน

ครูอาจให้นักเรียนช่วยกันเสนอวิธีที่ทำ�ให้เห็นผลการสังเกต

ได้ง่ายขึ้น ซึ่งวิธีหนึ่งที่อาจทำ�ได้โดยใส่น้ำ�มันพืชหลังจากผสม

สารต่าง ๆ แล้ว น้ำ�มันพืชช่วยให้ฟองแก๊สเคลื่อนที่ได้ช้าลงและ

สามารถเห็นฟองแก๊สได้ชัดเจนขึ้น

ใส่น้ำ�มัน

ไม่ใส่น้ำ�มัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 2 | เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

ชีววิทยา เล่ม 1

127