logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ว่าด้วยเรื่องของ “แสงสีฟ้า” ...รู้จักดีแค่ไหน?

โดย :
ธัชชัย ตระกูลเลิศยศ
เมื่อ :
วันอังคาร, 06 กันยายน 2559
Hits
38026

ว่าด้วยเรื่องของ “แสงสีฟ้า” … รู้จักดีแค่ไหน?

หลายคนคงเคยได้ยินข่าวเตือนต่างๆเกี่ยวกับ “แสงสีฟ้า” จากอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต ว่าอาจก่อให้เกิดอันตรายกับจอประสาทตาได้ ในปัจจุบันนี้ก็มีตัวช่วยมากมายทั้งฟิล์มกลองแสง ติดฟิล์มกลองรังศี หรือกระทั่งคอนแทคเลนส์ป้องกันแสงสีฟ้า

แต่เคยสงสัยไหมว่า แล้วไอ้ “แสงสีฟ้า” ที่พูดถึงกันอยู่ มันคืออะไรกันแน่??

ในบทความนี้ ก็จะขอกล่าวถึงส่วนนี้นั้นเอง พูดง่ายๆก็คือ มาทำความรู้จักเจ้า “แสงสีฟ้า” นี่กันเถอะ

แสงสีฟ้า หรือ BLUE Light เป็นคลื่นแม่เหล็กชนิดหนึ่ง อย่างที่เรารู้กันดีว่าในแสงได้มีการแบ่งช่องความยาวคลื่นแม่เหล็กออกเป็นช่วงๆ เช่น ช่วง รังสีคอสมิก , รังสีแกมมา , รังสีเอกซเรย์ , รังสีอัลตราไวโอเลต , ช่วงความยาวคลื่นที่ตามองเห็น  , รังสีอินฟราเรด  , เรดาห์ , ช่วงคลื่นไมโครเวฟ เป็นต้น โดยแต่ละช่วงคลื่นก็จะมีความยาวคลื่นแตกต่างกัน


โดยเจ้า “แสงสีฟ้า” นี้ ก็อยู่ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นได้ (visible light) โดยแสงชนิดนี้อยู่ในช่วงความยาวคลื่นประมาณ 400 – 700 นาโนเมตร โดยเมื่อผ่านสเปคตรัมก็จะถูกจำแนกออกมาเป็นสี ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง ที่เราเห็นกันนี่เอง โดยช่วงของ “แสงสีฟ้า” จะอยู่ในช่วง 400 – 500 นาโนเมตร และโดยปรกติแล้วหากเราเปรียบเทียบพลังงานในหน่วย อิเล็กตรอนโวลต์ (eV) จะพบว่าในช่วงคลื่นความยาวสั้น มีปริมาณพลังงานต่อ 1 หน่วยโฟตอน มากกว่าช่วงความยาวคลื่นที่ยาวกว่า จึงทำให้มีการจำแนกว่าแสงที่อยู่ในช่วงความยาวคลื่น 400 – 500 นาโนเมตร เป็นแสงชนิด HEV (High Energy Visible light) ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แสงสีฟ้าเป็นแสงที่มีพลังงานสูง เมื่อเปรียบเทียบกับแสงสีอื่นๆในช่วง visible light   แต่กระนั้นในแสงสีฟ้าเองก็ยังถูกจำแนกตามช่วงได้แก่  blue-turquoise light และ blue-violet light

 

แล้วแสงสีฟ้าตัวไหนกันที่เราต้องระวัง???

blue-turquoise light : คือแสงสีฟ้าที่อยู่ในช่วง 465-495 นาโนเมตร แสงตัวนี้มีคุณสมบัติเป็นนาฬิกาปลุกในร่างกายของมนุษย์ โดยทำให้เราตื่นตัวในตอนเช้า หรือมีการตื่นตัวในช่วงกลางวัน เช่น ทำไมเราถึงตื่นในเวลาใกล้เคียงเดิมทุกๆวันในตอนเช้า นั้นก็เพราะร่างกายของเรามีปฏิกิริยาต่อแสงสีฟ้าจากดวงอาทิตย์ในช่วงความยาวคลื่นนี้นี่เอง

blue-violet light : เป็นแสงสีฟ้าที่อยู่ในช่วงความยาวคลื่น 415 – 455 นาโนเมตร ในแสงกลุ่มนี้มีงานวิจัยออกมาว่ามีพลังงานสูง และมีความสามารถในการทะลุทะลวงจอประสาทตา จึงส่งผลให้จอประสาทตาเสื่อมได้ (Macular Degeneration) แม้จะไม่ในทันที แต่หากสะสมเป็นเวลานาน จอประสาทตาก็จะเสื่อมค่อยเป็นค่อยไป

อันที่จริงแล้ว แหล่งกำเนิดแสงในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะหลอดไฟ ดวงอาทิตย์ หรือจาก smart phone ไม่ได้มีความเข้มมากเพียงพอที่จะทำลายสายตาเราในทันที แต่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น smart phone หรือ แท็บเล็ต ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ในยุคปัจจุบันไปเสียแล้ว ทำให้ปริมาณการสะสมผลกระทบของคลื่นแสงสีฟ้าชนิด blue-violet light ต่อจอประสาทตามีมากขึ้น


โดยเมื่อทำการทดสอบปริมาณช่วงความยาวคลื่นที่ถูกปลดปล่อยออกมาจาก smart phone และ แท็บเล็ต พบว่าช่วง 400 – 500 นาโนเมตรถูกปล่อยออกมาในปริมาณมากที่สุด นั้นจึงทำให้เกิดการระวังเกี่ยวกับอันตรายจากแสงตัวนี้มากขึ้น นำไปสู่การผลิตฟิล์มตัดแสง หรืออุปกรณ์เสริมต่างๆที่เราเห็นกันในปัจจุบันนั่นเอง

 

 

เนื้อหาจาก

http://www.bluelightexposed.com/#where-is-the-increased-exposure-to-blue-light-coming-from

http://www.eyekit.co/information/eyecare/smartphone-tablet-computer-worried-about-led-what-damage-blue-light-causes.html

http://droidsans.com/focus-blue-light-cut-film

ภาพจาก

http://www.eyekit.co/information/eyecare/smartphone-tablet-computer-worried-about-led-what-damage-blue-light-causes.html

http://droidsans.com/focus-blue-light-cut-film

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
แสง,สี,ฟ้า
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 06 กันยายน 2559
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ธัชชัย ตระกูลเลิศยศ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 4835 ว่าด้วยเรื่องของ “แสงสีฟ้า” ...รู้จักดีแค่ไหน? /article/item/4835-2016-09-06-11-50-00
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
มนุษย์เราจะไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป....เมื่อบนดวงจันทร์ Enceladu ...
มนุษย์เราจะไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป....เมื่อ...
Hits ฮิต (20132)
ให้คะแนน
เมื่อเราแหงนมองท้องฟ้า เรามักถามตัวเองมาตลอดว่า ในจักรวาลอันกว้างใหญ่หรือในระบบสุริยะของเรานั้นมีสิ ...
สุริยวิถีอยู่ที่ไหน
สุริยวิถีอยู่ที่ไหน
Hits ฮิต (32476)
ให้คะแนน
สุริยวิถีอยู่ที่ไหน สุจิตรา ศิริสวัสดิ์พิพัฒน์ สุริยวิถี (Ecliptic) คืออะไร อยู่ที่ไหน มีประโยชน์กั ...
การวัดระยะทางของดวงดาวและกาแล็กซี
การวัดระยะทางของดวงดาวและกาแล็กซี
Hits ฮิต (79038)
ให้คะแนน
...การวัดระยะทางของดวงดาวและกาแล็กซี... พุทโธ่ พุทธัง กะละมังรั่ว พ่อเจ้ามนุษย์งามไส้เกิดอยากจะรู้ว ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)