ในปัจจุบันสังคมออนไลน์ ได้เข้ามามีบทบาทกับการใช้ชีวิตของเรามากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การแลกเปลี่ยนความรู้ การรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ การนัดหมายงาน ซึ่ง Facebook ถือเป็นช่องทางหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากสามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็วทั้งในรูปแบบของข้อความและรูปภาพ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้และแบ่งปัน (Learn and Share) ซึ่งกันและกันโดยทั่วไปมีลักษณะการใช้งาน Facebook อยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่
นอกจากนี้ได้มีการนำ Facebook มาใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์บ้างแล้ว เช่น การนำเสนอปัญหา คำถามที่น่าสนใจ เกร็ดความรู้ ประวัตินักคณิตศาสตร์ การถามตอบการเฉลยแบบฝึกหัด ตลอดจนการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ ดังรูป
รูปที่ 1 แสตงตัวอย่างการใช้ Facebook เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์
นอกจากนี้ การใช้ Facebook ยังสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการหาข้อมูลที่เข้าถึงได้ยาก ข้อมูลเชิงลึกซึ่งการสัมภาษณ์เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอและ Facebook ยังสามารถช่วยในการรวบรวมข้อมูลได้ถูกต้องและครบถ้วนในการทำโครงงานของนักเรียนหรือการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู เช่น
ครูมอบหมายให้นักเรียนทำโครงงานเพื่อสำรวจเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนที่นักเรียนศึกษาอยู่ นักเรียนสามารถใช้ Facebook มาช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล ให้มีความหลากหลายและมีข้อเท็จจริงมากกว่าการสัมภาษณ์จากนักเรียนแต่ละคนโดยตรงทำให้ข้อมูลที่ได้ สามารถนำไปวิเคราะห์แนวโน้มหรือทำนายผลได้ชัดเจนและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ก่อนการนำไปอ้างอิงกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทั้งหมดต่อไป
นอกจากการใช้ Facebook ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว ในชั้นเรียนก็ได้มีการนำข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลมาให้นักเรียนฝึกจำแนกประเภทของข้อมูล วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลที่ได้ในรูปแบบของตาราง กราฟแท่งหรือกราฟเส้นโดยนักเรียนสามารถใช้ Facebook เป็นช่องทางในการนำเสนอข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือศึกษาค้นคว้าเนื้อหาจากเอกสารหรือวีดิทัศน์ที่ครูมอบหมายก่อนเข้าเรียนในคาบถัดไป
ต่อไปผู้เขียนจะขอน้ำเสนอประโยชน์ของการใช้ Facebook กับการสำรวจข้อมูล ดังตารางที่ 1
รูปที่ 2 แลดงตัวอย่างของการนำเลนอข้อมูลต่าง ๆ ด้วย Focebook Poges ในรูปแผนภูมิแห่งและกราฟเล้น
จากตัวอย่างการใช้ Facebook ในการเก็บรวบรวมข้อมูลพบว่า Facebook Pages สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลของคนที่เข้ามาเยี่ยมชมได้ ผ่านแผงควบคุมสำหรับผู้ดูแล (Admin Panel) ที่ปรากฏบน Facebook เพื่อใช้ตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก โดยผู้ดูแล Facebook Pages สามารถตรวจสอบรายละเอียดของคนที่เข้ามากด Like ได้หลากหลายรูปแบบ จำแนกตาม เพศช่วงอายุ จำนวนคนที่เข้ามาชม ทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล อีกทั้งยังสามารถติดตามการกด Like หรือ การกด Share ได้อีกด้วย โดยข้อมูลที่รวบรวมได้ มีเพียงผู้ดูแล (Admin Facebook Pages) เท่านั้น จะทราบข้อมูลที่แท้จริง เพื่อนำไปปรับปรุง Facebook Pages ให้บรรลุความต้องการของตนเองได้
นอกจากนี้ ผู้เขียนยังพบว่า นักเรียนสามารถใช้ประโยชน์จากFacebook ในการเรียนสถิติได้ เพราะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวนักเรียนสามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลาที่มีอินเทอร์เน็ต อีกทั้งนักเรียนส่วนมากยังคุ้นเคยกับการใช้ Facebook อยู่แล้วในชีวิตประจำวันจึงทำให้รู้สึกใช้งานไม่ยากและเป็นการเรียนรู้ที่ไม่น่าเบื่อหน่ายซึ่งถือได้ว่าเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านการใช้สังคมออนไลน์ และในการตัดสินใจบางอย่างที่ต้องใช้ข้อมูลหรือสถิติ หาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ จากแนวโน้ม (trends) ของข้อมูลในช่วงเวลานั้น เช่น การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอาง การเลือกตั้ง การเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่จะเลือกในสาขาที่ตนเองมีความถนัด ร่วมกับการพิจารณาจาก ข้อมูล สถิติของคะแนนต่าง ๆ ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลเพิ่มเติมมาประกอบการตัดสินใจเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
Facebook จึงถือเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้นักเรียนเข้าถึงข้อมูลและสถิติต่าง ๆ ได้สะดวกมากขึ้น ตั้งแต่การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลการนำเสนอข้อมูลและการแปลความหมาย เพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียนต่อไป อีกทั้ง Facebook ยังส่งเสริมการพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เช่น การแก้ปัญหาการสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการใช้สื่อ อุปกรณ์เทคโนโลยี และแหล่งข้อมูล ซึ่งเป็นทักษะที่นักเรียนควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้เพิ่มเติมให้มากขึ้นในศตวรรษที่ 21 ทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://emagazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
Ahn, Tony. Facebook statistics 2012: New data revealed in IPO Filing. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2557,จาก http://tonyahn.com/2012/02/2012-Facebook-statistics-new-data-revealed-ipo-fling.
Facebook. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2557, จาก https://www.facebook.com/help/175644189234902.
Fun Math with IPST. สืบคั้นเมื่อ 12 มกราคม 2557, https://www.Facebook.com /FunMath Withlpst?fref=ts.
IPST Thailand. สืบคั้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2557, จาก https://www.Facebook.com/photo.php?fbid=6179043382459588set=pb.145276782175385.-2207520000.1389944047.&type=3&theater.
Mathtalent. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2557, จาก https://www.Facebook.com/MathTalent sk=insights§ion=navPeoplehttps:/www.facebook.com/help/175644189234902/
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ เล่ม 3 ขั้นมัธยมศึกษาปีที่46กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)