logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

Mobile Banking ระบบทางการเงินรูปแบบใหม่ ง่ายกว่าเดิม

โดย :
อชิรญา ชนะสงคราม
เมื่อ :
วันจันทร์, 21 กันยายน 2563
Hits
43326

          ในยุคปัจจุบันคงไม่มีใครไม่รู้จักการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งเชื่อว่าหลาย ๆ คนที่กำลังอ่านบทความนี้ ก็ต้องเคยผ่านการสั่งซื้อในรูปแบบนี้กันอย่างแน่นอน ตลาดการซื้อขายสินค้าออนไลน์มีการพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด แบรนด์ต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับตลาดออนไลน์มากขึ้น ผู้บริโภคเลือกที่จะหันมาสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่มีความสะดวกสบายเพียงแค่กดสั่งและรอสินค้ามาส่งถึงหน้าบ้าน จากการสำรวจมีคนไทยซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียเฉลี่ย 2.6 ครั้งต่อเดือนทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีตลาด Social Commerce ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Social Commerce คือการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter หรืออื่น ๆ อีกมากมาย

11466 1

ภาพรูปแบบการซื้อสินค้าออนไลน์
ที่มา https://pixabay.com, 200degrees

 Mobile Banking คืออะไร

          Mobile Banking คือตัวช่วยรูปแบบหนึ่งในการทำธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งสามารถทำได้แบบออนไลน์ ทำที่ไหนเวลาใดก็ได้ เป็นรูปแบบบริการหนึ่งของยุคดิจิทัลและสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ในปัจจุบัน

          ปัจจุบัน Mobile Banking ได้ถูกนำมาเชื่อมโยงกับโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เพื่อรองรับ Social Commerce ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว อีกทั้งเองก็ได้มีการพัฒนาฟังก์ชันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา Chatbot หรือระบบตอบข้อความอัตโนมัติ ที่แอปพลิเคชันสำหรับการสื่อสารและคนทั่วไปไปสามารถเข้าถึงและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเช่น Facebook และไลน์ สามารถสื่อสารทางการค้าได้สะดวกมากขึ้น

          บางแอปพลิเคชันก็เพิ่มฟีเจอร์ “Sell & Buy” เข้ามาตอบโจทย์การซื้อขายเฉพาะกลุ่ม แน่นอนว่าเมื่อมีการซื้อขายก็ต้องมีเรื่องการชำระเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แอปพลิเคชันหลายแอปพลิเคชันจึงได้มีการสร้างพันธมิตรการค้ากับ ผู้นำด้านการชำระเงินแบบดิจิทัลระดับโลกที่มีอยู่มากในตลาด (ธนาคารออนไลน์ ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง คอยรับ-ส่งเงินออนไลน์จากผู้ใช้ทั่วโลก เช่น PayPal เปิดตัว เพื่อการชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลที่สะดวก รวดเร็ว มีความปลอดภัยสูง อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการชำระเงินใน Social Commerce platform ที่มักใช้การโอนเงินผ่าน ATM หรือ Internet Banking ซึ่งอาจสร้างความยุ่งยากในการซื้อสินค้าและต้องอาศัยความไว้ใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในการทำธุรกรรม หรือจะเป็น Platform ตัวใหม่อย่าง PayDii ซึ่งจะทำให้การชำระเงินบน Facebook ง่ายมากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลากับเรื่องเมื่อเราตกลงปลงใจจะซื้ออะไรสักอย่างแล้วผู้ขายก็จะรีบส่งช่องทางการโอนเงินมาให้เราอย่างรวดเร็ว ถ้าส่งมาเป็นข้อความก็ง่ายหน่อย สามารถคัดลอกตัวเลขไปแปะในแอปธนาคารเพื่อโอนเงินได้ แต่ถ้าส่งมาเป็นรูปเราก็ต้องเปิดแอปแชตกับแอปธนาคารสลับไปมาเพื่อดูว่าเราป้อนเลขที่บัญชีถูกต้องไหม แล้วมานั่งเช็กอีกทีว่าใส่ราคาสินค้าถูกไหม เมื่อโอนเสร็จก็ต้องส่งสลิปไปยืนยัน ส่วนทางฝั่งผู้ขายก็ต้องเอาสลิปไปตรวจว่ามีการโอนมาจริงๆ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่มีจำนวนการสั่งซื้อสินค้าจำนวนมาก

          ซึ่งหลักการง่ายๆของ PayDii คือหลังจากที่เปิดบริการ PayDii โดย KGP ผูกกับเพจของเราแล้ว จะมีปุ่ม ฿ ขึ้นมาในหน้าสนทนากับลูกค้า ซึ่งผู้ขายสามารถกดปุ่ม ฿ นี้เพื่อสร้างใบแจ้งยอดอัตโนมัติไปหาลูกค้าได้เลย ซึ่งผู้ขายไม่ต้องสร้างไอเท็มหรือ SKU ในส่วน Shop ของเฟซบุ๊กก็สามารถพิมพ์ตัวเลขเรียกเก็บเงินได้เลย ส่วนฝ่ายลูกค้าสามารถกดชำระเงินจากใบเรียกเก็บเงินใน facebook messenger เพื่อกรอกที่อยู่และเลือกช่องทางจ่ายเงินได้เลยซึ่งรองรับทั้ง

  • บัตรเครดิต Visa, Mastercard, JCB ซึ่งสามารถจำเลขบัตรไว้ในระบบที่ปลอดภัยของ PayDii ทำให้ใช้จ่ายครั้งต่อไปได้อย่างรวดเร็ว

  • บัญชีธนาคารกสิกรไทยผ่านแอป K PLUS

  • บัญชีธนาคารกรุงเทพผ่านแอป Bualuang mBanking

  • บัญชีธนาคารกรุงศรีฯ ผ่านแอป KMA

  • บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ผ่านแอป SCB Easy

          โดยถ้าเลือกชำระผ่านแอป 4 ธนาคารนี้ ระบบก็จะข้ามไปทำงานต่อในแอปของธนาคารอัตโนมัติเพื่อยืนยันการโอนเงินให้เรียบร้อย เสร็จแล้วก็จะนำข้อมูลการโอนเงิน สลิปการชำระเงินกลับมาที่ Facebook messenger เพื่อแจ้งให้ผู้ขายทราบเอง ลูกค้าไม่ต้องจำเลขวุ่นๆอีกต่อไป ส่วนผู้ขายก็จะได้รับข้อความยืนยันจากระบบที่ชัดเจนว่าได้รับเงินเรียบร้อยหรือยังไม่เรียบร้อย ทำให้ผู้ขายไม่ต้องเสียเวลามาตรวจสอบซ้ำ และเงินที่ได้รับจากการค้าขายก็จะโอนเข้าบัญชีที่ผูกไว้ในวันรุ่งขึ้นเลยโดยอัตโนมัติ

          นอกจากนี้ ฟีเจอร์สำคัญ ๆ ที่มีเพิ่มมาอย่างมากมายเพื่อตอบโจทย์ตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ ที่สถาบันทางการเงินหรือธนาคารพัฒนากันออกมาใช้ยังมีอีกมากมายหลายรูปแบบเช่น

  1. การรักษาความปลอดภัยในการทำธุรกรรมด้วย Touch ID หรือระบบล็อกอินและยืนยันการทำธุรกรรมด้วยการสแกนลายนิ้วมือ

  2. การสแกน QR CODE เพื่อจ่ายและรับเงิน

  3. บริการเรียบเก็บและแจ้งเตือนผ่านทางระบบพร้อมเพย์ หรือบัญชีธนาคาร

  4. บริการตั้งรายการโอนเงินล่วงหน้า

  5. ตลาดซื้อขายสินค้าของธนาคารผ่าน e-Market Place ของธนาคาร

          เป็นอย่างไรกันบ้าง เห็นไหมว่ายุคดิจิทัลแบบนี้ Mobile Banking นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงทางสังคม พฤติกรรมผู้บริโภค และเศรษฐกิจโดยรวมแค่ไหน พร้อมแล้วหรือยังจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีที่ทันสมัยนี้ไปด้วยกัน

แหล่งที่มา

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. Mobile Banking รูปแบบใหม่ กับฟีเจอร์เพื่อผู้ประกอบการ e-Commerce. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2563. จาก https://www.etda.or.th/content/mobile-banking-features-for-e-commerce.html

Ekapol Chucherd. (2563, 14 กุมภาพันธ์).  ขายของบนเฟซบุ๊กต้องรู้จัก PayDii ระบบจ่ายเงินใหม่ให้ลูกค้าจ่ายง่ายกว่าเดิม!.  สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2563. จาก https://www.beartai.com/article/tech-article/401657

Marketeer Team. (2559, 15 ตุลาคม).  จับพฤติกรรมผู้ซื้อ S-Commercer.  สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2563. จาก https://marketeeronline.co/archives/26375

พิมพ์นิภา บัวแสง. (2560, 14 กันยายน).  Social Commerce เทรนด์ค้าออนไลน์ที่มาแรงไม่แพ้ Lazada.  สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2563. จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/3924

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
Mobile Banking, Social media, การซื้อขายออนไลน์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 30 เมษายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นางสาวอชิรญา ชนะสงคราม
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11466 Mobile Banking ระบบทางการเงินรูปแบบใหม่ ง่ายกว่าเดิม /article-technology/item/11466-mobile-banking
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    การซื้อขายออนไลน์ Mobile Banking Social Media
คุณอาจจะสนใจ
ใช่หรือมั่ว ชัวร์หรือไม่
ใช่หรือมั่ว ชัวร์หรือไม่
Hits ฮิต (467)
ให้คะแนน
หากผู้อ่านได้ติดตามบทความในนิตยสารสสวท. ปีที่ 48 ฉบับที่ 222 มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เรื่อง ค ...
คิดก่อน...บลา บลา นานาโชเชียล
คิดก่อน...บลา บลา นานาโชเชียล
Hits ฮิต (3809)
ให้คะแนน
สื่อสังคม หรือ Social Media ได้เข้ามามีอิทธิพลและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนไปหลายเรื่อง เช่น หากต้อง ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)