logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

6G โครงข่ายในอีก 10 ปีข้างหน้า

โดย :
ศรุดา ทิพย์แสง
เมื่อ :
วันศุกร์, 13 มีนาคม 2563
Hits
17197

          ปัจจุบันประเทศไทยเรากำลังใช้งานโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือที่เรียกว่า 4G ที่อาจเรียกได้ว่าไม่ค่อยเสถียรเท่าไหร่นัก  แต่ในปีหน้าจะมีบางประเทศที่เริ่มให้บริการโครงข่าย 5G มาเริ่มใช้ในสังคมกันมากขึ้น และเมื่อมองไปไกลกว่านั้นภายในอีกประมาณ 10 ปีข้างหน้า ประเทศที่เริ่มรองรับ 5G จะพัฒนาโครงข่ายไปถึงมาตรฐาน 6G

11204

ภาพอุปกรณ์สื่อสารและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน
ที่มา https://www.pexels.com/photo/apple-iphone-smartphone-desk-4158/

ทำความเข้าใจกันก่อนว่าสัญญาณ 5G คืออะไร ทำงานอย่างไร

          ตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน เริ่มต้นยุคแรกการเกิดสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่ามือถือ โดยยุคแรกเริ่มมีการใช้ผ่านระบบแอนะล็อกที่สามารถคุยกันผ่านเสียงได้ เราเรียกยุคนั้นว่ายุค 1G จากนั้นเราก็ค่อยๆ เข้าสู่ยุค 2…3 และ 4G ที่ใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน นั่นก็คือการเครื่องมือสื่อสารแบบสมาร์ตโฟนโดยเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต สามารถดูภาพและเสียง เล่นเกม และหนังออนไลน์ได้ในระดับที่ไม่กระตุกหรือค้างจนชวนหงุดหงิด สำหรับยุค 5G ที่กำลังจะถูกเข้ามาแทนที่นั้น เรียกว่าเป็นเจนเนอเรชั่นที่ 5 ของการสื่อสารแห่งอนาคต ที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแค่เพียงมือถือเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดที่ “เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้” ซึ่งคุณสมบัติของ 5G ว่ากันว่าจะสามารถดาวน์โหลด หรือดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ฯลฯ ด้วยความเร็วในระดับ 10,000 Mbps กันเลยทีเดียว

          เทียบให้เห็นกันชัดๆ หากในตอนนี้เราดาวน์โหลดไฟล์ผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ตในระบบ 4G จะต้องใช้เวลา 10 นาที แต่ถ้าเปลี่ยนเข้าสู่ 5G จะใช้เวลาเพียงแค่ “10 วินาที” เท่านั้น ถือว่าเป็นสัดส่วนเหนือชั้นของความเร็วในการใช้งาน และยังสามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้คนยุคนี้เป็นอย่างมาก นอกจากการดาวน์โหลดแล้ว จุดเด่นอีกมากมายของระบบนี้คือ การเชื่อมต่อไปปลายทางได้เร็วถึง 0.001 วินาที ใช้พลังงานน้อยลงถึง 90% ดังนั้นแบตเตอรี่จึงลดความเสื่อมสภาพ ใช้งานได้ยาว ๆ เกิน 10 ปีกันเลยทีเดียว ถ้าวันหนึ่งที่ 5G เริ่มถูกนำมาใช้งาน เรียกสั้นๆ ว่า 4G กลายเป็นเต่า ส่วน 5G คือกระต่ายที่วิ่งเร็วแบบไม่เห็นฝุ่นก็ว่าได้

จากสัญญาณ 5G สู่ สัญญาณ 6G โลกแห่งอนาคต กับแนวทางที่มีความเป็นไปได้

          เมื่อเราเห็นระดับไฮคลาสของ 5G ที่สามารถตอบสนองวิถีชีวิตผู้คนกันได้แบบเรียลทาร์มขนาดนี้ ก็มีการเริ่มต้นพัฒนาระบบ 6G กันเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ แล้ว อาจจินตนาการได้ยากว่าระบบที่เหนือกว่า 5G จะเหนือชั้นสักแค่ไหน ซึ่งจากที่ปรากฏให้เห็นในตอนนี้คือการทำงานร่วมกับเหล่าจักรกลอัจฉริยะหรือ AI       (Artificial Intelligence)  ซึ่งจะเป็นผู้ทำหน้าที่คอยช่วยเหลือแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างรวดเร็วด้วยความอัจฉริยะและสมองอันชาญฉลาด ความคิดอ่านที่รวดเร็วเหนือมนุษย์ ระบบ 6G ก็จะกลายเป็นการเชื่อมต่อที่เหนือกว่าแค่สัญญาณอินเทอร์เน็ต เช่น การทำงานของรถยนต์ไร้คนขับที่จะเชื่อมต่อข้อมูลผ่านระบบ AI (Artificial Intelligence) เป็นเครือข่าย สามารถขับรถได้ในเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยการจราจรได้แบบไม่มีผิดพลาด โดยการถ่ายทอดสัญญาณไปกลับระหว่างกัน ยังใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น จึงทำให้การประมวลผลรวดเร็ว ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงทันท่วงทีสำหรับใช้งาน หรือแม้กระทั่งระบบนาฬิกาข้อมือของคนออกกำลังกายที่ผสานเทคโนโลยี AI  เข้าไปด้วย จะไม่ใช่แค่นับก้าว ดูเวลา หรือวัดอัตราการเร่งของหัวใจเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เตือนให้ระมัดระวัง บอกทิศทางว่าต้องเลี้ยวไปทางไหน หรือทางไหนควรเลี่ยง

          ซึ่งหากเทียบกับในยุคปัจจุบันนั้น ระบบจะต้องใช้การคำนวณอันซับซ้อนและหนักมาก กว่าจะได้ชุดข้อมูลหนึ่งๆ ออกมา ดังนั้นการเชื่อมโยงของ 6G อาจเปรียบเสมือนสมองขนาดยักษ์ที่เชื่อมทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกันเป็น 1 สมอง จากนั้นก็จะทำการประมวลผลให้ทุกอย่างสอดคล้องกัน และเกิดการใช้งานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้คนทั่วทุกมุมโลก

          ด้วยการร่างโครงแห่งอนาคตของ 6G ที่เห็นเป็นข้อมูลคร่าวๆ โดยมีการใช้ประโยชน์จาก AI เข้ามาคอยช่วยเหลือ หากระบบนี้ถูกนำมาใช้เมื่อไหร่ เชื่อว่าสังคมจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด โดยเฉพาะความสะดวกสบาย และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ซับซ้อนให้กลายเป็นเรื่องง่าย อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน เทคโนโลยีนี้ยังอยู่ในขั้นตอนทดลองเล็กๆ น้อยๆ ยังมีความท้าทายอีกมากมายที่นักพัฒนาจะต้องก้าวข้าม แต่เชื่อว่าสักวัน พวกเราทุกคนจะมีโอกาสได้สัมผัสกับโลกอนาคตที่เหนือชั้นและไร้ทุกขีดจำกัดผ่านเครือข่ายไร้สายขั้นสุดยอดที่รวดเร็วจนแทบไม่ต้องเสียเวลาไปกับการนั่งรออีกต่อไป

แหล่งที่มา

กรุงเทพธุรกิจ. (2019, 3 Dec).  มาแน่ๆ 10 เทคโนโลยีจากอนาคต ที่ภาคธุรกิจพลาดข้อมูลไม่ได้.  สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562, จาก https://preyproject.com/blog/en/what-are-cyber-threats-how-they-affect-you-what-to-do-about-them/

Masha, Borak. (2561, 17). Forget 5G, China is working on 6G – but what does it do? : a review.  Retrieved November 17, 2018, from https://www.techinasia.com/forget-5g-china-working-6g

Forget 5G, China is working on 6G – but what does it do? : a review.  Retrieved December 3, 2019, from https://www.technologyreview.com/s/613338/ready-for-6g-how-ai-will-shape-the-network-of-the-future/

Patrick, Nelson. (2562, 12). 6G will achieve terabits-per-second speeds : a review.  Retrieved December 3, 2019, from https://www.networkworld.com/article/3305359/6g-will-achieve-terabits-per-second-speeds.html 

Modern Manufacturing. (2019, 11 Sep).  10 เทคโนโลยีสำคัญที่ต้องจับตาจากมุมมองของ Thailand Tech Show 2019.  สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562, จาก https://www.mmthailand.com/ 10-เทคโนโลยีต้องจับตา-thailand-tech-show-2019/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
6G, โครงข่าย 6G ,สัญญาณอินเทอร์เน็ต,AI,เทคโนโลยี AI,การสื่อสารข้อมูล,สัญญาณโทรศัพท์มือถือ
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 03 ธันวาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ศรุดา ทิพย์แสง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11204 6G โครงข่ายในอีก 10 ปีข้างหน้า /article-technology/item/11204-6g-10
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    สัญญาณโทรศัพท์มือถือ การสื่อสารข้อมูล สัญญาณอินเทอร์เน็ต โครงข่าย 6G 6G เทคโนโลยี AI AI
คุณอาจจะสนใจ
ฝ่าวิกฤต โรค ภัย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ฝ่าวิกฤต โรค ภัย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
Hits ฮิต (5928)
ให้คะแนน
ในขณะที่โลกเพิ่งได้รู้จักกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่อย่าง ไวรัสโคโรนา (COVID-19) และยังไม่ได้วางแผนในการร ...
AI กับเทคโนโลยีทางการแพทย์
AI กับเทคโนโลยีทางการแพทย์
Hits ฮิต (53878)
ให้คะแนน
ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์หลายๆ ด้า ...
เรียนรู้จาก Chat Bot
เรียนรู้จาก Chat Bot
Hits ฮิต (22500)
ให้คะแนน
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Bot มาพอสมควร ซึ่งระยะหลัง ๆ มานี้ ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวของเรา เริ่มมีการเปล ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)