logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) Security

โดย :
อชิรญา ชนะสงคราม
เมื่อ :
วันจันทร์, 10 กุมภาพันธ์ 2563
Hits
16607

          เมื่อพูดถึง Internet of Things ที่เรียกสั้นๆว่า IoT เราสามารถแปลได้ตรงตัวว่า "อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง" หรือ “อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” คือการที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่งการ ควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยี Internet of Things นี้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพที่ตรงใจผู้ใช้ ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ยิ่งไปกว่านั้น Internet of Things มีการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ สามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางธุรกิจ ทางสังคม หรือแม้แต่ช่วยแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้

10988 1edit
ภาพตัวอย่างอุปกรณ์ในการยืนยันตัวตนรูปแบบ 2-Factor Authentication
ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:CryptoCard_two_factor.jpg , Brian Ronald

          เทคโนโลยี Internet of Things มีประโยชน์ในหลายด้านทั้งเรื่องการเก็บข้อมูลที่แม่นยำและเป็นปัจจุบัน ช่วยลดต้นทุน แถมยังช่วยเพิ่มผลผลิตของพนักงานหรือผู้ใช้งานได้ แต่แน่นอนว่าทุกอย่างย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ตย่อมทำให้เกิดความเสี่ยงต่อข้อมูลเหล่านั้น ยิ่งอุปกรณ์เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้นเท่าไหร่ เครือข่ายของ IoT ก็จะยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเท่านั้นและข้อมูลที่ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้นก็จะมีความเสี่ยง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย หาวิธีป้องกันที่สามารถรับมือกับเหล่า Hacker หรือผู้ไม่หวังดีที่ต้องการโจมตีเครือข่าย ขโมยข้อมูลหรือใช้ช่องโหว่ในการเข้าควบคุมเครือข่าย ฉะนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทาง IoT จึงจำเป็นต้องพัฒนามาตรการและระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อให้ธุรกิจและการใช้งาน IoT สามารถดำเนินต่อไปได้

          ด้วยเหตุนี้จึงมี  Internet Of Things (IoT) Security เกิดขึ้น เทคโนโลยีด้าน IoT Security ที่มีความน่าสนใจจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น การพิสูจน์ตัวตนบน Internet Of Things (IoT) การพิสูจน์ตัวตนช่วยให้สามารถตรวจสอบได้ว่า ใครเป็นเจ้าของอุปกรณ์ Internet Of Things (IoT) รวมไปถึงสามารถบริหารจัดการผู้ใช้เมื่อมีการใช้อุปกรณ์เช่น รถยนต์อัจฉริยะ ร่วมกันได้ การพิสูจน์ตัวตนบนอุปกรณ์ Internet Of Things (IoT) จะเริ่มเปลี่ยนจากการใช้รหัสผ่านหรือ PIN แบบเดิมๆ ไปเป็นการใช้การพิสูจน์ตัวตนที่ทันสมัยและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เช่น 2-Factor Authentication เป็นวิธีการยืนยันตัวตนรูปแบบหนึ่ง ที่จะต้องให้ผู้ใช้งานใส่รหัสอีกหนึ่งชุด นอกเหนือจาก password ของเราเอง และรหัสนี้ยังมีเวลาหมดอายุอีกด้วย โดยจะมีอายุประมาณ 20 วินาที ใครใส่ไม่ทัน ก็จะมีรหัสชุดใหม่ถูกสร้างออกมา หรือจะเป็น Digital Certificate คือใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้บ่งบอกถึงความมีตัวตนของผู้ ใช้ ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง (Certification Authority : CA) ทำให้ผู้ที่ประกอบธุรกรรมต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตสามารถมั่นใจได้ว่าบุคคลหรืออุปกรณ์เครือข่าย เช่น Web Server ที่ทำการติดต่อด้วยมีตัวตนจริง และ Biometrics คือวิธีการใช้ข้อมูลทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะเฉพาะทางกายภาพหรือพฤติกรรม มาใช้ในการตรวจสอบสิทธิหรือแสดงตน เช่น ลายนิ้วมือ เสียง ม่านตา ใบหน้า ดีเอ็นเอ ลายเซ็น เพื่อป้องกันการโจมตี

          อีกอย่างหนึ่งคือ Security Analytics บน Internet of Things  เราสามารถใช้อุปกรณ์ Internet of Things เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อค้นหาเหตุการณ์ที่ผิดปกติ หรือขัดกับนโยบายด้านความปลอดภัยได้ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้จะมีการนำ AI, Machine Learning และ Big Data Analytics เข้ามาใช้สำหรับการคาดการณ์และตรวจจับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ รวมไปถึงลดอัตราการเกิด False Positive หรือผลลวงได้ การทำ Security Analytics บนอุปกรณ์ IoT นี้จะเข้ามาปิดจุดอ่อนของระบบรักษาความปลอดภัยแบบเดิมที่ไม่สามารถตรวจจับและป้องกันการโจมตีที่พุ่งเป้าอุปกรณ์ IoT ได้

          จากที่ได้กล่าวไป เทคโนโลยี Internet of Things  หรือ IoT จะช่วยเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของเราและสังคมรอบข้างไปในทางที่ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะความสะดวกสบาย ความปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจ แต่เราก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลเราด้วยเช่นกันดังนั้นในฐานะผู้ใช้เราจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ Internet of Things และระมัดระวังในการใช้งานเพื่อให้ไม่เกิดความประมาท

แหล่งที่มา

สุธีร์ กิจเจริญการกุล. (2561, 11 มกราคม).  6 เทคโนโลยีด้าน IoT Security สุดฮอตที่ควรจับตามอง.  สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2562. จาก https://www.catcyfence.com/it-security/article/6-technology-in-iot-security/

Byrd. (2562, 12 สิงหาคม).  IoT คืออะไร? เราจะมาอธิบายอย่างง่ายๆให้คุณเข้าใจ.  สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2562. จาก https://siambc.com/iot-คืออะไร-เราจะมาอธิบายอ/

Zakura Kim. (2560, 12 สิงหาคม).  IoT (Internet of Things) คืออะไร เทคโนโลยีอะไรที่ช่วยเปลี่ยนชีวิตคนยุคดิจิทัลให้ดีขึ้นบ้าง.  สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2562. จาก https://www.iphonemod.net/what-is-iot-internet-of-things-true-iot.html

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
Internet of Things, IoT, Internet of Things (IoT) Security, ความปลอดภัยบนเทคโนโลยี
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 30 ตุลาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นางสาวอชิรญา ชนะสงคราม
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10988 เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) Security /article-technology/item/10988-internet-of-things-iot-security
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    ความปลอดภัยบนเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) Security IoT Internet of Things
คุณอาจจะสนใจ
Internet of Things (IoT) เมื่อสรรพสิ่งอิงกับอินเทอร์เน็ต
Internet of Things (IoT) เมื่อสรรพสิ่งอิ...
Hits ฮิต (1850)
ให้คะแนน
เราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะทำอะไ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)