logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

สะเต็มกับบัวลอย

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันพุธ, 28 กุมภาพันธ์ 2561
Hits
29515

           แน่นอนว่าเราทราบกันดีอยู่แล้วว่า STEM (สะเต็ม)  คือแนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน  4 สาขาวิชาคือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์  โดนมีแกนคำสำคัญคือกระบวนการ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวกระทำเพื่อการแก้ปัญหา พัฒนา สิ่งที่มีอยู่หรือเพื่อสร้างสิ่งใหม่  โดยใช้กระบวนการสำคัญทั้งหลักการวิทยาศาสตร์ทั่วไป หลักการออกแบบเชิงวิศวกรรม หรือกระบวนการทางเทคโนโลยีเป็นตัวนำ

7757 1

ภาพ ลูกบัวลอย

แนวทางการจัดกิจกรรม

          วันนี้อยากนำกิจกรรมสนุก ๆ ที่สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย นั่นคือ การทำขนมบัวลอย  โดยมีต้นแบบที่ผู้เขียนได้มีโอกาสได้อ่านบทความเกี่ยวกับ เบื้องหลังการออกแบบกิจกรรม STEM คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา ออกแบบกิจกรรม “ขนมเจลลี่ที่ถูกใจ” โดยเลือกใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีเป็นตัวนำในการทำกิจกรรม

          สำหรับกิจกรรม “สะเต็มกับบัวลอย” นี้ ผู้เขียนเองก็คิดว่าน่าจะเป็นกิจกรรมที่มีความคล้ายกันกับเจลลี่ แต่ก็มีความแตกต่างกันตามขั้นตอนการทำอย่างแน่นอน  เพราะมีความยากและรายละเอียดการทำที่มากกว่า โดยไม่ได้กำหนดว่าผู้ทำกิจกรรมต้องเป็นระดับใด การบูรณาการตามขั้นตอนของกิจกรรมนี้ ต่างก็เป็นทักษะปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อย่างแน่นอน ซึ่งจะมีการเชื่อมโยงกับวิชาอื่นไรบ้างนั้น ลองพิจารณากันดูจากกิจกรรมได้เลย ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า กระบวนการทางเทคโนโลยีประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

แนวทางการจัดกิจกรรมตามกระบวนการทางเทคโนโลยี

       ประกอบด้วย

  1. ขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identify)
  2. ขั้นรวบรวมข้อมูล (Information gathering)
  3. ขั้นการเลือกวิธีการ (Selection)
  4. ขั้นออกแบบ และปฏิบัติการ (Design and making)
  5. ขั้นการทดสอบ (Testing)
  6. ขั้นการปรับปรุงแก้ไข (Modification and improvement)
  7. ขั้นการประเมินผล (Assessment)

ทีนี้เราลองนำมาบูรณาการกับกิจกรรมการทำบัวลอยกันดูบ้าง

  1. ขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการ ในขั้นนี้เราต้องลองสังเกตลักษณะภายนอกของขนมบัวลอยที่พร้อมรับประทานแล้ว สิ่งต่อไปคือการกำหนดปัญหาโดยให้ผู้ทำกิจกรรมได้ทดลองชิมขนมบัวลอย ซึ่งอาจจะมีรสชาติอย่างไรก็ได้ตามแต่ผู้นำกิจกรรมจะเป็นผู้ออกแบบ แต่สุดท้ายต้องให้ผู้ร่วมทำกิจกรรมสงสัยและกำหนดความต้องการของตนเองในรสชาติของขนมบัวลอยที่จะทำขึ้น
  2. ขั้นรวบรวมข้อมูล ค้นหาข้อมูลว่าขนมบัวลอยทำอย่างไร โดยตั้งเป็นประเด็นสำคัญว่า กว่าจะได้ขนมบัวลอย 1 ถ้วย ต้องทำอย่างไรบ้าง ต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง ต้องเตรียมวัตถุดิบอะไรบ้าง โดยทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับวัยของผู้ทำกิจกรรม หากเป็นเด็กก็อาจจะต้องเตรียมให้ หากเป็นระดับโตขึ้นมาหน่อย ก็เป็นการฝึกเพื่อให้ค้นคว้าหาข้อมูลในการทำด้วยตนเอง โดยผู้นำกิจกรรมให้คำแนะนำตามความเหมาะสม
  3. ขั้นเลือกวิธีการ ในขั้นนี้ เป็นวิธีการที่เป็นขั้นสำคัญ คือตั้งแต่การเตรียมแป้ง การแยกสารละลายน้ำกะทิ การแยกสารละลายสีต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นสีผสมในแป้ง และขั้นตอนเลือกวิธีการที่ส่งผลต่อรสชาติที่อยากจะได้ในขั้นตอนแรก เช่น รสชาติที่ต้องการ หวาน มัน เค็ม ระดับความยืดหยุ่นของแป้งลูกบัวลอย ขนาดและรูปร่างของลูกบัวลอย และสีที่ต้องการ เป็นต้น
  4. ขั้นออกแบบและปฏิบัติการ ขั้นนี้ ผู้ทำกิจกรรมจะต้องออกแบบแนวทางเพื่อให้สอดคล้องตามขั้นตอนที่เลือกไว้ โดยต้องกำหนดแนวทางปฏิบัติว่า ถ้าจะให้แป้งนุ่มอร่อย ควรนวดแป้งอย่างไร ถ้าต้องการบัวลอยสีนี้ควรใส่สีผสมอย่างไร การปั้นแป้งลูกบัวลอยที่อาจมีการออกแบบเป็นทรงกลม สี่เหลี่ยม รูปทรงตามแต่จินตนาการ ก็จะมีขั้นตอนการชั่ง การตวงส่วนผสมสำคัญ รวมไปถึงการทำน้ำขนมบัวลอยที่ต้องเติมเครื่องปรุงตามรสชาติที่ต้องการ ก็ลงมือปฏิบัติตามข้นตอนที่ออกแบบไว้  จนสุดท้ายที่การนำลูกบัวลอยไปต้มก็ต้องสังเกตและศึกษาการใช้ไฟอ่อนหรือแรงในการต้มลูกบัวลอยที่ปั้นแล้ว
  5. ขั้นทดสอบ หลังจากที่ได้บัวลอย 1 ถ้วยก็ได้เวลาพิจารณาและชิมบัวลอยถ้วยผลงานตนเอง
  6. ขั้นปรับปรุงแก้ไข ในขั้นนี้ จากการชิมเราต้องพยามยามร่วมกันพิจารณารสชาติตามที่เราตั้งใจหรือกำหนดไว้ตั้งแต่แรกว่าต้องการแบบไหน  หากยังไม่พอใจก็ร่วมกันพิจารณาว่าควรปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง เช่นการปรุงรสชาติ อุณหภูมิ ระยะเวลาการต้ม การปั้น แล้วทำการเปลี่ยนแปลงตามที่ลงความเห็นว่าต้องแก้ไข
  7. ขั้นประเมินผล หลังการปรับปรุง แล้วประเมินว่า ถูกใจ แล้วหรือยัง ถ้ายัง ควรปรับอะไรและอย่างไรอีก จากนั้นควรให้ผู้ทำกิจกรรมเขียนสรุปสูตรส่วนผสมและวิธีการทำขนมบัวลอยที่ตัวเองถูกใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ทำกิจกรรมท่านอื่น

       ซึ่งการเรียนรู้ในครั้งนี้ อาจสร้างทั้งองค์ความรู้ ความตื่นเต้น และความสนุกสนานกับผู้ร่วมทำกิจกรรมเป็นอย่างมาก 

แหล่งที่มา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). นวัตกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2560, จาก
         https://drive.google.com/file/d/0B9JhYGeJWvD_YWtmcWxxcE9LbDg/view

สุรัชน์ อินทสังข์. (2557).  เบื้องหลังการออกแบบกิจกรรม STEM คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา. สืบค้นเมื่อ 20  พฤศจิกายน 2560, จาก
          https://library.ipst.ac.th/bitstream/handle/ipst/751/187_19-22_สุรัชน์ อินทสังข์.pdf?sequence=1&isAllowed=y

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สะเต็มกับบัวลอย
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 03 มกราคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
สะเต็มศึกษา
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7757 สะเต็มกับบัวลอย /article-stem/item/7757-2017-12-04-07-54-21
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)