logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เรียนรู้วิทย์ ที่เกาะคิวชู (Kyushu)

โดย :
วรพรรณ ทิณพงษ์
เมื่อ :
วันอังคาร, 03 พฤษภาคม 2565
Hits
74

            การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นที่เป็นผลจากเศรษฐกิจตกต่ำ เป็นปัญหาใหญ่ที่นานาประเทศทั่วโลกกำลังประสบกันถ้วนหน้า และปัญหาจากภัยสึนามิที่ซ้ำเติมทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นทรุดหนักลงไปอีก วิธีการหนึ่งที่ญี่ปุ่นใช้ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจคือ การส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้เปิดโอกาสให้พลเมืองต่างประเทศสามารถเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า และหนึ่งในพลเมืองเหล่านั้นหมายถึงประชาขนคนไทยด้วย การมีสายการบินโลว์คอสสองสาย คือ แอร์เอเซียและ เจ็ทสตาร์ที่ปิดให้บริการจากกรุงเทพฯไปยังเมืองต่าง ๆเช่นโตเกียว โอซาก้า ฟุกุโอกะ และเมืองอื่น ๆ อีกหลายเมือง ทำให้คนไทยจำนวนมากพากันหลั่งไหลไปประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้ามากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชีย

            เกาะคิวชู เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะญี่ปุ่น มีเนื้อที่ 35.640 ตารางกิโลเมตร คำว่คิวชูแปลว่า เก้าแคว้น เกาะนี้มื่นครฟุกุโอะกะ (Fukuoka) เป็นเมืองเอกที่ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ ด้วยสายการบินเจ็ทสตาร์ที่คิดค่าตั๋วโปรโมขันไป - กลับ จากกรุงเทพฯ ถึงฟุกุโอกะ คนละไม่ถึงหนึ่งหมื่นบาท รวมกับค่าเช่ารถ 7 ที่นั่ง เพราะคณะของเรามี 6 คนค่าผ่านทาง ค่าน้ำมัน ค่าอาหารและค่าที่พัก คิดรวมเป็นค่าใช้จ่ายคนละประมาณ 24.000 บาท ในระยะเวลาท่องเที่ยว 6 คืน 7 วัน

            การเดินทางครั้งนี้เราได้เห็นแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้านชีววิทยา ธรณีวิทยา คณิตศาสตร์ และได้นำภาพที่สื่อความหมายด้านศิลปะ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์มาฝากเพื่อนครู นักเรียน ดลอดจนผู้ปกครองเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนและสอนจากการได้ไปเปิดโลกการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงที่เกาะคิวซูด้วยตนเอง ซึ่งสามารถทำได้ด้วยงบประมาณที่ประหยัดแต่ได้ทั้งความรู้และความสุขอย่างคุ้มค่าเงินและเวลา

kyushu 01

ที่มา http://www.siamkane.com/wp/wp-content/uploads/2013/05/kyushu.jpg

 

เรียนรู้วิทยาศาสตร์อะไรบ้างจากเกาะคิวชู

ชีววิทยา : ซากุระ ชื่อสามัญ Cherry Bloom, Cherry Blossom, Japanese Flowering Cherry

kyushu 02

ภาพ ดอกซากุระ

            ช่วงเวลาเดินทางของเราเป็นปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ หลังจากขึ้นรถเช่าที่สนามบินฟุกุโอกะแล้วจุดหมายแรก คือ ศาลเจ้าไดไซฟุ (Daizaifu) ที่นี่เราได้เห็นดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีคือ ดอกซากุระ แต่ด้วยความไม่แน่ใจว่าใช่ดอกซากุระ สมาชิกในกลุ่มต้องถกเถียงกันนานเพราะดอกซากุระที่เห็นมีหลากหลายชนิด เมื่อข้อมูลของกูเกิ้ลแสดงว่า ซากุระมีจำนวนมากกว่า 100 ชนิดและเป็นพืชในวงศ์ Rosaceae พวกเซอร์รี่ ในสกุล Prunus ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในจีนตอนใต้ เกาหลี ไต้หวัน หมู่เกาะโอกินาวา ญี่ปุ่น ดอกมีทั้งสีขาว สีชมพูอ่อนหรือสีขมพูเข้ม จำนวนกลีบดอกที่พบเห็นบ่อยมี 5 กลีบแต่มีพันธุ์อื่นที่มีจำนวนกลีบแตกต่างออกไปอาจมีมากกว่า 5 กลีบได้เรียกว่า Yaezakura ในประเทศไทยมีต้นซากุระที่ดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ลักษณะเด่นของซากุระคือ เวลาดอกร่วงมันจะร่วงพร้อมกันทั้งตันดอกไม้ต่าง ๆ รวมทั้งซากุระจะเริ่มต้นบานจากพื้นที่บริเวณเกาะทางใต้ ขึ้นไปเรื่อยจนถึง เกาะฮ็อกไกโด (Hokkaido) ซึ่งเป็นเกาะที่อยู่เหนือสุดของประเทศญี่ปุ่นช่วงเวลาดอกไม้บานที่เกาะคิวชู คือตันเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนเมษายน ตามปกติดอกซากุระจะบานอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์

 

kyushu 03

ภาพ ดอกซากุระนานาพันธุ์บานที่ศาลเจ้าไดไซฟุ Daizaiu
ที่มา: http://www.syalishan.com/Q1%20report%202011/7Q12011ume05.JPG

 

ธรณีวิทยา : บ่อน้ำพุร้อน (อังกฤษ: Hot spring) คืออะไร

            จากเมืองฟุกุโอกะ จุดหมายต่อไปคือเมืองยูฟุอิน (Yufuin) ซึ่งอยู่ห่างจากฟุกุโอกะประมาณ 120 กิโลเมตรและเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีถ นนคนเดินหลายสาย เมืองนี้จึงสะท้อนศิลปะ และวัฒนธรรมดั้งเดิมของซาวญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี หลังจากเที่ยวชมเมืองยุฟุอินและอิ่มอร่อยกับข้าวหน้าปลาไหลและซาบูแล้ว เราได้เดินทางต่อไปยังเมืองเบปปู (Beppu) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองยุฟุอินเพียง 47 กิโลเมตร

            เมื่อรถถึงเมืองเบปปุ เราก็ตื่นตาที่ได้เห็นควันสีขาวพวยพุ่งออกมาจากทางระบายน้ำข้างถนนตลอดเวลาเมืองเบปปุอยู่ในจังหวัดโออิตะ (Oita มีชื่อเสียงเรื่องออนเซนหรือบ่อน้ำพุร้อน ที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่นโดยในปี คศ. 2011 นับจำนวนได้ 2.511 บ่อ รองลงมาคือที่ยฟูอิน ซึ่งมี 863 บ่อ

            บ่อน้ำร้อน หรือ พุน้ำร้อน เป็นสถานที่ที่มีน้ำร้อนจากใต้ดินพุ่งขึ้นมา โดยผ่านตามช่องเปิดในพื้นดินน้ำพุร้อนมีอุณหภูมิสูงกว่าน้ำที่ไม่พุ ซึ่งไหลมาขังอยู่ในแองบนพื้นดินจึงเรียกว่า "บ่อน้ำร้อน"

            เมื่อถึงเมืองเบบปุสิ่งที่พลาดไม่ได้เลยคือการทัวร์บ่อนรก หรือ Jigoku Tour ทัวร์น้ำพุร้อนทั้ง 8 แห่ง แต่ละแห่งมีบ่อน้ำร้อนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละบ่อ เช่น จิโกกุ เมกุริ (Jigoku Meguri) คือบ่อน้ำพุร้อนธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลังการระเบิดของภูเขาไฟมีน้ำซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุ อาทิเช่น กำมะถัน แร่เหล็ก โซเดียมคาร์บอเนต และเรเดียมที่มีความเข้มข้นสูง แต่ละบ่อมีลักษณะที่แตกต่างกันตามแร่ธาตุที่มีจึงทำให้สีของน้ำสวยและแปลกตาต่างกันไป บางบ่อมีสีแดง บางบ่อมีสีฟ้า หรือสีเขียว น้ำพุร้อนที่ยังเดือดจะมีอุณหภูมิสูงกว่า 90 องศาเซลเซียส นอกจากเบปปุจะมีชื่อเสียงเรื่อง ออนเซ็นแล้วก็ยังมีชื่อเรื่องการอบทรายร้อนซึ่งเชื่อกันว่าจะทำให้ผิวพรรณดี แต่พวกเรามีทีเด็ดกว่านั้นตรงที่มีนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น 2 คนที่เรารู้จักที่ข้าวสารเบปปุซึ่งเป็นเรียวกังที่เราพักอยู่ เธอให้เราสัมผัสผิวของเธอแล้วแนะนำเราให้ไปแช่ตัวที่บ่อโคลนจะดีกว่า เพราะนอกจากจะทำให้ผิวพรรณนุ่มนวลแล้ว ยังผ่อนคลายอาการเมื่อยล้าด้วยเธอช่วยบอกเส้นทางการเดินทางไปสถานที่แช่บ่อโคลนสมาชิกทุกคนจึงตกลงกันว่าวันรุ่งขึ้นเราจะตามเธอไปแช่บ่อโคลน และก็ไม่ผิดหวังเลย นี่เป็นเสน่ห์อีกประการหนึ่งในการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น ที่เราไม่รู้สึกเบื่อที่จะมาเยือนอีกครั้งแล้วครั้งเล่า

 

kyushu 04

ภาพ บ่อน้ำร้อนสีแดงมีส่วนประกอบของสนิมเหล็ก
ที่มา: http://www.kanpai-japan.com/beppu/jigoku-meguri

 

kyushu 05

ภาพ บ่อน้ำร้อนสีฟ้ที่มีส่วนประกอบของแรโคบอลต์
ที่มา: http://www.kanpai-japan.com/beppu/igoku-meguri

ธรณีวิทยา : ภูเขาไฟ (อังกฤษ: Volcano) เกิดขึ้นได้อย่างไร

kyushu 06

ภาพ ปากปล่องภูเขาไฟอะโสะ
ที่มา: http://says.com/my/lifestyle/most-epic-volcano-hikes-in-the-world

            สถานที่ท่องเที่ยวที่พลาดไม่ได้อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดคุมะโมโตะ (Kumamoto) ได้แก่ ภูเขาไฟอะโสะ (Aso)ภูเขาไฟที่ยังระอุอยู่นี้อยู่ที่ใจกลางอุทยานแห่งชาติ และเป็นภูเขาไฟที่มีปากปล่องกว้างที่สุดในโลกด้วย และภูเขาไฟอะโสะก็ได้ปะทุขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

            ภูเขาไฟ คือ ภูเขาที่เกิดขึ้นจากการปะทุของหินหนืดที่มีอุณหภูมิสูงโดยแรงดันสูงจากใต้เปลือกโลกแล้วปรากฏตัวเป็นเนินเด่นทางภูมิศาสตร์ ภูเขาไฟมีหลายชนิดโดยแบ่งตามสภาพความรุนแรงในการปะทุ (ราชบัณฑิตยสถาน,2516) ทฤษฎีการเกิดภูเขาไฟ ได้แก่ ทฤษฎีพลูม (Plume Theory) ของเจสัน มอร์แกน (Jason Morgan) ซึ่งกล่าวว่าภูเขาไฟเกิดจาก จุดศูนย์รวมความร้อน (Hot Spot) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "พลูม" (Plume) ได้ถ่ายเทพลังงานของมวลที่แข็งและร้อนจากภายในชั้นของเปลือกโลกแมนเทิล (Mantle) ซึ่งเป็นชั้นหินหลอมเหลวใต้เปลือกโลกขึ้นมาที่ผิวโลก

kyushu 07

ภาพ ภูเขาไฟอะโสะ
ที่มา: http://www.japantimeline.jp/en/0000000762/

            ในวันที่เราเดินทางไปถึง ภูเขาไฟอะโสะที่กำลังปะทุอยู่ทางการจึงห้ามนักท่องเที่ยวขึ้นไปถึงบริเวณปากปล่อง เราจึงเห็นภาพการคุกรุ่นจากระยะไกล

            นี่เป็นเพียงตัวอย่างการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพียงเล็กน้อยจากประสบการณ์ตรงที่ได้จากการท่องเที่ยวที่เกาะคิวชู ประเทศไทยของเราก็มีแหล่งท่องเที่ยวที่ให้ความรู้วิทยาศาสตร์มากมาย และสถานที่เหล่านี้มีความคล้ายคลึงกับที่ประเทศญี่ปุ่น เช่น ที่ญี่ปุ่นมีดอกซากุระที่งดงามในฤดูใบไม้ผลิ เรามีดอกนางพญาเสือใคร่งซึ่งเป็นพืชสกุลเดียวกับซากุระ นางพญาเสือใคร่งเป็นพืชดอก ในสกุล Prunus ที่ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ มีพบทั่วไปบนภูเขาตั้งแต่ 1,200 - 2,400 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เราจะพบดอกพญาเสือโคร่งได้ที่ ภูลมโล จังหวัดเลย ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย ดอยเวียงแหง ดอยอ่างขาง ขุนช่างเคี่ยนขุนแม่ยะ จังหวัดเชียงใหม่ (วิกิพีเดีย)

            ทางด้านธรณีวิทยา ประเทศไทยเราก็มีแหล่งที่เคยเป็นภูเขาไฟ สำหรับน้ำพุร้อนและบ่อน้ำร้อนในเมืองไทยข้อมูลของกรมทรัพยากรธรณีแสดงแหล่งน้ำพุร้อน 112 แห่ง

 

kyushu 08

ภาพ น้ำพุร้อนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
ที่มา: http://yingthai-mag.com/magazine/reader/4623

            กระจายอยู่ทั่วไปทั้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคใต้ เช่น น้ำพุร้อนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ บ่อน้ำร้อนในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และบ่อน้ำร้อนในจังหวัดระนองและจังหวัดกระบี่ สถานที่ที่สามารถพบหินภูเขาไฟ ซึ่งจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ครูสามารถพานักเรียนไปทำกิจกรรม เพื่อศึกษาเกี่ยวกับหินภูเขาไฟได้ชัดเจน และสะดวกได้แก่

  1. วัดเมืองเก่าแสนตุ่ม บ้านเขาตาโม่ะ อำเภอเขาสมิงจังหวัดตราด
  2. อ่าวตาลคู่ อำเภอเมือง จังหวัดตราด
  3. เขากระโดง ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
  4. เขาพนมรุ้ง ตำบลตาเป็ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
  5. ภูพระอังคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
  6. เขาหินกลิ้ง อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
  7. เขาพระพุทธฉาย อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
  8. เขาแก้ว อำเภอพยุหะคีรี้ จังหวัดนครสวรรค์

            การนำนักเรียนไปศึกษาตามแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในแต่ละท้องถิ่น ถ้าครูผู้สอนจัดเตรียมกิจกรรมและใบงานล่วงหน้าจะทำให้นักเรียนได้รับความรู้จากประสบการณ์ตรงที่ยากจะลืมเลือนไม่เฉพาะแต่ครูเท่านั้นผู้ปกครองที่จะพาบุตรหลานไปท่องเที่ยว ถ้าเตรียมตัวหาข้อมูลที่น่าสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ของสถานที่ที่จะไปไว้ล่วงหน้า จะทำให้การท่องเที่ยวในแต่ละครั้ง นอกจากจะได้ตื่นตาตื่นใจกับสิ่งใหม่ ๆแล้ว ยังได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่อยู่รอบตัวด้วย ทั้งยังเป็นการปลูกฝัง การสังเกต การคิดอย่างมีเหตุผล เป็นการช่วยกระตุ้นให้เยาวชนไทยสนใจไฝ่เรียนรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์มากขึ้น

            บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

บรรณานุกรม

เกาะคิวซู. สืบคั้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559. จาก www.japantimeline.jp/th

เกาะคิวชู. สืบคั้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559. จา www.mmutphysics.com

ท่องเที่ยว. สืบคั้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559, จาก www.thaventure.com

สิน สินสกุล (2547) แหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร.

"แหล่งเรียนรู้ หินภูเขาไฟ" เบ็ญจวรรณ ศรีเจริญ, สืบคั้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559. จาก  http://secondsci.ipst.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=49:2010-06-29-04-50-27&catid=19:2009-05-04-05-01-56&Itemid=34

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เกาะคิวชู, Kyushu, ซากุระ, บ่อน้ำพุร้อน, ภูเขาไฟ
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
วรพรรณ ทิณพงษ์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ปฐมวัย
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
ปฐมวัย
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12580 เรียนรู้วิทย์ ที่เกาะคิวชู (Kyushu) /article-science/item/12580-2022-02-15-07-00-17-2-2-2-2-2-2-2
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    ภูเขาไฟ บ่อน้ำพุร้อน ซากุระ Kyushu เกาะคิวชู
คุณอาจจะสนใจ
ชีวิตนี้เพื่อคน
ชีวิตนี้เพื่อคน
Hits ฮิต (21418)
ให้คะแนน
สิ่งมีชีวิตที่กำลังจะกล่าวถึงต่อไปนี้ เกิดมาเพื่อถูกฆ่า แต่การตายของพวกมันสร้างประโยชน์ให้กับสิ่งมี ...
ว่าด้วยเรื่องของ “ไฝ”
ว่าด้วยเรื่องของ “ไฝ”
Hits ฮิต (30485)
ให้คะแนน
ว่าด้วยเรื่องของ 'ไฝ' การมีไฝนั้นเป็นความเชื่อมาตั้งแต่โบราณว่าคนที่มีปานหรือไฝตามจุดต่าง ๆ ของร่าง ...
เหตุผลของคนนอนน้อยแต่ได้ประสิทธิภาพ
เหตุผลของคนนอนน้อยแต่ได้ประสิทธิภาพ
Hits ฮิต (20368)
ให้คะแนน
พฤติกรรมการนอนหลับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกาย ในขณะที่บางคนนอนแค่เพ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)