logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

การรักษามะเร็งด้วยอนุภาคโปรตรอนพลังงานสูง

โดย :
ศ.ดร. สุทัศน์ ยกล้าน
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 22 กรกฎาคม 2564
Hits
1600

            เมื่อเดือนสิงหาคมปี ค.ศ. 2014 คนอังกฤษทั้งประเทศรู้สึกตกใจที่รู้ข่าวว่า บิดาและมารดาได้นำAshya King บุตรชายวัย 5 ขวบที่กำลังป่วยเป็นมะเร็งสมอง (Medulloblastoma) ออกจากโรงพยาบาล ทั้ง ๆ ที่แพทย์ผู้รับผิดชอบ ยังไม่ยินยอมอนุญาตตำรวจได้ตามหา Ashya King ทั่วประเทศ และในเวลาต่อมาคนใกล้ชิดครอบครัว Ashya King รายงานว่าบิดาและมารตาได้นำตัวบุตรชายไปเข้ารับการรักษามะเร็งด้วยเทคโนโลยีการฉายรังสี โดยใช้อนุภาคโปรตอนที่มีพลังงานสูง (Proton Beam Therapy) ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ยังไม่มีใช้ในอังกฤษ และมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการใช้รังสีรักษาที่ใช้ทั่วไป (Conventional Radiotherapy ) ต่อมาศาลอังกฤษตัดสินให้ Ashya King สามารถเข้ารับการรักษามะเร็งได้ที่ศูนย์บำบัดโปรตอน (Proton Therapy Centre) ในกรุงปราก ประเทศเช็กเกียหรือสาธารณรัฐเซ็ก โดยกระทรวงสาธารณสุขของอังกฤษเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ถึงวันนี้ Ashya King มีสุขภาพดีจนสามารถเข้าเรียนหนังสือในโรงเรียนได้แล้ว และในปี ค.ศ. 2018 มีศูนย์บำบัดมะเร็งด้วยโปรตอนพลังงานสูงจำนวน 2 ศูนย์ที่เปิดให้บริการในอังกฤษ

photon01

ภาพ1 Ashya King กำลังเข้ารับการรักษามะเร็ง
ที่มา https://www.cbc.ca/news/world/ashya-king-case-britishboy-undergoes-proton-beam-therapy-in-prague-1.2766244

          นับตั้งแต่โลกรู้จักมะเร็ง สิ่งที่แพทย์และคนไข้ทุกคนต้องการคือ กระสุนวิเศษที่แพทย์ใช้ยิงเซลล์มะเร็งจนตายสนิทเพราะถ้ามีและทำได้สำเร็จ การลุกลามของมะเร็งก็จะหยุดเพราะเซลล์ร้ายจะไม่ขยายบริเวณไปทำลายอวัยวะอื่น แต่ในเวลาเดียวกันทุกคนก็หวังว่ากระสุนวิเศษต้องไม่ฆ่าเซลล์ดีปกติด้วยแต่ความจริงมีว่า เซลล์มะเร็งระยะเริ่มตันมีลักษณะไม่แตกต่างจากเซลล์ดีปกติ ดังนั้น เวลาคนไข้เข้ารับการบำบัดโดยวิธีรังสีบำบัดหรือเคมีบำบัด เซลล์ดีปกติจะถูกทำลายไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และนี่คือเหตุผลที่ทำให้คนไข้มีอาการอ่อนแรง หรือมีอาการแพ้หลังการบำบัด ดังนั้น วิธีการรักษาที่ดีจึงประกอบด้วยปัจจัย 3 ประการคือ

  1. ความมั่นใจว่าเซลล์มะเร็งแฝงอยู่ที่ได้ในร่างกายโดยใช้เทคโนโลยี X-ray Computed Tomography (CT) หรือMagnetic Resonance Imaging (MRI) รวมทั้ง Positron Emission Tomography (PET) จนรู้ตำแหน่งและขนาดของเซลล์มะเร็งที่จะต้องถูกกำจัด
  2. คนไข้ต้องมีภูมิคุ้มกันและสุขภาพที่ดีพอ เพื่อคืนสภาพร่างกายได้เร็วหลังการบำบัด
  3. แพทย์มีเทคโนโลยีบำบัดที่เหมาะสม เช่น โดยวิธีผ่าตัด แต่วิธีนี้ไม่ปลอดภัย 100% เพราะเซลล์มะเร็งอาจลุกลามไปสู่อวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย หรือใช้วิธีเคมีบำบัด (Chemotherapy โดยใช้สารเคมีเข้าไปฆ่าเซลล์มะเร็ง แต่สารเคมีมักมีผลต่อเซลล์อื่น ๆ โดยเฉพาะเซลล์ไขกระดูกและเซลล์เส้นผม ตังนั้น แพทย์จึงนิยมใช้วิธีรังสีบำบัดรักษามะเร็งที่เกิดเฉพาะที่ โดยการฉายรังสีเอกซ์ที่มีพลังงานสูงตรงไปที่เซลล์ในร่างกาย รังสีเอกซ์ที่ใช้อาจได้มาจากเครื่องเร่งอนุภาคแบบเส้นตรง (Linear Accelerator) แต่ในกรณีที่ต้องการรังสีพลังงานสูงมาก แพทย์อาจใช้รังสีแกมมาที่ได้จากการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี เช่น โคบอลต์-60 ก็ได้

          ในอดีต การรักษามะเร็งด้วยวิธีผ่าตัดจะได้ผลถ้าเซลล์มะเร็งยังไม่ได้แพร่กระจายไปสู่อวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย แพทย์จึงนิยมใช้วิธีนี้เป็นวิธีรักษาเบื้องต้น จากนั้นก็ติดตามกำจัดเซลล์มะเร็งที่ได้แพร่กระจายไปแล้วโดยใช้สารเคมี ซึ่งเป็นการให้สารพิษแก่เซลล์มะเร็ง แต่วิธีนี้อาจทำให้ร่างกายได้รับผลกระทบข้างเคียงมาก ส่วนการบำบัดรักษาโดยใช้ภูมิคุ้มกัน (Immuno-therapy) เป็นการให้ยาที่จะไปทำลายความสามารถของเซลล์มะเร็งในการสยบประสิทธิภาพการทำงานของภูมิคุ้มกันเช่น ยา PD-1 inhibitor จึงเหมาะที่จะใช้รักษามะเร็งผิวหนัง (Molanoma) เพราะยาจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้กลับมาทำงานได้อีก

          อีกเทคนิคหนึ่งที่แพทย์นิยมใช้ในการรักษามะเร็งคือ ใช้อนุภาคนาโนของธาตุหนัก เช่น ทองคำ ซึ่งเป็นธาตุที่ไม่เป็นพิษ และไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับเนื้อเยื่อ จึงสามารถนำอนุภาคทองคำไปฝังที่เชลล์มะเร็งได้ เพราะทองคำสามารถมีอันตรกริยากับรังสีเอกซ์ได้เฉพาะรังสีที่บางความถี่ เมื่อรังสีเอกซ์ที่มีพลังงานเหมาะสมกระทบกับอะตอมทองคำทำให้อิเล็กตรอนที่อยู่วงในสุดของทองคำหลุดออกจากอะตอม ทำให้เกิดที่ว่างให้อิเล็กตรอนที่โคจรอยู่ในวงนอก ๆ เคลื่อนที่ลงไปแทน การเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเล็กตรอนจะให้รังสีเอกซ์พลังงานสูงที่สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ แม้การบำบัดโตยวิธีนี้จะไม่ดี 100% แต่วิธีนี้ก็ทำให้คนป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดมาก และให้ผลกระทบข้างเคียงน้อย

          ปัจจุบันแพทย์ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการรักษามะเร็งคือ การใช้โปรตอนพลังงานสูง (Proton Beam Therapy) เป็นทางเลือกสำหรับการรักษามะเร็งเฉพาะที่ เพราะแพทย์สามารถโฟกัสให้ลำอนุภาคโปรตอนพุ่งไปตรงเป้าได้อย่างแม่นย่ำกว่ารังสีเอกซ์ ดังนั้น เซลล์ปกติที่อยู่ในบริเวณรอบเซลล์มะเร็งจะได้รับอนุภาคโปรตอนในปริมาณน้อย

photon02

ภาพ 2 ผู้เชี่ยวชาญต้านมะเร็งกำลังดูภาพสแกนของ Ashya King  เพื่อวิเคราะห์การรักษา
ที่มา http:/blogs.nottingham.ac.uk/newsroom/2014/09/08/ashya-king-case-sparks-advice-from-cancer-experts/ 

          แต่โรงพยาบาลแทบทั้งโลกไม่มีอุปกรณ์นี้ใช้เพราะมีขนาดใหญ่และมีราคาแพงมาก ศูนย์บำบัดที่มีห้องรักษา 3 ห้อง ต้องใช้งบประมาณในการสร้างประมาณ 3,500 ล้านบาท วิธีการรักษา แพทย์จะให้โปรตอนเจาะทะลุเนื้อเยื่อลงไปถึงเซลล์มะเร็ง โดยโปรตอนอาจถูกเร่งให้มีความเร็วสูงถึง 60% ของความเร็วแสง ด้วยการใช้เครื่องเร่งอนุภาค เช่น Cyclotron หรือ Synchrotron ที่มีพลังงาน 235 MeV อุปกรณ์นี้มีโครงสร้างเป็นเหล็กที่หนักตั้งแต่ 100-200 ตัน เพื่อใช้ในการควบคุมทิศการเคลื่อนที่ของโปรตอน นอกจากนี้ยังต้องมีผนังคอนกรีตครอบคลุมอุปกรณ์เพื่อสกัดกั้นอนุภาคนิวตรอนที่เล็ดลอดออกมาทำอันตรายแพทย์ และเจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่อง

          ถึงวันนี้โลกมีศูนย์บำบัดมะเร็งด้วยโปรตอนพลังงานสูงกว่า 60 ศูนย์แล้ว ในอเมริกามี 26 ศูนย์โดย 12 ศูนย์ได้เปิดรักษาคนข้มานานร่วม 3 ปี แต่อีกหลายศูนย์กำลังประสบภาวะขาดทุน เพราะค่ารักษาที่แพงกว่าการรักษาด้วยรังสีเอกซ์ประมาณ 3-4 เท่า คนจึงไม่นิยม ส่วนคนที่เป็นมะเร็งรูปแบบอื่นเช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก แพทย์มักใช้เทคนิคอื่นในการรักษา เช่น กินยา ผ่าตัด นอกจากนี้ บรรดาบริษัทประกันสุขภาพในอเมริกาก็ไม่สนับสนุนให้คนไข้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้เพราะคิดว่ายังไม่มีหลักฐานที่ประจักษ์ชัดว่าวิธีนี้ดีกว่าวิธีอื่น

          ทางออกสำหรับปัญหานี้ จึงเป็นไปในทำนองว่าคนสร้างอุปกรณ์ต้องพยายามทำให้อุปกรณ์มีขนาดเล็กและมีราคาต่ำลง คือมีราคาประมาณ 175-350 ล้านบาทต่อเครื่อง ซึ่งก็แพงพอ ๆ กับเครื่องฉายรังสีเอกซ์พลังงานสูงเมื่อ 20 ปีก่อน อุปกรณ์การบำบัดด้วยโปรตอนมีขนาดใหญ่มาก ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีการสร้างแม่เหล็กตัวนำยวดยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่างเทคนิคสามารถโฟกัสลำโปรตอนได้แม่นยำขึ้น เครื่องจึงลดขนาดจากที่เคยหนัก 100 ตันลงเหลือไม่ถึง 20 ต้น และแม่เหล็กวงกลมที่ใช้ก็ลดขนาดลงจนมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ถึง 2 เมตร กระนั้นอุปกรณ์ทั้งชุดก็ยังต้องการพื้นที่ในการติดตั้งประมาณ 300 ตารางเมตรจึงใหญ่เกินที่จะมีใช้ในโรงพยาบาลทั่วไป

          ในส่วนของเทคนิคการบำบัดด้วยการจับตัวคนไข้แล้วหมุนให้เซลล์มะเร็งในร่างกายตั้งรับลำโปรตอนโดยตรงเป็นวิธีที่สามารถลดขนาดของเครื่องได้ แต่การทำเช่นนี้จะทำให้เกิดปัญหา จุดโฟกัสของลำโปรตอนอาจไม่ตรงจุดเดิมนั่นคือการทำลายเซลล์มะเร็งซ้ำตรงที่เดิมเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก วิธีหนึ่งที่อาจช่วยแก้ปัญหานี้คือ ทำให้ลำโปรตอนมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2 3 มิลลิเมตร เพื่อให้การโฟกัสทำได้อย่างเฉียบคม

          อนึ่ง เวลาโปรตอนซึ่งมีประจุบวก พุ่งชนอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบในอะตอมของเซลล์มะเร็ง ทำให้อะตอมนั้นแตกตัวเป็นไอออน หรือเป็นอนุมูลอิสระที่พร่องอิเล็กตรอนพร้อมที่จะทำปฏิกิริยาเคมีกับอนุภาคอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะกับ DNA ของเซลล์มะเร็ง ทำให้การซ่อมแซมให้กลับมามีสภาพเหมือนเดิมทำได้ยาก และไม่สามารถแบ่งตัวต่อไป ดังนั้นเซลล์จึงฆ่าตัวตาย (Apoptosis) และนี่คือหลักการที่แพทย์ใช้รังสีและอนุภาคในการฆ่าเซลล์มะเร็ง

          กระนั้น ความแตกต่างระหว่างสมรรถภาพของการบำบัดแบบรังสีและแบบอนุภาคก็ยังมีอีกคือ ร่างกายคนมีองค์ประกอบหลักเป็นน้ำ และนักฟิสิกส์ได้พบว่า เมื่อรังสีเอกซ์ผ่านไปในน้ำลึกไม่เกิน 5 เซนติเมตร จะปล่อยพลังงานให้น้ำค่อนข้างมาก แต่ที่ระดับลึกเดียวกันนี้ พลังงานที่โปรตอนปลดปล่อยออกมามีค่าน้อยกว่าประมาณ 5 เท่า นั่นแสดงว่ารังสีเอกซ์มีความสามารถในการบำบัดมะเร็งที่ผิวร่างกายได้ดี แต่ที่ระดับลึกตั้งแต่ 5-15 เซนติเมตร พลังงานของรังสีเอกซ์จะลดลงอย่างซ้ำา ๆ ในขณะที่พลังงานที่โปรตอนปลดปล่อยในช่วงนี้จะเพิ่มขึ้น จนถึงที่ระดับลึก 15 เซนติเมตร พลังงาน

          ที่ถูกปลดปล่อยจะเพิ่มสูงสุดแล้วหมดไปในทันที ทั้งนี้เพราะที่ระดับลึกมาก ความเร็วของโปรตอนจะลดลง และในเวลาเดียวกัน พื้นที่ภาคตัดขวางของการเกิดปฏิกิริยากับอนุภาคอื่นจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น ความลึก 5-15 เซนติเมตร จึงเป็นระยะลึกที่เหมาะสำหรับการรักษามะเร็งโดยเทคนิคอนุภาคบำบัด แต่ที่ระดับลึกมากกว่า 15 เซนติเมตร การฉายรังสีเอกซ์ก็ยังเป็นเทคนิคสำคัญ เพราะรังสีสามารถทะลุทะลวงไปถึง

          ตามปกติเวลาอนุภาคโปรตอนความเร็วสูงผ่านไปในเนื้อเยื่อของร่างกาย อันตรกริยาระหว่างโปรตอนกับเซลล์เนื้อเยื่อและเซลล์มะเร็งจะทำให้มันเคลื่อนที่ช้าลง โปรตอนที่มีพลังงาน 50 MeV สามารถเจาะเนื้อเยื่อลงไปได้ลึกประมาณ 2 3 เซนติเมตร ส่วนโปรตอนที่มีพลังงานสูงกว่า200 MeV อาจมีระยะลึกถึง 30 เซนติเมตร ดังนั้น การโฟกัสลำอนุภาคและควบคุมระยะลึกจึงเป็นเรื่องสำคัญมากในการบำบัด ปัจจุบันความรู้เกี่ยวกับประเด็นนี้มีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนประมาณ 0.5 เซนติเมตร (ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับการรักษาโดยรังสีเอกซ์)

          ส่วนการรักษามะเร็งชนิด Chondoma และChondrosarcoma รวมถึงมะเร็งผิวหนัง (Melanoma) และเนื้องอกในเด็กนั้น การบำบัดแบบใช้อนุภาคโปรตอนมีข้อดีคือ ลำโปรตอนสามารถปรับขึ้นลงได้ตามขนาดและรูปทรงของเนื้องอก เพื่อให้อวัยวะสำคัญที่อยู่ใกล้ ๆ ปลอดภัย เช่นการใช้วิธีนี้รักษาคนที่เป็นมะเร็งเต้านมด้านซ้าย โปรตอนจะไม่ทำร้ายหัวใจที่อยู่ด้านซ้ายของร่างกายคนๆ นั้น

 

photon03

ภาพ 3 แสดงความแตกต่างระหว่างการบำบัดแบบรังสี (Radio therapy) กับแบบอนุภาค (Proton beam therapy)
ที่มา https://www.itv.com/news/2019-01-23/teenage-boy-among-first-in-uk-to-have-beam-therapy-for-brain-tumour/

          สำหรับประเด็นผลกระทบข้างเคียงอื่น ๆ กำลังมีการวิจัย โดยเฉพาะใอกาสที่จะทำให้คนไข้ตาบอด เพราะเป็นมะเร็งที่ตา หรืออาจทำให้มี เQ ต่ำการมีศูนย์บำบัดมะเร็งแบบใช้อนุภาคโปรตอนมีเพียงไม่กี่แห่ง แพทย์มะเร็งส่วนใหญ่จึงไม่มีข้อมูลและรายละเอียดในการทำงานของเครื่อง และมักคิดว่าถ้าจะต้องส่งคนไข้ไปที่โรงพยาบาลอื่น รายได้ของโรงพยาบาลตนเองจะลด ด้านคนไข้ก็ไม่ชอบการเดินทางไกล ดังนั้น การส่งต่อคนไข้จึงมีกระทำกันค่อนข้างน้อย

          ในปี ค.ศ. 2015 ประเทศสวีเดนมีศูนย์บำบัดอยู่ที่เมือง Uppsaa เพื่อรับคนไข้จากโรงพยาบาลทั่วประเทศ และในปี ค.ศ. 2019 อเมริกาจะมีศูนย์บำบัดที่ Manhattan ให้บริการแต่อาจทำได้ไม่ดีเท่าที่สวีเดน เพราะอเมริกาเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ และมีประชากร (คนไข้) มากกว่าแต่การมีเทคโนโลยีใหม่ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องดีและใช้ได้ง่ายเสมอไป เพราะปกติพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญการใช้อุปกรณ์นี้มักมีไม่พอ ทางออกสำหรับเรื่องนี้คือ ใช้พนักงานที่ทำงานเดียวกับพนักงานบำบัดด้วยรังสีเอกซ์ และโรงพยาบาลทุกแห่งจะต้องกระจายความรู้เกี่ยวกับการรักษาคนไข้ด้วยวิธีนี้ให้กันและกันมากขึ้นด้านนักฟิสิกส์และวิศวกรจะต้องทำงานร่วมกับแพทย์ที่รักษาคนไข้ ในการโฟกัสลำอนุภาคโปรตอนอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อค่ารักษาลดลงจนใกล้เคียงกับค่ารักษาด้วยรังสีเอกซ์ความนิยมที่จะได้จากการรักษามะเร็งโดยวิธีนี้ก็จะมากขึ้น

 

photon04

ภาพ 4 ศูนย์บำบัดมะเร็ง เมือง Uppsala ประเทศสวีเดน
ที่มา https://skandionkliniken.se/en/about-proton-beam-therapy

          ในปี ค.ศ. 2017 ศูนย์ปฏิบัติการนิวเคลียร์แห่งยุโรปCERN ที่กรุง Geneva ในสวิสเซอร์แลนด์ ได้ติดตั้งเทคโนโลยีบำบัดมะเร็งด้วยโปรตอนพลังงานสูง โดยใช้ลำโปรตอนที่แยกออกมาจากเครื่องเร่งอนุภาค LHC (Large Hadron Collider)ที่ใช้ในการพบอนุภาค Higgs แล้วในเดือนพฤษภาคมปี ค.ศ. 2018 ได้มีการประชุมขององค์การ Particle Therapy Co-Operative Group ให้บรรดาสมาชิกของสมาคมการบำบัดมะเร็งด้วยอนุภาคทั้งโลกมาประชุมกัน เพื่อถกปัญหาและตอบคำถามเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่นี้

           บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

 

บรรณานุกรม

Paganetti, Harald. (2017). Proton Beam Therapy. Institute of Physics.Proton beam therapy patient statistics until the end of 2015. Retrieved May 21, 2019, from https://www.ncbi.nIm.nih.gov/pmc/articles/PMC5772792/table/tl-mco-0-0-1499/? report= objectonly

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
มะเร็ง, การใช้โปรตอนพลังงานสูง, โปรตอน, รังสี
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ปฐมวัย
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12409 การรักษามะเร็งด้วยอนุภาคโปรตรอนพลังงานสูง /article-science/item/12409-2021-08-23-05-58-55
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    รังสี การใช้โปรตอนพลังงานสูง โปรตอน มะเร็ง
คุณอาจจะสนใจ
อันตรายจากแสงแดดต่อผิวหนัง
อันตรายจากแสงแดดต่อผิวหนัง
Hits ฮิต (2182)
ให้คะแนน
แสงแดดที่ผ่านเข้าสู่ผิวโลกประกอบด้วยรังสีหลายชนิด เมื่อรังสีผ่านเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก รังสีบางส ...
มะเร็งท่อน้ำดี ภัยเงียบที่น่ากลัว
มะเร็งท่อน้ำดี ภัยเงียบที่น่ากลัว
Hits ฮิต (28520)
ให้คะแนน
ในงาน มิติใหม่การศึกษา เดินหน้าประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ที่ผ่าน ...
John Cockcroft และ Ernest Walton ผู้บุกเบิกการเปลี่ยนแปลงธาต ...
John Cockcroft และ Ernest Walton ผู้บุกเ...
Hits ฮิต (575)
ให้คะแนน
ค.ศ. 1932 เป็นปี้ทองของวงการฟิสิกส์ เพราะในเดือนมีนาคมของปี James Chadwick แห่งมหาวิทยาลัย Cambridg ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)