logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

อันตรายจากแสงแดดต่อผิวหนัง

โดย :
สุุธาทิพย์ หวังอำนวยพร
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 08 กรกฎาคม 2564
Hits
4064

            แสงแดดที่ผ่านเข้าสู่ผิวโลกประกอบด้วยรังสีหลายชนิด เมื่อรังสีผ่านเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก รังสีบางส่วนจะถูกดูดซับหรือสะท้อนกลับ ทำให้มีรังสีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ผ่านเข้าสู่ผิวโลกได้ โดยทั่วไปเรามักนึกถึงรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) แต่ทราบหรือไม่ว่า รังสีอัลตราไวโอเลตที่ผ่านเข้ามายังลกมีเพียง 8% เท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นรังสีอินฟราเรด (Infrared) ซึ่งมีประมาณ 53% และที่เหลือเป็นแสงที่มองเห็นได้ (Visible light) ประมาณ 39% รังสีที่มีอันตรายต่อผิวหนังของเราคือ รังสีอัลตราไวโอเลตและรังสีอินฟราเรด ทั้งนี้รังสีอัลตราไวโอเลตมีความยาวคลื่นต่ำกว่า แต่มีความถี่และพลังงานสูงกว่าแสงที่มองเห็นได้และรังสีอินฟราเรด ตามลำดับ ดังภาพ 1

ray 01 

ภาพ 1 รังสีจากดวงอาทิตย์

รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ UV

            รังสีอัลตราไวโอเลตมีความถี่มากกว่าแสงสีม่วงในแสงที่มองเห็นได้ จึงเรียกว่า อัลตราไวโอเลต (อัลตรา (ultra) แปลว่าเหนือ) และมีความยาวคลื่นต่ำกว่ารังสีที่มองเห็นได้ เราจึงมองไม่เห็นรังสีอัลตราไวโอเลตด้วยตาเปล่า ดังนั้นการแบ่งชนิดของรังสีอัลตราไวโอเลตจึงต่างจากรังสีที่มองเห็นได้ซึ่งแบ่งตามสีที่สังเกตได้ เช่น แสงสีแดง แสงสีม่วง โดยแบ่งรังสีอัลตราไวโอเลตตามช่วงความยาวคลื่นเป็น 3 ช่วง ได้แก่ UVA UVB และ UVC

ray 02

            เมื่อรังสีสัมผัสกับผิวหนัง รังสีที่มีปริมาณพลังงานที่เหมาะสมจะถูกดูดซึมเพื่อใช้ในการเกิดปฏิกิริยาเคมื ถึงแม้ UVA จะมีพลังงานต่ำกว่า UVB แต่สามารถผ่านชั้นผิวหนังได้ลึกกว่า UVB โดย UVA สามารถผ่านชั้นผิวหนังได้ถึงหนังแท้ (Dermis) ซึ่งเป็นผิวหนังชั้นใน ส่วน UV8 จะถูกดูดซับอยู่ที่หนังกำพร้า (Epidermis ซึ่งเป็นผิวหนังชั้นนอก ทั้งนี้เนื่องจากพลังงานของ UVB มีปริมาณเหมาะสมในการเกิดปฏิกิริยาเคมื เมื่อสัมผัสกับผิวหนังจึงถูกดูดซึมเพื่อใช้ในการเกิดปฏิกิริยาได้อย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุหลักของผิวไหม้จากแสงแดด ขณะที่ UVA ซึ่งมีพลังงานต่ำกว่าจึงไม่เกิดปฏิกิริยาที่ชั้นหนังกำพร้าแต่สามารถผ่านไปสู่ชั้นหนั่งแท้ซึ่งเป็นผิวหนังที่อยู่ลึกกว่า แล้วจึงถูกดูดซึมเกิดเป็นสารอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวคล้ำ รวมทั้งก่อให้เกิดผลเสียระยะยาว เช่น รอยผิวหนังเหี่ยวย่น จุดต่างดำ นอกจากนี้ทั้ง UVA และ UVB ยังส่งผลกระทบต่อ DNA ของเซลล์ผิวหนัง ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนัง

ray 03

ภาพ 2 ผลของ UVA และ UVB ต่อผิวหนัง

รังสีอินฟราเรด หรือ IR

            รังสีอินฟราเรดมีความถี่น้อยกว่าแสงสีแดงในแสงที่มองเห็นได้ จึงเรียกว่า อินฟราเรด (อินฟรา (Infra) แปลว่า ใต้) และมีความยาวคลื่นสูงกว่ารังสีที่มองเห็นได้ เราจึงมองไม่เห็นรังสีอินฟราเรดด้วยตาเปล่า แต่สัมผัสถึงความร้อนได้ จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า รังสีความร้อน ไม่ว่าความร้นจากแสงแดด เปลวไฟ รวมทั้งเครื่องใช้ฟฟ้าที่ส่งความร้อนได้ เช่น คอมพิวเตอร์ มือถือ หลอดไฟ ล้วนเป็นรังสีอินฟราเรดทั้งสิ้น รังสีอินฟราเรดแบ่งตามช่วงความยาวคลื่นได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่ IR-A IR-B และ IR-C

ray 04

ในปัจจุบันพบว่านอกจากรังสีอัลตราไวโอเลตแล้ว รังสีอินฟราเรดก็เป็นอันตรายต่อผิวหนังได้เช่นกัน โดยรังสี IR-A เป็นอันตรายต่อผิวหนังมากที่สุด เมื่อเทียบกับ IR-B และ IR-C สามารถผ่านเข้าสู่ขั้นผิวได้ลึกกว่า UVA ประมาณ 65% รังสี IR-A สามารถผ่านเข้าสู่ชั้นผิวได้ลึกกว่าชั้นหนังแท้ หากได้รับรังสีติดต่อกันเป็นเวลานาน จะสะสมเกิดความเสียหายต่อผิวหนัง ทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระ ลดปริมาณคอลลาเจนในผิวหนัง ผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้เกิดรอยผิวหนังเหี่ยวย่น รวมทั้งก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง

การป้องกันรังสีจากแสงแดด

            ในธรรมชาติมีสิ่งที่ช่วยป้องกันรังสีจากแสงแดดคือ แก๊สโอโชนและแก๊สออกซิเจนที่อยู่ในชั้นโอโชน แต่เนื่องจากปัจจุบันชั้นโอโซนถูกทำลายเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปริมาณรังสีจากแสงแดดผ่านลงมาสู่ผิวโลกได้มากขึ้น ดังนั้น เราจึงควรป้องกันอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลตและรังสีอินฟราเรด โดยการหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด สวมใส่เสื้อผ้าปิดผิวมิดชิดรวมถึงใส่หมวกปักกว้าง และควรทาผลิตภัณฑ์กันแดด

ในผลิตภัณฑ์กันแดดประกอบด้วยสารที่ทำหน้าที่ป้องกันรังสี ซึ่งแบ่งตามคุณสมบัติในการป้องกันรังสี ได้เป็น 2 ประเภท

  1. สารกลุ่มที่ป้องกันรังสีโดยการสะท้อนกลับ สารกลุ่มนี้จะเคลือบอยู่บนผิวหนังและไม่ดูดซึมสู่ผิวหนัง จึงสามารถออกฤทธิ์ได้ทันทีหลังทาและเกิดการแพ้ได้น้อย เนื่องจากสารกลุ่มนี้ป้องกันรังสีโดยการสะท้อนกลับ จึงจัดให้สารกลุ่มนี้เป็นการป้องกันรังสีแบบกายภาพ ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบอนินทรีย์ เช่น ชิงค์ออกไซด์ (Zn0) หรือ ไททาเนียม (V) ออกไซด์ (TO,) สามารถป้องกันได้ทั้ง UVA UV: แสงที่มองเห็นได้และรังสีอินฟราเรด แต่มีข้อด้อยคือ สารกลุ่มนี้มีขนาดอนุภาคที่ค่อนข้างใหญ่ เมื่อทาที่ผิวจะเกิดการสะท้อนแสง ทำให้เกิดสีขาววอกบริเวณที่ทาแลดูไม่เป็นธรรมชาติ ต่อมาจึงมีการพัฒนาโดยทำให้สารมีอนุภาคขนาดเล็กลงในระดับนาโน ทำให้ไม่เกิดสีขาววอกและกระจายตัวบนผิวได้ง่าย แต่อาจทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีลตลง
  2. สารกลุ่มที่ป้องกันรังสีโดยการดูดกลืนรังสี สารกลุ่มนี้จะซึมเข้าสู่ผิวหนังแล้วดูดกลืนรังสีไว้ หลังจากนั้นจึงค่อย ๆ คายพลังงานออกมาในรูปของรังสีที่ไม่เป็นอันตราย จึงจัดสารกลุ่มนี้เป็นการป้องกันรังสีแบบเคมี ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบ อนินทรีย์ซึ่งมีหลายชนิด บางชนิดสามารถป้องกันได้เพียง UVA หรือ UVB เท่านั้น แต่บางชนิดสามารถป้องกันได้ทั้งคู่ โดยประสิทธิภาพในการดูดกลืนรังสีของสารเหล่านี้ขึ้นกับโครงสร้างทางเคมีของสารแต่ละชนิด สารกลุ่มนี้สามารถป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้ดี เพราะสามารถดูดกลืนรังสีไว้ได้ทั้งหมด แต่มีโอกาสเกิดการแพ้ต่อผิวได้มากกว่าสารที่ป้องกันรังสีโดยการสะท้อนกลับ

ray 05

              ผลิตภัณฑ์กันแดดส่วนใหญ่ จะระบุแค่ที่แสดงประสิทธิภาพในการป้องกันผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลต เช่น SPF PAโดย SPF (Sun Protection Factor เป็นค่าที่แสดงประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจาก UVB ที่ส่งผลให้ผิวมีอาการแดงหรือผิวไหม้ ถ้าปกติผิวที่ตากแดดนาน 15 นาทึ จึงเริ่มมีอาการแดง หากทาครีมกันแดดที่มี SPF10 จะทำให้ผิวทนแดดได้นานขึ้น 10 เท่า เป็น 150 นาที  แต่เนื่องจากในการทดสอบครีมกันแดดจะทำในห้องทดลองที่ใช้หลอดฟแทนแสงอาทิตย์ รวมทั้งมีการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความหนาของครีมที่ทาบนผิว คุณหภูมิ ความชื้น การเคลื่อนไหวของผู้ทำการทดสอบ จึงทำให้ค่าที่ทดสอบได้ส่วนใหญ่มีค่าสูงกว่าการใช้จริง ส่วน PA (Protecion Grade of UVA) เป็นค่าที่แสดงประสิทธิภาพการปกป้องผิวจาก UVA ซึ่งทำให้ผิวคล้ำ โดยการระบุค่า PA ถ้ามีจำนวน + มาก แสดงถึงประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจาก UVA ที่เพิ่มมากขึ้น ตังนี้ PA+ ป้องกัน UVA ได้ 2-4 เท่า PA++ ป้องกัน UVA ได้ 4-8 เท่า PA+++ ป้องกัน UVA ได้ 8-16 เท่า PA++++ ป้องกัน UVA ได้มากกว่า 16 เท่า

            ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์กันแดดมีหลายชนิด นอกจากจะมีสารที่ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตแล้ว ยังมีการพัฒนาให้สามารถป้องกันรังสีอินฟราเรด และมีการเดิมสารกลุ่มต้านอนุมูลอิสระด้วย ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หล่านี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF หรือ PA สูงเกินไป ทั้งนี้ควรพิจารณาถึงลักษณะของกิจกรรมที่ทำ ความไวของผิวต่อรังสีรวมทั้งความไวของผิวต่อส่วนประกอบในครีมกันแดดที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้อีกด้วย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

 

บรรณานุกรม

ColorScience. What is PA+++? . Retrieved January 23, 2019, from https://www.colorescience.com/learn/what-is-pa.

Fahlman, B.D. (2018). Chemistry in Context: Applying Chemistry to Society. New York: McGraw-Hill Education.

International Commission on non-ionizing radiation protection. Infrared Radiation 780 nm - 1000 um. Retrieved January 16, 2019, from https://www.icnirp.org/en/frequencies/infrared/index.html.

Karukstis, K.K. & Van Hecke G.R. (2000). Chemistry Connections: The Chemistry Basis of Everyday Phenomena. San Diego: Harcourt Academic press. Skin Cancer Foundation. UVA & UVB. Retrieved January 15, 2019, from https://www.skincancer.org/prevention/uva-and-uvb.

หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ผลิตภัณฑ์กันแดดปกป้องผิวอย่างไร?. สืบคันเมื่อ 22 มกราคม 2562. จาก https:/www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=38.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ผิวหนัง, แสงแดด, รังสี
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุุธาทิพย์ หวังอำนวยพร
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
ระดับชั้น
ปฐมวัย
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
บุคคลทั่วไป
  • 12349 อันตรายจากแสงแดดต่อผิวหนัง /article-chemistry/item/12349-2021-07-01-05-38-39
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    แสงแดด ผิวหนัง รังสี
คุณอาจจะสนใจ
ต้นกำเนิดธาตุกัมมันตรังสี
ต้นกำเนิดธาตุกัมมันตรังสี
Hits ฮิต (30597)
ให้คะแนน
จากที่ทุกคนเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการรั่วไหลของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะของประเทศญี่ปุ่น ที่เกิดเหต ...
เกิดอะไรขึ้นเมื่อผิวถูกแดดเผา?
เกิดอะไรขึ้นเมื่อผิวถูกแดดเผา?
Hits ฮิต (11959)
ให้คะแนน
เมื่อเข้าสู่หน้าร้อนของไทยอย่างเป็นทางการ กิจกรรมคลายร้อนคงหนีไม่พ้น การเที่ยวทะเล และแม้การเล่นน้ำ ...
การรักษามะเร็งด้วยอนุภาคโปรตรอนพลังงานสูง
การรักษามะเร็งด้วยอนุภาคโปรตรอนพลังงานสู...
Hits ฮิต (3131)
ให้คะแนน
เมื่อเดือนสิงหาคมปี ค.ศ. 2014 คนอังกฤษทั้งประเทศรู้สึกตกใจที่รู้ข่าวว่า บิดาและมารดาได้นำAshya King ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)