logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

Pizzly Bear ผลพวงภาวะโลกร้อน

โดย :
สิริประภาภรณ์ สิงหบุราจารย์
เมื่อ :
วันอังคาร, 30 มีนาคม 2564
Hits
4342

          อยากรู้กันบ้างไหมว่าหมีชนิดใหม่เกี่ยวข้องอะไรกับภาวะโลกร้อน หมีชนิดใหม่นี้มีชื่อว่า Pizzly Bear หรือบางพื้นที่เรียกว่า Grolar Bear ก็ได้ เหตุที่เรียกสองชื่อนี้ก็มาจากการรวมคำของชนิดพ่อและแม่คือหมี Grizzly + Polar นั่นเอง ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใช่ไหม คงเหมือนการผสมข้ามสายพันธุ์ทั่วๆไปของสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น ฬ่อ  ของม้ากับลา หรือ ไลเกอร์ ซึ่งเป็นส่วนผสมของสิงโตกับเสือ แต่ความแตกต่างก็คือพ่อแม่ของฬ่อและไลเกอร์นั้นต่างก็ใช้ชีวิตอยู่ในสภาพภูมิอากาศเดียวกัน

11653 1

ภาพที่ 1 หมีลูกผสม Pizzly Bear
https://www.pexels.com/ , Lucas Kleipodszus

          แต่เจ้าตัว Pizzly Bear นี้เกิดจากหมีขั้วโลกสีขาว (Polar Bear) ที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่ขั้วโลกเหนือเท่านั้น เช่นเดียวกับหมีกลิซลีที่เป็นสายพันธุ์เดียวกับหมีสีน้ำตาล (Grizzly Bear) อาศัยในเขตอบอุ่นทั่วทวีปอเมริกาเหนือและอะแลสกา สภาพภูมิอากาศถิ่นที่อยู่อาศัยของหมีทั้งสองแตกต่างกันมากจนไม่น่าจะมาเจอกันได้ แต่เมื่อราวๆ20ปีก่อน ได้เริ่มมีผู้คนพบหมีพันธุ์ลูกผสมนี้แถบทวีปแคนาดา พวกเขาไม่รู้ว่ามันคือหมีชนิดไหนลำตัวสีขาวเหมือนหมีขั้วโลกเหนือสีขาวแต่ก็มีลำตัวใหญ่บึกบึนตัวใหญ่กล้ามเนื้อหัวไหล่ที่แข็งแรงใบหน้าแต้มสีน้ำตาลยื่นยาวเหมือนหมีสีน้ำตาล ต่างพากันเรียกว่า Pizzly Bear บ้าง Grolar Bear บ้าง และเนื่องจากเป็นหมีที่รวมลักษณะเด่นของทั้งหมีสีขาวและหมีสีน้ำตาลสองขนิดทำให้บางคนก็ยังขนานนามหมีชนิดนี้ว่า Super Bear

11653 2

ภาพที่ 2 แสดงให้เห็นลำคอยาวของ Pizzly Bear
ที่มา https://unsplash.com/photos

          โลกใบสีเขียวฟ้าของเรานี้เผชิญกับภาวะโลกร้อนมาอย่างยาวนานและหมี Pizzly ก็เป็นหนึ่งในผลพวงที่สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อน อุณหภูมิของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกๆปีเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้น 1 องศาทุกปี แต่บริเวณขั้วโลกเหนือที่เป็นน้ำแข็งนั้นอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นสูงมากกว่าถึง 2 องศาต่อปี น้ำแข็งขั้วโลกละลายและแน่นอนต้องส่งผลถึงเจ้าหมีขนปุยสีขาวน่ารักที่หากินในบริเวณนี้เป็นแน่

11653 3

ภาพที่ 3 หมีขาวขั้วโลก Polar Bear
ที่มา https://unsplash.com/photos/qQWV91TTBrE

          เจ้าหมีขั้วโลกเหนือสีขาวนี้กินแมวน้ำที่ซุกตัวอยู่ในหิมะเป็นอาหารและพวกมันยังมีถ้ำน้ำแข็งเป็นบ้านจำศีลในช่วงเวลาอันหนาวเหน็บในฤดูหนาวในเดือนธันวาคมและมกราคมเพื่อคลอดลูกและอนุบาลลูกหมีสีขาวตัวน้อยที่ต้องใช้เวลาลืมตาถึง33-44วัน สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ห่วงโซ่อาหารขาดสมดุลหาอาหารยากขึ้นพวกหมีสีขาวจึงต้องขยายพื้นที่หาอาหารมากยิ่งขึ้นและเดินลงมาหาอาหารเข้าใกล้เขตเส้นศูนย์สูตรมากขึ้น และในขณะเดียวกันนั้นเองอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นก็ได้ทำให้บริเวณที่เคยหนาวเย็นกลับอบอุ่นมากขึ้นจนหมีสีน้ำตาลสามารถขยายขอบเขตพื้นที่หาอาหารขึ้นไปเหนือเส้นศูนย์สูตรได้มากขึ้น พอนึกภาพออกกันไหมว่าเจ้าหมีสองชนิดที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงนี้มาเจอกันได้อย่างไร

11653 4

ภาพที่ 4 หมีสีน้ำตาล Grizzly Bear
ที่มา https://www.pexels.com/ , Janko Ferlic

          นี่อาจจะเป็นการปรับตัวของวิวัฒนาการหมีให้เหมาะสมกับสภาวะโลกร้อนได้มากยิ่งขึ้นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่เหมาะสมกว่าก็จะอยู่รอดต่อไป แต่แล้วพ่อและแม่ที่เป็นบรรพบุรุษของมันเล่าจะเป็นอย่างไรในอนาคต ในทุกวันนี้นั้นหมีขั้วโลกเหนือมีอัตราน้อยลงเรื่อยๆทุกปี และหากว่าวันหนึ่งมันได้สูญพันธุ์ไปอย่างไม่มีวันย้อนกลับเหมือนสัตว์ชนิดอื่นๆเล่า คงเห็นแต่เพียงภาพถ่ายและเรื่องเล่าขาน หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับสัตว์อย่างมนุษย์จะเป็นอย่างไร พบกันต่อในบทความต่อไปเรื่อง โรคระบาดเกี่ยวอะไรกับภาวะโลกร้อน

แหล่งที่มา

วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล.(2563, 24 กุมภาพันธ์) “หมี Pizzly Bear (Grizzly + Polar) ผลพวงที่ไม่คาดคิดจากภาวะโลกร้อน” สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://m.facebook.com/wannasingh/posts/2768701819834288

ทักษิณา ข่ายแก้ว.(2561, 6 กุมภาพันธ์) “หมีขาวขั้วโลก ล่าเหยื่อได้น้อยลง เพราะแผ่นน้ำแข็งละลายเร็วขึ้น” สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2563 จาก https://www.voathai.com/a/starving-polar-bears-tk/4240726.html

Dina Spector and Kevin Loria.(2014, 16 August) “A Changing World Is Creating These Hybrid Animal” Retrieved June 6, 2020, from https://www.businessinsider.com/pizzly-bear-and-other-hybrid-animals-2014-8

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
Pizzly Bear, Grolar Bear, Super Bear, หมีลูกผสม, น้ำแข็งขั้วโลก
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 06 มิถุนายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สิริประภาภรณ์ สิงหบุราจารย์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11653 Pizzly Bear ผลพวงภาวะโลกร้อน /article-science/item/11653-pizzly-bear
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    น้ำแข็งขั้วโลก หมีลูกผสม Super Bear Grolar Bear Pizzly Bear
คุณอาจจะสนใจ
อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลาย
อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลาย
Hits ฮิต (48827)
ให้คะแนน
พฤติกรรมมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงขึ้นทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (climate ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)