logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลาย

โดย :
ณิดา อภิสิทธิ์วงศา
เมื่อ :
วันพุธ, 10 มิถุนายน 2563
Hits
43117

          พฤติกรรมมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงขึ้นทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (climate change) ซึ่งส่งผลกระทบกับหลายพื้นที่บนโลก โดยพื้นที่ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนคือบริเวณขั้วโลกมีปริมาณการละลายของน้ำแข็งที่มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องทุกปี และยังเป็นตัวชี้วัดที่สามารถบอกสถานการณ์ของสภาวะอากาศบนโลกได้อย่างชัดเจน เรามาติดตามดูกันดีกว่าจะจะเกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อน้ำแข็งที่ขั้วโลกที่เรารู้จักละลายเพิ่มขึ้นมากเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง

11328

ภาพภูเขาน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก
ที่มา https://pixabay.com , 358611


          แผ่นภูเขาน้ำแข็ง หรือธารน้ำแข็ง (Glacier) ครอบคลุม 2 ทวีปคือ ทวีปกรีนแลนด์ทางตอนเหนือ หรือที่เราเรียกว่า ขั้วโลกเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 1.7 ล้านตารางกิโลเมตร และทวีปแอนตาร์กติกาทางตอนใต้หรือที่เราเรียกว่า ขั้วโลกใต้ มีพื้นที่ที่ใหญ่กว่าโดยมีเนื้อที่ประมาณ 14 ล้านตารางกิโลเมตร ถ้าน้ำแข็งขั้วโลกทั้งบริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ละลาย จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นถึง 70 เมตร ซึ่งโดยปกติน้ำแข็งจะใช้เวลาในการเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ แต่ขณะนี้น้ำแข็งขั้วโลกได้มีการละลายโดยใช้ระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี เช่น ภูเขาน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดชื่อ A68 ขนาด 2,200 ตารางไมล์ หลุดออกมาจากหิ้งน้ำแข็ง(ice shelf) ชื่อ Larsen C ในทวีปแอนตาร์กติกา เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2017

           น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกที่มีการละลายสูงขึ้นส่งผลกระทบหลาย ๆ ด้านโดยที่เห็นเป็นภาพชัดเจนมีดังนี้

           1. สัตว์ที่อาศัยแถบก้อนน้ำแข็งขั้วโลกเริ่มสูญพันธุ์ เช่น เพนกวินจักรพรรดิ (emperor penguin) ไม่มีที่ฟักตัวของตัวอ่อนและลูกนกเพนกวินจักรพรรดิต้องจมน้ำลงเนื่องจากไม่มีที่อาศัยอยู่ หรือหมีขั้วโลกไม่สามารถหาทางกลับถิ่นอาศัยได้และต้องมีการย้ายถิ่นฐานเพื่อหนีน้ำแข็งที่ละลายมามีการย้ายถิ่นฐานของสัตว์มารุกรานที่ทำกินของคนเพื่อหาแหล่งอาหารใหม่

           2. ที่อยู่อาศัยแถบน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกไม่มั่นคง ทำให้ประชากรบริเวณนั้นต้องมีการอพยพออก เช่น สถานีวิจัย Roshydromet ของประเทศรัสเซีย ต้องมีการอพยพคน เร่งด่วนภายใน 3 ชั่วโมง เนื่องจากแผ่นน้ำแข็งเกิดการแตกออกอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถหาที่ตั้งสำหรับสถานีวิจัยใหม่ได้เนื่องจากไม่มีน้ำแข็งที่แข็งแรงพอที่จะสามาารถสร้างได้

           3. ปริมาณของระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นทำให้ปริมาณน้ำริมฝั่งทะเลไหลเข้าไปกระทบกับชุมชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งทะเลจนได้รับความเดือดร้อนซึ่งโดยปกติโลกของเรามีปริมาณพื้นน้ำร้อยละ 70 และพื้นดินมีเพียงแค่ร้อยละ 30 ซึ่งการที่น้ำแข็งขั้วโลกละลายนั้นทำให้ปริมาณของระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น และส่งผลให้น้ำเข้าไปกัดเซาะพื้นที่ส่วนพื้นดิน ทำให้พื้นที่ส่วนพื้นดินมีแนวโน้มลดลงซึ่งสวนทางกับจำนวนประชากรบนโลกที่มากขึ้นทวีคูณ

          4. มีการกลับมาของไวรัสและแบคทีเรียที่ฝังอยู่ใต้ชั้นน้ำแข็งเป็นระยะเวลาหลายสิบปี ออกมาแพร่ระบาดสู่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในแถบขั้วโลกอีกครั้ง ซึ่งโดยปกติบริเวณขั้วโลกเป็นบริเวณที่มีอากาศอุณหภูมิต่ำ ดังนั้น ปริมาณของเชื้อโรคจะมีน้อยมากและเชื้อโรคบางส่วนจะถูกแช่แข็งอยู่ในน้ำแข็ง เนื่องจากบริเวณใต้น้ำแข็งเป็นสภาวะที่เหมาะสมกักการจำศีลของเชื้อโรคเพราะเป็นสถานที่ที่ไม่มีออกซิเจน มีความเยือกเย็น และแสงสว่างไม่สามารถส่องถึงได้ แต่เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกมีการละลายส่งผลให้เชื้อโรคที่อาศัยอยู่ในน้ำแข็งนั้นออกมาสู่อากาศภายนอกและแพร่ออกไปสู่มนุษย์ในที่สุด เช่น ในเดือนสิงหาคม ปี 2016 พบประชาชนที่อาศัยในแถบขั้วโลกเหนืออย่างน้อย 20 คนได้รับเชื้อแอนแทรกซ์  (Anthrax) เนื่องจากบริเวณน้ำแข็งในบริเวณนั้นมีการละลายซึ่งเป็นบริเวณเดียวกันกับที่กวางเรนเดียร์ต้องตายด้วยโรคแอนแทรกซ์เมื่อ15 ปีก่อนที่ถูกฝังอยู่ใต้ชั้นน้ำแข็งนั้น

11328 2

ภาพหมีขั้วโลกที่อาศัยในน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก
ที่มา https://pixabay.com , Gellinger


          จะเห็นได้ว่าจากสภาวะโลกร้อนส่งผลให้สภาพอากาศบนโลกมีความแปรปรวน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกที่มีปริมาณการละลายสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบหลายๆด้านทั้งทางตรงและทางอ้อมซึ่งทุกคนคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวตอนนี้ได้เกิดเป็นเห็นเป็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเฝ้าระวังเพื่อเตรียมการรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

แหล่งที่มา

Mark Brandon. (2008, 31 August). A trillion tonnes of ice on the move: Iceberg A68A. Retrieved February 1, 2020, from http://mallemaroking.org/a-trillion-tonnes-of-ice-a68a/

Rintoul SR, et al. (2016, 16 December). Ocean heat drives rapid basal melt of Totten Ice Shelf. Retrieved February 2, 2020, from https://advances.sciencemag.org/content/2/12/e1601610

Associated Press. (2019, 25 April). Antarctica: emperor penguin breeding ground sees sharp decline in population. Retrieved February 2, 2020, From https://www.theguardian.com/world/2019/apr/25/emperor-penguin-antarctica-breeding-ground-decline

Hamish D. Pritchard, et al. (2009, 23 September). Extensive dynamic thinning on the margins of the Greenland and Antarctic. Retrieved February 1, 2020, From https://www.nature.com/articles/nature08471

The Barents Observer. (2019, 2 May). Russian Arctic Researchers Evacuate Station as Polar Ice Cracks. Retrieved February 2, 2020, From https://www.themoscowtimes.com/2019/05/02/russian-arctic-rescuers-evacuate-as-polar-ice-cracks-a65474

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
น้ำแข็งขั้วโลก, น้ำแข็งขั้วโลกละลาย, ก๊าซเรือนกระจก, ภาวะโลกร้อน, ภูเขาน้ำแข็ง
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 02 กุมภาพันธ์ 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณิดา อภิสิทธิ์วงศา
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11328 อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลาย /article-earthscience/item/11328-2020-03-06-07-26-49
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    ภูเขาน้ำแข็ง ภาวะโลกร้อน ก๊าซเรือนกระจก น้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำแข็งขั้วโลก
คุณอาจจะสนใจ
ทำไมถึงควรใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
ทำไมถึงควรใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
Hits ฮิต (56974)
ให้คะแนน
เทรนด์สำคัญที่อาจเรียกได้ว่าเป็นวาระระดับนานาชาติเลยก็ว่าได้ สำหรับปี 2020 นั่นก็คือ เทรนด์การอนุรั ...
Pizzly Bear ผลพวงภาวะโลกร้อน
Pizzly Bear ผลพวงภาวะโลกร้อน
Hits ฮิต (4147)
ให้คะแนน
อยากรู้กันบ้างไหมว่าหมีชนิดใหม่เกี่ยวข้องอะไรกับภาวะโลกร้อน หมีชนิดใหม่นี้มีชื่อว่า Pizzly Bear หรื ...
อีโคพลาสติก (Eco-plastics) ดีต่อโลกอย่างไร?
อีโคพลาสติก (Eco-plastics) ดีต่อโลกอย่าง...
Hits ฮิต (16661)
ให้คะแนน
เทรนฮิตในโลกปัจจุบันคือการตระหนักรู้ตระหนักคิดด้านสิ่งแวดล้อม จะเห็นได้ว่าหลายประเทศเริ่มนำพลาสติกย ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)