logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

แสงที่เกิดจากพระอาทิตย์ขึ้นลงต่างกันหรือไม่

โดย :
วรางรัตน์ เสนาสิงห์
เมื่อ :
วันศุกร์, 26 กรกฎาคม 2562
Hits
21354

          แสงแดด คือ อนุภาคโฟตอนที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันที่แกนกลางดวงอาทิตย์ แต่โฟตอนแต่ละอนุภาคไม่ได้เกิดขึ้นแล้วทันทีจะเดินทางขึ้นมาถึงผิวดาวได้เลย มันใช้เวลานานจนไม่น่าเชื่อ จริงอยู่ที่เรารู้กันอย่างแพร่หลายว่า แสงเดินทางเป็นเส้นตรงด้วยความเร็วสูงที่สุดในจักรวาล นั่นคือ 299,792 กิโลเมตรต่อวินาทีในสุญญากาศโฟตอน หรืออนุภาคแสงแต่ละตัวจะเดินทางเป็นเส้นตรงไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะปะทะกับอนุภาคมีประจุใด ๆ จึงจะเปลี่ยนทิศทาง แต่เนื้อในของดวงอาทิตย์ไม่ใช่สุญญากาศ มันเต็มไปด้วยพลาสมาที่มีความหนาแน่นสูงมากจากแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของดวงอาทิตย์เอง ทำให้โฟตอนแต่ละตัวที่เริ่มกำเนิดจากแกนกลางดวงอาทิตย์ไม่อาจเดินทางด้วยความเร็วแสงเหมือนเดินทางในที่ว่างได้ และพลาสมา คืออนุภาคที่มีประจุซึ่งจะหักเหทิศทางของโฟตอนทำให้เส้นทางเดินของมันหักเหวกวนไปมา และยิ่งพลาสมาหนาแน่นมาก โฟตอนก็จะหักเหกลับไปกลับมาแทบไม่รู้จบสิ้น นั่นคือ นอกจากเดินทางช้ามากแล้วยังหลงทางอีก ดังนั้นกว่าที่โฟตอนแต่ละอนุภาคจะออกมาถึงผิวดวงอาทิตย์เพื่อใช้เวลา 8 นาทีเศษเดินทางมาที่โลกนั้นต้องเสียเวลานับพันนับหมื่นปีวนไปวนมาอยู่ในดวงอาทิตย์

10116 1

ภาพพระอาทิตย์ขึ้น ณ สันเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
ที่มา วรางรัตน์  เสนาสิงห์

         แสงสว่างบนท้องฟ้าเวลากลางคืนในช่วงเวลาโพล้เพล้ก่อนท้องฟ้าจะมืดสนิทหลังจากดวงอาทิตย์ตก และเวลาเช้ามืดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นนั้น ทางดาราศาสตร์และการเดินเรือเรียกว่า แสงสนธยาหรือแสงเงินแสงทอง (twilight) เป็นแสงที่เกิดจากการกระเจิงของแสงอาทิตย์ในบรรยากาศโลก ยิ่งดวงอาทิตย์อยู่ต่ำกว่าขอบฟ้ามากเท่าใด แสงที่กระเจิงจากบรรยากาศชั้นบนลงมายังชั้นล่างก็ยิ่งน้อยลงมากเท่านั้น ทำให้ท้องฟ้ายิ่งมืดมากขึ้น แสงสนธยามี 3 ชนิด กำหนดตามระยะห่างเชิงมุมของดวงอาทิตย์ที่ทำกับขอบฟ้าของผู้สังเกตการณ์

  1. สนธยาทางการ(civil twilight) เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์อยู่ต่ำกว่าขอบฟ้า 6°

  2. สนธยาเดินเรือ(nautical twilight) เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์อยู่ต่ำกว่าขอบฟ้า 12°

  3. สนธยาดาราศาสตร์(astronomical twilight) เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์อยู่ต่ำกว่าขอบฟ้า 18°

         สนธยาแต่ละชนิดจะเริ่มต้นในเวลาเช้ามืดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น และสิ้นสุดในเวลาหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก เมื่อเริ่มสนธยาดาราศาสตร์ท้องฟ้าเริ่มที่จะสว่างขึ้นจากภาวะกลางคืน แต่ด้วยตาเปล่ายังไม่สามารถสังเกตได้ชัดเจน เมื่อเริ่มสนธยาเดินเรือขอบฟ้ามีแสงสว่างจาง ๆ เป็นเวลาที่เริ่มมองเห็นขอบฟ้า นักเดินเรือจะเริ่มวัดมุมสูงของดาวเพื่อใช้ในการหาพิกัดของเรือซึ่งกระทำได้จนกระทั่งดวงอาทิตย์เคลื่อนสูงขึ้นจนอยู่ใต้เส้นขอบฟ้าเป็นมุม 6° เมื่อเริ่มสนธยาทางการขอบฟ้าปรากฏอย่างชัดเจนขณะที่ยังพอมองเห็นดาวสว่าง ๆ ได้ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ดวง หลังจากนั้นท้องฟ้าจะสว่างมากขึ้นจนกระทั่งกลบแสงดาวไปหมด เมื่อถึงเวลาหัวค่ำเหตุการณ์จะกลับกัน หลังดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว สนธยาทางการจะสิ้นสุดลงก่อนตามมาด้วยสนธยาเดินเรือ แล้วปิดท้ายด้วยสนธยาดาราศาสตร์ท้องฟ้าจึงกลับเข้าสู่ความเป็นกลางคืนอย่างสมบูรณ์อีกครั้ง ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า แสงที่เกิดขึ้นในช่วงที่พระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ตกจะมีความแตกต่างกันที่ระดับความสูงต่ำของดวงอาทิตย์จากขอบขอบฟ้ามีหน่วยเป็นองศา (….°)

แหล่งที่มา

วรเชษฐ์ บุญปลอด. (2559, 02 มกราคม). เวลาเกิดแสงสนธยาและเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก.  สืบค้นเมื่อ 01 พฤษภาคม 2562, จาก  http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/sunmoon/twilights.html

Vop. (2559, 09 ธันวาคม). แสงแดดใช้เวลา 8 นาทีเศษเดินทางผิวดวงอาทิตย์มาถึงโลก แต่ใช้เวลาหลายพันปีจากแกนกลางดวงอาทิตย์มาถึงผิว.  สืบค้นเมื่อ 01 พฤษภาคม 2562, จาก http://jimmysoftwareblog.com/node/5144

MGR Online. (2553, 15 มกราคม). ทำความรู้จัก “ดวงอาทิตย์” ดวงไฟพลังงานของโลก.  สืบค้นเมื่อ 01 พฤษภาคม 2562, จาก https://mgronline.com/science/detail/9530000005581

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
แสง, การเกิด, พระอาทิตย์, ขึ้น-ลง, แตกต่าง, twilight
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 03 พฤษภาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
วรางรัตน์ เสนาสิงห์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10116 แสงที่เกิดจากพระอาทิตย์ขึ้นลงต่างกันหรือไม่ /article-science/item/10116-2019-04-19-03-48-29
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    twilight แตกต่าง ขึ้น-ลง พระอาทิตย์ การเกิด แสง
คุณอาจจะสนใจ
Olaus Roemer ผู้วัดความเร็วของแสงได้เป็นคนแรก
Olaus Roemer ผู้วัดความเร็วของแสงได้เป็น...
Hits ฮิต (1687)
ให้คะแนน
ปัญหาหนึ่ง ที่สนใจกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ คือ แสงเคลื่อนที่ได้เร็วเพียงใด Galleo Galilei ได้เคยขอให้ศ ...
เมื่อสีที่เห็นไม่เป็นอย่างที่คิด (แสงสีและการมองเห็น)
เมื่อสีที่เห็นไม่เป็นอย่างที่คิด (แสงสีแ...
Hits ฮิต (495)
ให้คะแนน
ท่านเคยมีประสบการณ์ในการซื้อของที่ท่านคิดว่ามีสีสันสวยงามจากร้านค้า แต่พอกลับมาถึงบ้านหรือเพียงแค่น ...
ระยะทางที่แสนไกลจะวัดได้อย่างไร
ระยะทางที่แสนไกลจะวัดได้อย่างไร
Hits ฮิต (1561)
ให้คะแนน
คุณผู้อ่านที่ไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องดาราศาสตร์ เคยสงสัยกันไหมว่านักดาราศาสตร์รู้ได้อย่างไรว่าโลกของเร ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)