logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

สนุกกับบาร์โมเดล (Bar Model)

โดย :
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
เมื่อ :
วันอังคาร, 23 มีนาคม 2564
Hits
22898

          ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์นั้น เรื่องของการแก้โจทย์ปัญหาเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรให้การแก้ปัญหานั้นกลายเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและสนุกไปกับการแก้ปัญหานั้น วันนี้ผู้เขียนมีวิธีการในรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจมาฝากเป็นความรู้ให้ได้อ่านกัน วิธีการนี้เรียกว่า บาร์โมเดล (Bar Model) ซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมากในต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ที่มีรายงานว่าประสบความเร็จเป็นอย่างมากในการใช้วิธีการนี้ บาร์โมเดล คืออะไร ติดตามอ่านกันได้เลย

บาร์โมเดล (Bar Model) คืออะไร

          บาร์โมเดล (Bar Model) เป็นวิธีการการทำโจทย์ปัญหาโดยอาศัยการวาดรูปบาร์โมเดล ซึ่งเป็นการใช้รูปภาพแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นสัญลักษณ์แทนข้อมูลจากการแปลงจากโจทย์ปัญหานั่นเอง ลักษณะสำคัญของบาร์โมเดล คือการวาด โดยวิเคราะห์หรือตีความจากโจทย์ปัญหา นำมาเชื่อมโยงกับความคิดและหลักการทางคณิตศาสตร์

          วิธีบาร์โมเดลที่นิยมใช้กันในปัจจุบันเป็นวิธีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณต่าง ๆ ในโจทย์ปัญหา โดยบาร์หรือแท่งบาร์ดังกล่าวแทนปริมาณต่างๆ ทั้งที่ทราบค่าและไม่ทราบค่าที่นิยมใช้มีด้วยกัน 2 รูปแบบดังนี้คือ

11651 1
ภาพที่ 1 บาร์โมเดล
ที่มา ดัดแปลงจาก https://www.singaporemathsthailand.com/

          1. Part - Whole Bar Model (รูปบาร์โมเดลแบบแบ่งข้อมูลทั้งหมดออกเป็นส่วน ๆ) ซึ่งเป็นการเขียนแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณแต่ละส่วน กับปริมาณที่เป็นผลรวมของทุก ๆ ส่วนในโจทย์ปัญหา ลักษณะสำคัญคือบาร์ชนิดนี้จะแบ่งข้อมูลทั้งหมดออกเป็นส่วน ๆ ตั้งแต่ 2 ส่วนขึ้นไป โดยอาจบอกข้อมูลในแต่ละส่วนมาให้ แล้วให้หาข้อมูลทั้งหมด หรือให้ข้อมูลทั้งหมดและข้อมูลบางส่วนมาให้ แล้วให้หาข้อมูลส่วนที่เหลือ นิยมใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาทางพีชคณิตเบื้องต้นอย่างง่าย ๆ

          ตัวอย่างการเขียนบาร์โมเดลจากโจทย์ปัญหา

          นาย A มีเงิน 2 บาท นาย B มีเงิน 5 บาท นาย A และนาย B มีเงินรวมกันกี่บาท

11651 2

ภาพที่ 2 ตัวอย่างบาร์โมเดลจากโจทย์ปัญหา (Part - Whole Bar Model)
ที่มา ดัดแปลงจาก http://itnan1.ednan1.go.th/uploads/02089-0.pdf

          จากภาพที่ 2  นาย A และนาย B มีเงินรวมกัน = 2 + 5 = 7 บาท

          2. Comparison Bar Model (รูปบาร์โมเดลแบบแสดงการเปรียบเทียบ) ซึ่งเปนการวาดแท่งบาร์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณต่าง ๆ ในโจทย์ปัญหา เน้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณตั้งแต่ 2 ปริมาณขึ้นไป ทำให้บาร์โมเดลที่วาดจะมีตั้งแต่ 2 แท่ง ขึ้นไป วาดอยูในตําแหนงแนวดิ่งจากบนลงลาง เพื่อใหการเปรียบเทียบกันโดยชัดเจนยิ่งขึ้น

          ตัวอย่างการเขียนบาร์โมเดลจากโจทย์ปัญหา

          นาย A น้ำหนัก 50 กิโลกรัม นาย B น้ำหนัก 75 กิโลกรัม นาย A หนักกว่านาย B กี่กิโลกรัม

11651 3
ภาพที่ 3 ตัวอย่างบาร์โมเดลจากโจทย์ปัญหา (Comparison Bar Model)
ที่มา ดัดแปลงจาก http://itnan1.ednan1.go.th/uploads/02089-0.pdf

          จากภาพที่ 3  นาย B หนักกว่า นาย A = 75 + 50 = 25 กิโลกรัม

          จากการใช้วิธีบาร์โมเดลในประเทศสิงคโปร์ มีรายงานการวิจัยที่สรุปตรงกันว่าการสอนคณิตศาสตร์ผ่านวิธีการนี้ การเรียนของนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นมากกว่าการสอนในรูปแบบเดิม โดยจากการวิจัยชี้ให้เห็นว่านักเรียนสามารถเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ในโจทย์ปัญหาได้ชัดเจนมาหขค้น หรือสรุปง่าย ๆ ก็คือ นักเรียนตีความโจทย์ปัญหาได้ดีขึ้นกว่าเดิม

นี่ก็เป็นอีกรูปแบบการเรียนการสอนที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว ครูอาจารย์ ผู้ปกครอง หรือตัวนักเรียนเองก็อาจลองไปปรับใช้ในการเรียนการสอนของตนเองกันได้

แหล่งที่มา

ปรางใส เที่ยงตรง.วารคณิตศาสตร์สมาคมคณิตศาสตรแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.การใช้วิธีบาร์โมเดลในการแก้ปัญหาทางพีชคณิต .  สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563. จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/MJMATh/issue/view/16504/3827

อรทัย สุดบับ.เอกสารประกอบการอบรม การแกโจทย์ปัญหาโดยใช้รูปบาร์โมเดล  (Bar Model)  .  สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563. จาก http://itnan1.ednan1.go.th/uploads/02089-0.pdf

แนวทางการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สิงคโปร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563. จาก https://mindacademythai.com/learn-singapore-math/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
บาร์โมเดล,คณิตศาสตร์, Bar Model,โจทย์คณิตศาสตร์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 15 มิถุนายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ปฐมวัย
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11651 สนุกกับบาร์โมเดล (Bar Model) /article-mathematics/item/11651-bar-model
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    โจทย์คณิตศาสตร์ Bar Model บาร์โมเดล คณิตศาสตร์
คุณอาจจะสนใจ
ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ตอนที่ 1 เรขาคณิต
ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ตอน...
Hits ฮิต (44520)
ให้คะแนน
เชื่อว่าหลายคนตั้งคำถามกับตัวเองกันอยู่บ่อย ๆ และนึกย้อนภาพวันวานถึงตอนที่ตัวเองกำลังเรียนวิชาคณิตศ ...
คณิตศาสตร์กับการศึกษาโบราณคดี ตอนที่ 1
คณิตศาสตร์กับการศึกษาโบราณคดี ตอนที่ 1
Hits ฮิต (15509)
ให้คะแนน
การบูรณาการองค์ความรู้จากหลากหลายสาขาวิชาเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มักพบว่า คณิตศาสตร์สามารถเข้าไปประยุก ...
คณิตศาสตร์กับนักกฎหมาย
คณิตศาสตร์กับนักกฎหมาย
Hits ฮิต (14680)
ให้คะแนน
หลายคนมองเห็นและเข้าใจได้ว่าคณิตศาสตร์ถูกนำไปใช้งานในหลากหลายสาขาอาชีพ ในขณะเดียวกันก็อาจมองข้ามไปเ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)