logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ตามหาพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์

โดย :
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
เมื่อ :
วันจันทร์, 13 มกราคม 2563
Hits
13433

           เรามักจะได้ยินคำกล่าวอยู่เสมอที่ว่า “คณิตศาสตร์อยู่รอบตัวเรา” แต่อย่างที่รู้ ๆ กันอยู่ว่าการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ก็เป็นศาสตร์หนึ่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการศึกษาเชิงนามธรรมมากกว่ารูปธรรมในเชิงทฤษฎี บทความนี้ผู้เขียนอยากสะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงเรื่องหนึ่งให้ผู้อ่านชวนคิดและสงสัยว่า ทำไมประเทศของเราถึงไม่มีพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์เสียที

10976 1

ภาพพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์แห่งชาติ (MoMath)
ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:National_Museum_of_Mathematics_11_East_26th_Street_entrance.jpg , Beyond My Ken

          พิพิธภัณฑ์คือสถานที่หรือสถาบันที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ในการศึกษา ในลักษณะสันทนาการความรู้ที่ได้รับจากการจัดแสดง ร่วมกับการอนุรักษ์จัดเก็บฟื้นฟูสภาพ โดยจัดแสดงทั้งในรูปแบบของวัตถุที่มนุษย์ทำขึ้นและ วัตถุที่เกิดจากธรรมชาติ ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่ปัจจุบันมีมากมายอาทิ โบราณวัตถุ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม รวมถึงคณิตศาสตร์ที่มีอยู่ในบางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

          ส่วนในประเทศไทยนั้น ก็อย่างที่กล่าวไปข้างต้นก็ยังไม่มีการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์เต็มรูปแบบเสียที ที่อาจจะมีก็เพียงชั่วครั้งคราวเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่จริงๆ แล้วคณิตศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวและเกิดขึ้นมาตามธรรมชาติพร้อมกับมนุษย์โลก  ผู้เขียนเองจำได้ว่าในประเทศไทยเคยมีการจัดพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์เคลื่อนที่ในช่วงเวลาหนึ่งที่ผ่านมา แต่เท่าที่สังเกตก็อาจเพราะไม่ค่อยได้รับความนิยมจากคนทั่วไปสักเท่าไหร่ ก็เลยทำให้การจัดแสดงนั้นล้มเลิกไปในที่สุด แต่ถึงอย่างไรก็อาจเห็นการนำเสนอความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์สอดแทรกผ่านกิจกรรมหรือการจัดแสดงจากนิทรรศการทางด้านวิทยาศาสตร์อยู่บ้างแล้วในโลกใบนี้พิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์อยู่บ้างหรือเปล่า ผู้เขียนก็ไปหาข้อมูลจนพบว่าที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์อยู่จริง ๆ ชื่อพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์ Okhotsk Mathematicals Wonderland (OMW)  เป็นแหล่งเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ที่ดัดแปลงมาจากอาคารเรียนของโรงเรียนอนุบาล ส่วนใหญ่จัดแสดงและนำเสนอความรู้ทางคณิตศาสตร์ผ่านของเล่นและโมเดลในรูปแบบต่าง ๆ โดยเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับการใช้ชีวิตประจำวันของชาวบ้าน โดยโมเดลเหล่านั้นถูกสร้างขึ้นจากช่างไม้มาช่วยกันคิดและสร้างสรรค์ผลงานเพื่ออธิบายหลักการทางคณิตศาสตร์ เช่น การสร้างล้อรถ จะสามารถสร้างเป็นทรงอื่นนอกจากวงกลมได้หรือไม่ หรือเราสามารถออกแบบฝาท่อระบายน้ำอย่างไรได้บ้างที่ทำให้ผุ้คนที่เดินผ่านไม่ตกท่อน้ำ  นี้เป็นตัวอย่างการออกแบบสร้างสรรค์ผลงาน และจัดแสดงความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่ม่ต่างจากการจัดแสดงทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เราเห็นทั่ว ๆ ไป  ซึ่งที่นี่ก็มีความสำคัญและมีชื่อเสียงอยู่ไม่น้อยในประเทศญี่ปุ่นข้ามทวีปไปอีกด้านหนึ่งของซีกโลก ก็ยังมี พิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์แห่งชาติ (MoMath) ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ที่จัดแสดงนิทรรศการเพื่อการอธิบายหลักการทางคณิตศาสตร์ง่าย ๆ ที่อยู่รอบตัวของเรา เพื่อกระตุ้นผู้คนที่เข้ามาชมให้สนุกและเพลิดเพลิน และตื่นเต้นไปกับความมหัศจรรย์ของคณิตศาสตร์ ทั้งนี้ในแต่ละช่วงเวลาก็มีการจัดแสดงนิทรรศการเชิงบูรณาการ เช่น ศิลปะทางคณิตศาสตร์จัดแสดงอยู่ด้วย

          หากผู้อ่านได้มีโอกาสไปเที่ยวชม ก็อย่าลืมส่งข้อมูลมาฝากกันบ้าง ผู้เขียนเองก็หวังว่าในอนาคตของประเทศไทยจะมีพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์ที่สมบูรณ์แบบเกิดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของเด็กไทยในไม่ช้านี้

แหล่งที่มา

Welcome to the National Museum of Mathematics!. Retrieved October 7, 2019, From https://momath.org/

Atiporn Suwan.ท่องแดนปลาดิบ: เยือนพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2562. จาก https://www.gotoknow.org/posts/157295

Mathematik zum Anfassen นิทรรศการคณิตศาสตร์ที่คุณสัมผัสได้. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2562. จาก http://122.155.197.218/index.php?option=com_k2&view=item&task=download&id=524_28c1c412ec9e96c917e32cb27019cf97&Itemid=104

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
พิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์,คณิตศาสตร์,พิพิธภัณฑ์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 12 ตุลาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10976 ตามหาพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์ /article-mathematics/item/10976-2019-10-25-07-19-40
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์
คุณอาจจะสนใจ
ตรีโกณมิติกับปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม
ตรีโกณมิติกับปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม
Hits ฮิต (4217)
ให้คะแนน
ฟังก์ชันตรีโกณมิติมีความสำคัญมากในการศึกษาศาสตร์สาขาต่าง ( ทั้งทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เนื่อ ...
การนำเสนอข้อมูลประสิทธิภาพของ Rapid Antigen Test
การนำเสนอข้อมูลประสิทธิภาพของ Rapid Anti...
Hits ฮิต (1388)
ให้คะแนน
Rapid Antigen Test เป็นชุดตรวจหาเชื้อไวรัสที่ใช้ในการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยเก็บตัวอย่าง ...
คณิตศาสตร์ใน GPS
คณิตศาสตร์ใน GPS
Hits ฮิต (3908)
ให้คะแนน
ปัจจุบันคนจำนวนมากใช้ GPS จนเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตและการประกอบธุรกิจ GPS มาจากคำเต็มว่า Global ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)