logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับความลึกของท้องทะเล ตอนที่ 2

โดย :
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
เมื่อ :
วันจันทร์, 18 กุมภาพันธ์ 2562
Hits
27963

          จากบทความที่แล้ว เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับความลึกของท้องทะเล ตอนที่ 1 เราได้รู้จักกับลักษณะของความลึกของทะเลกันไปแล้ว สำหรับบทความนี้ ก็จะเสนอข้อมูลที่น่าสนใจต่อไปคือเรื่องของระดับชั้นทะเลลึก ภูเขาใต้ทะเล การวัดความลึกของทะเล และข้อมูลเกี่ยวกับความลึกของทะเลไทย

9105 1

ภาพ ทะเลลึก
ที่มา https://pixabay.com/th , Free-Photos

       ลักษณะสำคัญของท้องทะเลลึกคือบริเวณของน้ำทะเลที่แสงไม่สามารถส่องถึงได้ ระดับชั้นทะเลลึก อาจแบ่งเป็น 4 ชั้นคือ

      1.เขตที่แสงส่องถึง (ความลึก 0-200 เมตร)

      2.เขตที่มีแสงเข้ม(200-1,000 เมตร)

      3.เขตแสงสลัว (1,000-4,000 เมตร)

      4.เขตที่แสงส่องไม่ถึง (4,000-6,000 เมตร) หรือมากกว่า

        โดยเขตที่มีแสงเข้ม (200-1,000เมตร), เขตแสงสลัว (1,000-4,000เมตร) และเขตที่แสงส่องไม่ถึง (4,000-6,000เมตร) นั้นจะถือว่าเป็น ทะเลลึก

       สิ่งที่น่าสนใจใต้ทะเลลึกอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ ภูเขาใต้ทะเล ซึ่งอยู่บริเวณพื้นท้องมหาสมุทร ภูเขาใต้ทะเลบางลูกมียอดตัด เรียกว่า กีย์โอต์ จากข้อมูลการค้นหาและสำรวจ พบมากที่ตอนกลางและที่ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิคระหว่างหมู่เกาะมาเรียนากับหมู่เกาะฮาวาย และมีข้อมูลอธิบายไว้ว่ายอดของภูเขากีโอต์อยู่ที่ระดับน้ำลึก 1,200 - 1,800 เมตร ซึ่งสันนิษฐานว่า เดิมอาจเป็นยอดภูเขาไฟแล้วคลื่นทำให้สึกกร่อนไปหรืออาจมีปะการังมาเกาะเหนือยอดเขาทำให้ยอดตัด ต่อมาพื้นท้องมหาสมุทรลดระดับต่ำลงหรือน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นเลยจมหายไปใต้น้ำ

      หลายคนคงสงสัยกันว่า แล้วความลึกของทะเลลึกวัดกันอย่างไร คำตอบคือหลักการเกี่ยวกับโซนาร์ สามารถช่วยทดสอบความลึกของท้องทะเลได้ นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือสำหรับตรวจหาวัตถุใต้น้ำได้ดีอีกด้วย นิยมใช้ในการหาตำแหน่งของระเบิด เรืออับปาง ฝูงปลา โดยเครื่องโซนาร์จะส่งคลื่นเสียงที่มีความถี่ประมาณ 50,000 รอบต่อวินาที สูงเกินกว่าหูมนุษย์จะได้ยิน ผ่านไปในน้ำทะเลลึก เมื่อเสียงเดินทางไปกระทบพื้นท้องทะเลก็จะสะท้อนกลับมาเข้าเครื่องรับ เครื่องรับจะทำการวัดช่วงเวลาที่เสียงเดินทางไป และกลับ หลังจากนั้นจึงคำนวณหาระยะทางของพื้นทะเลจากความเร็วของคลื่นเสียงใต้น้ำ

      มาดูข้อมูลความลึกของท้องทะเลไทยกันบ้าง

       ระบบฐานข้อมูลกลางและมาตรฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (Central Database System and Data Standard for Marine and Coastal Resources) ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความลึกของทะเลไทยไว้ว่า

       ลักษณะท้องทะเลไทย มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

  1. ลักษณะท้องทะเลคล้ายแอ่งกะทะ
  2. ส่วนที่ลึกที่สุดของอ่าวไทยมีความลึกประมาณ 80 เมตร
  3. บริเวณร่องน้ำลึกกลางอ่าว มีความลึกมากกว่า 50 เมตร และยาวเข้าไปจนถึงแนวระหว่างเกาะช้าง จังหวัดตราด กับ อำเภอบางสะพานใหญ่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  4. บริเวณก้นอ่าว คือ อ่าวไทยตอนบนหรืออ่าวไทยรูปตัว “ก” มีรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดประมาณ 100x100 ตารางกิโลเมตร อ่าวไทยตอนบนมีความลึกสูงสุดประมาณ 40 เมตรอยู่ทางฝั่งขวาของอ่าว ส่วนฝั่งซ้ายจะตื้นเขินกว่า และมีความลึกเฉลี่ยในอ่าวไทยตอนบนประมาณ 15 เมตร
  5. อ่าวไทย ถูกกั้นออกจากทะเลจีนใต้ด้วยสันเขาใต้น้ำ 2 แนวทางฝั่งซ้ายและขวาของอ่าว สันเขาใต้น้ำฝั่งซ้ายมีความลึกประมาณ 50 เมตร เป็นแนวยาวจากโกตา-บารู (ร่องน้ำโก-ลก) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 160 กิโลเมตร ส่วนทางฝั่งขวามีความลึกประมาณ 25 เมตร เป็นแนวยาวจากแหลมคาเมาไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร และในบริเวณร่องน้ำลึกมีชั้นแนวตั้งของเปลือกโลก (sill) ณ ที่ความลึกประมาณ 67 เมตร กั้นอยู่ซึ่งจะเป็นเสมือนตัวควบคุมการไหลของน้ำระดับล่างในอ่าวไทย

         เป็นอย่างไรกันบ้าง ความลึกของทะเลมีรายละเอียดที่น่าศึกษาและค้นหาไม่น้อยเลยใช่ไหม ยังมีความน่าสนใจอีกมากเกี่ยวกับท้องทะเล ใครที่สนใจก็ลองศึกษาเพิ่มเติมกันได้ จากแหล่งข้อมูลให้ให้บริการตามช่องทางต่าง ๆ ที่ศึกษาทางธรรมชาติเกี่ยวกับทะเล

แหล่งที่มา

มหาสมุทร. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2561. จาก http://www.marine.tmd.go.th/thai/oceanhtml/oceandoc.html

ทะเลลึก. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2561. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ทะเลลึก

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง .ความลึกของพื้นผิวทะเล. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2561. จาก https://km.dmcr.go.th/th/c_51/d_272

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ความลึก,ทะเล
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 12 ตุลาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9105 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับความลึกของท้องทะเล ตอนที่ 2 /article-earthscience/item/9105-2018-10-18-08-37-02
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)