logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

พายุรูปหกเหลี่ยม

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันจันทร์, 19 กุมภาพันธ์ 2561
Hits
24248

           กว่า 30 กว่าปี ที่ชาวโลกพบกลุ่มเมฆที่เต็มไปด้วยพายุหมุนรูปทรงหกเหลี่ยมขนาดยักษ์ที่ขั้วเหนือของดาวเสาร์ ปริศนาที่สร้างความประหลาดใจให้นักดาราศาสตร์ทั่วโลก

7749 1
ภาพที่ 1 ภาพเคลื่อนไหว GIF ของ Hexagon
ที่มา http://navy007.net/heroproject/?p=332

         Saturn’s Hexagon หรือ รูป 6 เหลี่ยมที่ขั้วดาวเสาร์นี้ ถูกค้นพบเมื่อปี 1981 โดยยานสำรวจอวกาศที่มีชื่อว่า Voyager 1 ลักษณะที่พบคือเป็นกลุ่มมวลเมฆขนาดใหญ่หมุนวนเป็นพายุหมุนรูปทรงหกเหลี่ยม หลังจากนั้นยังคงเป็นสิ่งที่นักดาราศาสตร์ส่วนใหญ่ใฝ่หาคำตอบเป็นอย่างยิ่งว่า ทำไมถึงมีรูปร่างเป็น 6 เหลี่ยมอยู่ตลอดเวลา และเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

         ปี 1997 ยานแคสซีนีได้ทำการสำรวจดาวเสาร์อีกครั้งหนึ่ง และได้ข้อมูลเบื้องต้นว่า นี่คือลักษณะทางกายภาพของดาวเสาร์  ต่อมาในปี 2006 ความชัดเจนของภาพถ่ายจากยานสำรวจอวกาศแคสซีนี ได้สรุปข้อมูลโดยชัดเจนว่า พายุหกเหลี่ยมที่ขั้วของดาวเสาร์นี้ มีความยาวในแต่ละด้านประมาณ 13,800 กิโลเมตร มีขนาดกว้างราว 32,000 กิโลเมตร และมีความหนาราว 100 กม. ลึกลงไปในชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์ มีคาบเวลาในการหมุนครบ 1 รอบเท่ากับ 10 ชั่วโมง 39 นาที 24 วินาที ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของขนาดและตำแหน่ง

7749 2

ภาพที่ 2  ภาพกลไกการประทุของมวลสารขนาดยักษ์ในดาวเสาร์ ที่ทำให้เกิดเป็นพายุขนาดใหญ่
ที่มา http://navy007.net/heroproject/?p=332

         มีการคาดการเกี่ยวกับการกำเนิดของหกเหลี่ยมที่ขั้วดาวเสาร์ โดยนักอวกาศทีมแคสซีนีว่า พายุนี้เกิดจากการหมุนตัวเองของดาวเสาร์ มีทดลองเพื่อวิเคราะห์การเกิดโดยจำลองโมเดลเมื่อเทียบกับการเคลื่อนที่ของกระแสอากาศ กระแสน้ำ  ซึ่งเป็นเป็นแค่การจำลอง แต่ก็สันนิษฐานได้ว่า มันเกิดขึ้นได้จริงบนดาวเสาร์เช่นกัน โดยเกิดจากการประทุของมวลสารขนาดใหญ่ในดาวเสาร์ ทำให้เกิดการส่งคลื่นการสั่นสะเทือนความถี่ต่ำไปกระตุ้นจนเกิดการพา  (Convection) คลื่นออกมาจนถึงบรรยากาศชั้นนอก ทำให้อนุภาคน้ำแข็งเกิดการกำทอนและมีเสถียรภาพ  ทำให้เกิดการก่อตัวเป็นกำแพงเป็นขอบด้านทั้ง 6 ของพายุหมุนหกเหลี่ยม

7749 3

ภาพที่ 3 Hexagon มีการเปลี่ยนสี
ที่มา http://navy007.net/heroproject/?p=332

         ในช่วงปี 2012 – 2016 พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของสี จากสีโทนฟ้า-น้ำเงิน ไปเป็นสีส้ม-ทอง โดยยังมีสีฟ้าอยู่ที่ศูนย์กลางพายุ ซึ่งมีการวิเคราะห์จากลักษณะของแกนดาวเสาร์ที่เอียงเหมือนโลก ดังนั้น จะมีฤดูกาลเหมือนโลก ทำให้สีที่เปลี่ยนไป เพราะเกิดจากการโคจรไปรอบดวงอาทิตย์ด้วยเช่นกัน อีกทางหนึ่งวิเคราะห์ว่าแสงอาทิตย์ส่องผ่านไปยังอนุภาคผงฝุ่นในชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์

          นอกจากนี้ยังมีการสำรวจเพิ่มเติมที่ขั้วใต้ของดาวเสาร์เช่นกัน โดยกล้องโทรทัศน์ฮับเบิ้ล แต่ก็ไม่พบพายุหรือมวลเมฆที่มีลักษณะเหมือนกันกับพายุหกเหลี่ยมบนขั้วหนือแต่อย่างใด

          นับเป็นอีกหนึ่งปริศนาทางธรรมชาติที่มีความน่าสนใจอีกที่หนึ่งเลยทีเดียว มารอกันดูกันต่อไปว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพายุนี้ในอนาคต

แหล่งที่มา

 อาจวรงค์  จันทมาศ (2559).  หนังสือสุดยอดการค้นพบด้านแสง,  กรุงเทพฯ:

          สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

Saturn's hexago.  สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2560, จาก
          https://en.wikipedia.org/wiki/Saturn%27s_hexagon

 Admin Jame (2560, 13  เมษายน).   ปริศนา 6 เหลี่ยมบนขั้วดาวเสาร์.  สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2560, จาก

          http://navy007.net/heroproject/?p=332

 

 

 

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
พายุรูปหกเหลี่ยม
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 20 ธันวาคม 2560
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7749 พายุรูปหกเหลี่ยม /article-earthscience/item/7749-2017-12-04-06-19-05
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)